Қуръони Карим маъноларининг таржимаси - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم * - Таржималар мундарижаси


Маънолар таржимаси Оят: (229) Сура: Бақара сураси
ٱلطَّلَٰقُ مَرَّتَانِۖ فَإِمۡسَاكُۢ بِمَعۡرُوفٍ أَوۡ تَسۡرِيحُۢ بِإِحۡسَٰنٖۗ وَلَا يَحِلُّ لَكُمۡ أَن تَأۡخُذُواْ مِمَّآ ءَاتَيۡتُمُوهُنَّ شَيۡـًٔا إِلَّآ أَن يَخَافَآ أَلَّا يُقِيمَا حُدُودَ ٱللَّهِۖ فَإِنۡ خِفۡتُمۡ أَلَّا يُقِيمَا حُدُودَ ٱللَّهِ فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡهِمَا فِيمَا ٱفۡتَدَتۡ بِهِۦۗ تِلۡكَ حُدُودُ ٱللَّهِ فَلَا تَعۡتَدُوهَاۚ وَمَن يَتَعَدَّ حُدُودَ ٱللَّهِ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلظَّٰلِمُونَ
229-การหย่าที่สามีมีสิทธิที่จะกลับมาคืนดีได้นั้นมีสองครั้ง นั้นก็คือการที่เขานั้นได้หย่าครั้งหนึ่งแล้วก็กลับคืนดี หลังจากนั้นก็มีการหย่าอีกครั้งหนึ่งแล้วก็กลับคืนดีอีก หลังจากได้มีการหย่ากันสองครั้ง เขาอาจครองนางให้อยู่ในการดูแลของเขาพร้อมกับการใช้ชีวิตด้วยกันด้วยความชอบธรรม หรือหย่านางเป็นครั้งที่สาม พร้อมด้วยการปฏิบัติดีต่อนางและดูแลรับผิดชอบในด้านสิทธิต่างๆของนาง โอ้บรรดาสามีทั้งหลายเอ๋ย ไม่อนุญาตแก่พวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะเอาสิ่งใดๆ จากสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนาง(มะฮัร) นอกจากในกรณีที่ภรรยานั้นเกลียดสามีของนางจากสาเหตุด้านความประพฤติหรือรูปร่างหน้าตา และจากสาเหตุความเกลียดชังนี้ทำให้ทั้งคู่คิดว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ของตัวเองในฐานะคู่ครองได้แล้ว ดังนั้นทั้งสองจึงนำเรื่องที่เกิดขึ้นมาเสนอแก่ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับทั้งสองที่มีความสัมพันธ์เป็นญาตที่ไกล้ชิดหรือผู้อื่น ดังนั้นหากผู้ปกครองเกรงว่าพวกเขาทั้งสองไม่สามารถที่จะธำรงไว้ซึ่งสิทธิของแต่ละฝ่ายในฐานะคู่ครองแล้ว ก็ไม่เป็นการผิดอะไรสำหรับทั้งสองที่จะให้ฝ่ายหญิงทำการไถ่ตัวของนางด้วยการมอบทรัพย์สินให้สามีเพื่อแลกกับการหย่ากับนาง นี์คือกฎเกณฑ์ต่างๆทางศาสนาที่แยกระหว่างสิ่งที่ฮะลาล(สิ่งที่อนุมัติ)กับสิ่งที่หะรอม(สิ่งที่ห้าม)จงอย่าละเมิดกฎเกณฑ์นี้ และผู้ใดที่ละเมิดกฎเกณฑ์ของอัลลอฮ์ระหว่างฮะลาล(สิ่งที่อนุมัติ)และหะรอม(สิ่งที่ห้าม)แล้ว พวกเขาคือผู้ที่อธรรมต่อตัวของพวกเขาเองที่นำตัวเองสู่ความหายนะและนำตัวเองสู่ความโกรธกริ้วและการลงโทษของอัลลอฮ์
Арабча тафсирлар:
Ушбу саҳифадаги оят фойдаларидан:
• بيَّن الله تعالى أحكام النكاح والطلاق بيانًا شاملًا حتى يعرف الناس حدود الحلال والحرام فلا يتجاوزونها.
อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงแจกแจงบทบัญญัติเรื่องการแต่งงานและการหย่าร้างอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จนทำให้ผู้คนได้รู้ถึงขอบเขตที่หะลาล(ที่อนุมัติ)และหะรอม(ที่ต้องห้าม) เพื่อพวกเขาจะได้ไม่ละเมิดมัน

• عظَّم الله شأن النكاح وحرم التلاعب فيه بالألفاظ فجعلها ملزمة، وألغى التلاعب بكثرة الطلاق والرجعة فجعل لها حدًّا بطلقتين رجعيتين ثم تحرم عليه إلا أن تنكح زوجا غيره ثم يطلقها، أو يموت عنها.
อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงให้ความสำคัญในเรื่องการแต่งงานและไม่อนุญาตให้มีการหยอกล้อกันด้วยคำพูดต่าง ๆ ที่จะทำให้มันกลายเป็นจริง ดังนั้นจึงยกเลิกการหยอกล้อกันในเรื่องการหย่าและการคืนดีกันหลาย ๆ ครั้ง จึงกำหนดกฎเกณฑ์ในการหย่าที่สามารถคืนดีได้นั้นได้แค่สองครั้งเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะไม่เป็นที่อนุญาตแก่เขาอีก จนกว่านางจะแต่งงานกับชายอื่น แล้วสามีคนที่สองนั้นได้หย่านาง

• المعاشرة الزوجية تكون بالمعروف، فإن تعذر ذلك فلا بأس من الطلاق، ولا حرج على أحد الزوجين أن يطلبه.
การอยู่ร่วมกันสามีภรรยานั้นต้องอยู่ด้วยความชอบธรรม แต่ถ้าความชอบธรรมนั้นไม่เกิดขึ้น การหย่าร้างนั้นก็เป็นที่อนุญาตและไม่เป็นเรื่องบาปอะไร สำหรับคนใดคนหนึ่งที่เป็นสามีภรรยาที่จะขอหย่ากัน

 
Маънолар таржимаси Оят: (229) Сура: Бақара сураси
Суралар мундарижаси Бет рақами
 
Қуръони Карим маъноларининг таржимаси - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم - Таржималар мундарижаси

الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم، صادر عن مركز تفسير للدراسات القرآنية.

Ёпиш