Fassarar Ma'anonin Alqura'ni - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم * - Teburin Bayani kan wasu Fassarori


Fassarar Ma'anoni Aya: (11) Sura: Suratu Al'nisaa
يُوصِيكُمُ ٱللَّهُ فِيٓ أَوۡلَٰدِكُمۡۖ لِلذَّكَرِ مِثۡلُ حَظِّ ٱلۡأُنثَيَيۡنِۚ فَإِن كُنَّ نِسَآءٗ فَوۡقَ ٱثۡنَتَيۡنِ فَلَهُنَّ ثُلُثَا مَا تَرَكَۖ وَإِن كَانَتۡ وَٰحِدَةٗ فَلَهَا ٱلنِّصۡفُۚ وَلِأَبَوَيۡهِ لِكُلِّ وَٰحِدٖ مِّنۡهُمَا ٱلسُّدُسُ مِمَّا تَرَكَ إِن كَانَ لَهُۥ وَلَدٞۚ فَإِن لَّمۡ يَكُن لَّهُۥ وَلَدٞ وَوَرِثَهُۥٓ أَبَوَاهُ فَلِأُمِّهِ ٱلثُّلُثُۚ فَإِن كَانَ لَهُۥٓ إِخۡوَةٞ فَلِأُمِّهِ ٱلسُّدُسُۚ مِنۢ بَعۡدِ وَصِيَّةٖ يُوصِي بِهَآ أَوۡ دَيۡنٍۗ ءَابَآؤُكُمۡ وَأَبۡنَآؤُكُمۡ لَا تَدۡرُونَ أَيُّهُمۡ أَقۡرَبُ لَكُمۡ نَفۡعٗاۚ فَرِيضَةٗ مِّنَ ٱللَّهِۗ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ عَلِيمًا حَكِيمٗا
อัลลอฮ์ได้ทรงสั่งใช้พวกเจ้าในเรื่องมรดกของลูก ๆ ของพวกเจ้า โดยมรดกนั้นจะถูกแบ่งให้แก่พวกเขา สำหรับลูกชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของลูกสาวสองคน ถ้าหากผู้ตายมีลูกสาวมากกว่าสองคนโดยที่ไม่มีลูกชายเลย พวกนางก็จะได้สองในสามจากสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้ และถ้าหากมีลูกสาวคนเดียว นางก็จะได้ครึ่งหนึ่งจากสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้ และแต่ละคนจากบิดามารดาของผู้ตายจะได้หนึ่งในหกจากสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้ หากว่าเขานั้นมีลูกชายหรือลูกสาว แต่ถ้าหากผู้ตายไม่มีบุตรและไม่มีผู้รับมรดกคนอื่นนอกจากบิดามารดาของเขาเท่านั้น มารดาจะได้รับหนึ่งในสาม และส่วนที่เหลือจะตกเป็นของบิดาของเขา และถ้าหากผู้ตายมีพี่น้องมากกว่าสองคน จะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงที่ร่วมบิดามารดาเดียวกันหรือไม่ร่วมกัน สำหรับมารดานั้นจะได้หนึ่งในหกดังที่ได้กำหนดไว้ และส่วนที่เหลือจะตกเป็นของบิดาในฐานะผู้ได้รับส่วนที่เหลือ โดยที่พี่น้องจะไม่ได้รับส่วนแบ่งใด ๆ เลย ซึ่งการแบ่งส่วนมรดกนี้ จะมีขึ้นภายหลังจากที่ได้จัดการกับพินัยกรรมที่ผู้ตายได้สั่งเสียมันไว้ โดยมีเงื่อนไขว่า พินัยกรรรมของเขานั้นจะต้องไม่เกินหนึ่งในสามของทรัพย์สมบัติของเขา และภายหลังจากที่ได้ชำระหนี้สินที่เขาติดคนอื่น และแน่นอนอัลลอฮ์ได้ทรงบัญญัติการแบ่งมรดกในรูปแบบดังกล่าว เพราะพวกเจ้าไม่รู้ว่าใครกันเล่า จะเป็นบรรดาบิดาหรือลูก ๆ ที่มีคุณประโยชน์ให้กับพวกเจ้าใกล้มากที่สุดทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ซึ่งบางทีผู้ตายอาจจะคิดดีกับทายาทคนหนึ่งของเขา แล้วเขาก็จะมอบทรัพย์สมบัติทั้งหมดของเขาให้กับทายาทนั้น หรืออาจจะคิดร้าย แล้วเขาก็จะห้ามไม่ให้อะไรแก่ทายาทคนนั้น และบางทีสภาพความเป็นจริงอาจจะต่างกับที่ได้คิดไว้ และผู้ที่รู้ยิ่งในเรื่องดังกล่าวคืออัลลอฮ์ที่ไม่มีสิ่งใดจะปกปิดพระองค์ได้ ด้วยเหตุนี้ พระองค์ได้แบ่งส่วนมรดกตามที่ได้แจกแจ้งไว้ และได้ทรงทำให้มันเป็นภาคบังคับเหนือบ่าวทั้งหลายของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ที่ไม่มีสิ่งใดจากสิ่งอำนวยประโยชน์ของบ่าวจะปกปิดจากการรอบรู้ของพระองค์ได้ และพระองค์เป็นผู้ทรงปรีชาญาณในการกำหนดบทบัญญัติและบริหารจัดการ
Tafsiran larabci:
daga cikin fa'idodin Ayoyin wannan shafi:
• دلت أحكام المواريث على أن الشريعة أعطت الرجال والنساء حقوقهم مراعية العدل بينهم وتحقيق المصلحة بينهم.
บทบัญญัติว่าด้วยมรดกชี้ให้เห็นว่า แท้จริงศาสนาอิสลามได้ให้สิทธิต่าง ๆ ของผู้ชายและผู้หญิงโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม และเพื่อบรรลุถึงผลประโยชน์ของพวกเขา

• التغليظ الشديد في حرمة أموال اليتامى، والنهي عن التعدي عليها، وعن تضييعها على أي وجه كان.
ทรัพย์สมบัติเด็กกำพร้าเป็นที่ฮะรอม เป็นที่ต้องห้ามการละเมิดในสิทธิของพวกเขาอย่างเด็ดขาด และการสร้างความเสียหายโดยขาดการค้มครองที่ดี ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม

• لما كان المال من أكثر أسباب النزاع بين الناس تولى الله تعالى قسمته في أحكام المواريث.
เนื่องจากทรัพย์สมบัติเป็นเหตุสำคัญอันใหญ่ลวงที่ก่อความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ทั้งหลายดังนั้น เพื่อเป็นการตัดปัญหา เอกองค์อัลลอฮ์จึงได้กำหนดบทบัญญัติการแบ่งทรัพย์สินมรดกไว้อย่างชัดเจน

 
Fassarar Ma'anoni Aya: (11) Sura: Suratu Al'nisaa
Teburin Jerin Sunayen Surori Lambar shafi
 
Fassarar Ma'anonin Alqura'ni - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم - Teburin Bayani kan wasu Fassarori

الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم، صادر عن مركز تفسير للدراسات القرآنية.

Rufewa