ترجمة معاني القرآن الكريم - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم * - فهرس التراجم


ترجمة معاني سورة: البقرة   آية:

سورة البقرة - Al-Baqarah

من مقاصد السورة:
الأمر بتحقيق الخلافة في الأرض بإقامة الإسلام، والاستسلام لله، والتحذير من حال بني إسرائيل.
สั่งให้มีการจัดการเรื่องคิลาฟะฮ์ (หัวหน้า) บนหน้าแผ่นดิน โดยการดำรงไว้ซึ่งอิสลามและการยอมจำนนต่ออัลลอฮ์ และเตือนให้ระวังถึงสภาพของวงศ์วานของอิสรออีล

الٓمٓ
อะลิฟ ลาม มีม อักษรเหล่านี้เป็นอักษรที่ถูกใช้เป็นปฐมบทในบางซูเราะฮ์ของอัลกุรอาน ซึ่งเป็นอักษรภาษาอาหรับที่ไม่มีความหมายในตัวของมันเอง เมื่อมันปรากฎเป็นตัวเดี่ยว เช่น อะลิฟ บาอ์ ตาอ์ แต่มันจะมีทั้งหิกมะฮ์ (วิทยปัญญา) และเป้าหมายแฝงอยู่ เนื่องจากในอัลกุรอานจะไม่มีสิ่งที่ไม่มีหิกมะฮ์ ในจำนวนหิกมะฮ์ที่สำคัญก็คือ ชี้ให้เห็นถึงการท้าทายด้วยอัลกุรอานที่ประกอบไปด้วยตัวอักษรชนิดเดียวกับที่พวกเขารู้จักและใช้พูดคุย ฉะนั้นโดยส่วนใหญ่จะพบว่าหลังจากมีการใช้อักษรพวกนี้แล้ว มักจะตามมาด้วยการพูดถึงอัลกุรอานอยู่เสมอ ดังที่ปรากฏในซูเราะฮ์นี้
التفاسير العربية:
ذَٰلِكَ ٱلۡكِتَٰبُ لَا رَيۡبَۛ فِيهِۛ هُدٗى لِّلۡمُتَّقِينَ
คัมภีร์อัลกุรอานอันทรงเกียรตินี้ ไม่มีความสงสัยใดๆ ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นความสงสัยในเรื่องการประทานคัมภีร์ ความสงสัยในคำและความหมายของมัน และคัมภีร์นี้คือพระดำรัสของอัลลอฮ์ ที่ชี้นำบรรดาผู้ยำเกรงไปยังเส้นทางสู่พระองค์
التفاسير العربية:
ٱلَّذِينَ يُؤۡمِنُونَ بِٱلۡغَيۡبِ وَيُقِيمُونَ ٱلصَّلَوٰةَ وَمِمَّا رَزَقۡنَٰهُمۡ يُنفِقُونَ
บรรดาผู้ศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ อันหมายถึง สิ่งที่ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของเรา เป็นสิ่งที่อัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ได้บอกไว้ เช่น วันอาคิเราะฮ์ พวกเขาคือผู้ที่ดำรงการละหมาดอย่างถูกต้องตรงตามที่อัลลอฮ์ได้ทรงบัญญัติไว้ ทั้งเงื่อนไข องค์ประกอบ ข้อบังคับ ข้อส่งเสริมต่างๆ พวกเขายังได้ใช้จ่ายจากสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ประทานให้ด้วยการจ่ายที่วาญิบเช่นซะกาต หรือไม่วาญิบเช่นการบริจาคทาน โดยมุ่งหวังผลบุญจากอัลลอฮ์ พวกเขาคือผู้ศรัทธาต่อวะห์ยู/วิวรณ์ที่พระองค์ประทานแก่เจ้า -โอ้ท่านนบี- และที่พระองค์ประทานแก่บรรดานบีท่านอื่นๆ อะลัยฮิมุสสลาม ทุกคนก่อนหน้าเจ้าโดยไม่แบ่งแยก และพวกเขาคือบรรดาผู้ที่ศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยมต่อวันอาคิเราะฮ์ และผลตอบแทนต่างๆ ในวันนั้นไม่ว่าจะเป็นผลบุญและการลงโทษ
التفاسير العربية:
وَٱلَّذِينَ يُؤۡمِنُونَ بِمَآ أُنزِلَ إِلَيۡكَ وَمَآ أُنزِلَ مِن قَبۡلِكَ وَبِٱلۡأٓخِرَةِ هُمۡ يُوقِنُونَ
บรรดาผู้ศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ อันหมายถึง สิ่งที่ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของเรา เป็นสิ่งที่อัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ได้บอกไว้ เช่น วันอาคิเราะฮ์ พวกเขาคือผู้ที่ดำรงการละหมาดอย่างถูกต้องตรงตามที่อัลลอฮ์ได้ทรงบัญญัติไว้ ทั้งเงื่อนไข องค์ประกอบ ข้อบังคับ ข้อส่งเสริมต่างๆ พวกเขายังได้ใช้จ่ายจากสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์ประทานให้ด้วยการจ่ายที่วาญิบเช่นซะกาต หรือไม่วาญิบเช่นการบริจาคทาน โดยมุ่งหวังผลบุญจากอัลลอฮ์ พวกเขาคือผู้ศรัทธาต่อวะห์ยู/วิวรณ์ที่พระองค์ประทานแก่เจ้า -โอ้ท่านนบี- และที่พระองค์ประทานแก่บรรดานบีท่านอื่นๆ อะลัยฮิมุสสลาม ทุกคนก่อนหน้าเจ้าโดยไม่แบ่งแยก และพวกเขาคือบรรดาผู้ที่ศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยมต่อวันอาคิเราะฮ์ และผลตอบแทนต่างๆ ในวันนั้นไม่ว่าจะเป็นผลบุญและการลงโทษ
التفاسير العربية:
أُوْلَٰٓئِكَ عَلَىٰ هُدٗى مِّن رَّبِّهِمۡۖ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُفۡلِحُونَ
ชนเหล่านั้นที่มีคุณลักษณะที่ได้กล่าวไว้จะดำรงอยู่ในหนทางแห่งทางนำ พวกเขาคือผู้ได้รับชัยชนะทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮ์ โดยพวกเขาจะได้รับสิ่งที่พวกเขาปรารถนา และรอดพ้นจากสิ่งที่พวกเขาหวาดกลัว
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• الثقة المطلقة في نفي الرَّيب دليل على أنه من عند الله؛ إذ لا يمكن لمخلوق أن يدعي ذلك في كلامه.
• ความมั่นใจอย่างไร้ที่ติในการปฏิเสธความสงสัยคลางแคลง เป็นสิ่งยืนยันว่าอัลกุรอานนั้นมาจากอัลลอฮฺอย่างแน่นอน เพราะมัคลูก (สิ่งที่ถูกสร้าง) ย่อมไม่อาจที่จะกล่าวอ้างเช่นนี้ต่อพระดำรัสของพระองค์ได้

• لا ينتفع بما في القرآن الكريم من الهدايات العظيمة إلا المتقون لله تعالى المعظِّمون له.
• ไม่มีผู้ใดที่จะรับประโยชน์จากทางนำต่างๆ อันยิ่งใหญ่ในอัลกุรอานได้ ยกเว้นบรรดาผู้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา ผู้ที่ยกย่องให้เกียรติพระองค์เท่านั้น

• من أعظم مراتب الإيمانِ الإيمانُ بالغيب؛ لأنه يتضمن التسليم لله تعالى في كل ما تفرد بعلمه من الغيب، ولرسوله بما أخبر عنه سبحانه.
• หนึ่งในระดับการศรัทธาอันยิ่งใหญ่คือการศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับ เพราะแท้จริงมันได้รวมไว้ทั้งการยอมสยบต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสิ่งเร้นลับที่พระองค์ทรงรอบรู้เพียงผู้เดียว และต่อศาสนทูตของพระองค์ในสิ่งที่ท่านได้นำมาบอกจากพระองค์ ผู้ทรงมหาบริสุทธิ์

• كثيرًا ما يقرن الله تعالى بين الصلاة والزكاة؛ لأنَّ الصلاة إخلاص للمعبود، والزكاة إحسان للعبيد، وهما عنوان السعادة والنجاة.
• บ่อยครั้งที่อัลลอฮฺตะอาลาได้ทรงกล่าวถึงการละหมาดและการจ่ายซะกาตควบคู่กัน เนื่องจากการละหมาดนั้นเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ ส่วนการจ่ายซะกาตนั้นเป็นการแสดงความดีต่อมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งสองสิ่งนี้เป็นเนื้อแท้แห่งความสุขและความสำเร็จ

• الإيمان بالله تعالى وعمل الصالحات يورثان الهداية والتوفيق في الدنيا، والفوز والفلاح في الأُخرى.
• การศรัทธาต่ออัลลอฮฺตะอาลา และการปฏิบัติความดีต่างๆ จะก่อให้เกิดทางนำและความสำเร็จในดุนยา และได้รับชัยชนะในอาคิเราะฮ์

إِنَّ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ سَوَآءٌ عَلَيۡهِمۡ ءَأَنذَرۡتَهُمۡ أَمۡ لَمۡ تُنذِرۡهُمۡ لَا يُؤۡمِنُونَ
แท้จริงบรรดาผู้ที่การลิขิตของอัลลอฮ์ได้เกิดขึ้นแก่พวกเขาด้วยการไม่ศรัทธา พวกเขาจะมั่นคงดำเนินชีวิตอยู่บนการหลงผิดและการปฏิเสธศรัทธา ดังนั้นการตักเตือนของเจ้าที่มีต่อพวกเขาหรือไม่ตักเตือน ก็มีค่าเท่ากัน
التفاسير العربية:
خَتَمَ ٱللَّهُ عَلَىٰ قُلُوبِهِمۡ وَعَلَىٰ سَمۡعِهِمۡۖ وَعَلَىٰٓ أَبۡصَٰرِهِمۡ غِشَٰوَةٞۖ وَلَهُمۡ عَذَابٌ عَظِيمٞ
เนื่องจากอัลลอฮ์ได้ทรงประทับตราลงบนหัวใจของพวกเขา จึงทำให้ความชั่วช้าถูกกักขังไว้ในหัวใจของพวกเขา และได้ทรงประทับตราบนหูของพวกเขา จึงไม่สามารถรับฟังสัจธรรมอย่างยอมรับและปฏิบัติตามคำสั่งได้ และได้ทรงบดบังสายตาพวกเขา พวกเขาจึงไม่สามารถมองเห็นสัจธรรม ทั้งๆ ที่มันชัดแจ้ง และสำหรับพวกเขาในเหล่านั้นคือการลงโทษอันมหันต์
التفاسير العربية:
وَمِنَ ٱلنَّاسِ مَن يَقُولُ ءَامَنَّا بِٱللَّهِ وَبِٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِ وَمَا هُم بِمُؤۡمِنِينَ
และจะมีู้คนกลุ่มหนึ่งได้อ้างว่าพวกเขาเป็นผู้ศรัทธา ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างเพียงลมปากเท่านั้นเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขา แต่แท้ที่จริงแล้วภายในจิตใจพวกเขาได้ปฎิเสธศรัทธา
التفاسير العربية:
يُخَٰدِعُونَ ٱللَّهَ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَمَا يَخۡدَعُونَ إِلَّآ أَنفُسَهُمۡ وَمَا يَشۡعُرُونَ
พวกเขาเหล่านั้นคิดด้วยความเขลาของพวกเขาว่า พวกเขาได้แสร้งหลอกอัลลอฮ์และบรรดาผู้ศรัทธา ด้วยการแสดงออกถึงการศรัทธา และปกปิดการปฏิเสธอยู่ในใจ แต่พวกเขาไม่รู้สึกตัวเลย เพราะอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ความลับและสิ่งที่ปิดบังไว้ และพระองค์ได้ทรงเปิดโปงคุณลักษณะและสภาพของพวกเขาให้ผู้ศรัทธาได้รับรู้
التفاسير العربية:
فِي قُلُوبِهِم مَّرَضٞ فَزَادَهُمُ ٱللَّهُ مَرَضٗاۖ وَلَهُمۡ عَذَابٌ أَلِيمُۢ بِمَا كَانُواْ يَكۡذِبُونَ
และสาเหตุคือ ในหัวใจของพวกเขามีการสงสัย แล้วอัลลอฮฺก็ได้ทรงเพิ่มความสงสัยนั้นให้แก่พวกเขาอีก เพราะการตอบแทนนั้นจะได้รับตามสิ่งที่ได้ปฏิบัติ และสำหรับพวกเขาคือการลงโทษอันสาหัสในชั้นที่ต่ำที่สุดของนรก เนื่องจากพวกเขาโกหกต่ออัลลอฮฺและมนุษย์ และปฏิเสธสิ่งที่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้นำมา
التفاسير العربية:
وَإِذَا قِيلَ لَهُمۡ لَا تُفۡسِدُواْ فِي ٱلۡأَرۡضِ قَالُوٓاْ إِنَّمَا نَحۡنُ مُصۡلِحُونَ
และเมื่อพวกเขาได้ถูกห้ามจากการก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดินด้วยการปฏิเสธศรัทธา การทำชั่ว และอื่นๆ พวกเขาก็จะค้านและอ้างว่า แท้จริงพวกเขาคือกลุ่มชนผู้หวังดีและพัฒนา
التفاسير العربية:
أَلَآ إِنَّهُمۡ هُمُ ٱلۡمُفۡسِدُونَ وَلَٰكِن لَّا يَشۡعُرُونَ
ซึ่งความจริงแล้วพวกเขาคือกลุ่มชนที่เป็นผู้ก่อความเสียหายต่างหาก แต่ทว่าพวกเขาไม่รู้สึก และไม่สำนึกด้วยว่าการกระทำของพวกเขานั่นคือการก่อความเสียหาย
التفاسير العربية:
وَإِذَا قِيلَ لَهُمۡ ءَامِنُواْ كَمَآ ءَامَنَ ٱلنَّاسُ قَالُوٓاْ أَنُؤۡمِنُ كَمَآ ءَامَنَ ٱلسُّفَهَآءُۗ أَلَآ إِنَّهُمۡ هُمُ ٱلسُّفَهَآءُ وَلَٰكِن لَّا يَعۡلَمُونَ
เมื่อพวกเขาถูกสั่งใช้ให้ศรัทธาดั่งเช่นบรรดาสหายของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมศรัทธา พวกเขาก็จะตอบปฏิเสธและเย้ยหยันทำนองว่า จะให้เราศรัทธาเหมือนกับพวกเบาปัญญากระนั้นหรือ? ทว่าความจริงนั้น พวกเขาเองต่างหากที่เป็นผู้โง่เขลา แต่พวกเขาหารู้ไม่
التفاسير العربية:
وَإِذَا لَقُواْ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ قَالُوٓاْ ءَامَنَّا وَإِذَا خَلَوۡاْ إِلَىٰ شَيَٰطِينِهِمۡ قَالُوٓاْ إِنَّا مَعَكُمۡ إِنَّمَا نَحۡنُ مُسۡتَهۡزِءُونَ
เมื่อพวกเขาได้พบเจอผู้ศรัทธา พวกเขาก็กล่าวว่า เราเชื่อในสิ่งที่พวกท่านศรัทธาแล้ว พวกเขาพูดเช่นนั้นก็เพราะเกรงกลัวผู้ศรัทธา แต่เมื่อพวกเขาได้จากผู้ศรัทธาไป และกลับไปหาบรรดาหัวโจกของพวกเขาแต่ลำพัง พวกเขาก็กล่าวกับพวกหัวโจกเพื่อเป็นการยืนยันถึงความภัคดีที่มั่นคงของพวกเขาโดยกล่าวว่า พวกเรายึดมั่นที่จะภักดีและติดตามพวกท่าน พวกเรายังอยู่กับแนวทางของพวกท่าน ที่เราเห็นด้วยกับผู้ศรัทธาไปนั้น เป็นเพียงการล้อเล่นและเย้ยหยันเท่านั้น
التفاسير العربية:
ٱللَّهُ يَسۡتَهۡزِئُ بِهِمۡ وَيَمُدُّهُمۡ فِي طُغۡيَٰنِهِمۡ يَعۡمَهُونَ
อัลลอฮฺจะทรงเย้ยหยันพวกเขา ซึ่งเป็นการโต้กลับต่อการเยาะเย้ยของพวกเขาที่มีต่อบรรดาผู้ศรัทธา เพื่อเป็นการตอบแทนสำหรับพวกเขาตามสิ่งที่พวกเขาได้ทำไว้ และด้วยเหตุนี้พวกเขาจะถูกดำเนินตามบทบัญญัติของบรรดามุสลิมในโลกนี้ แต่ในวันปรโลกพระองค์จะทรงตอบแทนพวกเขาตามการปฏิเสธศรัทธาและการกลับกลอกของพวกเขา และเช่นกันพระองค์จะทรงยืดเวลาให้พวกเขา เพื่อให้พวกเขาได้ระเหเร่ร่อนอยู่ในการหลงผิดและการละเมิดของพวกเขา แล้วพวกเขาก็ยังคงงงงวย มีความลังเลต่อไป
التفاسير العربية:
أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ ٱشۡتَرَوُاْ ٱلضَّلَٰلَةَ بِٱلۡهُدَىٰ فَمَا رَبِحَت تِّجَٰرَتُهُمۡ وَمَا كَانُواْ مُهۡتَدِينَ
บรรดาผู้กลับกลอกที่มีคุณลักษณะเช่นนี้ พวกเขาคือผู้ที่ได้แลกเปลี่ยนการปฏิเสธศรัทธาด้วยการศรัทธา ดังนั้น การค้าขายของพวกเขาจึงไม่ได้กำไร เนื่องจากการขาดทุนของพวกเขาที่ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์นั่นเอง และพวกเขาก็ไม่ได้เป็นบรรดาผู้ที่ได้รับนำทางไปสู่สัจธรรม
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• أن من طبع الله على قلوبهم بسبب عنادهم وتكذيبهم لا تنفع معهم الآيات وإن عظمت.
แท้จริงผู้ที่อัลลอฮฺได้ทรงประทับตราไว้บนหัวใจของพวกเขา เนื่องด้วยการดื้อรั้นของพวกเขา และการปฏิเสธของพวกเขา ทำให้โองการต่างๆนั้นไม่เกิดประโยชน์อันใดเลยต่อพวกเขา ถึงแม่ว่าโองการเหล่านั้นจะยิ่งใหญ่สักเพียงใดก็ตาม

• أن إمهال الله تعالى للظالمين المكذبين لم يكن عن غفلة أو عجز عنهم، بل ليزدادوا إثمًا، فتكون عقوبتهم أعظم.
แท้จริงการที่อัลลอฮฺไม่รีบร้อนในการที่จะลงโทษต่อบรรดาผู้ที่อธรรมที่ปฏิเสธทั้งหลายนั้น ไม่ใช่เพราะพระองค์พลั้งเผลอหรือไร้ความสามารถต่อพวกเขา แต่ทว่าเพื่อเป็นการปล่อยให้พวกเขาทั้งหลายได้ทวีคูณความชั่ว แล้วการลงโทษสำหรับพวกเขาก็จะทวีคูณเช่นกัน

مَثَلُهُمۡ كَمَثَلِ ٱلَّذِي ٱسۡتَوۡقَدَ نَارٗا فَلَمَّآ أَضَآءَتۡ مَا حَوۡلَهُۥ ذَهَبَ ٱللَّهُ بِنُورِهِمۡ وَتَرَكَهُمۡ فِي ظُلُمَٰتٖ لَّا يُبۡصِرُونَ
อัลลอฮฺได้ทรงอุปมาบรรดาผู้กลับกลอกเหล่านั้นไว้ดั่งสองอย่าง คือ ดั่งไฟ และดั่งน้ำ ส่วนรูปแบบของพวกเขาที่เปรียบดั่งไฟนั้น คือ พวกเขาเปรียบดั่งผู้ที่ได้จุดไฟเพื่อที่จะแสวงหาความสว่างจากมัน ครั้นเมื่อแสงของมันได้สว่างขึ้น และคิดว่าแท้จริงมันจะเป็นประโยชน์ ทันใดที่มันได้มอดลง การส่องแสงนั้นก็จากหายไป และหลงเหลือไว้ซึ่งการเผาไหม้ แล้วบรรดาเจ้าของกองเพลิงเหล่านั้นก็ตกอยู่ในความมืดมิด ซึ่งพวกเขานั้นก็จะไม่สามารถมองเห็นสิ่งใด และจะไม่ได้รับทางนำใดๆ เลย
التفاسير العربية:
صُمُّۢ بُكۡمٌ عُمۡيٞ فَهُمۡ لَا يَرۡجِعُونَ
แล้วเขาเหล่านั้นเป็นคนหูหนวก พวกเขาจะไม่ยอมรับฟังสัจธรรม เป็นใบ้ซึ่งพวกเขาจะไม่ยอมพูดถึงมัน และตาบอดโดยไม่เล็งเห็นมัน ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถจะกลับมาจากการหลงทางของพวกเขาได้
التفاسير العربية:
أَوۡ كَصَيِّبٖ مِّنَ ٱلسَّمَآءِ فِيهِ ظُلُمَٰتٞ وَرَعۡدٞ وَبَرۡقٞ يَجۡعَلُونَ أَصَٰبِعَهُمۡ فِيٓ ءَاذَانِهِم مِّنَ ٱلصَّوَٰعِقِ حَذَرَ ٱلۡمَوۡتِۚ وَٱللَّهُ مُحِيطُۢ بِٱلۡكَٰفِرِينَ
และที่เปรียบพวกเขาดั่งน้ำนั้น คือ พวกเขาเปรียบดั่งฝนจำนวนมากที่หลั่งลงมาจากก้อนเมฆ โดยที่ในฝนนั้นมีทั้งบรรดาความมืดที่สลับทับซ้อน ฟ้าคำรณ และฟ้าแลบ ที่ได้หล่นลงมาบนกลุ่มชนหนึ่ง แล้วความตระหนกตกใจสุดกลัวก็ได้มาประสบกับพวกเขา จากนั้นพวกเขาก็ได้เอาปลายนิ้วมือของพวกเขาอุดหูไว้เนื่องจากเสียงฟ้าผ่าที่ดังลั่น ทั้งนี้เพราะกลัวความตาย และอัลลอฮฺนั้นทรงล้อมพวกปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้นไว้แล้ว พวกเขาจะไม่ทำให้พระองค์อ่อนแอลงได้
التفاسير العربية:
يَكَادُ ٱلۡبَرۡقُ يَخۡطَفُ أَبۡصَٰرَهُمۡۖ كُلَّمَآ أَضَآءَ لَهُم مَّشَوۡاْ فِيهِ وَإِذَآ أَظۡلَمَ عَلَيۡهِمۡ قَامُواْۚ وَلَوۡ شَآءَ ٱللَّهُ لَذَهَبَ بِسَمۡعِهِمۡ وَأَبۡصَٰرِهِمۡۚ إِنَّ ٱللَّهَ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٞ
สายฟ้าแลบที่มาจากความสุดวาววับและเจิดจ้าของมัน แทบจะโฉบเฉี่ยวเอาสายตาของพวกเขาไป คราใดที่ได้เกิดฟ้าแลบและให้แสงสว่างแก่พวกเขา พวกเขาก็เดินไปในแสงสว่างนั้น และเมื่อมันมืดลงพวกเขาก็จะตกอยู่ในความมืดนั้น แล้วพวกเขาก็ไม่สามารถที่จะขยับไปไหนได้ และหากอัลลอฮฺทรงประสงค์แล้ว แน่นอนพระองค์จะทรงนำเอาหูและตาของพวกเขาไป ด้วยกับความสามารถของพระองค์อันเหลือล้นต่อทุกๆ สิ่ง แน่นอนมันจะไม่กลับคืนไปยังพวกเขา เนื่องจากการหันหลังให้ของพวกเขาที่มีต่อความจริง ดังนั้นฝนนั้นก็เปรียบดั่งอัลกุรอาน เสียงฟ้าคำรณก็เปรียบดั่งการห้ามปรามที่มีอยู่ในอัลกุรอาน แสงฟ้าแลบก็เปรียบดั่งการปรากฏของความจริงแก่พวกเขาในบางครั้งบางครา และการปิดหูที่เกิดจากความรุนแรงของฟ้าผ่านั้นเปรียบดั่งการหันหลังของพวกเขาต่อความจริงและการไม่ยอมรับต่อมัน และความคล้ายคลึงกันระหว่างบรรดาผู้กลับกลอกกับกลุ่มคนที่ได้อุปมาดั่งสองตัวอย่างนั้น คือ การไม่ได้รับประโยชน์อันใดเลย ซึ่งในตัวอย่างของไฟนั้น : ผู้ที่จุดไฟเขาจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยนอกจากความมืดและการเผาไหม้เท่านั้น และในตัวอย่างของน้ำ : บรรดาผู้ที่ได้รับฝนก็ไม่ได้ประโยชน์อันใดเลยนอกจากฟ้าร้องและฟ้าผ่าที่มาหลอกให้เกิดความกลัวแก่พวกเขาและสร้างความรำคาญแก่พวกเขา และเฉกเช่นนั้นแหละบรรดาผู้กลับกลอก พวกเขาจะไม่เห็นสิ่งใดเลยในอิสลาม เว้นเสียแต่ความรุนแรงและความโหดร้าย
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ ٱعۡبُدُواْ رَبَّكُمُ ٱلَّذِي خَلَقَكُمۡ وَٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ
มนุษย์เอ๋ย! จงเคารพอิบาดะฮฺต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าแต่เพียงผู้เดียวโดยที่ไม่มีสิ่งอื่นใดนอกจากพระองค์เถิด เพราะแท้จริงพระองค์คือผู้ที่ทรงบังเกิดพวกเจ้า และบรรดาประชาชาติที่มาก่อนพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าทั้งหลายจะได้นำมันมาเป็นสิ่งป้องกันระหว่างพวกเจ้าและการลงโทษของพระองค์ ด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์และออกห่างจากคำสั่งห้ามของพระองค์
التفاسير العربية:
ٱلَّذِي جَعَلَ لَكُمُ ٱلۡأَرۡضَ فِرَٰشٗا وَٱلسَّمَآءَ بِنَآءٗ وَأَنزَلَ مِنَ ٱلسَّمَآءِ مَآءٗ فَأَخۡرَجَ بِهِۦ مِنَ ٱلثَّمَرَٰتِ رِزۡقٗا لَّكُمۡۖ فَلَا تَجۡعَلُواْ لِلَّهِ أَندَادٗا وَأَنتُمۡ تَعۡلَمُونَ
พระองค์ คือ ผู้ทรงให้แผ่นดินนั้นแผ่ออกเป็นที่ราบเรียบแก่พวกเจ้า และทรงให้ท้องฟ้าที่เบื่องบนของมันเป็นดั่งอาคารที่คงทน และพระองค์คือผู้ทรงโปรดปรานด้วยการประทานน้ำฝนลงมา แล้วได้ทรงให้ผลไม้ต่างๆ งอกเงยออกมาจากพื้นดินด้วยน้ำนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าให้มีบรรดาผู้เป็นภาคีหรือผู้เท่าเทียมใดๆ เกิดขึ้นสำหรับอัลลอฮฺ โดยที่พวกเจ้าก็รู้กันอยู่ว่าไม่มีผู้สร้างใดๆเลย เว้นเสียแต่อัลลอฮฺ ตะอาลา เท่านั้น
التفاسير العربية:
وَإِن كُنتُمۡ فِي رَيۡبٖ مِّمَّا نَزَّلۡنَا عَلَىٰ عَبۡدِنَا فَأۡتُواْ بِسُورَةٖ مِّن مِّثۡلِهِۦ وَٱدۡعُواْ شُهَدَآءَكُم مِّن دُونِ ٱللَّهِ إِن كُنتُمۡ صَٰدِقِينَ
และหากว่าพวกเจ้า โอ้มนุษย์เอ๋ย อยู่ในความแคลงใจใดๆ จากอัลกุรอานที่ถูกส่งลงมาแก่บ่าวของเรา มูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม เราขอท้าให้พวกเจ้าต่อต้านมัน ด้วยการนำมาสักสูเราะฮฺหนึ่งที่เหมือนกับสิ่งนี้ แม้ว่าจะเป็นสูเราะฮฺที่สั้นๆ ก็ตาม และจงเชิญชวนผู้ที่สนับสนุนช่วยเหลือพวกเจ้า หากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริงในสิ่งที่พวกเจ้านั้นกำลังกล่าวอ้างมัน
التفاسير العربية:
فَإِن لَّمۡ تَفۡعَلُواْ وَلَن تَفۡعَلُواْ فَٱتَّقُواْ ٱلنَّارَ ٱلَّتِي وَقُودُهَا ٱلنَّاسُ وَٱلۡحِجَارَةُۖ أُعِدَّتۡ لِلۡكَٰفِرِينَ
แล้วหากพวกเจ้ายังมิได้ทำสิ่งนั้น และพวกเจ้าไม่มีความสามารถในการที่จะทำตลอดไป ก็จงระวังไฟนรกที่ถูกจุดขึ้นมาด้วยมนุษย์เป็นเชื้อเผลิงผู้สมควรได้รับแก่การลงโทษ และด้วยประเภทต่างๆ ของหินที่พวกเขาเคารพบูชามันหรืออื่นๆ นี่คือไฟนรก แท้จริงนั้นอัลลอฮฺได้ทรงจัดเตรียมมัน และตั้งมันขึ้นมาไว้สำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• أن الله تعالى يخذل المنافقين في أشد أحوالهم حاجة وأكثرها شدة؛ جزاء نفاقهم وإعراضهم عن الهدى.
แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น จะทรงละเลยไม่สนใจต่อบรรดาผู้กลับกลอกที่ตกอยู่ในสภาวะที่ต้องการอัลลอฮ์มาก และมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการตอบแทนต่อการกลับกลอกของพวกเขา และการหันหลังให้ของพวกเขาที่มีต่อทางนำ

