Check out the new design

పవిత్ర ఖురాన్ యొక్క భావార్థాల అనువాదం - తాయ్ అనువాదం - అల్ ఖుర్ఆన్ అల్ కరీమ్ యొక్క సంక్షిప్త తఫ్సీర్ వ్యాఖ్యానం * - అనువాదాల విషయసూచిక


భావార్ధాల అనువాదం వచనం: (37) సూరహ్: అల్-బఖరహ్
فَتَلَقَّىٰٓ ءَادَمُ مِن رَّبِّهِۦ كَلِمَٰتٖ فَتَابَ عَلَيۡهِۚ إِنَّهُۥ هُوَ ٱلتَّوَّابُ ٱلرَّحِيمُ
จากนั้นอาดัมก็ได้น้อมรับถ่อยคำต่างๆจากอัลลอฮ์ และทรงดลใจเขาให้วิงวอนขอด้วยถ่อยคำเหล่านั้น(ต่อพระองค์) โดยที่มันได้ถูกกล่าวไว้ในคำกล่าวของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า : (เขาทั้งสองได้กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของเรา เราได้อธรรมต่อตัวเราเอง และถ้าพระองค์ไม่ทรงอภัยโทษและเอ็นดูเมตตาแก่เรา แน่นอนพวกเราต้องกลายเป็นพวกที่ขาดทุน) [อัล-อะอฺร็อฟ:23] แล้วอัลลอฮฺก็ทรงตอบรับการกลับเนื้อกลับตัวของเขา และก็ทรงอภัยโทษให้แก่เขา และแท้จริงพระองค์ผู้มหาบริสุทธิ์เป็นผู้ที่เหลือล้นในการให้อภัยโทษต่อปวงบ่าวของพระองค์ เป็นผู้ทรงเมตตาต่อพวกเขาเสมอ
అరబీ భాషలోని ఖుర్ఆన్ వ్యాఖ్యానాలు:
ఈ పేజీలోని వచనాల ద్వారా లభించే ప్రయోజనాలు:
• الواجب على المؤمن إذا خفيت عليه حكمة الله في بعض خلقه وأَمْرِهِ أن يسلِّم لله في خلقه وأَمْرِهِ.
สิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ศรัทธาคือ การจำนนต่ออัลลอฮ์ในการสร้างและการบัญญัติของพระองค์ แม้การสร้างและการบัญญัตินั้นจะไม่ประจักษ์ถึงเหตุผลหรือวิทยปัญญาของมันก็ตาม

• رَفَعَ القرآن الكريم منزلة العلم، وجعله سببًا للتفضيل بين الخلق.
อัลกุรอานได้ยกฐานะของความรู้ และได้ทำให้มันเป็นสาเหตุในการยกระดับความต่างระหว่างมนุษย์

• الكِبْرُ هو رأس المعاصي، وأساس كل بلاء ينزل بالخلق، وهو أول معصية عُصِيَ الله بها.
การอวดใหญ่อวดโต คือ หัวใจหลักของความผิดทั้งหลาย และเป็นรากฐานของทุกๆ ภัยที่ลงมา และมันคือความผิดแรกที่เป็นการเนรคุณต่ออัลลอฮฺ

 
భావార్ధాల అనువాదం వచనం: (37) సూరహ్: అల్-బఖరహ్
సూరాల విషయసూచిక పేజీ నెంబరు
 
పవిత్ర ఖురాన్ యొక్క భావార్థాల అనువాదం - తాయ్ అనువాదం - అల్ ఖుర్ఆన్ అల్ కరీమ్ యొక్క సంక్షిప్త తఫ్సీర్ వ్యాఖ్యానం - అనువాదాల విషయసూచిక

ఇది తఫ్సీర్ అధ్యయన కేంద్రం ద్వారా విడుదల చేయబడింది.

మూసివేయటం