ترجمة معاني القرآن الكريم - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم * - فهرس التراجم


ترجمة معاني آية: (64) سورة: البقرة
ثُمَّ تَوَلَّيۡتُم مِّنۢ بَعۡدِ ذَٰلِكَۖ فَلَوۡلَا فَضۡلُ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ وَرَحۡمَتُهُۥ لَكُنتُم مِّنَ ٱلۡخَٰسِرِينَ
แล้วไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นจากพวกเจ้าเลย เว้นเสียแต่การผินหลังให้และการฝ่าฝืนของพวกเจ้าเท่านั้น หลังจากการยึดเอาคำมั่นสัญญาอันแน่วแน่ที่อยู่เหนือพวกเจ้า และหากไม่ใช่เพราะความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มอบให้แก่พวกเจ้า โดยการอภัยโทษให้แก่พวกเจ้า และความเมตตาของพระองค์ด้วยการตอบรับการกลับเนื้อกลับตัวของพวกเจ้าแล้ว แน่นอนพวกเจ้าย่อมกลายเป็นพวกที่ขาดทุนด้วยสาเหตุของการผินหลังให้และการฝ่าฝืนนั้น
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• الحُكم المذكور في الآية الأولى لِمَا قبل بعثة النبي صلى الله عليه وسلم، وأما بعد بعثته فإن الدين المَرْضِيَّ عند الله هو الإسلام، لا يقبل غيره، كما قال الله تعالى: ﴿ وَمَنْ يَبْتَغِ غَيْرَ الْإِسْلَامِ دِينًا فَلَنْ يُقْبَلَ مِنْه ﴾ (آل عمران: 85).
บทบัญญัติที่ระบุไว้ในโองการแรกนั้น มีไว้สำหรับก่อนที่จะมีการบังเกิดท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม ส่วนภายหลังการบังเกิดของท่านนบี แท้จริงแล้วศาสนาที่เป็นที่ยอมรับ ณ ที่อัลลอฮฺนั้น คือ อิสลาม พระองค์จะไม่ทรงยอมรับศาสนาอื่นใดนอกจากอิสลามเท่านั้น ดังเช่นที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสไว้ว่า (และผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลาม ศาสนานั้นจะไม่ถูกตอบรับจากเขาเป็นอันขาด)[อาลิอิมรอน 85]

• قد يُعَجِّلُ الله العقوبة على بعض المعاصي في الدنيا قبل الآخرة؛ لتكون تذكرة يتعظ بها الناس فيحذروا مخالفة أمر الله تعالى.
อัลลอฮฺอาจทรงเร่งการลงโทษต่อบาปบางอย่างในโลกนี้ก่อนวันปรโลก เพื่อเป็นข้อเตือนสติ ไว้ให้มนุษย์ได้คิดใคร่ครวญต่อมัน และจะได้ระมัดระวังจากสิ่งที่เป็นข้อละเมิดต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺ ตะอาลา

• أنّ من ضيَّق على نفسه وشدّد عليها فيما ورد موسَّعًا في الشريعة، قد يُعاقَبُ بالتشديد عليه.
แท้จริงผู้ใดที่ทำให้เกิดความคับแคบและลำบากต่อตัวของเขาในสิ่งที่ศาสนาเปิดกว้าง เขาอาจถูกลงโทษด้วยการให้เกิดความยากลำบากต่อตัวของเขา

 
ترجمة معاني آية: (64) سورة: البقرة
فهرس السور رقم الصفحة
 
ترجمة معاني القرآن الكريم - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم - فهرس التراجم

الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم، صادر عن مركز تفسير للدراسات القرآنية.

إغلاق