• من أعظم الأدلة على وجوب إفراد الله بالعبادة أنه تعالى هو الذي خلق لنا ما في الكون وجعله مسخَّرًا لنا.
จากบรรดาหลักฐานที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งที่จำเป็นต่อการอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์เพียงผู้เดียวนั่นคือ พระองค์คือผู้ที่ทรงสร้างให้แก่เรา ซึ่งสิ่งที่อยู่ในจักรวาล และทรงทำมันให้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเรา

• عجز الخلق عن الإتيان بمثل سورة من القرآن الكريم يدل على أنه تنزيل من حكيم عليم.
ความอ่อนแอของสิ่งที่ถูกสร้างที่ไม่สามารถนำมาซึ่งสิ่งที่คล้ายคลึงกับสูเราะฮฺหนึ่งที่มาจากอัลกุรอาน มันเป็นการบ่งชี้ว่าแท้จริงอัลกุรอานนั้นคือสิ่งที่ถูกประทานลงมาจากพระองค์ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงรอบรู้

وَبَشِّرِ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ أَنَّ لَهُمۡ جَنَّٰتٖ تَجۡرِي مِن تَحۡتِهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُۖ كُلَّمَا رُزِقُواْ مِنۡهَا مِن ثَمَرَةٖ رِّزۡقٗا قَالُواْ هَٰذَا ٱلَّذِي رُزِقۡنَا مِن قَبۡلُۖ وَأُتُواْ بِهِۦ مُتَشَٰبِهٗاۖ وَلَهُمۡ فِيهَآ أَزۡوَٰجٞ مُّطَهَّرَةٞۖ وَهُمۡ فِيهَا خَٰلِدُونَ
และเมื่อการกล่าวสำทับก่อนหน้านี้ประสบแก่บรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธา ดังนั้นเจ้าก็จงแจ้งข่าวดีเถิด โอ้ท่านเราะสูลเอ๋ย แก่บรรดาที่ผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺที่พวกเขานั้นกำลังประกอบการงานที่ดีทั้งหลาย ถึงสิ่งที่จะทำให้พวกเขานั้นรู้สึกปิติยินดี นั้นก็คือ บรรดาสรวงสวรรค์ที่มีธารน้ำไหลอยู่ภายใต้บรรดาราชวังและบรรดาต้นไม้ของมัน คราใดที่พวกเขาได้รับเครื่องยังชีพที่มาจากผลไม้ของสรวงสวรรค์นั้น พวกเขาก็กล่าวอย่างสุดอึ้งถึงความคล้ายคลึงกันกับผลไม้ ณ ตอนที่อยู่ในโลกดุนยาว่า : สิ่งนี้เหมือนกับผลไม้ที่เราเคยได้รับเป็นปัจจัยยังชีพมาก่อน และผลไม้นั้นมันก็เคยผ่านหน้าผ่านตาพวกเขามาแล้วซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทางด้านรูปลักษณ์และชื่อเรียกของมัน กระทั่งพวกเขายอมรับว่ามันเคยเป็นที่รู้จักเคยสัมผัสมันมาก่อน แต่ทว่ามันนั้นมีความแตกต่างทางด้านกลิ่นและรสชาติของมัน และในสวรรค์นั้นพวกเขาจะได้รับคู่ครองที่บริสุทธิ์ ซึ่งปราศจากทุกๆ สิ่งที่มนุษย์นั้นอยากเลี่ยงหนีไปจากมัน หรือนับว่ามันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจสำหรับในจินตนาการของมนุษย์โลก และพวกเขาจะพำนักอยู่ในความสุขนิรันดร์นั้นไปตลอดกาลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งต่างจากความสุขของโลกดุนยาที่มีที่สิ้นสุด
التفاسير العربية:
۞ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يَسۡتَحۡيِۦٓ أَن يَضۡرِبَ مَثَلٗا مَّا بَعُوضَةٗ فَمَا فَوۡقَهَاۚ فَأَمَّا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ فَيَعۡلَمُونَ أَنَّهُ ٱلۡحَقُّ مِن رَّبِّهِمۡۖ وَأَمَّا ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ فَيَقُولُونَ مَاذَآ أَرَادَ ٱللَّهُ بِهَٰذَا مَثَلٗاۘ يُضِلُّ بِهِۦ كَثِيرٗا وَيَهۡدِي بِهِۦ كَثِيرٗاۚ وَمَا يُضِلُّ بِهِۦٓ إِلَّا ٱلۡفَٰسِقِينَ
แท้จริงอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จะไม่ทรงละอายที่จะยกอุทาหรณ์ใดๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ โดยที่พระองค์ได้ยกอุทาหรณ์เปรียบเทียบด้วยตัวริ้น แล้วก็สิ่งที่เหนือยิ่งไปกว่ามัน หรือเล็กต่ำต้อยยิ่งไปกว่ามัน และด้วยอุทาหรณ์ของอัลลอฮ์ที่ยกมานั้นทำให้มนุษย์แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ บรรดาผู้ศรัทธาและบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา แล้วส่วนบรรดาผู้ที่ศรัทธานั้น พวกเขาย่อมเชื่อและรู้ดีถึงเบื้องหลังของการยกอุทาหรณ์เปรียบเทียบกับมันนั้นว่ามีหิกมะฮฺ (วิทยปัญญา) ส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้นพวกเขาจะพูดกล่าวถามในทำนองเย้ยหยันถึงสาเหตุการยกอุทาหรณ์ของอัลลอฮฺด้วยสิ่งถูกสร้างอันต่ำต้อยอันนี้ เช่น ตัวริ้น แมลงวัน แมงมุม และอื่นๆ แล้วอัลลอฮฺก็ให้คำตอบนั้นว่า แท้จริงในการเปรียบเทียบอันนี้ เป็นการแนะนำทางและการชี้แนะต่างๆ และการทดสอบต่อมนุษย์นั่นเอง และส่วนหนึ่งจากพวกเขานั้นมีผู้ที่พระองค์ทรงทำให้พวกเขาได้หลงผิดด้วยอุทาหรณ์นั้น ก็เพราะการหันหลังให้ของพวกเขาไปจากการใคร่ครวญต่อสิ่งนั้น ซึ่งพวกเขานั้นก็มีจำนวนมากมาย และส่วนหนึ่งจากพวกเขานั้นมีผู้ที่พระองค์ทรงทำให้พวกเขาได้รับทางนำ ด้วยสาเหตุการรับฟังคำตักเตือนของพวกเขาต่ออุทาหรณ์นั้น ซึ่งพวกเขาเองก็มีจำนวนมากมาย และพระองค์จะไม่ทรงให้ใครคนใดหลงผิดเว้นเสียแต่ผู้ที่เขานั้นสมควรแก่การหลงผิด และพวกเขานั้นก็คือ บรรดาผู้ที่อยู่นอกกรอบการเชื่อฟังต่อพระองค์ เฉกเช่น บรรดาผู้กลับกลอก
التفاسير العربية:
ٱلَّذِينَ يَنقُضُونَ عَهۡدَ ٱللَّهِ مِنۢ بَعۡدِ مِيثَٰقِهِۦ وَيَقۡطَعُونَ مَآ أَمَرَ ٱللَّهُ بِهِۦٓ أَن يُوصَلَ وَيُفۡسِدُونَ فِي ٱلۡأَرۡضِۚ أُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡخَٰسِرُونَ
บรรดาผู้ที่ทำลายสัญญาของอัลลอฮ์ หลังจากที่พระองค์ได้ทำสัญญานั้นเหนือพวกเขา ด้วยการให้เคารพอิบาดะฮ์ต่อพระองค์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น และปฏิบัติตามเราะสูลของพระองค์ ที่บรรดาเราะสูลก่อนหน้าเขาเคยบอกเล่าหรือให้ข่าวคราวเกี่ยวกับเขา พวกเขาเหล่านั้นที่กำลังสวมหน้ากากในการให้สัญญาต่ออัลลอฮ์ ซึ่งลักษณะของพวกเขาคือ การตัดสิ่งที่อัลลอฮ์ใช้ให้สัมพันธ์ เช่น การสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ และพวกเขาพยายามแพร่กระจายความเสื่อมเสียบนหน้าแผ่นดินด้วยการฝ่าฝืนพระองค์ ชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่ขาดตกบกพร่องต่อโชคลาภของพวกเขาทั้งในโลกนี้และก็โลกหน้า
التفاسير العربية:
كَيۡفَ تَكۡفُرُونَ بِٱللَّهِ وَكُنتُمۡ أَمۡوَٰتٗا فَأَحۡيَٰكُمۡۖ ثُمَّ يُمِيتُكُمۡ ثُمَّ يُحۡيِيكُمۡ ثُمَّ إِلَيۡهِ تُرۡجَعُونَ
แท้จริงเรื่องของพวกเจ้านั้น โอ้บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเอ๋ย น่าแปลกจริงๆ! พวกเจ้านั้นจะปฏิเสธการศรัทธาต่ออัลลอฮฺได้อย่างไรกัน? ทั้งๆ ที่พวกเจ้านั้นก็เห็นถึงบรรดาหลักฐานที่บอกถึงความปรีชาญาณของพระองค์ที่ปรากฏในตัวของพวกเจ้าเอง แท้จริงพวกเจ้าไม่เคยมีตัวตนมาก่อน แล้วพระองค์ก็ทรงสร้างพวกเจ้าและทรงให้พวกเจ้ามีชีวิตขึ้นมา หลังจากนั้นก็จะทรงให้พวกเจ้าตายซึ่งเป็นการตายครั้งที่สอง แล้วก็จะทรงให้พวกเจ้ามีชีวิตขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่สอง หลังจากนั้นพวกเจ้าก็จะถูกนำกลับไปสู่พระองค์ เพื่อที่จะคิดบัญชีต่อพวกเจ้าถึงสิ่งที่พวกเจ้านั้นได้กระทำมา
التفاسير العربية:
هُوَ ٱلَّذِي خَلَقَ لَكُم مَّا فِي ٱلۡأَرۡضِ جَمِيعٗا ثُمَّ ٱسۡتَوَىٰٓ إِلَى ٱلسَّمَآءِ فَسَوَّىٰهُنَّ سَبۡعَ سَمَٰوَٰتٖۚ وَهُوَ بِكُلِّ شَيۡءٍ عَلِيمٞ
พระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ได้ทรงสร้างสิ่งทั้งมวลในโลกไว้สำหรับพวกเจ้า ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ต้นไม้ และอื่น ๆ ที่ไม่สามารถนับจำนวนของมันได้ และพวกเจ้าเองก็ได้ใช้ประโยชน์จากมัน และก็ได้เสพสุขกับสิ่งที่พระองค์ได้อำนวยความสะดวกไว้แก่พวกเจ้า หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงมุ่งสู่ฟากฟ้า แล้วก็ทรงสร้างชั้นฟ้าขึ้นให้เป็นเจ็ดชั้นที่เท่ากัน และพระองค์นั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• من كمال النعيم في الجنة أن ملذاتها لا يكدرها أي نوع من التنغيص، ولا يخالطها أي أذى.
ส่วนหนึ่งจากความครบถ้วนอันสมบูรณ์ของความสุขที่มีในสวรรค์นั้นคือ ความเบิกบานใจที่ไม่มีความทุกข์ยากใดๆ มาทำให้มันเศร้าหมอง และจะไม่มีอันตรายใดๆ มาปนเปื้อนมันได้

• الأمثال التي يضربها الله تعالى لا ينتفع بها إلا المؤمنون؛ لأنهم هم الذين يريدون الهداية بصدق، ويطلبونها بحق.
การเปรียบเทียบต่างๆ ที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงอุปมามันขึ้นมานั้นจะไม่มีผู้ใดได้รับประโยชน์จากมันเลย นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาเท่านั้น เพราะแท้จริงพวกเขานั้น คือ บรรดาผู้ที่ต้องการทางนำด้วยความสัตย์จริง และใคร่ขอมันด้วยความจริงแท้แน่นอน

• من أبرز صفات الفاسقين نقضُ عهودهم مع الله ومع الخلق، وقطعُهُم لما أمر الله بوصله، وسعيُهُم بالفساد في الأرض.
ส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะของบรรดาผู้ประพฤติชั่วที่เห็นได้เด่นชัด คือ การทำลายสัญญาของพวกเขาที่ได้ให้กับอัลลอฮฺและที่ได้ให้กับผู้อื่นที่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างมา การตัดขาดของพวกเขาต่อสิ่งที่อัลลอฮฺได้สั่งใช้ให้เชื่อมสัมพันธ์ และความพยายามของพวกเขาในการก่อความเสื่อมเสียบนหน้าแผ่นดิน

• الأصل في الأشياء الإباحة والطهارة؛ لأن الله تعالى امتنَّ على عباده بأن خلق لهم كل ما في الأرض.
หลักเดิมของสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น คือ เป็นสิ่งที่อนุมัติและสะอาดบริสุทธิ์ เพราะแท้จริงแล้วอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้นได้ทรงให้ความสุขสบายแก่บรรดาบ่าวของพระองค์ โดยพระองค์ได้ทรงสร้างไว้ให้แก่พวกเขา ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในโลกนี้

وَإِذۡ قَالَ رَبُّكَ لِلۡمَلَٰٓئِكَةِ إِنِّي جَاعِلٞ فِي ٱلۡأَرۡضِ خَلِيفَةٗۖ قَالُوٓاْ أَتَجۡعَلُ فِيهَا مَن يُفۡسِدُ فِيهَا وَيَسۡفِكُ ٱلدِّمَآءَ وَنَحۡنُ نُسَبِّحُ بِحَمۡدِكَ وَنُقَدِّسُ لَكَۖ قَالَ إِنِّيٓ أَعۡلَمُ مَا لَا تَعۡلَمُونَ
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงแจ้งว่า พระองค์ผู้มหาบริสุทธิ์นั้น ทรงตรัสแก่บรรดามะลาอิกะฮฺว่า : แท้จริงพระองค์จะทรงสร้างมนุนษย์ขึ้นมาบนหน้าแผ่นดิน โดยที่จะมีการสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น เพื่อดำรงไว้ซึ่งการพิทักรักษาโลกนี้ไว้ให้อยู่บนการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺ แล้วมะลาอิกะฮฺก็ได้ทูลถามผู้อภิบาลของพวกเขา (ซึ่งเป็นการถามเชิงขอคำปรึกษาและขอทำความเข้าใจ) ถึงข้อซ่อนเร้นของการสร้างลูกหลานอาดัมขึ้นมาเป็นเหล่าผู้สืบทอดไว้บนแผ่นดิน ซึ่งจริงแล้วพวกเขานั้นคือบรรดาผู้ที่จะบ่อนทำลาย และก่อการนองเลือดอย่างอธรรมในหน้าแผ่นดินนี้ พวกเขา(มะลาอิกะฮฺ)ก็เป็นผู้กล่าวอีกว่า : และพวกเราคือบรรดาผู้ที่เชื่อฟังต่อพระองค์ เราให้ความบริสุทธิ์ต่อพระองค์ด้วยการสรรเสริญแด่พระองค์ และจะเทิดทูนในความสูงศักดิ์และความเพียบพร้อมของพระองค์ เราไม่ลดหย่อนผ่อนปรนต่อสิ่งนั้นแน่นอน แล้วอัลลอฮฺก็ทรงได้ตอบต่อพวกเขา ถึงคำถามที่พวกเขาถามมาว่า : แท้จริงข้ารู้ดียิ่งในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้ ซึ่งข้อซ่อนเร้นในการสร้างพวกเขามา และจุดประสงค์หลักๆ ที่ยิ่งใหญ่ของการสืบทอดกันของพวกเขา
التفاسير العربية:
وَعَلَّمَ ءَادَمَ ٱلۡأَسۡمَآءَ كُلَّهَا ثُمَّ عَرَضَهُمۡ عَلَى ٱلۡمَلَٰٓئِكَةِ فَقَالَ أَنۢبِـُٔونِي بِأَسۡمَآءِ هَٰٓؤُلَآءِ إِن كُنتُمۡ صَٰدِقِينَ
และเพื่อบ่งบอกถึงสถานะของอาดัม อะลัยฮิสสลาม พระองค์จึงได้ทรงสอนอาดัมเกี่ยวกับชื่อของทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นบรรดาสัตว์และสิ่งที่ไม่มีชีวิต ได้ทรงสอนทั้งคำและความหมายของมัน จากนั้นพระองค์ก็นำสิ่งเหล่านั้นเสนอแก่บรรดามลาอิกะฮ์ โดยตรัสว่า จงบอกชื่อของสิ่งเหล่านี้มา หากพวกเจ้าเป็นผู้สัตย์จริงตามคำพูดของพวกเจ้าที่ว่า พวกเจ้านั้นมีเกียรติมากกว่าสิ่งที่ถูกสร้างนี้ ( อาดัม ) และประเสริฐกว่าเขา
التفاسير العربية:
قَالُواْ سُبۡحَٰنَكَ لَا عِلۡمَ لَنَآ إِلَّا مَا عَلَّمۡتَنَآۖ إِنَّكَ أَنتَ ٱلۡعَلِيمُ ٱلۡحَكِيمُ
พวกเขา(บรรดามะลาอิกะฮฺ) – พร้อมกับการยอมจำนนถึงความบกพร่องของพวกเขา และยอมรับถึงความประเสริฐทั้งมวลเป็นของอัลลอฮฺ – ได้กล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของเรา พวกเราศรัทธาในความบริสุทธิ์และความยิ่งใหญ่ของพระองค์โดยจะไม่มีการคัดค้านใดๆต่อพระองค์ในคำตัดสินและบทบัญญัติของพระองค์ ดังนั้นพวกเราจะไม่มีความรู้ถึงสิ่งใดๆ เลย นอกจากสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสอนพวกเราเท่านั้น แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงรอบรู้ ซึ่งจะไม่มีสิ่งใดที่จะแอบซ่อนไปจากพระองค์ได้ พระองค์ผู้ทรงปรีชาญาณผู้ทรงวางสิ่งต่างๆไว้ในสถานที่ที่เหมาะสมกับมัน จะเป็นการวางกฎกำหนดสภาวการณ์หรือการกำหนดบทบัญญัติศาสนาของพระองค์
التفاسير العربية:
قَالَ يَٰٓـَٔادَمُ أَنۢبِئۡهُم بِأَسۡمَآئِهِمۡۖ فَلَمَّآ أَنۢبَأَهُم بِأَسۡمَآئِهِمۡ قَالَ أَلَمۡ أَقُل لَّكُمۡ إِنِّيٓ أَعۡلَمُ غَيۡبَ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ وَأَعۡلَمُ مَا تُبۡدُونَ وَمَا كُنتُمۡ تَكۡتُمُونَ
และในขณะนั้นเอง อัลลอฮฺ ตะอาลา ก็ได้ทรงตรัสแก่อาดัมว่า : จงบอกชื่อของสิ่งเหล่านั้นแก่พวกเขา (บรรดามะลาอิกะฮฺ) ครั้นเมื่ออาดัมได้บอกแก่พวกเขา ตามที่พระเจ้าของเขาได้ทรงสอนเขามา อัลลอฮฺได้ทรงตรัสแก่บรรดามะลาอิกะฮฺว่า : ข้ามิได้บอกแก่พวกเจ้าหรอกหรือว่า แท้จริงข้ารู้ดียิ่งถึงสิ่งที่มันได้ถูกซ่อนไว้ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และข้ารู้ดียิ่งในสิ่งที่พวกเจ้าเปิดเผยถึงสภาพของพวกเจ้า และรู้ถึงสิ่งที่พวกเจ้าได้ปกปิดในใจของพวกเจ้า
التفاسير العربية:
وَإِذۡ قُلۡنَا لِلۡمَلَٰٓئِكَةِ ٱسۡجُدُواْ لِأٓدَمَ فَسَجَدُوٓاْ إِلَّآ إِبۡلِيسَ أَبَىٰ وَٱسۡتَكۡبَرَ وَكَانَ مِنَ ٱلۡكَٰفِرِينَ
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงอธิบายว่า พระองค์ได้ทรงสั่งบรรดามะลาอิกะฮฺให้ทำการสุญูดแก่อาดัม เพื่อเป็นการให้เกียรติและคารวะแก่อาดัม แล้วพวกเขา(บรรดามะลาอิกะฮฺ)ก็ได้ทำการสุญูดทันที เพื่อเป็นการตอบรับคำสั่งของอัลลอฮฺ นอกจากอิบลีสที่มาจากหมู่ญิน ไม่ปฏิบัติตามเพื่อแสดงการคักค้านต่อคำสั่งของอัลลอฮฺที่ใช้ให้เขาสุญูด และเพื่อต้องการแสดงความหยิ่งยโสต่ออาดัม ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้เขาได้กลายเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา
التفاسير العربية:
وَقُلۡنَا يَٰٓـَٔادَمُ ٱسۡكُنۡ أَنتَ وَزَوۡجُكَ ٱلۡجَنَّةَ وَكُلَا مِنۡهَا رَغَدًا حَيۡثُ شِئۡتُمَا وَلَا تَقۡرَبَا هَٰذِهِ ٱلشَّجَرَةَ فَتَكُونَا مِنَ ٱلظَّٰلِمِينَ
และเราได้กล่าวว่า อาดัมเอ๋ย ! เจ้าและคู่ครองของเจ้า - เฮาวาอ์ - จงอยู่ในสรวงสวรรค์นั้นเถิด แล้วเจ้าทั้งสองก็จงบริโภคจากมันอย่างเพลิดเพลินโดยที่ไม่มีสิ่งรบกวนใดๆ เลยอยู่ในนั้น ณ ที่ใดก็ได้ในสวรรค์ และเจ้าทั้งสองอย่าเข้าใกล้ต้นไม้ต้นนี้ที่ข้านั้นได้ห้ามปรามพวกเจ้าทั้งสองเอาไว้จากการบริโภคจากมัน มิเช่นนั้นแล้วเจ้าทั้งสองจะกลายเป็นผู้ที่อยู่ในหมู่ผู้อธรรม เพราะการฝ่าฝื่นต่อสิ่งที่ข้าได้สั่งใช้พวกเจ้าทั้งสองไว้
التفاسير العربية:
فَأَزَلَّهُمَا ٱلشَّيۡطَٰنُ عَنۡهَا فَأَخۡرَجَهُمَا مِمَّا كَانَا فِيهِۖ وَقُلۡنَا ٱهۡبِطُواْ بَعۡضُكُمۡ لِبَعۡضٍ عَدُوّٞۖ وَلَكُمۡ فِي ٱلۡأَرۡضِ مُسۡتَقَرّٞ وَمَتَٰعٌ إِلَىٰ حِينٖ
แล้วชัยฏอนนั้นก็ยังคงกระซิบและล่อลวงเขาทั้งสอง จนกระทั่งทำให้เขาทั้งสองนั้นตกอยู่ในการกระทำความชั่วและการทำผิด ด้วยการไปบริโภคจากต้นไม้ต้นนั้นที่อัลลอฮฺได้ทรงห้ามปรามเขาทั้งสองมิให้บริโภคมัน แล้วผลพวงที่ตามมาสำหรับเขาทั้งสองนั้น คือ อัลลอฮฺได้ทรงทำให้ทั้งสองออกจากสรวงสวรรค์ที่เขาทั้งสองเคยพำนักอยู่ และอัลลอฮฺก็ได้ตรัสแก่เขาทั้งสองและแก่ชัยฏอนว่า : พวกเจ้าจงลงไปยังผืนแผ่นดินเถิด โดยที่บางส่วนของพวกเจ้าต่างเป็นศัตรูต่อกัน และสำหรับพวกเจ้ามีที่พำนักในผืนแผ่นดินนั้น ที่ปักหลัก และมีความเพลิดเพลินกับสิ่งที่อยู่ในนั้นจากสิ่งอำนวยประโยชน์ต่างๆ จนกว่าอายุของพวกเจ้าจะจบลง และจนถึงวันกิยามะฮฺ
التفاسير العربية:
فَتَلَقَّىٰٓ ءَادَمُ مِن رَّبِّهِۦ كَلِمَٰتٖ فَتَابَ عَلَيۡهِۚ إِنَّهُۥ هُوَ ٱلتَّوَّابُ ٱلرَّحِيمُ
จากนั้นอาดัมก็ได้น้อมรับถ่อยคำต่างๆจากอัลลอฮ์ และทรงดลใจเขาให้วิงวอนขอด้วยถ่อยคำเหล่านั้น(ต่อพระองค์) โดยที่มันได้ถูกกล่าวไว้ในคำกล่าวของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า : (เขาทั้งสองได้กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของเรา เราได้อธรรมต่อตัวเราเอง และถ้าพระองค์ไม่ทรงอภัยโทษและเอ็นดูเมตตาแก่เรา แน่นอนพวกเราต้องกลายเป็นพวกที่ขาดทุน) [อัล-อะอฺร็อฟ:23] แล้วอัลลอฮฺก็ทรงตอบรับการกลับเนื้อกลับตัวของเขา และก็ทรงอภัยโทษให้แก่เขา และแท้จริงพระองค์ผู้มหาบริสุทธิ์เป็นผู้ที่เหลือล้นในการให้อภัยโทษต่อปวงบ่าวของพระองค์ เป็นผู้ทรงเมตตาต่อพวกเขาเสมอ
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• الواجب على المؤمن إذا خفيت عليه حكمة الله في بعض خلقه وأَمْرِهِ أن يسلِّم لله في خلقه وأَمْرِهِ.
สิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ศรัทธาคือ การจำนนต่ออัลลอฮ์ในการสร้างและการบัญญัติของพระองค์ แม้การสร้างและการบัญญัตินั้นจะไม่ประจักษ์ถึงเหตุผลหรือวิทยปัญญาของมันก็ตาม

