పవిత్ర ఖురాన్ యొక్క భావార్థాల అనువాదం - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم * - అనువాదాల విషయసూచిక


భావార్ధాల అనువాదం వచనం: (102) సూరహ్: సూరహ్ అల్-బఖరహ్
وَٱتَّبَعُواْ مَا تَتۡلُواْ ٱلشَّيَٰطِينُ عَلَىٰ مُلۡكِ سُلَيۡمَٰنَۖ وَمَا كَفَرَ سُلَيۡمَٰنُ وَلَٰكِنَّ ٱلشَّيَٰطِينَ كَفَرُواْ يُعَلِّمُونَ ٱلنَّاسَ ٱلسِّحۡرَ وَمَآ أُنزِلَ عَلَى ٱلۡمَلَكَيۡنِ بِبَابِلَ هَٰرُوتَ وَمَٰرُوتَۚ وَمَا يُعَلِّمَانِ مِنۡ أَحَدٍ حَتَّىٰ يَقُولَآ إِنَّمَا نَحۡنُ فِتۡنَةٞ فَلَا تَكۡفُرۡۖ فَيَتَعَلَّمُونَ مِنۡهُمَا مَا يُفَرِّقُونَ بِهِۦ بَيۡنَ ٱلۡمَرۡءِ وَزَوۡجِهِۦۚ وَمَا هُم بِضَآرِّينَ بِهِۦ مِنۡ أَحَدٍ إِلَّا بِإِذۡنِ ٱللَّهِۚ وَيَتَعَلَّمُونَ مَا يَضُرُّهُمۡ وَلَا يَنفَعُهُمۡۚ وَلَقَدۡ عَلِمُواْ لَمَنِ ٱشۡتَرَىٰهُ مَا لَهُۥ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ مِنۡ خَلَٰقٖۚ وَلَبِئۡسَ مَا شَرَوۡاْ بِهِۦٓ أَنفُسَهُمۡۚ لَوۡ كَانُواْ يَعۡلَمُونَ
และเมื่อพวกเขาได้ละทิ้งศาสนาของอัลลอฮฺ พวกเขาก็ปฏิบัติตามสิ่งอื่นแทน นั่นคือ สิ่งที่บรรดาชัยฏอนได้สร้างคำเท็จขึ้นมาในสมัยของนบีสุลัยมาน อะลัยฮิสลาม โดยอ้างว่านบีสุลัยมานนั้นได้ปกป้องราชบัลลังก์ของเขาด้วยไสยศาสตร์ และสุลัยมานก็มิได้ปฏิเสธศรัทธาด้วยการใช้ไสยศาสตร์ (ดั่งที่ชาวยิวได้แอบอ้างกัน) แต่ทว่าชัยฏอนเหล่านั้นต่างหากที่ปฏิเสธการศรัทธาโดยพวกเขาได้สอนมนุษย์ซึ่งวิชาไสยศาสตร์ และก็สอนวิชาไสยศาสตร์ที่ถูกประทานลงมาแก่มะลาอิกะฮฺทั้งสอง คือ ฮารูต และมารูต ณ เมืองบาบิลที่ประเทศอิรัก เพื่อเป็นการทดลองและทดสอบต่อมนุษย์ และมะลาอิกะฮฺทั้งสองท่านนี้ก็จะไม่สอนให้แก่ผู้ใดซึ่งวิชาไสยศาสตร์ จนกว่าพวกเขาทั้งสองจะเตือนสติและอธิบายให้เขาคนนั้นรู้แจ้งก่อน ด้วยคำกล่าวของพวกเขาทั้งสองที่ว่า แท้จริงเราแค่เพียงมาเพื่อทดลองและทดสอบต่อมนุษย์เท่านั้น ท่านจงอย่าปฏิเสธศรัทธาด้วยการร่ำเรียนวิชาไสยศาสตร์เลย แล้วผู้ที่ไม่รับฟังคำตักเตือนของพวกเขาทั้งสองนั้นก็ได้ศึกษาวิชาไสยศาสตร์จากเขาทั้งสอง และส่วนหนึ่งจาก(วิชาไสยศาสตร์)นั้นคือประเภทที่ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างบุคคลหนึ่งกับภรรยาของเขา โดยการปลูกฝังความเกลียดชังให้เกิดขึ้นระหว่างเขาทั้งสอง และผู้ที่ทำไสยศาสตร์เหล่านั้นไม่สามรถทำอันตรายแก่ผู้ใดได้นอกจากด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺและความประสงค์ของพระองค์เท่านั้น และพวกเขาก็เรียนสิ่งที่เป็นโทษแก่พวกเขาและมิได้เกิดประโยชน์ต่อพวกเขา และแท้จริงชาวยิวเหล่านี้รู้ดีว่า ใครก็ตามที่ขอเปลี่ยนด้วยการเอาวิชาไสยศาสตร์แลกด้วยคัมภีร์ของอัลลอฮฺนั้น แน่นอนเขาย่อมไม่มีโชคและส่วนได้ใดๆ ในวันปรโลก และแน่นอนมันชั่งชั่วช้าจริงๆ ที่พวกเขาได้ขายตัวของพวกเขาด้วยสิ่งนั้น โดยการที่พวกเขาได้ขอแลกวิชาไสยศาสตร์ด้วยกับวะหฺยูของอัลลอฮฺและบทบัญญัติของพระองค์ และหากพวกเขาได้รู้ถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับพวกเขา แน่นอนพวกเขาก็มิบังอาจไปทำการงานอันนี้ที่เลวทรามและหลงผิดที่เห็นได้ชัดเจน
అరబీ భాషలోని ఖుర్ఆన్ వ్యాఖ్యానాలు:
ఈ పేజీలోని వచనాల ద్వారా లభించే ప్రయోజనాలు:
• سوء أدب اليهود مع أنبياء الله حيث نسبوا إلى سليمان عليه السلام تعاطي السحر، فبرّأه الله منه، وأَكْذَبَهم في زعمهم.
ชาวยิวนั้นมีมารยาทที่เลวทรามต่อบรรดานบีของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขานั้นได้พาดพิงต่อสุไลมาน อะลัยฮิสลาม ว่าเป็นผู้ใช้ไสยศาสตร์ แล้วอัลลอฮฺได้ทรงยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของท่านจากสิ่งนั้น และได้ทำให้การกล่าวอ้างของพวกเขานั้นเป็นเรื่องเทจ

