ترجمة معاني القرآن الكريم - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم * - فهرس التراجم


ترجمة معاني آية: (61) سورة: آل عمران
فَمَنۡ حَآجَّكَ فِيهِ مِنۢ بَعۡدِ مَا جَآءَكَ مِنَ ٱلۡعِلۡمِ فَقُلۡ تَعَالَوۡاْ نَدۡعُ أَبۡنَآءَنَا وَأَبۡنَآءَكُمۡ وَنِسَآءَنَا وَنِسَآءَكُمۡ وَأَنفُسَنَا وَأَنفُسَكُمۡ ثُمَّ نَبۡتَهِلۡ فَنَجۡعَل لَّعۡنَتَ ٱللَّهِ عَلَى ٱلۡكَٰذِبِينَ
ดังนั้นผู้ใดที่โต้เถียงเจ้า -โอ้ท่านเราะสูล- จากชาวคริสต์ นัจรอน ในเรื่องของอีซา โดยที่พวกเขาอ้างว่า เขาไม่ได้เป็นบ่าวอัลลอฮ์ หลังจากความรู้ที่ถูกต้องได้มายังพวกเขาแล้วในเรื่องนี้ ดังนั้น ก็จงกล่าวแก่พวกเขาเถิด "ท่านทั้งหลายจงมาเถิด เราเรียกลูกๆ ของเรา และลูกๆของพวกท่าน และเรียกบรรดาผู้หญิงของเรา และบรรดาผู้หญิงของพวกท่าน และตัวของพวกเรา และตัวของพวกท่าน แล้วเรารวมตัวกันทั้งหมด จากนั้นเรามานอบน้อมต่ออัลลอฮ์ ด้วยการวิงวอนต่อพระองค์ ให้พระองค์ได้พระทานลงมาซึ่งการ ละนัตของพระองค์ (การสาปแช่ง) ได้ประสบ แก่บรรดาผู้ที่โกหกจากพวกเราและพวกเจ้า"
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• من كمال قدرته تعالى أنه يعاقب من يمكر بدينه وبأوليائه، فيمكر بهم كما يمكرون.
หนึ่งในความสมบูรณ์แบบแห่งอำนาจของอัลลอฮ์ คือการที่พระองค์ทรงลงโทษผู้ที่หลอกลวงศาสนาของพระองค์และบรรดาผู้ที่เป็นที่รักของพระองค์ ดังนั้นพระองค์ทรงตอบโต้การหลอกลวงของพวกเขาด้วยการหลอกลวงดังที่พวกเขาได้หลอกลวง

• بيان المعتقد الصحيح الواجب في شأن عيسى عليه السلام، وبيان موافقته للعقل فهو ليس بدعًا في الخلقة، فآدم المخلوق من غير أب ولا أم أشد غرابة والجميع يؤمن ببشريته.
อธิบายถึงความเชื่อที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องของ อีซา อลัยฮิสสลาม และได้อธิบายถึงความสอดคล้องของความเชื่อนั้นกับสติปัญญา เพราะมันไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่อะไรในการสร้าง เพราะอาดัมถูกสร้างโดยไม่มีพ่อและแม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกกว่า และทุกคนก็เชื่อในความเป็นมนุษย์ของเขา

• مشروعية المُباهلة بين المتنازعين على الصفة التي وردت بها الآية الكريمة.
ศาสนาได้อนุญาตให้มีการ มุบาฮะละฮ์ (ดุอาละนัต) ระหว่างผู้ที่ขัดแย้งกัน ตามรูปแบบที่ได้กล่าวไว้ในโองการอันทรงเกียรติ

 
ترجمة معاني آية: (61) سورة: آل عمران
فهرس السور رقم الصفحة
 
ترجمة معاني القرآن الكريم - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم - فهرس التراجم

الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم، صادر عن مركز تفسير للدراسات القرآنية.

إغلاق