• رَفَعَ القرآن الكريم منزلة العلم، وجعله سببًا للتفضيل بين الخلق.
อัลกุรอานได้ยกฐานะของความรู้ และได้ทำให้มันเป็นสาเหตุในการยกระดับความต่างระหว่างมนุษย์

• الكِبْرُ هو رأس المعاصي، وأساس كل بلاء ينزل بالخلق، وهو أول معصية عُصِيَ الله بها.
การอวดใหญ่อวดโต คือ หัวใจหลักของความผิดทั้งหลาย และเป็นรากฐานของทุกๆ ภัยที่ลงมา และมันคือความผิดแรกที่เป็นการเนรคุณต่ออัลลอฮฺ

قُلۡنَا ٱهۡبِطُواْ مِنۡهَا جَمِيعٗاۖ فَإِمَّا يَأۡتِيَنَّكُم مِّنِّي هُدٗى فَمَن تَبِعَ هُدَايَ فَلَا خَوۡفٌ عَلَيۡهِمۡ وَلَا هُمۡ يَحۡزَنُونَ
เราได้กล่าวแก่พวกเขาว่า พวกเจ้าทั้งหมดจงลงจากสวรรค์ไปสู่ผืนแผ่นดินเถิด แล้วหากมีทางนำใดๆที่นำโดยบรรดาเราะสูลของข้ามายังพวกเจ้า ดังนั้นผู้ใดที่ปฏิบัติตามทางนำนั้น และเขาได้ศรัทธาต่อบรรดาเราะสูลของข้า พวกเขาจะไม่มีความหวาดกลัวใดๆ ในโลกหน้า และพวกเขาจะไม่ระทมทุกข์ต่อสิ่งที่พวกเขาได้พลาดพลั้งไปในโลกนี้
التفاسير العربية:
وَٱلَّذِينَ كَفَرُواْ وَكَذَّبُواْ بِـَٔايَٰتِنَآ أُوْلَٰٓئِكَ أَصۡحَٰبُ ٱلنَّارِۖ هُمۡ فِيهَا خَٰلِدُونَ
ส่วนบรรดาผู้ที่ปฏิเสธและไม่ยอมรับในโองการทั้งหลายของเรา ดังนั้นพวกเขาคือชาวนรกโดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นไปตลอดกาล
التفاسير العربية:
يَٰبَنِيٓ إِسۡرَٰٓءِيلَ ٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتِيَ ٱلَّتِيٓ أَنۡعَمۡتُ عَلَيۡكُمۡ وَأَوۡفُواْ بِعَهۡدِيٓ أُوفِ بِعَهۡدِكُمۡ وَإِيَّٰيَ فَٱرۡهَبُونِ
โอ้ลูกหลานของนบียะอฺกูบเอ๋ย ! จงรำลึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺทีได้มอบให้แก่พวกเจ้าอย่างไม่ขาดสาย และจงสำนึกในบุญคุณนั้น และจงรักษาข้อสัญญาของข้าที่มอบให้แก่พวกเจ้าให้ครบถ้วน ด้วยการรักษาการศรัทธาของพวกเจ้าที่มีต่อข้าและต่อบรรดาเราะสูลของข้า และปฏิบัติตามบทบัญญัติของข้า แล้วหากพวกเจ้าได้รักษามัน ข้าก็จะรักษาสัญญาของข้าที่ได้ให้ต่อพวกเจ้าไว้ ในสิ่งที่ข้านั้นได้เคยสัญญามันไว้แก่พวกเจ้า ด้วยการให้พวกเจ้าได้ใช้ชีวิตที่ดีในโลกดุนยาและให้ผลตอบแทนที่ดีในวันกิยามะฮฺ และพวกเจ้าจงยำเกรงต่อข้าเท่านั้น และอย่าได้ทำลายของข้า
التفاسير العربية:
وَءَامِنُواْ بِمَآ أَنزَلۡتُ مُصَدِّقٗا لِّمَا مَعَكُمۡ وَلَا تَكُونُوٓاْ أَوَّلَ كَافِرِۭ بِهِۦۖ وَلَا تَشۡتَرُواْ بِـَٔايَٰتِي ثَمَنٗا قَلِيلٗا وَإِيَّٰيَ فَٱتَّقُونِ
และพวกเจ้าจงศรัทธาต่ออัลกุรอานที่ข้าได้ประทานลงมาให้แก่มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม ซึ่งมันสอดคล้องกับเนื้อหาที่มีในคัมภีร์อัต-เตารอตฺก่อนที่จะมีการบิดเบือนมันในเรื่องของการให้เอกภาพแก่อัลลอฮฺและการแต่งตั้งมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม และพวกเจ้าจงระวังจากการเป็นชนกลุ่มแรกที่เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาต่อสิ่งนั้น และจงอย่าได้นำโองการของข้าไปแลกเปลี่ยนกับราคาอันน้อยนิด ไม่ว่าจะเป็นการแลกกับเกียรติยศหรือตำแหน่งหน้าที่ใดๆ และจงยำเกรงต่อความโกรธกริ้วและการลงโทษของข้า
التفاسير العربية:
وَلَا تَلۡبِسُواْ ٱلۡحَقَّ بِٱلۡبَٰطِلِ وَتَكۡتُمُواْ ٱلۡحَقَّ وَأَنتُمۡ تَعۡلَمُونَ
และพวกเจ้าจงอย่าปะปนความจริงที่ข้าได้ประทานลงมาแก่บรรดาเราะซูลของข้าด้วยสิ่งที่พวกเจ้านั้นสร้างเรื่องขึ้นมาจากความเท็จต่างๆ และจงอย่าปกปิดความจริงที่มันมีอยู่ในบรรดาคัมภีร์ของพวกเจ้า เช่นคุณลักษณะของมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม ทั้งๆ ที่พวกเจ้ารู้กันอยู่ และแน่ใจในสิ่งนั้น
التفاسير العربية:
وَأَقِيمُواْ ٱلصَّلَوٰةَ وَءَاتُواْ ٱلزَّكَوٰةَ وَٱرۡكَعُواْ مَعَ ٱلرَّٰكِعِينَ
และพวกเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาดให้สมบูรณ์ด้วยหลักการ ข้อบังคับและสุนนะฮฺต่างๆ ของมัน และจงจ่ายซะกาตทรัพย์สินของพวกเจ้าที่อัลลอฮฺได้มอบไว้ในมือของพวกเจ้า และจงนอบน้อมต่ออัลลอฮฺพร้อมกับบรรดาผู้ที่นอบน้อมต่อพระองค์ที่เป็นประชาชาติของมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม
التفاسير العربية:
۞ أَتَأۡمُرُونَ ٱلنَّاسَ بِٱلۡبِرِّ وَتَنسَوۡنَ أَنفُسَكُمۡ وَأَنتُمۡ تَتۡلُونَ ٱلۡكِتَٰبَۚ أَفَلَا تَعۡقِلُونَ
มันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจมาก การที่พวกเจ้านั้นสั่งผู้อื่นให้ศรัทธาและกระทำความดี โดยที่พวกเจ้านั้นละทิ้งมัน โดยลืมตัวของพวกเจ้าเอง ทั้งๆ ที่พวกเจ้าอ่านคัมภีร์อัตเตารอตฺอยู่ ซึ่งรู้ดีถึงสิ่งที่อยู่ในนั้น ที่เป็นคำสั่งให้ปฏิบัติตามศาสนาของอัลลอฮฺ และการเชื่อฟังต่อบรรดาเราะสูลของพระองค์ แล้วพวกเจ้าไม่ได้ใช้ประโยชน์จากปัญญาของพวกเจ้าหรอกหรือ?
التفاسير العربية:
وَٱسۡتَعِينُواْ بِٱلصَّبۡرِ وَٱلصَّلَوٰةِۚ وَإِنَّهَا لَكَبِيرَةٌ إِلَّا عَلَى ٱلۡخَٰشِعِينَ
และพวกเจ้าจงขอความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ของพวกเจ้า ทั้งที่เป็นเรื่องของศาสนาและเรื่องของดุนยา ด้วยการอาศัยความอดทนและการละหมาดที่จะนำพวกเจ้าเข้าไปใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺและพาพวกเจ้าไปถึงพระองค์ แล้วพระองค์ก็จะทรงช่วยเหลือและปกป้องพวกเจ้า และพระองค์ก็จะทรงนำเอาภัยอันตรายออกไปจากพวกเจ้า และแท้จริงการละหมาดนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบากและเป็นเรื่องที่หนักมาก เว้นเสียแต่บรรดาผู้ที่นอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺเท่านั้น
التفاسير العربية:
ٱلَّذِينَ يَظُنُّونَ أَنَّهُم مُّلَٰقُواْ رَبِّهِمۡ وَأَنَّهُمۡ إِلَيۡهِ رَٰجِعُونَ
เพราะพวกเขาคือผู้ที่มั่นใจว่าจะต้องกลับไปยังพระเจ้าของพวกเขา และจะต้องพบกับพระเจ้าของพวกเขาในวันกิยามะฮ์ และแน่นอนพวกเขาจะต้องกลับไปสู่พระองค์เพื่อเป็นการตอบแทนพวกเขาตามสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติกันมา
التفاسير العربية:
يَٰبَنِيٓ إِسۡرَٰٓءِيلَ ٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتِيَ ٱلَّتِيٓ أَنۡعَمۡتُ عَلَيۡكُمۡ وَأَنِّي فَضَّلۡتُكُمۡ عَلَى ٱلۡعَٰلَمِينَ
โอ้ลูกหลานของนบียะอฺกูบเอ๋ย จงรำลึกถึงความโปรดปรานของข้าทั้งทางด้านศาสนาและดุนยา ที่ข้าได้ประทานให้แก่พวกเจ้า และจงรำลึกอยู่เสมอว่า แท้จริงข้านั้นได้เทิดทูนพวกเจ้าไว้เหนือผู้อื่นที่ร่วมสมัยกับพวกเจ้า ด้วยการให้เป็นศาสนฑูตและเป็นกษัตริย์
التفاسير العربية:
وَٱتَّقُواْ يَوۡمٗا لَّا تَجۡزِي نَفۡسٌ عَن نَّفۡسٖ شَيۡـٔٗا وَلَا يُقۡبَلُ مِنۡهَا شَفَٰعَةٞ وَلَا يُؤۡخَذُ مِنۡهَا عَدۡلٞ وَلَا هُمۡ يُنصَرُونَ
และพวกเจ้าจงให้มีเกราะป้องกันระหว่างพวกเจ้ากับการลงโทษในวันกิยามะฮฺนั้น โดยการปฏิบัติตามคำสั่งและออกห่างจากข้อห้ามทั้งหลาย เพราะวันนั้นคือวันที่ไม่มีชีวิตใดจะตอบแทนให้กับอีกชีวิตหนึ่งได้ และในวันนั้นเอง การขอความช่วยเหลือต่างๆก็จะไม่ถูกตอบรับจากใครคนใดเลย ที่จะคอยมาปลดทุกข์หรือนำผลประโยชน์มายังเขา นอกจากด้วยความอนุมัติจากอัลลอฮฺเท่านั้น และจะไม่มีการไถ่ถอน แม้ว่าจะด้วยแผ่นดินที่เต็มไปด้วยทองคำ และจะไม่มีผู้คอยช่วยเหลือใดๆเลยสำหรับพวกเขาในวันนั้น ดังนั้นเมื่อไม่มีผู้ช่วยขออุทธรณ์ ไม่มีการไถ่ถอนและไม่มีผู้ช่วยเหลือแล้ว ดังนั้นจะมีทางรอดอีกใหม?!
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• من أعظم الخذلان أن يأمر الإنسان غيره بالبر، وينسى نفسه.
หนึ่งในความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ การสั่งให้ผู้อื่นกระทำความดี โดยที่เขานั้นลืมตัวของเขาเอง

• الصبر والصلاة من أعظم ما يعين العبد في شؤونه كلها.
ความอดทนและการละหมาดนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะคอยช่วยเหลือบ่าวในทุกการงานของเขา

• في يوم القيامة لا يَدْفَعُ العذابَ عن المرء الشفعاءُ ولا الفداءُ، ولا ينفعه إلا عمله الصالح.
ในวันกิยามะฮฺ บรรดาผู้ช่วยเหลือและค่าไถ่ไม่สามารถป้องกันคนใดคนหนึ่งให้พ้นจากการลงโทษได้ และไม่มีสิ่งใดจะเป็นประโยชน์ต่อเขานอกจากการงานที่ดีของเขาเท่านั้น

وَإِذۡ نَجَّيۡنَٰكُم مِّنۡ ءَالِ فِرۡعَوۡنَ يَسُومُونَكُمۡ سُوٓءَ ٱلۡعَذَابِ يُذَبِّحُونَ أَبۡنَآءَكُمۡ وَيَسۡتَحۡيُونَ نِسَآءَكُمۡۚ وَفِي ذَٰلِكُم بَلَآءٞ مِّن رَّبِّكُمۡ عَظِيمٞ
โอ้วงศ์วารของอิสรออีลเอย จงนึกถึงในตอนที่เราได้ช่วยพวกเจ้าให้พ้นจากบริวารของฟิรฺเอาน์ ซึ่งพวกเขาได้กระทำให้พวกเจ้าได้รู้สึกถึงรสชาติของการทรมานในรูปแบบต่างๆ นั่นคือด้วยการฆ่าบรรดาลูกชายของพวกเจ้า จนกว่าจะไม่มีเหลือให้พวกเจ้าแม้แต่คนเดียว และได้ละเว้นบรรดาลูกหญิงของพวกเจ้าไว้ให้มีชีวิต เพื่อจะได้เป็นทาสรับใช้พวกเขา เพื่อเป็นการสื่อให้เห็นถึงความต้อยต่ำและความอัปยศของพวกเจ้า และในการที่ทำให้พวกเจ้ารอดพ้นจากการกดขี่ของฟิรฺเอาน์และบริวารของเขานั้น คือการทดสอบอันใหญ่หลวงจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า เผื่อว่าพวกเจ้าจะสำนึกขอบคุณต่อพระองค์
التفاسير العربية:
وَإِذۡ فَرَقۡنَا بِكُمُ ٱلۡبَحۡرَ فَأَنجَيۡنَٰكُمۡ وَأَغۡرَقۡنَآ ءَالَ فِرۡعَوۡنَ وَأَنتُمۡ تَنظُرُونَ
และจงรำลึกถึงความโปรดปรานของเราที่ได้มอบให้แก่พวกเจ้า เมื่อตอนที่เราได้แยกน้ำทะเล และได้ทำให้มันเป็นทางผ่านเพื่อให้พวกเจ้าได้เดินลงไปในนั่น แล้วเราได้ทำให้พวกเจ้าปลอดภัย และได้ทำให้เหล่าศัตรูของพวกเจ้า ฟิรอาวน์และสาวกของเขาได้จมน้ำตายต่อหน้าต่อตา โดยที่พวกเจ้าเองได้เห็นมันกับตา
التفاسير العربية:
وَإِذۡ وَٰعَدۡنَا مُوسَىٰٓ أَرۡبَعِينَ لَيۡلَةٗ ثُمَّ ٱتَّخَذۡتُمُ ٱلۡعِجۡلَ مِنۢ بَعۡدِهِۦ وَأَنتُمۡ ظَٰلِمُونَ
และจงรำลึกถึงความโปรดปรานบางประการของเราที่มีต่อพวกเจ้า คือสัญญาของเราที่มีต่อมูซาสี่สิบคืน เพื่อที่จะให้คัมภีร์อัตเตารอตได้ถูกประทานอย่างครบสมบูรณ์ในเวลานั้น ซึ่งเป็นทั้งรัศมีและทางนำ แล้วในช่วงเวลานั้น ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นจากพวกเจ้าเลย ยกเว้นการบูชาลูกวัว และด้วยการกระทำของพวกเจ้านี้เอง พวกเจ้าคือกลุ่มชนผู้ที่อธรรม
التفاسير العربية:
ثُمَّ عَفَوۡنَا عَنكُم مِّنۢ بَعۡدِ ذَٰلِكَ لَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ
หลังจากนั้นเราก็ได้ยกโทษแก่พวกเจ้าหลังการกลับเนื้อกลับตัวของพวกเจ้า และเรามิได้เอาโทษกับพวกเจ้า หวังว่าพวกเจ้าจักขอบคุณต่ออัลลอฮฺด้วยการเคารพอิบาดะฮฺและการเชื่อฟังต่อพระองค์อย่างดีงาม
التفاسير العربية:
وَإِذۡ ءَاتَيۡنَا مُوسَى ٱلۡكِتَٰبَ وَٱلۡفُرۡقَانَ لَعَلَّكُمۡ تَهۡتَدُونَ
และจงรำลึกถึงความโปรดปรานอันนี้ ที่เราได้ให้มูซา อะลัยฮิสสลาม นั่นคือคัมภีร์อัตเตารอตฺ เพื่อเป็นตัวแยกแยะระหว่างความจริงกับความเท็จ และเป็นตัวชี้ถึงความแตกต่างระหว่างทางที่ถูกกับทางที่ผิด หวังว่าพวกเจ้าจะได้รับทางนำจากมันเพื่อไปสู่ความถูกต้อง
التفاسير العربية:
وَإِذۡ قَالَ مُوسَىٰ لِقَوۡمِهِۦ يَٰقَوۡمِ إِنَّكُمۡ ظَلَمۡتُمۡ أَنفُسَكُم بِٱتِّخَاذِكُمُ ٱلۡعِجۡلَ فَتُوبُوٓاْ إِلَىٰ بَارِئِكُمۡ فَٱقۡتُلُوٓاْ أَنفُسَكُمۡ ذَٰلِكُمۡ خَيۡرٞ لَّكُمۡ عِندَ بَارِئِكُمۡ فَتَابَ عَلَيۡكُمۡۚ إِنَّهُۥ هُوَ ٱلتَّوَّابُ ٱلرَّحِيمُ
และจงรำลึกถึงความโปรดปรานอันนี้ ที่อัลลอฮฺได้ทรงชี้นำพวกเจ้าสู่การสำนึกในความผิดจากการบูชาลูกวัว โดยที่มูซาได้กล่าวแก่พวกเจ้าว่า แท้จริงพวกเจ้าได้อยุติธรรมต่อตัวของพวกเจ้าเอง โดยที่พวกเจ้าได้ยึดถือลูกวัวเป็นพระเจ้า เป็นสิ่งเคารพสักการะ ดังนั้นพวกเจ้าจงสำนึกในความผิดนี้เถิด และจงกลับตัวไปสู่พระผู้ทรงสร้างและผู้ทรงบังเกิดของพวกเจ้าเถิด ด้วยการฆ่ากันเองระหว่างพวกเจ้า และการกลับตัวกลับใจในลักษณะนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่าการที่พวกเจ้านั้นยังคงอยู่ในการปฏิเสธศรัทธาที่นำไปสู่การพำนักในไฟนรกตลอดกาล ดังนั้นการกลับตัวของพวกเจ้าด้วยการกระทำในลักษณะดังกล่าวนั้นมาจากการชี้นำและความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์ แล้วพระองค์ก็ทรงรับการสำนึกผิดของพวกเจ้า เพราะแท้จริงพระองค์คือผู้เหลือล้นในการให้อภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาต่อปวงบ่าวของพระองค์เสมอ
التفاسير العربية:
وَإِذۡ قُلۡتُمۡ يَٰمُوسَىٰ لَن نُّؤۡمِنَ لَكَ حَتَّىٰ نَرَى ٱللَّهَ جَهۡرَةٗ فَأَخَذَتۡكُمُ ٱلصَّٰعِقَةُ وَأَنتُمۡ تَنظُرُونَ
และจงรำลึกถึง ขณะที่บรรพบุรุษของพวกเจ้าได้กล่าวแก่มูซา อะลัยฮิสลาม อย่างเหิมเกริมว่า เราจะไม่ศรัทธาต่อท่านเป็นอันขาด จนกว่าเราจะได้เห็นอัลลอฮฺอย่างชัดเจนด้วยตาโดยไม่มีสิ่งใดปิดบังไปจากเรา แล้วเปลวไฟที่ลุกโชนก็ได้คร่าชีวิตพวกเจ้า โดยส่วนหนึ่งของพวกเจ้าได้แต่มองไปยังอีกส่วน
التفاسير العربية:
ثُمَّ بَعَثۡنَٰكُم مِّنۢ بَعۡدِ مَوۡتِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ
หลังจากนั้นเราได้ให้พวกเจ้าคืนชีพ หลังจากที่พวกเจ้าได้ตายไปแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจักขอบคุณต่ออัลลอฮฺที่ได้ทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเจ้าเช่นนั้น
التفاسير العربية:
وَظَلَّلۡنَا عَلَيۡكُمُ ٱلۡغَمَامَ وَأَنزَلۡنَا عَلَيۡكُمُ ٱلۡمَنَّ وَٱلسَّلۡوَىٰۖ كُلُواْ مِن طَيِّبَٰتِ مَا رَزَقۡنَٰكُمۡۚ وَمَا ظَلَمُونَا وَلَٰكِن كَانُوٓاْ أَنفُسَهُمۡ يَظۡلِمُونَ
และจากความโปรดปรานทั้งหลายของเราที่ได้มอบให้กับพวกเจ้าอีกเช่นกันคือ เราได้ส่งเมฆมาบดบังพวกเจ้าไว้ให้พ้นจากความร้อนของดวงอาทิตย์ในขณะที่พวกเจ้าหลงทางอยู่ในหน้าแผ่นดิน และเราก็ได้ประทานความโปรดปรานของเราลงมาให้แก่พวกเจ้าซึ่งเครื่องดื่มที่หอมหวาน เช่น น้ำผึ้ง และนกน้อยที่มีเนื้อดีคล้ายดั่งนกกระทา แล้วเราก็ได้กล่าวแก่พวกเจ้าว่า พวกเจ้าจงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าจากสิ่งดีๆ เถิด และเราก็ไม่ได้เสียหายอะไรกับการปฏิเสธและการต่อต้านของพวกเขาที่มีต่อความโปรดปรานทั้งหลายนี้ แต่ทว่าพวกเขานั้นได้อธรรมต่อตัวของพวกเขาเองต่างหาก โดยการบั่นทอนโชคลาภที่มาจากผลบุญและพยายามอ้อมค้อมมันเพื่อไปสู่การลงโทษ
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• عِظَمُ نعم الله وكثرتها على بني إسرائيل، ومع هذا لم تزدهم إلا تكبُّرًا وعنادًا.
บ่งบอกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่ยิ่งใหญ่และล้นหลามที่มีต่อวงศ์วานของอิสรออีล แต่พร้อมกันนั้นมันไม่มีอะไรเพิ่มขึ้นสำหรับพวกเขาเลย เว้นเสียแต่ความหยิ่งผยองและดื้อรั้นเท่านั้น

• سَعَةُ حِلم الله تعالى ورحمته بعباده، وإن عظمت ذنوبهم.
ชี้ถึงความกว้างขวางของอัลลอฮ์ในการเป็นพระเจ้าผู้ทรงขันติอดทน และทรงเมตตาต่อปวงบ่าวของพระองค์ แม้ว่าความผิดของพวกเขาจะยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม

• الوحي هو الفَيْصَلُ بين الحق والباطل.
วะหฺยู(วิวรณ์) คือ ตัวแยกระหว่างความจริงและความเท็จ

