ترجمة معاني القرآن الكريم - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم * - فهرس التراجم


ترجمة معاني آية: (32) سورة: فاطر
ثُمَّ أَوۡرَثۡنَا ٱلۡكِتَٰبَ ٱلَّذِينَ ٱصۡطَفَيۡنَا مِنۡ عِبَادِنَاۖ فَمِنۡهُمۡ ظَالِمٞ لِّنَفۡسِهِۦ وَمِنۡهُم مُّقۡتَصِدٞ وَمِنۡهُمۡ سَابِقُۢ بِٱلۡخَيۡرَٰتِ بِإِذۡنِ ٱللَّهِۚ ذَٰلِكَ هُوَ ٱلۡفَضۡلُ ٱلۡكَبِيرُ
แล้วเราได้มอบให้แก่ประชาชาติของมูฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งเราได้เลือกให้แก่พวกเขาเหนือประชาชาติอื่นด้วยอัลกุรอาน โดยบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้อธรรมแก่ตัวเองด้วยการกระทำสิ่งที่ต้องห้ามและละทิ้งสิ่งที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติ และบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้เดินสายกลางด้วยการทำในสิ่งที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติ ละทิ้งในสิ่งที่ต้องห้ามพร้อมๆกับการละทิ้งบางเรื่องที่เป็นสุนนะฮ์ส่งเสริมให้กระทำและกระทำในบางสิ่งที่น่ารังเกียจส่งเสริมให้ออกห่าง และบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้รุดหน้าในการทำความดีทั้งหลายด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์ และสิ่งเหล่านั้นคือด้วยกับการกระทำในสิ่งที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติและเรื่องที่เป็นสุนนะฮ์ส่งเสริมให้กระทำและละทิ้งในสิ่งที่ต้องห้ามและสิ่งที่น่ารังเกียจส่งเสริมให้ออกห่าง ในสิ่งที่กล่าวมานั้น เป็นการเลือกให้แก่ประชาชาติของนบีมุฮัมมัดและให้อัลกุรอานเพื่อนำทางแก่ประชาชาตินี้ นั่นคือความโปรดปรานอันใหญ่หลวงที่ไม่สามารถเปรียบเทียบได้
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• فضل أمة محمد صلى الله عليه وسلم على سائر الأمم.
ความประเสริฐของประชาชาติท่านนบีมูฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลลัม เหนือบรรดาประชาชาติอื่นๆ

• تفاوت إيمان المؤمنين يعني تفاوت منزلتهم في الدنيا والآخرة.
ความต่างของความศรัทธาของบรรดาผู้ศรัทธานั้น นั่นคือความต่างทางด้านสถานะของพวกเขาในโลกดุนยาและอาคีเราะฮ์

• الوقت أمانة يجب حفظها، فمن ضيعها ندم حين لا ينفع الندم.
เรื่องเวลาถือเป็นความรับผิดชอบที่จำเป็นจะต้องดูแลรักษา ดังนั้นผู้ใดที่ทำลายมันแล้ว เขาจะต้องเสียใจและเขาจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากความเสียใจนั้นเลย

• إحاطة علم الله بكل شيء.
ความรู้ของอัลลอฮ์ครอบคลุมทุกๆอย่าง

 
ترجمة معاني آية: (32) سورة: فاطر
فهرس السور رقم الصفحة
 
ترجمة معاني القرآن الكريم - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم - فهرس التراجم

الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم، صادر عن مركز تفسير للدراسات القرآنية.

إغلاق