పవిత్ర ఖురాన్ యొక్క భావార్థాల అనువాదం - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم * - అనువాదాల విషయసూచిక


భావార్ధాల అనువాదం వచనం: (76) సూరహ్: సూరహ్ అన్-నహల్
وَضَرَبَ ٱللَّهُ مَثَلٗا رَّجُلَيۡنِ أَحَدُهُمَآ أَبۡكَمُ لَا يَقۡدِرُ عَلَىٰ شَيۡءٖ وَهُوَ كَلٌّ عَلَىٰ مَوۡلَىٰهُ أَيۡنَمَا يُوَجِّههُّ لَا يَأۡتِ بِخَيۡرٍ هَلۡ يَسۡتَوِي هُوَ وَمَن يَأۡمُرُ بِٱلۡعَدۡلِ وَهُوَ عَلَىٰ صِرَٰطٖ مُّسۡتَقِيمٖ
และอัลลอฮ์ได้ทรงยกอีกอุทาหรณ์หนึ่ง เพื่อตอบโต้พวกเขา คือการเปรียบเทียบชายสองคน หนึ่งในนั้น เป็นคนใบ้ ไม่ได้ยิน พูดไม่ได้ และไม่เข้าใจ อันเนื่องด้วยหูที่หนวกและเป็นใบ้ เขาไม่สามารถช่วยเหลือแม้กระทั่งตัวของเขาเองและก็ผู้อื่น และต้องเป็นภาระแก่ผู้ที่อุปการะเขาและดูแลเขา ไม่ว่าจะส่งเขาไปที่แห่งใด เขาจะไม่นำความดีใด ๆ มาเลย และเขาก็ไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด คนที่มีสภาพเช่นนี้จะเหมือนกับคนที่ฟังและพูดได้ปกติกระนั้นหรือ เพราะประโยชน์ของเขานั้นหลากหลาย เขาเป็นผู้ที่คอยกำชับผู้คนด้วยความยุติธรรม และเขาก็เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง และเขาก็อยู่บนหนทางที่ชัดเจนไร้ซึ่งความครุมเครือและความเองเอียงใดๆ?! โอ้บรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งหลาย พวกเจ้าเอาอัลลอฮ์ผู้ซึ่งมีคุณลักษณะที่สูงส่งและสมบูรณ์ ไปเทียบกับบรรดาเจว็ดของพวกเจ้าที่ไม่ได้ยิน พูดไม่ได้ และมันก็ไม่ได้นำมาซึ่งประโยชน์และไม่สามารถขจัดทุกข์ได้กระนั้นหรือ?!
అరబీ భాషలోని ఖుర్ఆన్ వ్యాఖ్యానాలు:
ఈ పేజీలోని వచనాల ద్వారా లభించే ప్రయోజనాలు:
• لله تعالى الحكمة البالغة في قسمة الأرزاق بين العباد، إذ جعل منهم الغني والفقير والمتوسط؛ ليتكامل الكون، ويتعايش الناس، ويخدم بعضهم بعضًا.
ความปรีชาญาณที่สูงส่งเป็นของอัลลอฮ์เท่านั้น พระองค์ได้ทรงแบ่งปัจจัยยังชีพต่างๆที่แตกต่างกันระหว่างบ่าวของพระองค์ ซึ่งบางคนนั้นรวย บางคนนั้นจน และบางคนนั้นอยู่ในระดับปางกลาง ทั้งหมดนั้นเพื่อให้มีการสร้างสมบูรณ์ระหว่างกัน ให้มีการใช้ชีวิตร่วมกัน เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

• دَلَّ المثلان في الآيات على ضلالة المشركين وبطلان عبادة الأصنام؛ لأن شأن الإله المعبود أن يكون مالكًا قادرًا على التصرف في الأشياء، وعلى نفع غيره ممن يعبدونه، وعلى الأمر بالخير والعدل.
อุทาหรณ์ทั้งสองประการที่ได้ยกมานั้น แสดงให้เห็นถึงการหลงทางของบรรดาผู้ตั้งภาคี และความไร้ประโยชน์ต่อการสักการะต่อเจว็ดเหล่านั้น เพราะคุณสมบัติของผู้ที่เป็นพระเจ้าที่ควรแก่การเคารพสักการะนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นเจ้าแห่งการครอบครอง มีความสามารถในการบริหารจัดการ และสามารถให้ประโยชน์ต่อผู้ที่สักการะมัน และสามารถใช้ให้ทำดีและความยุติธรรม

• من نعمه تعالى ومن مظاهر قدرته خلق الناس من بطون أمهاتهم لا علم لهم بشيء، ثم تزويدهم بوسائل المعرفة والعلم، وهي السمع والأبصار والأفئدة، فبها يعلمون ويدركون.
ส่วนหนึ่งในความโปรดปรานของอัลลอฮ์และผลที่แสดงถึงอำนาจของพระองค์นั้นคือการสร้างมนุษย์ในครรภ์มารดาโดยที่พวกเขาไม่มีความรู้อะไรเลย จากนั้นพระองค์ก็เสริมด้วยการประทานสื่อแห่งได้มาซึ่งความรู้ นั่นคือ การได้ยิน การมองเห็น และหัวใจ ดังนั้นด้วยสิ่งเหล่านั้นทำให้พวกเขาสามารถเรียนรู้และเข้าใจ

 
భావార్ధాల అనువాదం వచనం: (76) సూరహ్: సూరహ్ అన్-నహల్
సూరాల విషయసూచిక పేజీ నెంబరు
 
పవిత్ర ఖురాన్ యొక్క భావార్థాల అనువాదం - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم - అనువాదాల విషయసూచిక

الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم، صادر عن مركز تفسير للدراسات القرآنية.

మూసివేయటం