وَإِذۡ قُلۡنَا ٱدۡخُلُواْ هَٰذِهِ ٱلۡقَرۡيَةَ فَكُلُواْ مِنۡهَا حَيۡثُ شِئۡتُمۡ رَغَدٗا وَٱدۡخُلُواْ ٱلۡبَابَ سُجَّدٗا وَقُولُواْ حِطَّةٞ نَّغۡفِرۡ لَكُمۡ خَطَٰيَٰكُمۡۚ وَسَنَزِيدُ ٱلۡمُحۡسِنِينَ
และจงรำลึกถึงความโปรดปรานทั้งหลายของอัลลอฮฺที่ได้มอบให้กับพวกเจ้าขณะที่เราได้กล่าวแก่พวกเจ้าว่า พวกเจ้าจงเข้าไปในบัยตุลมักดิส แล้วจงบริโภคจากสิ่งที่อยู่ในเมืองนั้นจากสิ่งที่ดีๆ ณ แห่งหนใดก็ได้ตามที่พวกเจ้าปรารถนาบริโภคอย่างสุขสันต์และเปิดกว้าง และพวกเจ้าก็จงเป็นบรรดาผู้โน้มศรีษะลงด้วยความนอบน้อมต่ออัลลอฮฺในขณะที่เข้าไป และจงขอพรต่ออัลลอฮฺโดยกล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ขอพระองค์ทรงอภัยโทษต่อความผิดทั้งหลายของพวกเราด้วยเถิด แล้วเราก็จะตอบรับคำขอของพวกเจ้า และเราจะเพิ่มพูนแก่บรรดาผู้ที่กระทำความดีในการงานของพวกเขา ซึ่งผลบุญในการทำดีของพวกเขา
التفاسير العربية:
فَبَدَّلَ ٱلَّذِينَ ظَلَمُواْ قَوۡلًا غَيۡرَ ٱلَّذِي قِيلَ لَهُمۡ فَأَنزَلۡنَا عَلَى ٱلَّذِينَ ظَلَمُواْ رِجۡزٗا مِّنَ ٱلسَّمَآءِ بِمَا كَانُواْ يَفۡسُقُونَ
แล้วบรรดาผู้อธรรมที่มาจากพวกเขาไม่ได้ทำสิ่งใดเลย เว้นเสียแต่พวกเขาได้เปลี่ยนแปลงการกระทำและบิดเบือนคำพูด แล้วพวกเขาก็ได้เข้าไป(ยังบัยตุลมักดิส)โดยการขยับตัวด้วยก้นของพวกเขา(แทนที่จะเข้าอย่างนอบน้อม) และพวกเขาก็กล่าวว่า แค่เพียงเม็ดหนึ่งจากข้าวสาลี(แทนการกล่าวคำขออภัยโทษ) เป็นการแสดงออกถึงลักษณะการเยาะเย้ยต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺ ดังนั้นการตอบแทนที่อัลลอฮฺได้ประทานลงมาให้กับผู้อธรรมในหมู่ของพวกเขานั้น คือการลงโทษที่มาจากฟากฟ้า เนื่องจากพวกเขาได้ออกนอกกรอบบทบัญญัติและการผิดคำสั่ง(ของอัลลอฮ์)
التفاسير العربية:
۞ وَإِذِ ٱسۡتَسۡقَىٰ مُوسَىٰ لِقَوۡمِهِۦ فَقُلۡنَا ٱضۡرِب بِّعَصَاكَ ٱلۡحَجَرَۖ فَٱنفَجَرَتۡ مِنۡهُ ٱثۡنَتَا عَشۡرَةَ عَيۡنٗاۖ قَدۡ عَلِمَ كُلُّ أُنَاسٖ مَّشۡرَبَهُمۡۖ كُلُواْ وَٱشۡرَبُواْ مِن رِّزۡقِ ٱللَّهِ وَلَا تَعۡثَوۡاْ فِي ٱلۡأَرۡضِ مُفۡسِدِينَ
และจงรำลึกถึงความโปรดปรานทั้งหลายของอัลลอฮฺที่มอบให้แก่พวกเจ้าครั้นที่พวกเจ้านั้นหลงทาง และความหิวโหยก็มาประสบกับพวกเจ้า แล้วมูซาก็ได้นอบน้อมต่อพระผู้อภิบาลของเขา และขอต่อพระองค์ให้ประทานน้ำแก่พวกเจ้า แล้วเราได้สั่งใช้เขาให้ตีหินด้วยไม้เท้าของเขา แล้วในขณะที่เขาได้ตีมัน ตาน้ำสิบสองตา ก็พุ่งออกจากหินนั้น ไปตามจำนวนกลุ่มชนแต่ละกลุ่มของพวกเจ้า และเราก็ได้แจ้งแก่ทุกกลุ่มชนถึงแหล่งน้ำดื่มของแต่ละกลุ่มเป็นการเฉพาะ เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งกันในระหว่างพวกเขา และเราก็ได้กล่าวแก่พวกเจ้าต่อว่า จงกินและจงดื่มจากปัจจัยยังชีพของอัลลอฮฺที่พระองค์ได้ทรงนำมาให้พวกเจ้าโดยไม่ต้องใช้ความขมักเขม้นและการงานจากพวกเจ้า และพวกเจ้าก็จงอย่าก่อกวนในผืนแผ่นดิน ในฐานะเป็นผู้บ่อนทำลาย
التفاسير العربية:
وَإِذۡ قُلۡتُمۡ يَٰمُوسَىٰ لَن نَّصۡبِرَ عَلَىٰ طَعَامٖ وَٰحِدٖ فَٱدۡعُ لَنَا رَبَّكَ يُخۡرِجۡ لَنَا مِمَّا تُنۢبِتُ ٱلۡأَرۡضُ مِنۢ بَقۡلِهَا وَقِثَّآئِهَا وَفُومِهَا وَعَدَسِهَا وَبَصَلِهَاۖ قَالَ أَتَسۡتَبۡدِلُونَ ٱلَّذِي هُوَ أَدۡنَىٰ بِٱلَّذِي هُوَ خَيۡرٌۚ ٱهۡبِطُواْ مِصۡرٗا فَإِنَّ لَكُم مَّا سَأَلۡتُمۡۗ وَضُرِبَتۡ عَلَيۡهِمُ ٱلذِّلَّةُ وَٱلۡمَسۡكَنَةُ وَبَآءُو بِغَضَبٖ مِّنَ ٱللَّهِۚ ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمۡ كَانُواْ يَكۡفُرُونَ بِـَٔايَٰتِ ٱللَّهِ وَيَقۡتُلُونَ ٱلنَّبِيِّـۧنَ بِغَيۡرِ ٱلۡحَقِّۚ ذَٰلِكَ بِمَا عَصَواْ وَّكَانُواْ يَعۡتَدُونَ
และจงรำลึกถึงครั้งหนึ่งที่พวกเจ้านั้นเคยปฏิเสธต่อความโปรดปรานของพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็ได้รู้สึกเบื่อหน่ายจากการบริโภคสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานมาให้แก่พวกเจ้าจากน้ำผึ้งและนก และพวกเจ้าก็ได้กล่าวว่า เราจะไม่อดทนกับอาหารชนิดเดียวที่ไม่มีการสับเปลี่ยน จากนั้นพวกเจ้าก็ได้ร้องขอต่อมูซา อะลัยฮิสลาม ให้เขาวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ เพื่อให้พระองค์ทรงนำสิ่งที่มาจากพืชดินออกมาแก่พวกเจ้า เช่น พืชผัก ใบหญ้า แตงร้าน(คล้ายกับแตงกว่าแต่มันมีขนาดใหญ่กว่า) ฐัญพืช ถั่ว และหัวหอม เพื่อเป็นอาหาร แล้วมูซา อะลัยฮิสลาม ก็ได้กล่าวในเชิงที่รับไม่ได้ต่อคำขอของพวกเจ้าที่ต้องการเปลี่ยนเอาสิ่งที่มันด่อยค่าและต่ำกว่าน้ำผึ้งและนกทั้งที่มันดีกว่าและมีค่ากว่า และแท้จริงแล้วมันได้มายังพวกเจ้าโดยปราศจากความเหนื่อยล้าและเหน็ดเหนื่อย (ด้วยการกล่าวว่า): พวกท่านจงออกไปจากเมืองนี้แล้วไปยังเมืองใดก็ได้ แล้วพวกท่านก็จะพบเจอกับสิ่งที่พวกท่านได้ขอในไร่สวนและท้องตลาดของเมืองนั้น และเนื่องด้วยการตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขาและการหันหลังอย่างซ้ำ ๆ ของพวกเขาต่อสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงเลือกมันให้กับพวกเขา (ดังนั้น) ความอัปยศ ความขัดสนและความทุกข์ยากก็ได้เกาะติดพวกเขาไปตลอด และพวกเขาได้นำเอาความกริ้วโกรธจากอัลลอฮ์กลับไป นั่นก็เพราะการหันหลังของพวกเขาต่อศาสนาของพระองค์ และปฏิเสธต่อสัญญาณต่าง ๆ ของพระองค์ และยังฆ่าบรรดานบีของพระองค์อย่างอธรรมและตั้งตนเป็นศัตรู ทั้งหมดนั้นก็ด้วยสาเหตุที่ว่าพวกเขาได้ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮ์และได้ละเมิดในขอบเขตของพระองค์
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• كل من يتلاعب بنصوص الشرع ويحرّفها فيه شَبَهٌ من اليهود، وهو مُتوعَّد بعقوبة الله تعالى.
ใครก็ตามที่ทำเป็นเล่นกับเนื้อหาต่างๆ ของบทบัญญัติ และบิดเบือนเนื้อหาของมัน ในการกระทำดังกล่าวนั้นเสมือนชาวยิว และเขาคือผู้ที่ถูกสัญญาด้วยการลงโทษจากอัลลอฮฺ ตะอาลา

• عِظَمُ فضل الله تعالى على بني إسرائيل، وفي مقابل ذلك شدة جحودهم وعنادهم وإعراضهم عن الله وشرعه.
ความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่มีต่อวงศ์วานอิสราเอลนั้นเหลือล้น แต่ในทางตรงกันข้าม พวกเขาปฏิเสธ ดื้อรั้น และหันหลังออกห่างจากอัลลอฮฺและบทบัญญัติของพระองค์

• أن من شؤم المعاصي وتجاوز حدود الله تعالى ما ينزل بالمرء من الذل والهوان، وتسلط الأعداء عليه.
ส่วนหนึ่งจากความเลวร้ายของการกระทำบาปและการละเมิดขอบเขตของอัลลอฮฺ ตะอาลา คือสิ่งที่ประสบกับคนหนึ่ง ซึ่งความตกต่ำ ความอัปยศอดสู และศัตรูมีอำนาจเหนือเขา

إِنَّ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَٱلَّذِينَ هَادُواْ وَٱلنَّصَٰرَىٰ وَٱلصَّٰبِـِٔينَ مَنۡ ءَامَنَ بِٱللَّهِ وَٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِ وَعَمِلَ صَٰلِحٗا فَلَهُمۡ أَجۡرُهُمۡ عِندَ رَبِّهِمۡ وَلَا خَوۡفٌ عَلَيۡهِمۡ وَلَا هُمۡ يَحۡزَنُونَ
แท้จริงผู้ที่ศรัทธาที่มาจากประชาชาตินี้ และเช่นเดียวกันผู้ที่ศรัทธาที่มาจากบรรดาประชาชาติก่อนหน้าการบังเกิดของมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺิวะสัลลัม ที่มาจากยิว จากคริสเตียน และจากอัศ-ศอบิอีนนั้น(พวกเขาคือชนกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้เจริญรอยตามบรรดานบีบางท่านที่พวกเขานั้นมีการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ) ซึ่งสำหรับพวกเขานั้นคือ การรับผลบุญของพวกเขา ณ พระผู้อภิบาลของพวกเขา และไม่มีความหวาดกลัวใดๆ แก่พวกเขา จากสิ่งที่พวกเขานั้นจะต้องเผชิญมันในโลกหน้า และอีกทั้งพวกเขาจะไม่เสียใจในสิ่งที่ได้พลาดมันมาจากโลกดุนยา
التفاسير العربية:
وَإِذۡ أَخَذۡنَا مِيثَٰقَكُمۡ وَرَفَعۡنَا فَوۡقَكُمُ ٱلطُّورَ خُذُواْ مَآ ءَاتَيۡنَٰكُم بِقُوَّةٖ وَٱذۡكُرُواْ مَا فِيهِ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ
และจงรำลึกถึงสิ่งที่เราได้เอามาจากพวกเจ้า ซึ่งคำมั่นสัญญาที่แน่วแน่ จากการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและบรรดาเราะสูลของพระองค์ และเราได้ยกภูเขาไว้ขึ้นเหนือพวกเจ้าเพื่อเป็นการข่มขู่พวกเจ้าและคอยระวังมันจาการละทิ้งการงานที่ผูกมัดด้วยคำมั่นสัญญา โดยที่ข้าเป็นผู้บัญชาต่อพวกเจ้าด้วยการให้ยึดถือเอาสิ่งที่เราได้ประทานลงมาให้แก่พวกเจ้าที่มาจากอัตเตารอตฺด้วยความจริงจังและทุ่มเท โดยไม่มีการปล่อยปละละเลยและความเกียจคร้าน และจงรักษาสิ่งที่มีอยู่ในนั้นและพินิจพิเคราะห์ถึงมัน หวังว่าด้วยการกระทำของพวกเจ้าดังกล่าว พวกเจ้าจะเกรงกลัวต่อการลงโทษของอัลลอฮฺ ตะอาลา
التفاسير العربية:
ثُمَّ تَوَلَّيۡتُم مِّنۢ بَعۡدِ ذَٰلِكَۖ فَلَوۡلَا فَضۡلُ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ وَرَحۡمَتُهُۥ لَكُنتُم مِّنَ ٱلۡخَٰسِرِينَ
แล้วไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นจากพวกเจ้าเลย เว้นเสียแต่การผินหลังให้และการฝ่าฝืนของพวกเจ้าเท่านั้น หลังจากการยึดเอาคำมั่นสัญญาอันแน่วแน่ที่อยู่เหนือพวกเจ้า และหากไม่ใช่เพราะความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มอบให้แก่พวกเจ้า โดยการอภัยโทษให้แก่พวกเจ้า และความเมตตาของพระองค์ด้วยการตอบรับการกลับเนื้อกลับตัวของพวกเจ้าแล้ว แน่นอนพวกเจ้าย่อมกลายเป็นพวกที่ขาดทุนด้วยสาเหตุของการผินหลังให้และการฝ่าฝืนนั้น
التفاسير العربية:
وَلَقَدۡ عَلِمۡتُمُ ٱلَّذِينَ ٱعۡتَدَوۡاْ مِنكُمۡ فِي ٱلسَّبۡتِ فَقُلۡنَا لَهُمۡ كُونُواْ قِرَدَةً خَٰسِـِٔينَ
และแท้จริงพวกเจ้ารู้กันดีถึงเรื่องราวของบรรดาผู้ที่มาก่อนหน้าพวกเจ้าอย่างไม่มีที่สงสัยใดๆ ที่พวกเขานั้นได้ละเมิดด้วยการล่า(สัตร์น้ำ)ในวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันที่พวกเขาถูกห้ามไม่ให้ทำการจับปลาในวันนั้น แล้วพวกเขาก็ใช้เล่ห์เหลี่ยมในสิ่งนั้น โดยการวางตาข่ายก่อนวันเสาร์ และยกมันออกมาในวันอาทิตย์ แล้วอัลลอฮฺก็ทรงทำให้บรรดาผู้ที่ใช้เล่ห์เหลี่ยมนั้นกลายเป็นลิงที่ถูกรังเกียจ ซึ่งเป็นการลงโทษสำหรับพวกเขาเพราะเล่ห์เหลี่ยมของพวกเขา
التفاسير العربية:
فَجَعَلۡنَٰهَا نَكَٰلٗا لِّمَا بَيۡنَ يَدَيۡهَا وَمَا خَلۡفَهَا وَمَوۡعِظَةٗ لِّلۡمُتَّقِينَ
แล้วเราได้ทำให้เมืองผู้ละเมิดแห่งนี้กลายเป็นบทเรียนสำหรับเมืองที่อยู่ใกล้เคียงมัน และเป็นบทเรียนสำหรับผู้ที่ตามมาที่หลัง เพื่อที่เขาจะไม่ปฏิบัติเยี่ยงอย่างการกระทำของคนเมืองนั้น แล้วเขาก็จะต้องรับโทษเช่นการลงโทษของคนเมืองนั้น และเราก็ได้ทำให้เป็นข้อเตือนสติแก่บรรดาผู้ที่ยำเกรงที่พวกเขานั้นเกรงกลัวต่อการลงโทษของอัลลอฮฺและการแก้เผ็ดของพระองค์ต่อผู้ที่กำลังละเมิดขอบเขตของพระองค์
التفاسير العربية:
وَإِذۡ قَالَ مُوسَىٰ لِقَوۡمِهِۦٓ إِنَّ ٱللَّهَ يَأۡمُرُكُمۡ أَن تَذۡبَحُواْ بَقَرَةٗۖ قَالُوٓاْ أَتَتَّخِذُنَا هُزُوٗاۖ قَالَ أَعُوذُ بِٱللَّهِ أَنۡ أَكُونَ مِنَ ٱلۡجَٰهِلِينَ
และจงรำลึกถึงเรื่องราวของบรรพบุรุษของพวกเจ้า เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างพวกเขากับมูซา อะลัยฮิสลาม ขณะที่มูซาได้แจ้งข่าวแก่พวกเขาถึงคำบัญชาของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขา โดยให้พวกเขาทำการเชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง แทนที่พวกเขาจะเร่งรีบปฏิบัติคำสั่งดังกล่าว พวกเขากลับได้กล่าวโดยการตั้งคำถามยุ่งยากมากมายว่า ท่านกำลังล้อเล่นกับพวกเราใช่ไหม? มูซาก็กล่าวว่า ฉันขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากการเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่โกหกต่ออัลลอฮฺและผู้ที่ดูถูกดูแคลงต่อมนุษย์ด้วยกัน
التفاسير العربية:
قَالُواْ ٱدۡعُ لَنَا رَبَّكَ يُبَيِّن لَّنَا مَا هِيَۚ قَالَ إِنَّهُۥ يَقُولُ إِنَّهَا بَقَرَةٞ لَّا فَارِضٞ وَلَا بِكۡرٌ عَوَانُۢ بَيۡنَ ذَٰلِكَۖ فَٱفۡعَلُواْ مَا تُؤۡمَرُونَ
พวกเขากล่าวแก่มูซาว่า โปรดวิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของท่านให้แก่พวกเราด้วยเถิด ให้พระองค์บอกรายละเอียดแก่พวกเราถึงคุณลักษณะของวัวที่พระองค์ได้ให้เราทำการเชือดมัน แล้วมูซาก็กล่าวแก่พวกเขาว่า แท้จริงพระองค์ทรงตรัสว่า มันเป็นวัวตัวเมียที่ไม่แก่และไม่อ่อน แต่มีอายุกึ่งกลางระหว่างนั้น พวกท่านจงปฏิบัติตามคำบัญชาของพระผู้อภิบาลของพวกท่านเถิด
التفاسير العربية:
قَالُواْ ٱدۡعُ لَنَا رَبَّكَ يُبَيِّن لَّنَا مَا لَوۡنُهَاۚ قَالَ إِنَّهُۥ يَقُولُ إِنَّهَا بَقَرَةٞ صَفۡرَآءُ فَاقِعٞ لَّوۡنُهَا تَسُرُّ ٱلنَّٰظِرِينَ
แล้วพวกเขาก็ยังคงยืนกรานในการโต้เถียงและแข็งกร้าว โดยกล่าวแก่มูซา อะลัยฮิสลาม ว่า โปรดวิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของท่านให้พระองค์ทรงแจ้งถึงสีของมันแก่พวกเราด้วยเถิด จากนั้นมูซาได้กล่าวแก่พวกเขาว่า แท้จริงพระองค์ทรงตรัสว่า แท้จริงมันเป็นวัวสีเหลือง สีเหลืองเข้มมากๆ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกแปลกตาแปลกใจแก่บรรดาผู้พบเห็น
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• الحُكم المذكور في الآية الأولى لِمَا قبل بعثة النبي صلى الله عليه وسلم، وأما بعد بعثته فإن الدين المَرْضِيَّ عند الله هو الإسلام، لا يقبل غيره، كما قال الله تعالى: ﴿ وَمَنْ يَبْتَغِ غَيْرَ الْإِسْلَامِ دِينًا فَلَنْ يُقْبَلَ مِنْه ﴾ (آل عمران: 85).
บทบัญญัติที่ระบุไว้ในโองการแรกนั้น มีไว้สำหรับก่อนที่จะมีการบังเกิดท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม ส่วนภายหลังการบังเกิดของท่านนบี แท้จริงแล้วศาสนาที่เป็นที่ยอมรับ ณ ที่อัลลอฮฺนั้น คือ อิสลาม พระองค์จะไม่ทรงยอมรับศาสนาอื่นใดนอกจากอิสลามเท่านั้น ดังเช่นที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสไว้ว่า (และผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลาม ศาสนานั้นจะไม่ถูกตอบรับจากเขาเป็นอันขาด)[อาลิอิมรอน 85]

• قد يُعَجِّلُ الله العقوبة على بعض المعاصي في الدنيا قبل الآخرة؛ لتكون تذكرة يتعظ بها الناس فيحذروا مخالفة أمر الله تعالى.
อัลลอฮฺอาจทรงเร่งการลงโทษต่อบาปบางอย่างในโลกนี้ก่อนวันปรโลก เพื่อเป็นข้อเตือนสติ ไว้ให้มนุษย์ได้คิดใคร่ครวญต่อมัน และจะได้ระมัดระวังจากสิ่งที่เป็นข้อละเมิดต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺ ตะอาลา

• أنّ من ضيَّق على نفسه وشدّد عليها فيما ورد موسَّعًا في الشريعة، قد يُعاقَبُ بالتشديد عليه.
แท้จริงผู้ใดที่ทำให้เกิดความคับแคบและลำบากต่อตัวของเขาในสิ่งที่ศาสนาเปิดกว้าง เขาอาจถูกลงโทษด้วยการให้เกิดความยากลำบากต่อตัวของเขา

