Tradução dos significados do Nobre Qur’an. - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم * - Índice de tradução


Tradução dos significados Versículo: (185) Surah: Suratu Ãli-Imran
كُلُّ نَفۡسٖ ذَآئِقَةُ ٱلۡمَوۡتِۗ وَإِنَّمَا تُوَفَّوۡنَ أُجُورَكُمۡ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِۖ فَمَن زُحۡزِحَ عَنِ ٱلنَّارِ وَأُدۡخِلَ ٱلۡجَنَّةَ فَقَدۡ فَازَۗ وَمَا ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَآ إِلَّا مَتَٰعُ ٱلۡغُرُورِ
ทุกชีวิตที่มีอยู่จำเป็นที่จะต้องลิ้มรสแห่งความตาย ดังนั้นสิ่งถูกสร้างทั้งหลายอย่าได้หลงกับโลกใบนี้ และในวันกิยามะฮ์พวกเจ้าจะได้รับผลตอบแทนแห่งการงานของพวกเจ้าอย่างครบสมบูรณ์โดยไม่ขาดตกบกพร่อง ดังนั้นผู้ใดที่อัลลอฮ์ทรงทำให้เขาห่างไกลจากไฟนรกและทำให้เขาเข้าสวรรค์ แน่นอนเขาได้รับจากความดีงามที่เขาหวังไว้ และรอดพ้นจากความชั่วร้ายที่เขากลัว และชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้นั้น มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นเพียงสิ่งหลอกหลวงที่เลือนหายไปเท่านั้น และไม่มีใครคนไหนที่ผูกมัดอยู่กับมันนอกจากบรรดาผู้ถูกหลอกหลวงเท่านั้น
Os Tafssir em língua árabe:
Das notas do versículo nesta página:
• من سوء فعال اليهود وقبيح أخلاقهم اعتداؤهم على أنبياء الله بالتكذيب والقتل.
ส่วนหนึ่งจากการกระทำอันชั่วช้าและมารยาทที่ต่ำช้าของชาวยิว คือ พวกเขาตั้งปรปักษ์กับบรรดานบีของอัลลอฮ์ด้วยการปฏิเสธและสังหาร

• كل فوز في الدنيا فهو ناقص، وإنما الفوز التام في الآخرة، بالنجاة من النار ودخول الجنة.
ทุกความสำเร็จในโลกนี้คือย่อมมีข้อบกพร่อง หากแต่ความสำเร็จที่สมบูรณ์นั้นคือในโลกหน้า คือการรอดพ้นจากไฟนรกและการได้เข้าสวรรค์

• من أنواع الابتلاء الأذى الذي ينال المؤمنين في دينهم وأنفسهم من قِبَل أهل الكتاب والمشركين، والواجب حينئذ الصبر وتقوى الله تعالى.
ลักษณะของบททดสอบ บางส่วนเป็นความเจ็บปวดที่ประสบกับบรรดาผู้ศรัทธา ทั้งในด้านการยึดมั่นในความเชื่อ (ศาสนา) และในด้านที่เป็นตัวของพวกเขา โดยการดูถูกและการทำร้ายจากชาวคัมภีร์และบรรดาผู้ตั้งภาคี ซึ่งในการนี้จำเป็นจะต้องอดทนและยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา

 
Tradução dos significados Versículo: (185) Surah: Suratu Ãli-Imran
Índice de capítulos Número de página
 
Tradução dos significados do Nobre Qur’an. - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم - Índice de tradução

الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم، صادر عن مركز تفسير للدراسات القرآنية.

Fechar