Қуръони Карим маъноларининг таржимаси - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم * - Таржималар мундарижаси


Маънолар таржимаси Оят: (27) Сура: Моида сураси
۞ وَٱتۡلُ عَلَيۡهِمۡ نَبَأَ ٱبۡنَيۡ ءَادَمَ بِٱلۡحَقِّ إِذۡ قَرَّبَا قُرۡبَانٗا فَتُقُبِّلَ مِنۡ أَحَدِهِمَا وَلَمۡ يُتَقَبَّلۡ مِنَ ٱلۡأٓخَرِ قَالَ لَأَقۡتُلَنَّكَۖ قَالَ إِنَّمَا يَتَقَبَّلُ ٱللَّهُ مِنَ ٱلۡمُتَّقِينَ
โอ้ท่านเราะซูล จงเล่าให้ชาวยิวผู้มีนิสัยอิจฉาและอธรรมได้ฟังเรื่องราวบุตรชายสองคนของอาดัม กอบีลและฮาบีลด้วยความจริงโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ ขณะที่ทั้งสองได้กระทำการพลีซึ่งสิ่งพลีเพื่อเป็นการสร้างความไกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ แล้วอัลลอฮฺก็รับสิ่งพลีของฮาบีล เพราะเขาเป็นผู้ยำเกรง โดยที่ไม่รับสิ่งพลีของกอบีล เพราะเขาไม่ได้เป็นผู้ยำเกรง ดังนั้นด้วยความอิจฉากอบีลจึงรับไม่ได้ที่สิ่งพลีของฮาบีลถูกตอบรับและกล่าวว่า แน่นอนข้าจะฆ่าเจ้าโอ้ฮาบีล ฮาบีลก็ได้กล่าวตอบว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะตอบรับสิ่งพลีของผู้ที่ยำเกรงพระองค์ด้วยการปฏิบัติคำสั่งใช้ของพระองค์และออกห่างจากคำสั่งห้ามของพระองค์
Арабча тафсирлар:
Ушбу саҳифадаги оят фойдаларидан:
• مخالفة الرسل توجب العقاب، كما وقع لبني إسرائيل؛ إذ عاقبهم الله تعالى بالتِّيه.
•การไม่เชื่อฟังเราะซูลนั้นจำเป็นต้องได้รับโทษ ดังที่เคยประสบกับบะนีอิสรออีลที่อัลลอฮฺได้ลงโทษพวกเขาให้หลงทางเร่ร่อน

• قصة ابني آدم ظاهرها أن أول ذنب وقع في الأرض - في ظاهر القرآن - هو الحسد والبغي، والذي أدى به للظلم وسفك الدم الحرام الموجب للخسران.
•ถ้าดูจากเรื่องราวบุตรชายทั้งสองของอาดัมแล้ว จะพบว่าบาปแรกที่เกิดขึ้นในโลกนี้คือ การอิจฉาและการละเมิด ซึ่งเป็นที่มาของการนำไปสู่การอธรรมและการนองเลือดที่ต้องห้ามที่จำเป็นต้องได้รับการขาดทุน

• الندامة عاقبة مرتكبي المعاصي.
• การโศกเศร้าเสียใจนั้นคือผลที่จะตามมาของผู้ที่กระทำบาป

• أن من سَنَّ سُنَّة قبيحة أو أشاع قبيحًا وشجَّع عليه، فإن له مثل سيئات من اتبعه على ذلك.
•ผู้ใดที่ทำตัวอย่างที่ไม่ดี หรือแพร่สิ่งที่ไม่ดี หรือส่งเสริมมัน แน่นอนเขาจะได้รับบาปเท่ากับบาปของผู้ที่กระทำตาม

 
Маънолар таржимаси Оят: (27) Сура: Моида сураси
Суралар мундарижаси Бет рақами
 
Қуръони Карим маъноларининг таржимаси - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم - Таржималар мундарижаси

الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم، صادر عن مركز تفسير للدراسات القرآنية.

Ёпиш