قَالُواْ ٱدۡعُ لَنَا رَبَّكَ يُبَيِّن لَّنَا مَا هِيَ إِنَّ ٱلۡبَقَرَ تَشَٰبَهَ عَلَيۡنَا وَإِنَّآ إِن شَآءَ ٱللَّهُ لَمُهۡتَدُونَ
จากนั้นพวกเขาก็ยังคงยืนกรานในการหาข้ออ้างของพวกเขา โดยกล่าวว่า ท่านโปรดวิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของท่านให้แก่เราเถิด ขอให้พระองค์ทรงแจ้งแก่พวกเราถึงลักษณะเพิ่มเติมของมัน เพราะแท้จริงวัวที่มีลักษณะดังกล่าวนั้นมันมีเยอะมาก พวกเราไม่สามารถที่จะไปกำหนดตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ในนั้นได้ โดยพวกเขาได้เน้นย้ำว่าพวกเขา -หากอัลลอฮฺทรงประสงค์- จะเป็นผู้ที่ได้รับคำแนะนำไปสู่การได้มาซึ่งวัวที่ต้องการเชือดอย่างแน่นอน
التفاسير العربية:
قَالَ إِنَّهُۥ يَقُولُ إِنَّهَا بَقَرَةٞ لَّا ذَلُولٞ تُثِيرُ ٱلۡأَرۡضَ وَلَا تَسۡقِي ٱلۡحَرۡثَ مُسَلَّمَةٞ لَّا شِيَةَ فِيهَاۚ قَالُواْ ٱلۡـَٰٔنَ جِئۡتَ بِٱلۡحَقِّۚ فَذَبَحُوهَا وَمَا كَادُواْ يَفۡعَلُونَ
มูซาก็ได้กล่าวแก่พวกเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ได้ตรัสว่า แท้จริงแล้วลักษณะของวัวตัวนี้ คือ มันเป็นวัวที่ยังไม่เคยถูกใช้งานในการไถดิน และยังไม่เคยถูกใช้ในการทดน้ำเข้านา มันเป็นวัวที่สมบูรณ์ปราศจากตำหนิใดๆ ที่ตัวของมันนั้นไม่มีเครื่องหมายใดๆ ที่มาจากสีอื่นนอกจากสีของมันที่เป็นสีเหลืองเท่านั้น และในขณะนั้นเองพวกเขาก็กล่าวว่า บัดนี้ท่านได้บอกลักษณะอันถีถ้วนที่บอกถึงวัวตัวนั้นอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว แล้วพวกเขาก็เชือดมัน หลังจากที่พวกเขาเกือบจะเชือดมันไม่ได้ เนื่องด้วยการโต้เถียงและการตั้งคำถามที่ยุ่งยาก
التفاسير العربية:
وَإِذۡ قَتَلۡتُمۡ نَفۡسٗا فَٱدَّٰرَٰءۡتُمۡ فِيهَاۖ وَٱللَّهُ مُخۡرِجٞ مَّا كُنتُمۡ تَكۡتُمُونَ
และจงรำลึกถึงขณะที่พวกเจ้าฆ่าคนคนหนึ่งที่มาจากพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าต่างปกป้องตัวเอง ซึ่งแต่ละคนก็พยามยามปัดข้อกล่าวหาการสังหารนั้นออกไปจากตัวของเขา และก็ปัดโยนมันไปยังผู้อื่น จนกระทั่งพวกเจ้าได้ขัดแย้งกันเอง และอัลลอฮฺนั้น เป็นผู้ทรงเปิดเผยสิ่งที่พวกเจ้าปกปิดไว้ซึ่งการสังหารอันไร้เดียงสานั้น
التفاسير العربية:
فَقُلۡنَا ٱضۡرِبُوهُ بِبَعۡضِهَاۚ كَذَٰلِكَ يُحۡيِ ٱللَّهُ ٱلۡمَوۡتَىٰ وَيُرِيكُمۡ ءَايَٰتِهِۦ لَعَلَّكُمۡ تَعۡقِلُونَ
แล้วเราได้กล่าวแก่พวกเจ้าว่า จงตีชายที่ถูกฆ่า ด้วยส่วนหนึ่งส่วนใดของวัวที่พวกเจ้าถูกสั่งใช้ให้เชือด แท้จริงแล้วอัลลอฮฺจะทรงให้เขามีชีวิตขึ้นมาเพื่อเขานั้นจะได้บอกว่าใครคือฆาตกร ดังนั้นพวกเขาก็ได้ปฏิบัติเช่นนั้น แล้วเขาก็ได้บอกถึงผู้ที่ฆ่าเขา และการชุบชีวิตของผู้ตายคนนี้ก็เปรียบเสมือนดั่งที่อัลลอฮฺนั้นจะทรงชุบชีวิตของผู้ตายทั้งหลายให้ฟื้นขึ้นมาใหม่ในวันกิยามะฮฺนั่นเอง และจะทรงให้พวกเจ้าเห็นสัญญาณอันชัดแจ้งต่างๆที่แสดงถึงความปรีชาญาณของพระองค์ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ใช้สติปัญญาทบทวนมัน แล้วจะศรัทธาอย่างจริงจังต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา เสียที
التفاسير العربية:
ثُمَّ قَسَتۡ قُلُوبُكُم مِّنۢ بَعۡدِ ذَٰلِكَ فَهِيَ كَٱلۡحِجَارَةِ أَوۡ أَشَدُّ قَسۡوَةٗۚ وَإِنَّ مِنَ ٱلۡحِجَارَةِ لَمَا يَتَفَجَّرُ مِنۡهُ ٱلۡأَنۡهَٰرُۚ وَإِنَّ مِنۡهَا لَمَا يَشَّقَّقُ فَيَخۡرُجُ مِنۡهُ ٱلۡمَآءُۚ وَإِنَّ مِنۡهَا لَمَا يَهۡبِطُ مِنۡ خَشۡيَةِ ٱللَّهِۗ وَمَا ٱللَّهُ بِغَٰفِلٍ عَمَّا تَعۡمَلُونَ
จากนั้นหัวใจของพวกเจ้าก็แข็งกระด้าง หลังจากที่มีการตักเตือนที่ดีและปาฏิหาริย์ที่น่าอัศจรรย์เหล่านี้ จนกระทั่งหัวใจของพวกเจ้าแข็งประดุจดั่งก้อนหิน แต่(หัวใจของพวกเจ้า)แข็งกระด้างกว่า ซึ่งมันไม่สามารถที่จะเปลี่ยนจากสภาพเดิมของมันได้อีกเลย ส่วนหินนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนสภาพได้ เพราะแท้จริงในบรรดาหินนั้น มีบางก้อนที่บรรดาธารน้ำพุ่งออกจากมัน และบางก้อนแตกออก แล้วมีน้ำออกจากมัน เป็นตาน้ำต่างๆ ที่วิ่งไหลอยู่ในพื้นดิน ซึ่งมนุษย์และสัตว์ต่างๆก็ได้รับประโยชน์จากมัน และในบรรดาหินนั้นมีบางก้อนที่ทลายลงมาจากยอดของภูเขา ซึ่งเกิดจากความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ แต่หัวใจของพวกเจ้ามิได้เป็นเช่นนั้น และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงเฉยเมยต่อสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน แต่ทว่าพระองค์คือผู้ที่รู้ดีเกี่ยวกับมัน และจะทรงตอบแทนพวกเจ้าตามที่ได้กระทำไว้
التفاسير العربية:
۞ أَفَتَطۡمَعُونَ أَن يُؤۡمِنُواْ لَكُمۡ وَقَدۡ كَانَ فَرِيقٞ مِّنۡهُمۡ يَسۡمَعُونَ كَلَٰمَ ٱللَّهِ ثُمَّ يُحَرِّفُونَهُۥ مِنۢ بَعۡدِ مَا عَقَلُوهُ وَهُمۡ يَعۡلَمُونَ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย หลังจากที่พวกเจ้าได้รู้ถึงสภาพความเป็นจริงของพวกยิวและการดื้อรั้นของพวกเขา พวกเจ้ายังหวังที่จะให้พวกเขาศรัทธาและตอบรับต่อการเชิญชวนของพวกเจ้าอีกหรือ? ทั้งๆ ที่กลุ่มหนึ่งในบรรดาผู้รู้ของพวกเขาเคยสดับฟังคำพูดของอัลลอฮฺที่ได้ประทานลงมายังพวกเขาในคำภีร์อัตเตารอตฺ ซึ่งหลังจากนั้นพวกเขาก็บิดเบือนคำและความหมายของมันเสีย หลังจากที่พวกเขาเข้าใจและรับรู้ถึงมัน และพวกเขาก็รู้ดีถึงความผิดมหันต์จากอาชญากรรมของพวกเขา
التفاسير العربية:
وَإِذَا لَقُواْ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ قَالُوٓاْ ءَامَنَّا وَإِذَا خَلَا بَعۡضُهُمۡ إِلَىٰ بَعۡضٖ قَالُوٓاْ أَتُحَدِّثُونَهُم بِمَا فَتَحَ ٱللَّهُ عَلَيۡكُمۡ لِيُحَآجُّوكُم بِهِۦ عِندَ رَبِّكُمۡۚ أَفَلَا تَعۡقِلُونَ
ส่วนหนึ่งจากความย้อนแย้งและความเจ้าเล่ห์ของชาวยิวคือ เมื่อบางคนในหมู่พวกเขาได้เจอกับบรรดาผู้ศรัทธา พวกเขาก็จะสารภาพต่อบรรดาผู้ศรัทธาถึงการเป็นนบีที่แท้จริงของมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม และการเป็นรอซูลที่ถูกต้อง ซึ่งนั้นคือสิ่งที่คัมภีร์อัตเตารอตฺได้เป็นพยานยืนยันไว้ แต่เมื่อชาวยิวได้อยู่กันตามลำพังระหว่างพวกเขา พวกเขาจะตำหนิซึ่งกันและกันถึงสาเหตุของการสารภาพต่างๆ เหล่านี้ เพราะแท้จริงบรรดามุสลิมจะนำสิ่งเหล่านั้นไปเป็นหลักฐานโต้แย้งพวกเขา ในสิ่งที่ออกมาจากพวกเขาจากการสารภาพถึงความจริงของการเป็นนบี(ของมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม)
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• أن بعض قلوب العباد أشد قسوة من الحجارة الصلبة؛ فلا تلين لموعظة، ولا تَرِقُّ لذكرى.
แท้จริงหัวใจของบ่าวบางคนนั้นจะมีความแข็งกระด้างยิ่งกว่าหินที่แข็งเสียอีก ดังนั้นมันจะไม่นิ่มนวลด้วยการเตือนที่ให้บทเรียนและจะไม่อ่อนโยนด้วยการเตือนที่ให้สำนึก

• أن الدلائل والبينات - وإن عظمت - لا تنفع إن لم يكن القلب مستسلمًا خاشعًا لله.
แท้จริงบรรดาหลักฐานและข้อพิสูจน์ต่างๆ แม้ว่ามันจะยิ่งใหญ่สักเพียงใด มันจะไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย ถ้าหากหัวใจนั้นมันไม่ยอมจำนนและสำรวมต่ออัลลอฮฺ

• كشفت الآيات حقيقة ما انطوت عليه أنفس اليهود، حيث توارثوا الرعونة والخداع والتلاعب بالدين.
โองการเหล่านี้ได้เปิดเผยถึงธาตุแท้จิตวิญญาณของพวกยิว ซึ่งพวกเขาได้ปกปิดไว้ นั่นคือการบ่มเพาะความอ่อนแอ การหลอกหลวง และการทำเรื่องศาสนาเป็นเรื่องเล่น

أَوَلَا يَعۡلَمُونَ أَنَّ ٱللَّهَ يَعۡلَمُ مَا يُسِرُّونَ وَمَا يُعۡلِنُونَ
ชาวยิวเหล่านั้นกำลังเดินตามเส้นทางอันเลวทรามนี้ เสมือนกับว่าพวกเขานั้นไม่รู้ว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเขากำลังปกปิดจากคำพูดและการกระทำของพวกเขาทั้งหลาย และสิ่งที่พวกเขากำลังเปิดเผยมัน และพระองค์จะทรงทำให้มันปรากฏขึ้นมาต่อปวงบ่าวของพระองค์ และจะทรงเปิดเผยสิ่งที่ไม่ดีของพวกเขา
التفاسير العربية:
وَمِنۡهُمۡ أُمِّيُّونَ لَا يَعۡلَمُونَ ٱلۡكِتَٰبَ إِلَّآ أَمَانِيَّ وَإِنۡ هُمۡ إِلَّا يَظُنُّونَ
และในหมู่ชาวยิวนั้นจะมีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพวกเขาไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับคัมภีร์อัตเตารอตฺเลย นอกจากการอ่านเท่านั้น และพวกเขาก็มิได้เข้าใจในเนื้อหาที่ได้ระบุไว้ และมิได้มีอะไรเลยสำหรับพวกเขา นอกจากเรื่องเล่าอันโกหกหลอกลวงทั้งหลายที่พวกเขาได้เอามันมาจากบรรดาผู้อาวุโสของพวกเขา ซึ่งพวกเขาคิดว่ามันคืออัตเตารอตฺที่อัลลอฮฺนั้นได้ทรงประทานมันลงมา
التفاسير العربية:
فَوَيۡلٞ لِّلَّذِينَ يَكۡتُبُونَ ٱلۡكِتَٰبَ بِأَيۡدِيهِمۡ ثُمَّ يَقُولُونَ هَٰذَا مِنۡ عِندِ ٱللَّهِ لِيَشۡتَرُواْ بِهِۦ ثَمَنٗا قَلِيلٗاۖ فَوَيۡلٞ لَّهُم مِّمَّا كَتَبَتۡ أَيۡدِيهِمۡ وَوَيۡلٞ لَّهُم مِّمَّا يَكۡسِبُونَ
ดังนั้นความวิบัติและการลงโทษอันหนักหน่วง มันกำลังรอคอยพวกเขาเหล่านั้นที่ขีดเขียนคัมภีร์ขึ้นมาด้วยมือของพวกเขาเอง แล้วพวกเขาก็กล่าวอย่างโกหกว่า นี่(คือคำภีร์ที่)มาจากอัลลอฮฺ เพื่อที่พวกเขาจะใช้สัจธรรมและการตามความถูกต้องนั้นเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่มีราคาน้อยนิดในโลกนี้ เช่น เงินทองและตำแหน่ง ดังนั้นความวิบัติและการลงโทษอันหนักหน่วงมีไว้สำหรับพวกเขา ตามสิ่งที่มือของพวกเขาได้เขียนขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาอุปโลกน์มันขึ้นมาต่ออัลลอฮฺ และความวิบัติกับการลงโทษอันหนักหน่วงนั้นจะประสบแก่พวกเขา ตามสิ่งที่พวกเขาได้มันมา(จากเจตนา)ที่อยู่เบื้องหลังการแลกเปลี่ยนดังกล่าวนั้น ไม่ว่าจะเป็นเงินทองหรือตำแหน่ง
التفاسير العربية:
وَقَالُواْ لَن تَمَسَّنَا ٱلنَّارُ إِلَّآ أَيَّامٗا مَّعۡدُودَةٗۚ قُلۡ أَتَّخَذۡتُمۡ عِندَ ٱللَّهِ عَهۡدٗا فَلَن يُخۡلِفَ ٱللَّهُ عَهۡدَهُۥٓۖ أَمۡ تَقُولُونَ عَلَى ٱللَّهِ مَا لَا تَعۡلَمُونَ
และพวกเขาเหล่านั้นกล่าวอย่างโกหกและหลอกลวงว่าไฟนรกนั้นจะไม่แตะต้องพวกเราอย่างแน่นอน และพวกเราก็จะไม่เข้าไปในนั้นเป็นอันขาด นอกจากไม่กี่วันเท่านั้น จงกล่าวเถิด -โอ้นบี - แก่พวกเขาเหล่านั้นว่า พวกเจ้าได้รับคำสัญญาจากอัลลอฮฺแล้วกระนั้นหรือ?(ที่บอกว่าไฟนรกจะไม่แตะต้องพวกเจ้า นอกจากไม่กี่วันเท่านั้น) หากมันเป็นเช่นนั้นจริง แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงผิดสัญญาของพระองค์อย่างแน่นอน หรือว่าพวกเจ้ากล่าวต่ออัลลอฮฺ ด้วยการโกหกและหลอกลวง ในสิ่งที่พวกเจ้าเองไม่รู้?
التفاسير العربية:
بَلَىٰۚ مَن كَسَبَ سَيِّئَةٗ وَأَحَٰطَتۡ بِهِۦ خَطِيٓـَٔتُهُۥ فَأُوْلَٰٓئِكَ أَصۡحَٰبُ ٱلنَّارِۖ هُمۡ فِيهَا خَٰلِدُونَ
ความจริงมันไม่ใช่อย่างที่พวกเขากำลังคาดหมายเลย เพราะแท้จริงแล้วอัลลอฮฺจะทรงลงโทษทุกคน ที่เขานั้นขวนขวายความชั่วแห่งการปฏิเสธศรัทธา และบาปของเขาได้ล้อมรอบตัวเขาไว้ทุกๆด้าน และพระองค์ก็จะทรงตอบแทนพวกเขาด้วยการให้พวกเขาเข้าไปในนรกและประจำอยู่กับมัน โดยที่พวกเขาจะอยู่ในนั้นตลอกกาล
التفاسير العربية:
وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ أُوْلَٰٓئِكَ أَصۡحَٰبُ ٱلۡجَنَّةِۖ هُمۡ فِيهَا خَٰلِدُونَ
และบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและต่อเราะสูลของพระองค์ พร้อมด้วยการประกอบคุณงามความดี ผลตอบแทนของพวกเขา ณ ที่อัลลอฮฺนั้นคือการเข้าไปพำนักอยู่ในสรวงสวรรค์และประจำอยู่กับมัน โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวรรค์ไปตลอดกาล
التفاسير العربية:
وَإِذۡ أَخَذۡنَا مِيثَٰقَ بَنِيٓ إِسۡرَٰٓءِيلَ لَا تَعۡبُدُونَ إِلَّا ٱللَّهَ وَبِٱلۡوَٰلِدَيۡنِ إِحۡسَانٗا وَذِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينِ وَقُولُواْ لِلنَّاسِ حُسۡنٗا وَأَقِيمُواْ ٱلصَّلَوٰةَ وَءَاتُواْ ٱلزَّكَوٰةَ ثُمَّ تَوَلَّيۡتُمۡ إِلَّا قَلِيلٗا مِّنكُمۡ وَأَنتُم مُّعۡرِضُونَ
และจงรำลึกเถิด -โอ้วงศ์วานอิสรออีลเอ๋ย- ถึงคำมั่นสัญญาที่เราได้สัญญามันไว้เหนือพวกเจ้าว่า พวกเจ้าจะต้องให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์เพียงผู้เดียว และจะไม่เคารพสักการะต่อสิ่งอื่นร่วมกับพระองค์ และพวกเจ้าจงทำดีต่อบิดามารดา ญาติที่ใกล้ชิด เด็กกำพร้า และผู้ขัดสนที่มีความต้องการ และจงพูดจากับเพื่อนมนุษย์ด้วยคำพูดที่ดี สั่งใช้กันในสิ่งที่ดีและตักเตือนกันจากการทำชั่วโดยปราศจากรูปแบบที่แข็งกระด้างและรุนแรง และจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาดที่สมบูรณ์ ตามแบบที่ฉันได้สั่งไว้ต่อพวกเจ้า และจงชำระซะกาตโดยการแจกจ่ายมันแก่บรรดาผู้ที่มีสิทธิ์ที่จะได้รับมัน เพื่อเป็นการทำให้ชีวิตของเจ้าดีขึ้นด้วยการจ่ายซะกาตนั้น แต่หลังจากทำสัญญานี้แล้ว มันก็มิได้มีอะไรเกิดขึ้นกับพวกเจ้าเลย นอกจากการเปลี่ยนแปลงของพวกเจ้าด้วยการเป็นผู้ที่หักหลังต่อความซื่อสัตย์ในสิ่งที่พระองค์ได้สัญญาไว้เหนือพวกเจ้า
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• بعض أهل الكتاب يدّعي العلم بما أنزل الله، والحقيقة أن لا علم له بما أنزل الله، وإنما هو الوهم والجهل.
ชาวคัมภีร์บางคนได้แอบอ้างว่า พวกเขานั้นรู้ถึงสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมา ความจริงก็คือพวกเขาไม่มีความรู้ในสิ่งที่อัลลอฮฺประทานลงมา แต่มันเป็นเพียงการนึกมโนและโง่เขลาเบาปัญญา

• من أعظم الناس إثمًا من يكذب على الله تعالى ورسله ؛ فينسب إليهم ما لم يكن منهم.
มนุษย์ที่มีบาปที่ใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา และต่อบรรดาเราะสูลของพระองค์ แล้วพาดพิงไปยังพวกเขาในสิ่งที่ไม่ได้มาจากพวกเขา

• مع عظم المواثيق التي أخذها الله تعالى على اليهود وشدة التأكيد عليها، لم يزدهم ذلك إلا إعراضًا عنها ورفضًا لها.
แม้จะมีคำมั่นสัญญาที่ยิ่งใหญ่เพียงใด ที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้รับจากชาวยิว หรือจะมีการเน้นย้ำอย่างหนักเพียงใดต่อสัญญานั้น มันก็ไม่ได้มีอะไรดีขึ้นจากพวกเขาเลย นอกเสียจากการผินหลังไปจากสัญญานั้นและการปฏิเสธต่อต้านต่อมัน

وَإِذۡ أَخَذۡنَا مِيثَٰقَكُمۡ لَا تَسۡفِكُونَ دِمَآءَكُمۡ وَلَا تُخۡرِجُونَ أَنفُسَكُم مِّن دِيَٰرِكُمۡ ثُمَّ أَقۡرَرۡتُمۡ وَأَنتُمۡ تَشۡهَدُونَ
และจงรำลึกถึงคำมั่นสัญญาที่เราได้ทำกับพวกเจ้าไว้ในอัตเตารอตฺ คือ ไม่อนุญาตให้หลั่งเลือดระหว่างพวกเจ้า และไม่อนุญาตให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของพวกเจ้าขับไล่อีกกลุ่มหนึ่งออกจากหมู่บ้านของเขา แล้วพวกเจ้าก็ยอมรับในสัญญานั้นที่เราได้ทำกับพวกเจ้าไว้ และพวกเจ้าก็เป็นพยานบนความถูกต้องของมัน
التفاسير العربية:
ثُمَّ أَنتُمۡ هَٰٓؤُلَآءِ تَقۡتُلُونَ أَنفُسَكُمۡ وَتُخۡرِجُونَ فَرِيقٗا مِّنكُم مِّن دِيَٰرِهِمۡ تَظَٰهَرُونَ عَلَيۡهِم بِٱلۡإِثۡمِ وَٱلۡعُدۡوَٰنِ وَإِن يَأۡتُوكُمۡ أُسَٰرَىٰ تُفَٰدُوهُمۡ وَهُوَ مُحَرَّمٌ عَلَيۡكُمۡ إِخۡرَاجُهُمۡۚ أَفَتُؤۡمِنُونَ بِبَعۡضِ ٱلۡكِتَٰبِ وَتَكۡفُرُونَ بِبَعۡضٖۚ فَمَا جَزَآءُ مَن يَفۡعَلُ ذَٰلِكَ مِنكُمۡ إِلَّا خِزۡيٞ فِي ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۖ وَيَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ يُرَدُّونَ إِلَىٰٓ أَشَدِّ ٱلۡعَذَابِۗ وَمَا ٱللَّهُ بِغَٰفِلٍ عَمَّا تَعۡمَلُونَ
หลังจากนั้นพวกเจ้าก็ผิดคำสัญญานี้ พวกเจ้าจากกลุ่มหนึ่งได้ทำการฆ่าอีกกลุ่มหนึ่ง และทำการขับไล่กลุ่มหนึ่งในหมู่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเขา โดยที่พวกเจ้าได้ขอความช่วยเหลื่อจากศัตรูเพื่อชัยชนะเหนือพวกเขา อย่างอยุติธรรมและเป็นศัตรูกัน และถ้าพวกเขาได้มายังพวกเจ้าในฐานะเชลยที่ตกอยู่ในน้ำมือของศัตรู พวกเจ้าก็จะหาทางดำเนินจ่ายค่าไถ่ตัวเพื่อให้พวกเขาพ้นจากการเป็นเชลย พร้อมกันนั้นการขับไล่พวกเขาออกจากบ้านของพวกเขานั้นก็เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพวกเจ้าเช่นกัน ดังนั้นพวกเจ้าจะศรัทธาแต่เพียงบางส่วนของคัมภีร์อัตเตารอตฺ อาทิ เรื่องความจำเป็นในการไถ่ถอนเชลยศึก และปฏิเสธอีกบางส่วนที่อยู่ในนั้น อาทิ การปกป้องสายเลือดและห้ามขับไล่บางส่วนของพวกเจ้าออกไปจากบ้านเรือนของพวกเขานั้นได้อย่างไรกัน? ดังนั้นไม่มีสิ่งใดเป็นการตอบแทนสำหรับผู้กระทำเช่นนั้นในหมู่พวกเจ้านอกจากความตกต่ำและอัปยศอดสูในชีวิตความเป็นอยู่ในโลกนี้ ส่วนในโลกหน้านั้น พวกเขาก็จะถูกนำกลับไปสู่การลงโทษที่แสนสาหัสยิ่ง และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงเฉยเมยในสิ่งที่พวกเจ้าได้ทำกัน แต่ทว่าพระองค์นั้นคือผู้รอบรู้เกี่ยวกับเขา และพระองค์ก็จะทรงตอบแทนพวกเจ้าด้วยการกระทำนั้น
التفاسير العربية:
أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ ٱشۡتَرَوُاْ ٱلۡحَيَوٰةَ ٱلدُّنۡيَا بِٱلۡأٓخِرَةِۖ فَلَا يُخَفَّفُ عَنۡهُمُ ٱلۡعَذَابُ وَلَا هُمۡ يُنصَرُونَ
ชนเหล่านี้ คือ ผู้ที่แสวงหา(ความสุข)ของชีวิตความเป็นอยู่ในโลกนี้ด้วยการนำอาคิเราะฮ์เป็นสิ่งแลกเปลี่ยน ยอมสละตนเพื่อสิ่งที่สักวันต้องสูญสลายเหนือสิ่งที่คงอยู่ไปตลอดกาล ดังนั้น การลงโทษจึงไม่ถูกลดหย่อนแก่พวกเขาในปรโลก และสำหรับพวกเขานั้นจะไม่มีผู้ช่วยใดเลยที่จะมาคอยให้ความช่วยเหลือแก่พวกเขาในวันนั้น
التفاسير العربية:
وَلَقَدۡ ءَاتَيۡنَا مُوسَى ٱلۡكِتَٰبَ وَقَفَّيۡنَا مِنۢ بَعۡدِهِۦ بِٱلرُّسُلِۖ وَءَاتَيۡنَا عِيسَى ٱبۡنَ مَرۡيَمَ ٱلۡبَيِّنَٰتِ وَأَيَّدۡنَٰهُ بِرُوحِ ٱلۡقُدُسِۗ أَفَكُلَّمَا جَآءَكُمۡ رَسُولُۢ بِمَا لَا تَهۡوَىٰٓ أَنفُسُكُمُ ٱسۡتَكۡبَرۡتُمۡ فَفَرِيقٗا كَذَّبۡتُمۡ وَفَرِيقٗا تَقۡتُلُونَ
และแท้จริง เราได้ประทานคัมภีร์อัตเตารอตฺแก่มูซา และได้ส่งบรรดาเราะสูลสืบต่อเนื่องกันมาหลังจากเขา โดยตามรอยของเขา และเราได้ให้สัญญาณต่าง ๆ อันชัดแจ้งแก่อีซาบุตรของมัรยัมเพื่อยืนยันถึงความสัจจริงของเขา เช่น การชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตขึ้นมาใหม่ และรักษาคนตาบอดและคนที่เป็นโรคเรื้อน และเราก็ได้ทำให้เขาเข้มแข็งด้วยมลาอิกะฮ์ที่ชื่อญิบรีล อะลัยฮิสลาม โอ้วงศ์วานอิสรออีลเอ๋ย มันเป็นสิ่งที่ควรแล้วหรือ ที่ทุกครั้งที่ได้มีเราะสูลนำ(สัจธรรม)มายังพวกเจ้าแล้ว เป็นที่ไม่สบอารมณ์ของพวกเจ้า พวกเจ้าก็แสดงความทะนงเหนือสัจธรรม และลำพองเหนือบรรดาเราะสูล แล้วทำให้พวกเจ้าต้องปฏิเสธกลุ่มหนึ่ง และอีกกลุ่มหนึ่งพวกเจ้าก็ฆ่ากัน?!
التفاسير العربية:
وَقَالُواْ قُلُوبُنَا غُلۡفُۢۚ بَل لَّعَنَهُمُ ٱللَّهُ بِكُفۡرِهِمۡ فَقَلِيلٗا مَّا يُؤۡمِنُونَ
แท้จริงข้ออ้างที่ชาวยิวใช้โต้แย้ง(ถึงสาเหตุของ)การไม่ยอมปฏิบัติตามมูฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น คือคำกล่าวของพวกเขาที่ว่า แท้จริงหัวใจของพวกเราถูกห่อหุ้มไว้ (ดังนั้น) จะไม่มีคำพูดใด ๆ ของเจ้าเข้าสู่หัวใจ (ของพวกเราเลย) และ (หัวใจของพวกเขา) จะไม่เข้าใจในสื่งที่เจ้าพูด แต่ความจริงมันมิใช่ดังที่พวกเขาได้กล่าวอ้างหรอก แต่ทว่าอัลลอฮ์ได้ทรงขับพวกเขาออกจากความเมตตาของพระองค์ต่างหาก เนื่องจากการปฏิเสธศรัทธาของพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจะไม่ศรัทธาต่อสิ่งที่อัลลอฮ์ประทานลงมา นอกจากส่วนน้อยเท่านั้น
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• من أعظم الكفر: الإيمان ببعض ما أنزل الله والكفر ببعضه؛ لأن فاعل ذلك قد جعل إلهه هواه.
การปฏิเสธศรัทธาที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งคือ การศรัทธาในบางส่วนต่อสิ่งที่อัลลอฮฺได้ประทานลงมาและปฏิเสธในอีกบางส่วนของมัน เพราะผู้ที่กระทำเช่นนั้น แท้จริงเขาได้ทำให้อารมณ์ใฝ่ต่ำของเขากลายเป็นพระเจ้าของเขา