• أن السحر له حقيقة وتأثير في العقول والأبدان، والساحر كافر، وحكمه القتل.
แท้จริงแล้วไสยศาสตร์นั้นมีจริงและมีผลกระทบต่อสติปัญญาและร่างกาย และผู้ที่ทำไสยศาสตร์คือผู้ปฏิเสธศรัทธา และบทลงโทษของเขาก็คือการประหารชีวิต

• لا يقع في ملك الله تعالى شيء من الخير والشر إلا بإذنه وعلمه تعالى.
จะไม่มีสิ่งใดทั้งที่เป็นความดีและความชั่วเกิดขึ้นภายใต้การครอบครองของอัลลอฮ์ นอกจากด้วยการอนุมัติและความรอบรู้ของพระองค์ ผู้ทรงสูงส่งเท่านั้น

• سد الذرائع من مقاصد الشريعة، فكل قول أو فعل يوهم أمورًا فاسدة يجب تجنبه والبعد عنه.
การปิดกั้นช่องทาง(ที่นำไปสู่ความชั่ว)นั้นเป็นส่วนหนึ่งจากเจตนารมณ์แห่งกฎหมายอิสลาม ดังนั้นทุกๆ คำพูดหรือการกระทำที่นำพาไปสู่สิ่งที่เสียหาย จำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงและออกห่างไปจากมัน

• أن الفضل بيد الله تعالى وهو الذي يختص به من يشاء برحمته وحكمته.
แท้จริงความประเสริฐทั้งหลายนั้นอยู่ในพระหัตย์ของอัลลอฮฺ ตะอาลา และพระองค์ คือ ผู้ทรงเจาะจงสิ่งนั้นแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ ด้วยกับความเมตตาและวิทยปัญญาของพระองค์

 
భావార్ధాల అనువాదం వచనం: (102) సూరహ్: సూరహ్ అల్-బఖరహ్
సూరాల విషయసూచిక పేజీ నెంబరు
 
పవిత్ర ఖురాన్ యొక్క భావార్థాల అనువాదం - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم - అనువాదాల విషయసూచిక

الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم، صادر عن مركز تفسير للدراسات القرآنية.

మూసివేయటం