ترجمة معاني القرآن الكريم - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم * - فهرس التراجم


ترجمة معاني آية: (145) سورة: الأنعام
قُل لَّآ أَجِدُ فِي مَآ أُوحِيَ إِلَيَّ مُحَرَّمًا عَلَىٰ طَاعِمٖ يَطۡعَمُهُۥٓ إِلَّآ أَن يَكُونَ مَيۡتَةً أَوۡ دَمٗا مَّسۡفُوحًا أَوۡ لَحۡمَ خِنزِيرٖ فَإِنَّهُۥ رِجۡسٌ أَوۡ فِسۡقًا أُهِلَّ لِغَيۡرِ ٱللَّهِ بِهِۦۚ فَمَنِ ٱضۡطُرَّ غَيۡرَ بَاغٖ وَلَا عَادٖ فَإِنَّ رَبَّكَ غَفُورٞ رَّحِيمٞ
จงกล่าวเถิด -โอ้เราะสูลเอ๋ย- ฉันไม่พบว่าในสิ่งที่อัลลอฮ์ได้โองการแก่ฉันนั้น มีสิ่งต้องห้ามนอกเสียจากสิ่งที่ตายเองไม่ได้เชือด หรือเลือดที่ไหลออก หรือเนื้อสุกร แท้จริงมันเป็นสิ่งโสมมเป็นที่ต้องห้าม หรือถูกเชือดด้วยนามอื่นจากอัลลอฮ์ เช่น สิ่งที่ถูกเชือดที่เป็นการบูชาต่อรูปปั้นของพวกเขา ดังนั้นผู้ใด(ถูกบังคับ)ด้วยการอยู่ในสภาพที่คับขันที่จำเป็นต้องกินสิ่งต้องห้ามเหล่านั้นเพราะความหิวโหยโดยมิใช่เป็นผู้แสวงหาที่จะกินมัน และมิใช่ผู้ละเมิดขอบเขตของความจำเป็น ก็ไม่ถือเป็นบาป โอ้เราะสูลเอ๋ย แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้านั้น เป็นผู้ทรงอภัยโทษสำหรับผู้ที่จำเป็นหากจะต้องกิน เป็นผู้ทรงเอ็นดูเมตตาเขาเสมอ
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• في الآيات دليل على إثبات المناظرة في مسائل العلم، وإثبات القول بالنظر والقياس.
ในโองการเหล่านี้เป็นหลักฐานที่บ่งบอกถึงอนุญาตให้มีการสนทนาในประเด็นต่างๆ ทางวิชาการ และบ่งบอกถึงอนุญาตใช้หลักวินิจฉัยและหลักเปรียบเทียบ

• الوحي وما يستنبط منه هو الطريق لمعرفة الحلال والحرام.
หลักฐานและผลของการวินิจฉัยจากหลักฐานนั้นเป็นวิธีการในการรู้ถึงสิ่งที่ฮาลาลและฮารอม

• إن من الظلم أن يُقْدِم أحد على الإفتاء في الدين ما لم يكن قد غلب على ظنه أنه يفتي بالصواب الذي يرضي الله.
หนึ่งในความอธรรม คือ การที่คนคนหนึ่งได้กล่าวตัดสินในเรื่องศาสนา โดยที่เขาไม่ได้มีความเชื่อมั่นในระดับหนึ่งว่า เขาได้กล่าวตัดสินอย่างถูกต้องและเป็นที่พึงพอพระทัยจากอัลลอฮ์

• من رحمة الله بعباده الإذن لهم في تناول المحرمات عند الاضطرار.
หนึ่งในความเมตตาของอัลลอฮ์ต่อบ่าวของพระองค์ คือ การอนุญาตให้รับประทานสิ่งต้องห้าม เมื่อยามคับขัน

 
ترجمة معاني آية: (145) سورة: الأنعام
فهرس السور رقم الصفحة
 
ترجمة معاني القرآن الكريم - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم - فهرس التراجم

الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم، صادر عن مركز تفسير للدراسات القرآنية.

إغلاق