• عِظَم ما بلغه اليهود من العناد، واتباع الهوى، والتلاعب بما أنزل الله تعالى.
ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ชาวยิวได้บรรลุนั้น คือ ความดื้อรั้น การทำตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ และการทำเป็นเล่นกับสิ่งที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงประทานลงมา

• فضل الله تعالى ورحمته بخلقه، حيث تابع عليهم إرسال الرسل وإنزال الكتب لهدايتهم للرشاد.
ชี้ให้เห็นถึงความโปรดปรานและความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์ โดยที่พระองค์นั้นได้ส่งบรรดารอสูลสืบต่อกันอย่างต่อเนื่องแก่พวกเขาและได้ทรงประทานคำภีร์ทั้งหลาย(อย่างต่อเนื่องเช่นกัน) เพื่อเป็นการชี้นำพวกเขาสู่แนวทางอันเที่ยงตรง

• أن الله يعاقب المعرضين عن الهدى المعاندين لأوامره بالطبع على قلوبهم وطردهم من رحمته؛ فلا يهتدون إلى الحق، ولا يعملون به.
แท้จริงอัลลอฮฺนั้น จะทรงลงโทษบรรดาผู้ที่ผินหลังให้ทางนำ ดื้อดึงต่อคำสั่งทั้งหลายของพระองค์ ด้วยการประทับตราบนหัวใจของพวกเขา และขับไล่พวกเขาออกจากความเมตตาของพระองค์ ดังนั้นพวกเขาจะไม่เจอกับทางนำที่นำไปสู่สัจธรรม และจะไม่ปฏิบัติตามต่อสิ่งนั้น

وَلَمَّا جَآءَهُمۡ كِتَٰبٞ مِّنۡ عِندِ ٱللَّهِ مُصَدِّقٞ لِّمَا مَعَهُمۡ وَكَانُواْ مِن قَبۡلُ يَسۡتَفۡتِحُونَ عَلَى ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ فَلَمَّا جَآءَهُم مَّا عَرَفُواْ كَفَرُواْ بِهِۦۚ فَلَعۡنَةُ ٱللَّهِ عَلَى ٱلۡكَٰفِرِينَ
และเมื่อได้มีคัมภีร์อัลกุรอานที่มาจากอัลลอฮฺมายังพวกเขา และมันมีความสอดคล้องกับสิ่งที่มีอยู่ในคัมภีร์เตารอตฺและอินญิลที่เกี่ยวกับหลักการทั่วๆ ไปที่ถูกต้อง และก่อนที่จะมีการประทานอัลกุรอานลงมา พวกเขาเคยกล่าวว่า พวกเราจะมีชัยชนะเหนือบรรดาผู้ที่ตั้งภาคี และชัยชนะจะเป็นของเราครั้นเมื่อนบีนั้นถูกบังเกิดขึ้น แล้วเราก็จะศรัทธาต่อเขาและติดตามเขา แต่แล้วครั้นเมื่ออัลกุรอานถูกประทานลงมาและมูหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม ได้มายังพวกเขาตรงตามคุณลักษณะที่พวกเขารู้และตรงตามความจริงที่พวกเขาทราบกันดี พวกเขาก็กลับปฏิเสธสิ่งนั้นเสีย ดังนั้นการสาปแช่งของอัลลอฮฺจึงมีแก่บรรดาผู้ปฏิเสธต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์
التفاسير العربية:
بِئۡسَمَا ٱشۡتَرَوۡاْ بِهِۦٓ أَنفُسَهُمۡ أَن يَكۡفُرُواْ بِمَآ أَنزَلَ ٱللَّهُ بَغۡيًا أَن يُنَزِّلَ ٱللَّهُ مِن فَضۡلِهِۦ عَلَىٰ مَن يَشَآءُ مِنۡ عِبَادِهِۦۖ فَبَآءُو بِغَضَبٍ عَلَىٰ غَضَبٖۚ وَلِلۡكَٰفِرِينَ عَذَابٞ مُّهِينٞ
ช่างชั่วช้ายิ่งหนัก สำหรับผู้ที่ได้ทำการขอแลกเปลี่ยนกับสิ่งหนึ่งด้วยสิ่งที่มีค่าของพวกเขาเอง นั้นคือการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและต่อบรรดารอสูลของพระองค์ แล้วพวกเขาก็ปฏิเสธศรัทธาต่อสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาและไม่ยอมรับต่อบรรดารอสูลของพระองค์ ทั้งนี้เพราะความอธรรมและอิจฉาริษยาที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งการเป็นนบีแก่มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัมและได้ทรงประทานอัลกุรอานให้ ดังนั้นพวกเขาก็สมควรได้รับความกริ้วโกรธอันทวีคูณจากอัลลอฮ์อันเนื่องมาจากการปฏิเสธศรัทธาของพวกเขาต่อท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม และด้วยสาเหตุการบิดเบือนของพวกเขาต่อคัมภีร์อัตเตารอตฺก่อนหน้านี้ และสำหรับผู้ที่ปฏิเสธต่อการเป็นนบีของบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม นั้น คือการลงโทษที่อัปยศที่สุดในวันกิยามะฮฺ
التفاسير العربية:
وَإِذَا قِيلَ لَهُمۡ ءَامِنُواْ بِمَآ أَنزَلَ ٱللَّهُ قَالُواْ نُؤۡمِنُ بِمَآ أُنزِلَ عَلَيۡنَا وَيَكۡفُرُونَ بِمَا وَرَآءَهُۥ وَهُوَ ٱلۡحَقُّ مُصَدِّقٗا لِّمَا مَعَهُمۡۗ قُلۡ فَلِمَ تَقۡتُلُونَ أَنۢبِيَآءَ ٱللَّهِ مِن قَبۡلُ إِن كُنتُم مُّؤۡمِنِينَ
และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่ชาวยิวเหล่านั้นว่า จงศรัทธาต่อสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่รอสูลของพระองค์ที่เป็นสัจธรรมและทางนำเถิด พวกเขาก็กล่าวว่า เราศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่บรรดานบีของเราอยู่แล้ว และพวกเขาปฏิเสธต่อสิ่งอื่นที่นอกจากมัน จากสิ่งที่ได้ประทานลงมาแก่มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม ทั้งๆ ที่อัลกุรอานนั้นคือ ความจริงที่มีความสอดคล้องกับสิ่งที่มีอยู่กับพวกเขาที่มาจากอัลลอฮฺเช่นกัน และหากว่าพวกเขาศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ประทานลงมายังพวกเขาอย่างแท้จริง แน่นอนพวกเขาก็จะศรัทธาต่ออัลกุรอานเช่นกัน จงกล่าวเถิด โอ้นบี เพื่อเป็นตอบโต้แก่พวกเขา เพราะเหตุใดพวกท่านในอดีตจึงฆ่าบรรดานบีของอัลลอฮ ถ้าหากพวกท่านเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริงต่อสัจธรรมที่มันได้มายังพวกเจ้า?!
التفاسير العربية:
۞ وَلَقَدۡ جَآءَكُم مُّوسَىٰ بِٱلۡبَيِّنَٰتِ ثُمَّ ٱتَّخَذۡتُمُ ٱلۡعِجۡلَ مِنۢ بَعۡدِهِۦ وَأَنتُمۡ ظَٰلِمُونَ
และแท้จริง รอสูลของพวกเจ้า มูซา อะลัยฮิสลาม ได้นำบรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งที่บ่งบอกถึงความสัจจริงของเขามายังพวกเจ้าแล้ว หลังจากนั้นเองพวกเจ้าก็ได้ยึดเอาลูกวัวตั้งเป็นพระเจ้า ซึ่งพวกเจ้าก็ทำการเคารพสักการะมัน หลังการจากไปของมูซาไปสู่ที่นัดหมายของพระเจ้าของเขา และพวกเจ้านั้นคือบรรดาผู้อธรรม อันเนื่องมาจากการตั้งภาคีของพวกเจ้าต่ออัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์คือผู้ที่สมควรแก่การเคารพอิบาดะฮฺแต่เพียงผู้เดียวโดยที่ไม่มีใครอื่นเลยเทียบเท่าพระองค์ได้
التفاسير العربية:
وَإِذۡ أَخَذۡنَا مِيثَٰقَكُمۡ وَرَفَعۡنَا فَوۡقَكُمُ ٱلطُّورَ خُذُواْ مَآ ءَاتَيۡنَٰكُم بِقُوَّةٖ وَٱسۡمَعُواْۖ قَالُواْ سَمِعۡنَا وَعَصَيۡنَا وَأُشۡرِبُواْ فِي قُلُوبِهِمُ ٱلۡعِجۡلَ بِكُفۡرِهِمۡۚ قُلۡ بِئۡسَمَا يَأۡمُرُكُم بِهِۦٓ إِيمَٰنُكُمۡ إِن كُنتُم مُّؤۡمِنِينَ
และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้รับคำมั่นสัญญาจากพวกเจ้า ซึ่งการปฏิบัติตามมูซา อะลัยฮิสลาม และน้อมรับสิ่งที่เขานำมันมาจากอัลลอฮฺ และเราก็ได้ยกภูเขาขึ้นเหนือพวกเจ้า เพื่อเป็นการขู่สำทับต่อพวกเจ้า และเราก็ได้กล่าวแก่พวกเจ้าว่า จงยึดสิ่งที่เราได้มอบให้แก่พวกเจ้าที่มาจากคำภีร์อัตเตารอตฺด้วยความจริงจังและทุ่มเท และจงฟังด้วยการฟังที่จำนนและเชื่อฟัง มิฉะนั้นเราจะทำให้ภูเขาร่วงลงมาใส่พวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กล่าวว่า พวกเราได้ฟังกันแล้วด้วยหูของพวกเรา และพวกเราก็ได้ฝ่าฝืนกันไปแล้วด้วยการกระทำของพวกเรา และการเคารพสักการะต่อลูกวัวนั้นได้ซึมซับไปอยู่ในหัวใจของพวกเขา เนื่องด้วยการปฏิเสธศรัทธาของพวกเขา จงกล่าวเถิด -โอ้นบีเอ๋ย- ช่างชั่วช้าจริงๆ สิ่งที่การศรัทธานี้ได้ใช้ให้พวกเจ้ากระทำ นั่นคือการปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺ หากว่าพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง เพราะการศรัทธาที่แท้จริงนั้นจะไม่มีการปฏิเสธร่วมด้วยกับมัน
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• اليهود أعظم الناس حسدًا؛ إذ حملهم حسدهم على الكفر بالله وردِّ ما أنزل، بسبب أن الرسول صلى الله عليه وسلم لم يكن منهم.
ชาวยิวเป็นพวกที่ขี้อิจฉามากที่สุด ซึ่งการขี้อิจฉาของพวกเขานั้นได้นำพาพวกเขาไปสู่การปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺและไม่ยอมรับต่อสิ่งที่ถูกส่งลงมา อันเนื่องด้วยสาเหตุที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม ไม่ได้มาจากหมู่ชนพวกเขา

• أن الإيمان الحق بالله تعالى يوجب التصديق بكل ما أَنزل من كتب، وبجميع ما أَرسل من رسل.
แท้จริงการศรัทธาที่เที่ยงแท้ต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น คือ จำต้องศรัทธาเชื่อต่อทุกๆ สิ่งที่พระองค์นั้นได้ประทานลงมาจากบรรดาคัมภีร์ทั้งหลาย และต่อทุกๆ สิ่งที่พระองค์นั้นได้ส่งมาจากบรรดาเราะสูลทั้งหลาย

• من أعظم الظلم الإعراض عن الحق والهدى بعد معرفته وقيام الأدلة عليه.
การอธรรมที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่ง คือ การผินหลังให้ต่อสัจธรรมและทางนำ หลังที่ได้มีการรับรู้ถึงสิ่งนั้น หรือได้มีการยืนยันหลักฐานต่อสิ่งนั้น

• من عادة اليهود نقض العهود والمواثيق، وهذا ديدنهم إلى اليوم.
เป็นนิสัยหนึ่งของชาวยิว คือ การทำลายพันธสัญญาและคำมั่นสัญญา และนี่แหละคือสันดานของพวกเขาที่มีมาตลอดจนถึงทุกวันนี้

قُلۡ إِن كَانَتۡ لَكُمُ ٱلدَّارُ ٱلۡأٓخِرَةُ عِندَ ٱللَّهِ خَالِصَةٗ مِّن دُونِ ٱلنَّاسِ فَتَمَنَّوُاْ ٱلۡمَوۡتَ إِن كُنتُمۡ صَٰدِقِينَ
จงกล่าวเถิด -โอ้นบีเอ๋ย- โอ้ชาวยิวเอ๋ย หากว่าสวรรค์ในวันปรโลกมีไว้เฉพาะพวกเจ้า ซึ่งบุคคลอื่นที่นอกเหนือจากพวกเจ้านั้นไม่สามารถเข้าไปได้แล้ว ดังนั้นพวกเจ้าก็จงปรารถนาความตายเสียเถิด เพื่อให้ได้รับสถานะนี้ได้อย่างรวดเร็ว และพวกเจ้าก็จะได้พักผ่อนจากภาระชีวิตในโลกนี้และความกังวลต่างๆของมัน ถ้าหากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง
التفاسير العربية:
وَلَن يَتَمَنَّوۡهُ أَبَدَۢا بِمَا قَدَّمَتۡ أَيۡدِيهِمۡۚ وَٱللَّهُ عَلِيمُۢ بِٱلظَّٰلِمِينَ
และพวกเขาเหล่านั้นก็จะไม่ปรารถนาความตายไปตลอดอย่างแน่นอน เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาได้หยิบยื่นมันให้กับชีวิตของพวกเขาจาการปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และการปฏิเสธต่อบรรดาเราะสูลของพระองค์ และการบิดเบือนคัมภีร์ต่างๆ ของพระองค์ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงรู้ดีต่อบรรดาผู้อธรรมที่มาจากพวกเขาและผู้ที่นอกเหนือจากพวกเขา และพระองค์ก็จะทรงตอบแทนทั้งหมดนั้นด้วยการงานของเขา
التفاسير العربية:
وَلَتَجِدَنَّهُمۡ أَحۡرَصَ ٱلنَّاسِ عَلَىٰ حَيَوٰةٖ وَمِنَ ٱلَّذِينَ أَشۡرَكُواْۚ يَوَدُّ أَحَدُهُمۡ لَوۡ يُعَمَّرُ أَلۡفَ سَنَةٖ وَمَا هُوَ بِمُزَحۡزِحِهِۦ مِنَ ٱلۡعَذَابِ أَن يُعَمَّرَۗ وَٱللَّهُ بَصِيرُۢ بِمَا يَعۡمَلُونَ
และแน่นอนเหลือเกิน โอ้นบีเอ๋ย เจ้าจะพบว่าชาวยิวนั้นเป็นมนุษย์ที่มีความห่วงใยต่อชีวิตความเป็นอยู่ ถึงแม้ว่ามันจะดูว่าน่ารังเกียจและต่ำต้อยก็ตาม ซึ่งพวกเขาจะมีความกระตือรือร้นในชีวิตความเป็นอยู่มากกว่าบรรดาผู้ตั้งภาคีที่ไม่ได้ศรัทธาต่อการฟื้นคืนชีพและการคิดบัญชีเสียอีก และในฐานะที่พวกเขานั้นเป็นชาวคัมภีร์และศรัทธาต่อการฟื้นคืนชีพและการคิดบัญชี ยังมีคนๆ หนึ่งในหมู่ของพวกเขานั้น ชอบที่อยากจะให้มีอายุถึงพันปี ซึ่งการมีอายุที่ยืนยาวนั้นมันก็ไม่ทำให้เขาห่างไกลจากการถูกลงโทษของอัลลอฮฺไปได้ดอก และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ที่ทรงตระหนักถึงการงานของพวกเขาและทรงมองเห็นมัน ไม่มีสิ่งใดเลยที่มันจะซุกซ่อนไปจากพระองค์ และพระองค์ก็จะทรงตอบแทนพวกเขาด้วยการงานนั้น
التفاسير العربية:
قُلۡ مَن كَانَ عَدُوّٗا لِّـجِبۡرِيلَ فَإِنَّهُۥ نَزَّلَهُۥ عَلَىٰ قَلۡبِكَ بِإِذۡنِ ٱللَّهِ مُصَدِّقٗا لِّمَا بَيۡنَ يَدَيۡهِ وَهُدٗى وَبُشۡرَىٰ لِلۡمُؤۡمِنِينَ
จงกล่าวเถิด -โอ้นบีเอ๋ย- แก่ชาวยิวที่ได้กล่าวว่า (แท้จริงญิบรีลคือศัตรูของเราที่มาจากหมู่มลาอิกะฮฺ) ใครที่เป็นศัตรูต่อญิบรีล ซึ่งแท้จริงแล้วญิบรีลนั้น คือ ผู้ที่ได้นำอัล-กรุอานทยอยลงมายังหัวใจของเจ้าด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยัน(ถึงความสัจจริง)ของบรรดาคัมภีร์ของพระเจ้าที่มาก่อนหน้านั้น เช่น อัต-เตารอต และอัล-อินญีล และเพื่อเป็นข้อแนะนำสู่ความดี และเป็นการแจ้งข่าวดีแก่ผู้ศรัทธาทั้งหลายถึงสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงเตรียมไว้ให้แก่พวกเขาซึ่งความสุขต่างๆ ดังนั้นใครก็ตามที่เป็นศัตรูกับผู้ที่มีคุณลักษณแบบนี้และการทำงานในลักษณะนี้ แน่นอนเขาคือคนหนึ่งที่อยู่ในหมู่ผู้หลงทาง
التفاسير العربية:
مَن كَانَ عَدُوّٗا لِّلَّهِ وَمَلَٰٓئِكَتِهِۦ وَرُسُلِهِۦ وَجِبۡرِيلَ وَمِيكَىٰلَ فَإِنَّ ٱللَّهَ عَدُوّٞ لِّلۡكَٰفِرِينَ
ใครที่เป็นศัตรูต่ออัลลอฮฺ ต่อบรรดามะลาอิกะฮฺของพระองค์ ต่อบรรดารอสูลของพระองค์ และเป็นศัตรูต่อมลาอิกะฮฺทั้งสองที่ใกล้ชิด(พระองค์): คือญิบรีลและมีกาอีลนั้น แท้จริงอัลลอฮฺทรงเป็นศัตรูต่อผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลายไม่ว่าจะมาจากพวกเจ้าหรือที่นอกเหนือจากพวกเจ้า และผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงเป็นศัตรูต่อเขา แน่นอนเขาย่อมกลับไปอย่างขาดทุน
التفاسير العربية:
وَلَقَدۡ أَنزَلۡنَآ إِلَيۡكَ ءَايَٰتِۭ بَيِّنَٰتٖۖ وَمَا يَكۡفُرُ بِهَآ إِلَّا ٱلۡفَٰسِقُونَ
และแท้จริงเราได้ประทานให้แก่เจ้าแล้ว -โอ้นบีเอ๋ย- ซึ่งสัญญาณต่างๆ อันชัดแจ้งที่ชี้ถึงความสัจจริงของเจ้าในสิ่งที่เจ้าได้นำมา เช่นตำแหน่งการเป็นนบีและการประทานวะหฺยู และจะไม่มีใครปฏิเสธสัญญาณเหล่านั้นในขณะที่มันชัดเจนและกระจ่างชัด นอกจากบรรดาผู้ที่ออกไปจากศาสนาของอัลลอฮฺเท่านั้น
التفاسير العربية:
أَوَكُلَّمَا عَٰهَدُواْ عَهۡدٗا نَّبَذَهُۥ فَرِيقٞ مِّنۡهُمۚ بَلۡ أَكۡثَرُهُمۡ لَا يُؤۡمِنُونَ
และความเลวร้ายประการหนึ่งของชาวยิวคือ คราใดที่พวกเขาได้รับคำมั่นสัญญาใดๆ ไว้ (ซึ่งรวมถึงการเชื่อต่อสิ่งที่คำภีร์อัล-เตารอตฺได้บ่งชี้ถึงการเป็นนบีของมูหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม) กลุ่มหนึ่งในพวกเขาก็เหวี่ยงสัญญานั้นทิ้ง ยิ่งกว่านั้นส่วนใหญ่ของชาวยิวเหล่านั้นไม่ศรัทธาต่อสิ่งที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ประทานลงมาอย่างแท้จริง เพราะการศรัทธาที่แท้จริงนั้นจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติตามคำสัญญา
التفاسير العربية:
وَلَمَّا جَآءَهُمۡ رَسُولٞ مِّنۡ عِندِ ٱللَّهِ مُصَدِّقٞ لِّمَا مَعَهُمۡ نَبَذَ فَرِيقٞ مِّنَ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡكِتَٰبَ كِتَٰبَ ٱللَّهِ وَرَآءَ ظُهُورِهِمۡ كَأَنَّهُمۡ لَا يَعۡلَمُونَ
และเมื่อมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม ได้มายังพวกเขาในฐานะรอสูลคนหนึ่ง ที่มาจากอัลลอฮฺ โดยที่คุณลักษณะของเขาสอดคลองตรงตามที่มีอยู่ในคำภีร์อัตเตารอตฺ กลุ่มหนึ่งจากพวกเขาก็ได้หันหลังให้ต่อสิ่งที่อัตเตารอตฺได้บ่งชี้ถึงมัน และพวกเขาก็ได้โยนมันทิ้งไว้เบื้องหลังพวกเขาโดยที่ไม่แยแสต่อสิ่งนั้น เสมือนกับว่าพวกเขาเป็นคนโง่เขลาที่ไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากสัจจะธรรมและคำแนะนำที่อยู่ในนั้น ดังนั้นเขาก็ไม่ใส่ใจกับมันอีก
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• المؤمن الحق يرجو ما عند الله من النعيم المقيم، ولهذا يفرح بلقاء الله ولا يخشى الموت.
ผู้ศรัทธาที่แท้จริงนั้น เขาจะหวังในสิ่งที่อยู่ ณ ที่อัลลอฮฺ จากความสุขสบายที่มีตลอดไป และด้วยเหตุนี้แหละที่พวกเขานั้นรู้สึกดีอกดีใจต่อการที่จะไปพบเจอกับอัลลอฮฺโดยที่ไม่กลัวต่อความตาย

• حِرص اليهود على الحياة الدنيا حتى لو كانت حياة حقيرة مهينة غير كريمة.
ชาวยิวมีความปรารถนาต่อการใช้ชีวิตบนโลกนี้อย่างมาก ถึงแม้ว่ามันจะเป็นชีวิตที่ไร้ค่าไร้เกียรติและอัปยศไม่สง่างามก็ตาม

• أنّ من عادى أولياء الله المقربين منه فقد عادى الله تعالى.
ผู้ที่ทำตัวเป็นศัตรูต่อผู้ที่ใกล้ชิดอัลลอฮ์ ดังนั้นแท้จริงเขาทำตัวเป็นศัตรูต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา เช่นกัน

• إعراض اليهود عن نبوة محمد صلى الله عليه وسلم بعدما عرفوا تصديقه لما في أيديهم من التوراة.
การผินหลังของชาวยิวในการไม่ยอมรับการเป็นนบีของมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม นั้น ได้เกิดขึ้นภายหลังที่พวกเขารู้ว่ามันเป็นการยืนยันถึงความสัจจริงของสิ่งที่มีอยู่ในคัมภีร์อัตเตารอตที่มีอยู่ในมือของพวกเขา

• أنَّ من لم ينتفع بعلمه صح أن يوصف بالجهل؛ لأنه شابه الجاهل في جهله.
ผู้ที่ไม่ได้รับประโยชน์จากความรู้ของเขา สมควรที่เขาจะถูกเรียกว่าโง่ เพราะว่าเขานั้นเหมือนกับคนโง่ในความไม่รู้ของเขา

وَٱتَّبَعُواْ مَا تَتۡلُواْ ٱلشَّيَٰطِينُ عَلَىٰ مُلۡكِ سُلَيۡمَٰنَۖ وَمَا كَفَرَ سُلَيۡمَٰنُ وَلَٰكِنَّ ٱلشَّيَٰطِينَ كَفَرُواْ يُعَلِّمُونَ ٱلنَّاسَ ٱلسِّحۡرَ وَمَآ أُنزِلَ عَلَى ٱلۡمَلَكَيۡنِ بِبَابِلَ هَٰرُوتَ وَمَٰرُوتَۚ وَمَا يُعَلِّمَانِ مِنۡ أَحَدٍ حَتَّىٰ يَقُولَآ إِنَّمَا نَحۡنُ فِتۡنَةٞ فَلَا تَكۡفُرۡۖ فَيَتَعَلَّمُونَ مِنۡهُمَا مَا يُفَرِّقُونَ بِهِۦ بَيۡنَ ٱلۡمَرۡءِ وَزَوۡجِهِۦۚ وَمَا هُم بِضَآرِّينَ بِهِۦ مِنۡ أَحَدٍ إِلَّا بِإِذۡنِ ٱللَّهِۚ وَيَتَعَلَّمُونَ مَا يَضُرُّهُمۡ وَلَا يَنفَعُهُمۡۚ وَلَقَدۡ عَلِمُواْ لَمَنِ ٱشۡتَرَىٰهُ مَا لَهُۥ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ مِنۡ خَلَٰقٖۚ وَلَبِئۡسَ مَا شَرَوۡاْ بِهِۦٓ أَنفُسَهُمۡۚ لَوۡ كَانُواْ يَعۡلَمُونَ
และเมื่อพวกเขาได้ละทิ้งศาสนาของอัลลอฮฺ พวกเขาก็ปฏิบัติตามสิ่งอื่นแทน นั่นคือ สิ่งที่บรรดาชัยฏอนได้สร้างคำเท็จขึ้นมาในสมัยของนบีสุลัยมาน อะลัยฮิสลาม โดยอ้างว่านบีสุลัยมานนั้นได้ปกป้องราชบัลลังก์ของเขาด้วยไสยศาสตร์ และสุลัยมานก็มิได้ปฏิเสธศรัทธาด้วยการใช้ไสยศาสตร์ (ดั่งที่ชาวยิวได้แอบอ้างกัน) แต่ทว่าชัยฏอนเหล่านั้นต่างหากที่ปฏิเสธการศรัทธาโดยพวกเขาได้สอนมนุษย์ซึ่งวิชาไสยศาสตร์ และก็สอนวิชาไสยศาสตร์ที่ถูกประทานลงมาแก่มะลาอิกะฮฺทั้งสอง คือ ฮารูต และมารูต ณ เมืองบาบิลที่ประเทศอิรัก เพื่อเป็นการทดลองและทดสอบต่อมนุษย์ และมะลาอิกะฮฺทั้งสองท่านนี้ก็จะไม่สอนให้แก่ผู้ใดซึ่งวิชาไสยศาสตร์ จนกว่าพวกเขาทั้งสองจะเตือนสติและอธิบายให้เขาคนนั้นรู้แจ้งก่อน ด้วยคำกล่าวของพวกเขาทั้งสองที่ว่า แท้จริงเราแค่เพียงมาเพื่อทดลองและทดสอบต่อมนุษย์เท่านั้น ท่านจงอย่าปฏิเสธศรัทธาด้วยการร่ำเรียนวิชาไสยศาสตร์เลย แล้วผู้ที่ไม่รับฟังคำตักเตือนของพวกเขาทั้งสองนั้นก็ได้ศึกษาวิชาไสยศาสตร์จากเขาทั้งสอง และส่วนหนึ่งจาก(วิชาไสยศาสตร์)นั้นคือประเภทที่ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างบุคคลหนึ่งกับภรรยาของเขา โดยการปลูกฝังความเกลียดชังให้เกิดขึ้นระหว่างเขาทั้งสอง และผู้ที่ทำไสยศาสตร์เหล่านั้นไม่สามรถทำอันตรายแก่ผู้ใดได้นอกจากด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺและความประสงค์ของพระองค์เท่านั้น และพวกเขาก็เรียนสิ่งที่เป็นโทษแก่พวกเขาและมิได้เกิดประโยชน์ต่อพวกเขา และแท้จริงชาวยิวเหล่านี้รู้ดีว่า ใครก็ตามที่ขอเปลี่ยนด้วยการเอาวิชาไสยศาสตร์แลกด้วยคัมภีร์ของอัลลอฮฺนั้น แน่นอนเขาย่อมไม่มีโชคและส่วนได้ใดๆ ในวันปรโลก และแน่นอนมันชั่งชั่วช้าจริงๆ ที่พวกเขาได้ขายตัวของพวกเขาด้วยสิ่งนั้น โดยการที่พวกเขาได้ขอแลกวิชาไสยศาสตร์ด้วยกับวะหฺยูของอัลลอฮฺและบทบัญญัติของพระองค์ และหากพวกเขาได้รู้ถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับพวกเขา แน่นอนพวกเขาก็มิบังอาจไปทำการงานอันนี้ที่เลวทรามและหลงผิดที่เห็นได้ชัดเจน
التفاسير العربية:
وَلَوۡ أَنَّهُمۡ ءَامَنُواْ وَٱتَّقَوۡاْ لَمَثُوبَةٞ مِّنۡ عِندِ ٱللَّهِ خَيۡرٞۚ لَّوۡ كَانُواْ يَعۡلَمُونَ
และหากว่าชาวยิวเหล่านั้นศรัทธาต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง และยำเกรงต่อพระองค์ โดยการเชื่อฟังต่อพระองค์และละทิ้งการฝ่าฝืนต่อพระองค์ แน่นอนผลบุญการตอบแทนของอัลลอฮฺนั้นย่อมดีกว่าสำหรับพวกเขา ต่อสิ่งที่พวกเขานั้นเป็นอยู่ หากพวกเขารู้ถึงสิ่งที่มันจะเป็นประโยชน์ให้แก่พวกเขา
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تَقُولُواْ رَٰعِنَا وَقُولُواْ ٱنظُرۡنَا وَٱسۡمَعُواْۗ وَلِلۡكَٰفِرِينَ عَذَابٌ أَلِيمٞ
อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงชี้นำบรรดาผู้ศรัทธาสู่การเลือกคำพูดที่ดี โดยพระองค์กล่าวแก่พวกเขาว่า โอ้ ศรัทธาชนทั้งหลาย! จงอย่ากล่าวคำพูดที่ว่า “รออินา” หมายถึง ดูแลสถานการณ์ของเรา เพราะชาวยิวนั้นบิดเบือนมันและใช้มันพูดกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม โดยที่พวกเขาสื่อมันถึงความหมายที่เลวทราม คือ บกพร่องเบาปัญญา ดังนั้นอัลลอฮฺจึงได้ห้ามใช้คำพูดนี้เพื่อเป็นการปิดกั้นช่องทางอันนี้ และได้ทรงสั่งใช้บ่าวของพระองค์ให้พูดแทนคำนั้นด้วยคำว่า “อุนซุรนา” หมายถึง รอเราด้วย เผื่อเราจะเข้าใจในสิ่งที่ท่านพูด ซึ่งมันเป็นคำที่ให้ความหมายในทางที่ดีโดยไม่ต้องระมัดระวัง และสำหรับผู้ปฏิเสธการศรัทธาต่ออัลลอฮฺนั้น คือ การลงโทษอันเจ็บแสบ
التفاسير العربية:
مَّا يَوَدُّ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ مِنۡ أَهۡلِ ٱلۡكِتَٰبِ وَلَا ٱلۡمُشۡرِكِينَ أَن يُنَزَّلَ عَلَيۡكُم مِّنۡ خَيۡرٖ مِّن رَّبِّكُمۡۚ وَٱللَّهُ يَخۡتَصُّ بِرَحۡمَتِهِۦ مَن يَشَآءُۚ وَٱللَّهُ ذُو ٱلۡفَضۡلِ ٱلۡعَظِيمِ
บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา (ทั้งจากชาวคำภีร์และจากบรรดาผู้ที่ตั้งภาคีนั้น) ต่างไม่ชอบที่จะให้มีความดีใดๆ จากพระเจ้าของพวกเจ้าถูกประทานลงมาแก่พวกเจ้า ถึงแม้จะน้อยนิดหรือมากมายก็ตาม และอัลลอฮฺนั้นทรงเจาะจงความกรุณาของพระองค์ เช่น การแต่งตั้งเป็นนบี การให้วะหฺยู และการศรัทธา แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์เท่านั้น และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ดังนั้นจะไม่มีความดีใดๆ เกิดขึ้นกับคนใดคนหนึ่งจากปวงบ่าวที่ถูกสร้างนอกจากจะได้มาจากพระองค์ทั้งสิ้น และส่วนหนึ่งจากบุญคุณของพระองค์นั้น คือ การส่งรอสูลและการประทานคัมภีร์ลงมา
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• سوء أدب اليهود مع أنبياء الله حيث نسبوا إلى سليمان عليه السلام تعاطي السحر، فبرّأه الله منه، وأَكْذَبَهم في زعمهم.
ชาวยิวนั้นมีมารยาทที่เลวทรามต่อบรรดานบีของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขานั้นได้พาดพิงต่อสุไลมาน อะลัยฮิสลาม ว่าเป็นผู้ใช้ไสยศาสตร์ แล้วอัลลอฮฺได้ทรงยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของท่านจากสิ่งนั้น และได้ทำให้การกล่าวอ้างของพวกเขานั้นเป็นเรื่องเทจ

• أن السحر له حقيقة وتأثير في العقول والأبدان، والساحر كافر، وحكمه القتل.
แท้จริงแล้วไสยศาสตร์นั้นมีจริงและมีผลกระทบต่อสติปัญญาและร่างกาย และผู้ที่ทำไสยศาสตร์คือผู้ปฏิเสธศรัทธา และบทลงโทษของเขาก็คือการประหารชีวิต

• لا يقع في ملك الله تعالى شيء من الخير والشر إلا بإذنه وعلمه تعالى.
จะไม่มีสิ่งใดทั้งที่เป็นความดีและความชั่วเกิดขึ้นภายใต้การครอบครองของอัลลอฮ์ นอกจากด้วยการอนุมัติและความรอบรู้ของพระองค์ ผู้ทรงสูงส่งเท่านั้น

• سد الذرائع من مقاصد الشريعة، فكل قول أو فعل يوهم أمورًا فاسدة يجب تجنبه والبعد عنه.
การปิดกั้นช่องทาง(ที่นำไปสู่ความชั่ว)นั้นเป็นส่วนหนึ่งจากเจตนารมณ์แห่งกฎหมายอิสลาม ดังนั้นทุกๆ คำพูดหรือการกระทำที่นำพาไปสู่สิ่งที่เสียหาย จำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงและออกห่างไปจากมัน

• أن الفضل بيد الله تعالى وهو الذي يختص به من يشاء برحمته وحكمته.
แท้จริงความประเสริฐทั้งหลายนั้นอยู่ในพระหัตย์ของอัลลอฮฺ ตะอาลา และพระองค์ คือ ผู้ทรงเจาะจงสิ่งนั้นแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ ด้วยกับความเมตตาและวิทยปัญญาของพระองค์

۞ مَا نَنسَخۡ مِنۡ ءَايَةٍ أَوۡ نُنسِهَا نَأۡتِ بِخَيۡرٖ مِّنۡهَآ أَوۡ مِثۡلِهَآۗ أَلَمۡ تَعۡلَمۡ أَنَّ ٱللَّهَ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٌ
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงชี้แจ้งว่า แท้จริงขณะที่พระองค์ทรงยกเลิกกฎของโองการใดจากอัลกุรอาน หรือทรงยกเลิกถ้อยคำของอัลกุรอาน แล้วทรงทำให้มนุษย์ลืมโองการนั้นไป แท้จริงพระองค์ ผู้ทรงมหาบริสุทธิ์จะทรงนำกฎหรือโองการที่เป็นประโยชน์มากกว่าโองการนั้นทั้งในโลกนี้และวันปรโลก หรืออาจนำมาซึ่งสิ่งที่มันเท่าเทียมกันกับโองการนั้น ด้วยความรอบรู้ของอัลลอฮฺและวิทยปัญญาของพระองค์ และเจ้าเองก็รู้ดี โอ้นบีเอ๋ย ว่าแท้จริงแล้วอัลลอฮฺนั้นทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นพระองค์ก็จะทรงทำในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์และตัดสินตามที่พระองค์ทรงต้องการ
التفاسير العربية:
أَلَمۡ تَعۡلَمۡ أَنَّ ٱللَّهَ لَهُۥ مُلۡكُ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِۗ وَمَا لَكُم مِّن دُونِ ٱللَّهِ مِن وَلِيّٖ وَلَا نَصِيرٍ
แท้จริงเจ้ารู้ดีอยู่แล้ว -โอ้นบีเอ๋ย- ว่าอัลลอฮฺนั้นคือผู้ปกครองแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน ทรงตัดสินตามที่พระองค์ทรงต้องการ ดังนั้นพระองค์ทรงสั่งใช้บ่าวของพระองค์ตามสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงห้ามปรามพวกเขาจากสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์ทรงกำหนดบทบัญญัติตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงยกเลิก(บทบัญญัติ)ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และจะไม่มีสำหรับพวกเจ้านอกเจ้าอัลลอฮ์เท่านั้น เป็นผู้คุ้มครอง ที่คอยดูแลกิจการของพวกเจ้า และก็จะไม่มีผู้ช่วยเหลือใดๆ ที่จะคอยปกป้องพวกเจ้าให้พ้นจากเภทภัย แต่อัลลอฮฺเท่านั้น คือ ผู้ทรงเป็นผู้ปกครองทุกสิ่งทุกอย่าง และเป็นผู้ทรงสามารถเหนือสิ่งนั้น
التفاسير العربية:
أَمۡ تُرِيدُونَ أَن تَسۡـَٔلُواْ رَسُولَكُمۡ كَمَا سُئِلَ مُوسَىٰ مِن قَبۡلُۗ وَمَن يَتَبَدَّلِ ٱلۡكُفۡرَ بِٱلۡإِيمَٰنِ فَقَدۡ ضَلَّ سَوَآءَ ٱلسَّبِيلِ
มันไม่ใช่ธุระอะไรของพวกเจ้าเลย โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การที่พวกเจ้าจะร้องขอต่อเราะสูลของพวกเจ้า (ซึ่งเป็นการขอในเชิงคัดค้านและดื้อดึง) เช่นเดียวกับที่กลุ่มชนของมูซาเคยร้องขอต่อนบีของพวกเขามาก่อนหน้านี้ ดังเช่นคำกล่าวของพวกเขาที่ว่า “จงให้เราเห็นอัลลอฮฺอย่างชัดแจ้งเถิด” (อันนิสาอฺ : 153) และผู้ใดที่แลกการศรัทธาด้วยการปฏิเสธนั้น แน่นอนเขาก็ได้หลงออกจากเส้นทางสายกลางซึ่งมันคือเส้นทางที่เที่ยงตรงนั่นเอง
التفاسير العربية:
وَدَّ كَثِيرٞ مِّنۡ أَهۡلِ ٱلۡكِتَٰبِ لَوۡ يَرُدُّونَكُم مِّنۢ بَعۡدِ إِيمَٰنِكُمۡ كُفَّارًا حَسَدٗا مِّنۡ عِندِ أَنفُسِهِم مِّنۢ بَعۡدِ مَا تَبَيَّنَ لَهُمُ ٱلۡحَقُّۖ فَٱعۡفُواْ وَٱصۡفَحُواْ حَتَّىٰ يَأۡتِيَ ٱللَّهُ بِأَمۡرِهِۦٓۗ إِنَّ ٱللَّهَ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٞ
ชาวยิวและคริสเตียนนั้นหวังอย่างมากที่จะทำให้พวกเจ้ากลับเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาอีกครั้งภายหลังจากการศรัทธาของพวกเจ้า ดังเช่นที่พวกเจ้าเคยกราบไหว้เจว็ดต่างๆ ทั้งนี้เพราะความอิจฉาริษยาที่มาจากตัวของพวกเขาเอง ที่พวกยิวและคริสเตียนได้หวังกันนั้นก็ภายหลังจากที่ได้ประจักษ์แก่พวกเขาว่า สิ่งที่ท่านนบีได้นำพามันมานั้นเป็นความจริงที่มาจากอัลลอฮฺ ดังนั้นพวกเจ้า โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงให้อภัยต่อการกระทำของพวกเขาเถิด และจงข้ามพ้นไปจากความไม่รู้และความชั่วช้าที่อยู่ในใจของพวกเขา จนกว่าการตัดสินของอัลลอฮฺจะมายังพวกเขา (และแท้จริงคำสั่งและคำตัดสินของอัลลอฮฺอันนี้ได้มาแล้ว โดยที่ผู้ปฏิเสธศรัทธาจะถูกให้เลือกระหว่างอิสลาม หรือจ่ายส่วย หรือสงคราม) แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง ดังนั้นพวกเขาก็จะไม่สามารถทำให้พระองค์อ่อนแอลงได้
التفاسير العربية:
وَأَقِيمُواْ ٱلصَّلَوٰةَ وَءَاتُواْ ٱلزَّكَوٰةَۚ وَمَا تُقَدِّمُواْ لِأَنفُسِكُم مِّنۡ خَيۡرٖ تَجِدُوهُ عِندَ ٱللَّهِۗ إِنَّ ٱللَّهَ بِمَا تَعۡمَلُونَ بَصِيرٞ
พวกเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาดที่ครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยบรรดารุก่น สิ่งที่เป็นวายิบต่างๆ และสิ่งที่เป็นสุนนะฮฺของการละหมาด และจงชำระซะกาตทรัพย์สินของพวกเจ้าแก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับมัน และไม่ว่าการงานที่ดีใดๆ ที่พวกเจ้ากระทำไว้ในชีวิตของพวกเจ้า ก่อนการตายของพวกเจ้า มันจะเป็นสินทรัพย์สำหรับตัวของพวกเจ้าเอง พวกเจ้าก็จะพบกับผลตอบแทนของมัน ณ ที่อัลลอฮฺในวันปรโลก ซึ่งพระองค์ก็จะทรงตอบแทนมันแก่พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้าปฏิบัติกันอยู่ แล้วพระองค์ก็จะทรงตอบแทนทุกคนตามการกระทำของเขา
التفاسير العربية:
وَقَالُواْ لَن يَدۡخُلَ ٱلۡجَنَّةَ إِلَّا مَن كَانَ هُودًا أَوۡ نَصَٰرَىٰۗ تِلۡكَ أَمَانِيُّهُمۡۗ قُلۡ هَاتُواْ بُرۡهَٰنَكُمۡ إِن كُنتُمۡ صَٰدِقِينَ
และทุกๆ กลุ่มที่มาจากชาวยิวและคริสเตียนได้กล่าวว่า “แท้จริงแล้วสวรรค์มีไว้แค่เฉพาะพวกเขาเท่านั้น” แล้วชาวยิวก็กล่าวว่า “จะไม่มีใครเข้าสวรรค์นั้น นอกจากผู้ที่เป็นยิวเท่านั้น และชาวคริสเตียนกล่าวเช่นกันว่า “จะไม่มีใครเข้าสวรรค์นั้น นอกจากผู้ที่เป็นคริสเตียนเท่านั้น” นั่นคือความหวังที่ลมๆแล้งๆและความเพ้อฝันที่ไร้สาระของพวกเขา จงกล่าวเถิด โอ้เราะสูล เพื่อเป็นการโต้ตอบแก่พวกเขาว่า พวกท่านจงนำหลักฐานของพวกท่านมา ถึงสิ่งที่พวกท่านนั้นกำลังแอบอ้างมัน ถ้าพวกท่านเป็นผู้พูดจริงในการกล่าวอ้างของพวกท่าน
التفاسير العربية:
بَلَىٰۚ مَنۡ أَسۡلَمَ وَجۡهَهُۥ لِلَّهِ وَهُوَ مُحۡسِنٞ فَلَهُۥٓ أَجۡرُهُۥ عِندَ رَبِّهِۦ وَلَا خَوۡفٌ عَلَيۡهِمۡ وَلَا هُمۡ يَحۡزَنُونَ
แท้จริงคนที่จะได้เข้าสวรรค์นั้น คือ ผู้ที่มีเจตนาที่บริสุทธิ์ต่ออัลลอฮฺ เป็นผู้ที่มุ่งหน้าสู่พระองค์ และเขา (พร้อมกับความบริสุทธิ์ใจของเขา) ก็เป็นผู้กระทำความดีในการเคารพอิบาดะฮฺของเขาด้วยการปฏิบัติตามสิ่งที่เราะสูลได้นำมา ดังนั้นคนแบบนี้แหละคือผู้ที่จะได้เข้าสวรรค์ ไม่ว่าจะมาจากกลุ่มใดก็ตาม และสำหรับเขาก็จะได้รับรางวัลของเขา ณ ที่พระผู้อภิบาลของเขา และจะไม่มีความกลัวใดๆ แก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขาจะต้องพบเจอในปรโลก และพวกเขาก็จะไม่เสียใจต่อสิ่งที่พวกเขาได้พลาดกันมาจากโลกดุนยา และมันคือคุณลัษณะที่ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ภายหลังจากการมาของท่านบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม เว้นเสียแต่ในหมู่คนมุสลิมเท่านั้น
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• أن الأمر كله لله، فيبدل ما يشاء من أحكامه وشرائعه، ويبقي ما يشاء منها، وكل ذلك بعلمه وحكمته.
แท้จริงแล้วเรื่องทุกเรื่องเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ดังนั้นพระองค์จะทรงปรับเปลี่ยนสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ จากบรรดากฎและบทบัญญัติทั้งหลายของพระองค์ และทรงยังคงเหลือไว้สิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์จากสิ่งนั้น และทั้งหมดนั้นก็ด้วยความรอบรู้และวิทยปัญญาของพระองค์

• حَسَدُ كثيرٍ من أهل الكتاب هذه الأمة، لما خصَّها الله من الإيمان واتباع الرسول، حتى تمنوا رجوعها إلى الكفر كما كانت.
ชาวคัมภีร์หลายคนมีความอิจฉาริษยาต่อประชาชาตินี้ ด้วยเพราะสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงมอบให้พวกเขาเป็นการเฉพาะนั่นเอง เช่น การศรัทธาและการเจริญรอยตามท่านเราะสูล กระทั่งพวกเขาได้หวังที่จะให้ประชาชาตินี้กลับไปสู่การปฏิเสธศรัทธา ดังเช่นที่พวกเคยเป็น

وَقَالَتِ ٱلۡيَهُودُ لَيۡسَتِ ٱلنَّصَٰرَىٰ عَلَىٰ شَيۡءٖ وَقَالَتِ ٱلنَّصَٰرَىٰ لَيۡسَتِ ٱلۡيَهُودُ عَلَىٰ شَيۡءٖ وَهُمۡ يَتۡلُونَ ٱلۡكِتَٰبَۗ كَذَٰلِكَ قَالَ ٱلَّذِينَ لَا يَعۡلَمُونَ مِثۡلَ قَوۡلِهِمۡۚ فَٱللَّهُ يَحۡكُمُ بَيۡنَهُمۡ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ فِيمَا كَانُواْ فِيهِ يَخۡتَلِفُونَ
และชาวยิวกล่าวว่า ชาวคริสต์นั้นมิได้ตั้งอยู่บนศาสนาที่ถูกต้อง และชาวคริสต์ก็กล่าว่า ชาวยิวมิได้ตั้งอยู่บนศาสนาที่ถูกต้อง และพวกเขาทั้งหมดต่างก็อ่านคัมภีร์ที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาแก่พวกเขา เพื่อยืนยันถึงความสัตย์จริงในสิ่งที่พวกเขาปฏิเสธ และการสั่งใช้ให้ศรัทธาต่อบรรดานบีทุก ๆ คนโดยที่ไม่มีการแบ่งแยกกัน การกระทำของพวกเขานั้นมีความคล้ายคลึงกับคำกล่าวของบรรดาผู้ที่ไม่รู้จากบรรดาผู้ตั้งภาคีต่อพระองค์ ตอนที่พวกเขาทุกคนได้ปฏิเสธต่อบรรดาเราะสูล และต่อสิ่งที่พระองค์ได้ประทานลงมาให้แก่พวกเขาจากบรรดาคัมภีร์ต่าง ๆ และด้วยสิ่งนี้เองอัลลอฮ์จะทรงตัดสินระหว่างพวกที่ขัดแย้งกันทั้งหมดในวันกิยามะฮ์ ด้วยการตัดสินของพระองค์ที่ยุติธรรมที่พระองค์ได้เคยบอกกล่าวเกี่ยวกับมันแก่ปวงบ่าวของพระองค์ว่า “จะไม่มีชัยชนะเว้นเสียแต่ด้วยการศรัทธาต่อทุก ๆ สิ่งที่อัลลอฮ์ ตะอาลา ได้ทรงประทานลงมา”
التفاسير العربية:
وَمَنۡ أَظۡلَمُ مِمَّن مَّنَعَ مَسَٰجِدَ ٱللَّهِ أَن يُذۡكَرَ فِيهَا ٱسۡمُهُۥ وَسَعَىٰ فِي خَرَابِهَآۚ أُوْلَٰٓئِكَ مَا كَانَ لَهُمۡ أَن يَدۡخُلُوهَآ إِلَّا خَآئِفِينَۚ لَهُمۡ فِي ٱلدُّنۡيَا خِزۡيٞ وَلَهُمۡ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ عَذَابٌ عَظِيمٞ
ไม่มีผู้ใดที่จะอธรรมยิ่งไปกว่าผู้ที่ห้ามการกล่าวถึงพระนามของอัลลอฮฺในบรรดามัสยิดของพระองค์ โดยเขาได้ขัดขวางไม่ให้มีการละหมาด การรำลึก และการอ่านอัลกุรอานในนั้น และพยายามอย่างหนักเพื่อให้เป็นเหตุในการทำให้มัสยิดเหล่านั้นเสื่อมเสียและพังลง โดยการทุบทำลายมันหรือขัดขวางจากการปฏิบัติธรรมในนั้น ชนเหล่านี้ที่เป็นผู้พยายามในการทำลายมัน ไม่บังควรแก่พวกเขาที่จะเข้าไปในบรรดามัสยิดของอัลลอฮฺ นอกจาในสภาพเป็นผู้เกรงกลัวที่หัวใจของพวกเขานั้นสั่นไหวเท่านั้น ก็เพราะสิ่งที่พวกเขากำลังเป็นอยู่จากการปฏิเสธศรัทธาและการขัดขวางให้ออกห่างจากบรรดามัสยิดของอัลลอฮฺ สำหรับพวกเขาในชีวิตแห่งโลกดุนยานั้นจะได้รับความอัปยศและการเหยียบหยามด้วยน้ำมือของบรรดาผู้ศรัทธา และในปรโลกนั้นพวกเขาจะได้รับการลงโทษอันใหญ่หลวง เนื่องด้วยการขัดขวางผู้คนออกจากบรรดามัสยิดของอัลลอฮฺ
التفاسير العربية:
وَلِلَّهِ ٱلۡمَشۡرِقُ وَٱلۡمَغۡرِبُۚ فَأَيۡنَمَا تُوَلُّواْ فَثَمَّ وَجۡهُ ٱللَّهِۚ إِنَّ ٱللَّهَ وَٰسِعٌ عَلِيمٞ
และอัลลอฮ์เท่านั้นที่เป็นเจ้าของทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวันตกและสิ่งที่อยู่ในระหว่างทั้งสอง พระองค์จะทรงสั่งใช้ป่วงบ่าวของพระองค์ตามสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ ดังนั้นไม่ว่าพวกเจ้าจะผินหน้าไปทางทิศไหน แท้จริงพวกเจ้าก็จะหันไปทางอัลลอฮฺ ตะอาลา แล้วหากพระองค์ได้สั่งใช้พวกเจ้าให้หันไปทางบัยตุลมักดิส หรือกะอฺบะฮฺ หรือพวกเจ้าได้หันผิดทิศ หรือเกิดความลำบากแก่พวกเจ้าในการที่จะหันไปหามัน มันก็ไม่เกิดผลเสียอันใดสำหรับพวกเจ้าหรอก เพราะทิศทางทั้งหลายนั้นเป็นของอัลลอฮฺ ตะอาลา ทั้งสิ้น แท้จริงอัลลอฮฺนั้นผู้ทรงกว้างขวาง ทรงครอบคลุมปวงบ่าวของพระองค์ด้วยความเมตตาของพระองค์และ(ครอบคลุม)ด้วยความง่ายดายจากพระองค์ ผู้ทรงรอบรู้ถึงเจตนาและการกระทำทั้งหลายของพวกเขา
التفاسير العربية:
وَقَالُواْ ٱتَّخَذَ ٱللَّهُ وَلَدٗاۗ سُبۡحَٰنَهُۥۖ بَل لَّهُۥ مَا فِي ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِۖ كُلّٞ لَّهُۥ قَٰنِتُونَ
และชาวยิว ชาวคริส และบรรดาผู้ตั้งภาคีนั้นได้กล่าวว่า “อัลลอฮฺทรงมีบุตรองค์หนึ่ง”! แน่นอนพระองค์ทรงมหาบริสุทธิ์และปราศจากสิ่งนั้น ดังนั้นพระองค์คือผู้ทรงร่ำรวยไม่พึ่งพาต่อสิ่งใดๆที่พระองค์ทรงสร้าง แล้วแท้จริงการมีบุตรนั้นมีไว้สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาเขา แต่ทว่าสำหรับพระองค์ผู้มหาบริสุทธิ์และสูงส่งนั้น ทรงเป็นเจ้าของทั้งสิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน สรรพสิ่งทั้งหลายที่ถูกสร้างมานั้นล้วนเป็นบ่าวรับใช้ต่อพระองค์ทั้งสิ้น โดยที่ทั้งหมดนั้นเป็นผู้ที่นอบน้อมต่อพระองค์ ซึ่งพระองค์จะทรงกระทำสิ่งใดๆต่อพวกเขาก็ได้ตามที่พระองค์ทรงประสงค์
التفاسير العربية:
بَدِيعُ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِۖ وَإِذَا قَضَىٰٓ أَمۡرٗا فَإِنَّمَا يَقُولُ لَهُۥ كُن فَيَكُونُ
และอัลลอฮฺ - มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ - คือ ผู้ทรงประดิษฐ์ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ในระหว่างทั้งสอง โดย(การประดิษฐ์นั้น)ไม่มีต้นแบบมาก่อน และเมื่อพระองค์ทรงกำหนดสิ่งใดแล้ว และทรงประสงค์(ที่จะให้มันเกิดขึ้น) พระองค์ก็เพียงแต่กล่าวแก่สิ่งนั้นว่า : “จงเป็น” แล้วสิ่งนั้นก็จะเป็น ดั่งที่อัลลอฮฺได้ประสงค์ที่จะให้มันเกิดขึ้น จะไม่มีการขัดขืนใดๆ ทั้งสิ้นต่อคำบัญชาและการตัดสินของพระองค์
التفاسير العربية:
وَقَالَ ٱلَّذِينَ لَا يَعۡلَمُونَ لَوۡلَا يُكَلِّمُنَا ٱللَّهُ أَوۡ تَأۡتِينَآ ءَايَةٞۗ كَذَٰلِكَ قَالَ ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِهِم مِّثۡلَ قَوۡلِهِمۡۘ تَشَٰبَهَتۡ قُلُوبُهُمۡۗ قَدۡ بَيَّنَّا ٱلۡأٓيَٰتِ لِقَوۡمٖ يُوقِنُونَ
และบรรดาผู้ที่ไม่รู้ที่มาจากชาวคัมภีร์และบรรดาผู้ตั้งภาคีได้กล่าวในเชิงปฏิเสธต่อสัจธรรมว่า “ไฉนอัลลอฮ์จึงไม่ตรัสแก่พวกเราโดยที่ไม่ต้องมีคนกลาง หรือให้มีสัญญาณหนึ่งที่สัมผัสได้มายังพวกเราเป็นการเฉพาะ?” คำกล่าวของพวกเขาเช่นนี้ บรรดาผู้โกหกชนรุ่นก่อนได้เคยกล่าวไว้แก่บรรดาเราะสูลของพวกเขา ถึงแม้กาลเวลาและสถานที่ของพวกเขามันจะต่างกัน หัวใจของพวกเขาก็เหมือนกับหัวใจของผู้ปฏิเสธศรัทธารุ่นก่อน ๆ ซึ่งแท้จริงแล้ว เราได้แจกแจงสัญญาณต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนแล้วแก่กลุ่มชนที่เชื่อมั่นต่อความจริง ครั้นเมื่อความจริงได้ปรากฏขึ้นมาแก่พวกเขา จะไม่มีข้อสงสัยใด ๆ มาประสบกับพวกเขา และการคัดค้านใด ๆ มาหักห้ามพวกเขาได้
التفاسير العربية:
إِنَّآ أَرۡسَلۡنَٰكَ بِٱلۡحَقِّ بَشِيرٗا وَنَذِيرٗاۖ وَلَا تُسۡـَٔلُ عَنۡ أَصۡحَٰبِ ٱلۡجَحِيمِ
แท้จริงเราได้ส่งเจ้า โอ้นบี มาพร้อมด้วยศาสนาที่เที่ยงแท้ที่ไม่มีข้อเคลือบแคลงใดๆ ในนั้น เพื่อให้เจ้าได้แจ้งข่าวดีต่อบรรดาผู้ศรัทธาด้วยสรวงสวรรค์ และตักเตือนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาด้วยนรก และไม่มีหน้าที่ใดเลยสำหรับเจ้านอกจากการป่าวประกาศเชิญชวนอันชัดแจ้ง และอัลลอฮฺก็จะไม่ถามไถ่เจ้าถึงบรรดาผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อเจ้าที่มาจากหมู่ชาวนรก
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• الكفر ملة واحدة وإن اختلفت أجناس أهله وأماكنهم، فهم يتشابهون في كفرهم وقولهم على الله بغير علم.
การปฏิเสธศรัทธานั้นคือศาสนาเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะต่างเชื้อชาติและต่างถิ่นกันก็ตาม แต่พวกเขานั้นก็มีความเหมือนกันในเรื่องการปฏิเสธศรัทธา และในเรื่องการพูดของพวกเขาที่พูดถึงอัลลอฮฺโดยปราศจากความรู้

• أعظم الناس جُرْمًا وأشدهم إثمًا من يصد عن سبيل الله، ويمنع من أراد فعل الخير.
มนุษย์ที่ชั่วที่สุดและที่ทำบาปที่ใหญ่ที่สุดในหมู่ของพวกเขานั้น คือคนที่ขัดขวางเส้นทางของอัลลอฮ์ และคอยสกัดกั้นผู้ที่ต้องการทำความดี

• تنزّه الله تعالى عن الصاحبة والولد، فهو سبحانه لا يحتاج لخلقه.
อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงบริสุทธิ์ปราศจากภารยาและบุตร ฉะนั้นพระองค์คือผู้ทรงบริสุทธิ์ ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยบ่าวของพระองค์

وَلَن تَرۡضَىٰ عَنكَ ٱلۡيَهُودُ وَلَا ٱلنَّصَٰرَىٰ حَتَّىٰ تَتَّبِعَ مِلَّتَهُمۡۗ قُلۡ إِنَّ هُدَى ٱللَّهِ هُوَ ٱلۡهُدَىٰۗ وَلَئِنِ ٱتَّبَعۡتَ أَهۡوَآءَهُم بَعۡدَ ٱلَّذِي جَآءَكَ مِنَ ٱلۡعِلۡمِ مَا لَكَ مِنَ ٱللَّهِ مِن وَلِيّٖ وَلَا نَصِيرٍ
อัลลอฮ์ทรงกล่าวแก่นบีของพระองค์โดยชี้แนะคอยเตือนว่า: ชาวยิวและชาวคริสต์นั้นจะไม่ยินดีแก่เจ้าเป็นอันขาด จนกว่าเจ้าจะละทิ้งศาสนาอิสลามและทำตามสิ่งที่พวกเขานับถือ จงกล่าวเถิดว่าแท้จริงคัมภีร์ของอัลลอฮ์และข้อชี้แจงของพระองค์คือทางนำที่แท้จริง ไม่ใช่สิ่งเท็จที่พวกเขากำลังกระทำอยู่ และถ้าหากว่าการปฏิบัติตามพวกเขาได้เกิดขึ้นกับเจ้า หรือใครคนใดคนหนึ่งที่มาจากบรรดาผู้ที่ติดตามเจ้าหลังจากที่ความจริงอันชัดแจ้งนั้นได้มายังเจ้าแล้ว แน่นอนเจ้าจะไม่ได้พบเจอกับการสนับสนุนหรือช่วยเหลือใด ๆ ที่มาจากอัลลอฮ์ และนี่คือส่วนหนึ่งของการบ่งบอกถึงอันตรายของการละทิ้งสัจธรรมและการเข้าไปกลมกลืนกับคนอธรรม
التفاسير العربية:
ٱلَّذِينَ ءَاتَيۡنَٰهُمُ ٱلۡكِتَٰبَ يَتۡلُونَهُۥ حَقَّ تِلَاوَتِهِۦٓ أُوْلَٰٓئِكَ يُؤۡمِنُونَ بِهِۦۗ وَمَن يَكۡفُرۡ بِهِۦ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡخَٰسِرُونَ
อัลกุรอานุลกะรีมได้พูดถึงชนกลุ่มหนึ่งที่มาจากชาวคัมภีร์ ซึ่งพวกเขานั้นได้ปฏิบัติตามสิ่งที่อยู่ในมือของพวกเขาที่มาจากบรรดาคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมา และพวกเขาได้ปฏิบัติตามคัมภีร์เหล่านั้นอย่างจริงจัง ชนเหล่านั้นได้พบหรือได้รู้เห็นถึงสัณญานต่างๆ ที่บ่งบอกถึงข้อเท็จจริงของนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม ในคัมภีร์เหล่านี้ และด้วยเหตุนี้แหละที่พวกเขาเหล่านั้นได้รีบเร่งไปสู่การศรัทธาต่อเขา (นบีมุหัมมัด) ส่วนกลุ่มอื่นนั้นก็ยังยืนกรานอยู่กับการปฏิเสธของพวกเขา ดังนั้นสำหรับพวกเขาแล้วนั้นคือการขาดทุน
التفاسير العربية:
يَٰبَنِيٓ إِسۡرَٰٓءِيلَ ٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتِيَ ٱلَّتِيٓ أَنۡعَمۡتُ عَلَيۡكُمۡ وَأَنِّي فَضَّلۡتُكُمۡ عَلَى ٱلۡعَٰلَمِينَ
วงศ์วานอิสรออีลเอ๋ย จงรำลึกถึงความโปรดปรานของข้าทั้งเรื่องของศาสนาและเรื่องของโลกดุนยาที่ข้าได้มอบไว้แก่พวกเจ้า และจงรำลึกว่าแท้จริงข้าได้เชิดชูพวกเจ้าไว้เหนือผู้อื่นที่อยู่ในยุคของพวกเจ้าด้วยการแต่งตั้งให้เป็นนบีและเป็นกษัตริย์
التفاسير العربية:
وَٱتَّقُواْ يَوۡمٗا لَّا تَجۡزِي نَفۡسٌ عَن نَّفۡسٖ شَيۡـٔٗا وَلَا يُقۡبَلُ مِنۡهَا عَدۡلٞ وَلَا تَنفَعُهَا شَفَٰعَةٞ وَلَا هُمۡ يُنصَرُونَ
และพวกเจ้าจงสร้างสิ่งคุ้มกันระหว่างเจ้าและการลงโทษในวันกิยามะฮฺด้วยการปฏิบัติตามสิ่งต่างๆที่อัลลอฮใช้ และห่างไกลจากสิ่งต้องห้ามต่างๆของพระองค์ ซึ่งแท้จริงในวันนั้นจะไม่มีชีวิตใดจะชดเชยสิ่งใดแทนอีกชีวิตหนึ่งได้ และจะไม่มีการตอบรับการไถ่ถอนใดๆในวันนั้นแม้ว่ามันจะมีค่ามหาศาลสักเพียงใดก็ตาม และการขอความช่วยเหลือจากใครคนใดก็หาได้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตนั้นไม่ ถึงแม้ว่าตำแหน่งของคนนั้นจะสูงใหญ่เพียงใดก็ตาม และจะไม่มีผู้ช่วยเหลือใดๆ ทั้งสิ้นสำหรับชีวิตนั้น ที่จะมาให้ความช่วยเหลือเขานอกเสียจากอัลลอฮฺเท่านั้น
التفاسير العربية:
۞ وَإِذِ ٱبۡتَلَىٰٓ إِبۡرَٰهِـۧمَ رَبُّهُۥ بِكَلِمَٰتٖ فَأَتَمَّهُنَّۖ قَالَ إِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامٗاۖ قَالَ وَمِن ذُرِّيَّتِيۖ قَالَ لَا يَنَالُ عَهۡدِي ٱلظَّٰلِمِينَ
และจงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮฺนั้นได้ทรงทดสอบอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ด้วยสิ่งที่พระองค์ได้บัญชาแก่เขาจากกฎเกณฑ์และข้อสั่งใช้ต่างๆ แล้วเขาก็ได้สนองตามพระบัญชานั้นและปฏิบัติมันอย่างครบถ้วน พระองค์ก็ทรงได้ตรัสแก่นบีของพระองค์ อิบรอฮีมว่า แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นแบบอย่างแก่มนุษย์ชาติ เพื่อให้พวกเขานั้นได้ยึดเจ้าเป็นแบบอย่างทั้งในด้านการกระทำและเรื่องมารยาทต่างๆ อิบรอฮีมก็กล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ได้โปรดให้สิ่งนี้เกิดขึ้นแก่ลูกหลานของข้าพระองค์ด้วย ด้วยการให้เป็นผู้นำที่บรรดามนุษย์ชาตินั้นได้ยึดพวกเขาเป็นแบบอย่างที่ดี อัลลอฮฺก็ทรงกล่าวตอบแก่อิบรอฮีมว่า สัญญาของข้าที่มีต่อเจ้าที่จะให้มีผู้นำทางด้านศาสนานั้นมิได้มีไว้ให้แก่บรรดาผู้อธรรมที่มาจากเชื่อสายของเจ้า
التفاسير العربية:
وَإِذۡ جَعَلۡنَا ٱلۡبَيۡتَ مَثَابَةٗ لِّلنَّاسِ وَأَمۡنٗا وَٱتَّخِذُواْ مِن مَّقَامِ إِبۡرَٰهِـۧمَ مُصَلّٗىۖ وَعَهِدۡنَآ إِلَىٰٓ إِبۡرَٰهِـۧمَ وَإِسۡمَٰعِيلَ أَن طَهِّرَا بَيۡتِيَ لِلطَّآئِفِينَ وَٱلۡعَٰكِفِينَ وَٱلرُّكَّعِ ٱلسُّجُودِ
และจงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮฺได้ทรงทำให้บัยตุลลอฮิลฮะรอม (กะอฺบะฮฺ) เป็นที่รวมตัวกันสำหรับมนุษย์ โดยที่เหล่าหัวใจของพวกเขานั้นมีความผูกพันกับมัน ทุกๆ ครั้งที่พวกเขาได้จากมันไปพวกเขาก็จะกลับมายังมัน และพระองค์ก็ทรงทำที่นั่นเป็นที่ปลอดภัยโดยที่พวกเขาจะไม่ถูกรุกรานเมื่ออาศัยอยู่ที่นั่น และพระองค์ก็ทรงได้ตรัสแก่มนุษย์ว่า พวกเจ้าจงเอาก้อนหินที่อิบรอฮีมเคยยืนอยู่บนมันในตอนที่เขาสร้างกะอฺบะฮฺเป็นที่ละหมาดเถิด และเราได้สั่งเสียแก่อิบรอฮีมและลูกของเขาอิสมาอีลด้วยการให้ทำความสะอาดบ้านที่เป็นที่หวงห้ามนั้น จากสิ่งสกปรกและบรรดาเจว็ดทั้งหลาย และจัดเตรียมมันแก่ผู้ที่เขาต้องการจะเคารพอิบาดะฮฺที่นั่น ไม่ว่าจะด้วยการเฎาะวาฟ การเอียะติกาฟ การละหมาด และอื่นๆ
التفاسير العربية:
وَإِذۡ قَالَ إِبۡرَٰهِـۧمُ رَبِّ ٱجۡعَلۡ هَٰذَا بَلَدًا ءَامِنٗا وَٱرۡزُقۡ أَهۡلَهُۥ مِنَ ٱلثَّمَرَٰتِ مَنۡ ءَامَنَ مِنۡهُم بِٱللَّهِ وَٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِۚ قَالَ وَمَن كَفَرَ فَأُمَتِّعُهُۥ قَلِيلٗا ثُمَّ أَضۡطَرُّهُۥٓ إِلَىٰ عَذَابِ ٱلنَّارِۖ وَبِئۡسَ ٱلۡمَصِيرُ
และจงรำลึกเถิด -โอ้นบีเอ๋ย- ขณะที่อิบรอฮีมได้วิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของเขาว่า ข้าแต่พระผู้อภิบาลของข้าได้โปรดให้มักกะฮฺเป็นเมืองที่ปลอดภัย และทรงอย่าให้ใครคนใดถูกทำร้ายในนั้น และโปรดประทานแก่ชาวเมืองนั้นซึ่งผลไม้ต่างๆ และทรงทำให้มันเป็นเครื่องยังชีพเฉพาะแก่บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อพระองค์และวันปรโลกเท่านั้น อัลลอฮฺทรงตรัสว่า และผู้ใดที่ปฏิเสธการศรัทธาในหมู่ของพวกเขา แท้จริงแล้วข้าจะมอบความสำราญให้แก่เขา ซึ่งเป็นความสำราญอันเล็กน้อยเท่านั้นที่ข้าได้มอบให้กับเขาในโลกดุนยานี้ แล้วในปรโลกนั้นข้าจะบีบบังคับให้เขาเข้าไปอย่างรังเกียจสู่การทรมานแห่งขุมนรก และเป็นจุดหมายปลายทางอันชั่วช้ายิ่งที่เขานั้นจะต้องกลับไปสู่มันในวันกิยามะฮฺ
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• أن المسلمين مهما فعلوا من خير لليهود والنصارى؛ فلن يرضوا حتى يُخرجوهم من دينهم، ويتابعوهم على ضلالهم.
แท้จริงบรรดามุสลิมนั้น ถึงแม้ว่าพวกเขาจะทำดีต่อชาวยิวและชาวคริสต์ พวกเขาก็จะไม่พึงพอใจอยู่ดี จนกว่าพวกเขาจะได้ทำให้บรรดามุสลิมนั้นออกไปจากศาสนาของพวกเขา และตามพวกเขาไปในหนทางที่หลงผิดของพวกเขา

• الإمامة في الدين لا تُنَال إلا بصحة اليقين والصبر على القيام بأمر الله تعالى.
การเป็นผู้นำในศาสนาไม่สามารถที่จะเป็นได้ นอกจากด้วยความมั่นใจที่ถูกต้องและอดทนที่จะยืนหยัดบนคำสั่งของอัลลอฮฺ ตะอาลา เท่านั้น

• بركة دعوة إبراهيم عليه السلام للبلد الحرام، حيث جعله الله مكانًا آمنًا للناس، وتفضّل على أهله بأنواع الأرزاق.
ความจำเริญของการขอพรของนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ที่มีต่อแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ โดยอัลลอฮฺนั้นทรงได้ทำให้มันนั้นเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับผู้คน และทรงได้มอบความประเสริฐให้แก่ชาวเมืองนั้น ด้วยปัจจัยยังชีพที่มีความหลากหลาย

وَإِذۡ يَرۡفَعُ إِبۡرَٰهِـۧمُ ٱلۡقَوَاعِدَ مِنَ ٱلۡبَيۡتِ وَإِسۡمَٰعِيلُ رَبَّنَا تَقَبَّلۡ مِنَّآۖ إِنَّكَ أَنتَ ٱلسَّمِيعُ ٱلۡعَلِيمُ
และจงรำลึกเถิด โอ้นบีเอ๋ย ขณะที่อิบรอฮีมและอิสมาอีลได้ก่อฐานของอัลกะอ์บะฮ์นั้น เขาทั้งสองได้กล่าวในสภาพที่นอบน้อมและรู้สึกต่ำต้อยว่า ข้าแต่พระผู้อภิบาลของพวกข้าพระองค์ โปรดตอบรับการงานต่าง ๆ ของพวกข้าพระองค์ด้วยเถิด ซึ่งหนึ่งในการงานต่าง ๆเหล่านั้นก็คือ การสร้างกะอ์บะฮ์หลังนี้ แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ตอบรับคำวิงวอนของพวกข้าพระองค์ ผู้ทรงรอบรู้ถึงเจตนาและการงานของพวกข้าพระองค์ทั้งหลาย
التفاسير العربية:
رَبَّنَا وَٱجۡعَلۡنَا مُسۡلِمَيۡنِ لَكَ وَمِن ذُرِّيَّتِنَآ أُمَّةٗ مُّسۡلِمَةٗ لَّكَ وَأَرِنَا مَنَاسِكَنَا وَتُبۡ عَلَيۡنَآۖ إِنَّكَ أَنتَ ٱلتَّوَّابُ ٱلرَّحِيمُ
โอ้พระผู้อภิบาลของพวกข้าพระองค์ โปรดทำให้ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ยอมจำนนต่อคำบัญชาของพระองค์ เป็นบรรดาผู้ที่นอบน้อมต่อพระองค์ โดยที่พวกข้าพระองค์จะไม่ตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และโปรดให้มีขึ้นจากลูกหลานของพวกข้าพระองค์ซึ่งประชาชาติที่จำนนต่อพระองค์ และโปรดให้แก่พวกข้าพระองค์ได้รับรู้ถึงวิธีการเคารพอิบาดะฮฺต่อพระองค์ และโปรดละเว้นบาปและความบกพร่องของพวกข้าพระองค์ที่เกิดขึ้นต่อการเชื่อฟังต่อพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์ทรงรับการกลับเนื้อกลับตัวจากปวงบ่าวของพระองค์ ทรงเอ็นดูเมตตาต่อพวกเขา
التفاسير العربية:
رَبَّنَا وَٱبۡعَثۡ فِيهِمۡ رَسُولٗا مِّنۡهُمۡ يَتۡلُواْ عَلَيۡهِمۡ ءَايَٰتِكَ وَيُعَلِّمُهُمُ ٱلۡكِتَٰبَ وَٱلۡحِكۡمَةَ وَيُزَكِّيهِمۡۖ إِنَّكَ أَنتَ ٱلۡعَزِيزُ ٱلۡحَكِيمُ
ข้าแต่พระผู้อภิบาลของพวกข้าพระองค์โปรดส่งเราะสูลคนหนึ่งให้แก่พวกเขาที่มาจากพวกเขาเองจากลูกหลานของอิสมาอีล เพื่อเขาจะได้อ่านโองการต่างๆของพระองค์ที่ถูกประทานลงมาให้พวกเขาฟัง และจะได้สอนอัลกุรอานและสุนนะฮฺแก่พวกเขา และทำการขัดเกลาพวกเขาให้สะอาดจากการตั้งภาคีและความต่ำช้าทั้งหลาย แท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ทรงพลานุภาพที่ล้นเหลือ และทรงปรีชาญาณในการกระทำและการตัดสินทั้งหลายของพระองค์
التفاسير العربية:
وَمَن يَرۡغَبُ عَن مِّلَّةِ إِبۡرَٰهِـۧمَ إِلَّا مَن سَفِهَ نَفۡسَهُۥۚ وَلَقَدِ ٱصۡطَفَيۡنَٰهُ فِي ٱلدُّنۡيَاۖ وَإِنَّهُۥ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ لَمِنَ ٱلصَّٰلِحِينَ
และจะไม่มีใครเลยที่จะหันเหไปจากศาสนาของอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ไปยังศาสนาอื่น เว้นเสียจากผู้ที่อธรรมต่อตัวของเขาเอง อันเนื่องมาจากความโฉดเขลาและการจัดการที่ไม่ดีของเขา ด้วยการละทิ้งความถูกต้องแล้วไปหาความลุ่มหลง และพึงพอใจต่อตัวเองด้วยสภาพที่ตกต่ำ และแท้จริงแล้ว เราได้คัดเลือกเขาให้เป็นเราะสูลและเป็นที่รักในโลกนี้ และแท้จริงในปรโลกนั้น เขาจะอยู่ในหมู่คนดีที่ปฏิบัติในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงได้บังคับเหนือพวกเขา ดังนั้นพวกเขาก็จะได้รับตำแหน่งที่สูงยิ่ง
التفاسير العربية:
إِذۡ قَالَ لَهُۥ رَبُّهُۥٓ أَسۡلِمۡۖ قَالَ أَسۡلَمۡتُ لِرَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ
อัลลอฮฺได้ทรงเลือกเขาให้รีบเร่งไปสู่อิสลาม ขณะที่พระเจ้าของเขาได้กล่าวแก่เขาว่า เจ้าจงบริสุทธิ์ใจในการเคารพอิบาดะฮฺต่อข้าเถิดและจงนอบน้อมต่อข้าด้วยการเชื่อฟัง เขาก็กล่าวด้วยการตอบรับต่อพระเจ้าของเขาว่า ข้าพระองค์ได้ยอมจำนนต่ออัลลอฮฺผู้ทรงสร้างปวงบ่าวและผู้ทรงให้ปัจจัยแก่พวกเขา และผู้ทรงจัดการบริหารกิจการต่างๆ ของพวกเขาแล้ว
التفاسير العربية:
وَوَصَّىٰ بِهَآ إِبۡرَٰهِـۧمُ بَنِيهِ وَيَعۡقُوبُ يَٰبَنِيَّ إِنَّ ٱللَّهَ ٱصۡطَفَىٰ لَكُمُ ٱلدِّينَ فَلَا تَمُوتُنَّ إِلَّا وَأَنتُم مُّسۡلِمُونَ
และอิบรอฮีมได้สั่งเสียแก่ลูกๆ ของเขาด้วยถ่อยคำนี้ (ฉันได้ยอมจำนนต่อพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกแล้ว) และยะอฺกูบก็ได้สั่งเสียแก่ลูกๆ ของเขาด้วยถ่อยคำนี้เช่นกัน โดยเขาทั้งสองได้กล่าวเชิญชวนต่อบรรดาลูกๆ ของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงเลือกศาสนาอิสลามให้แก่พวกเจ้าแล้ว ดังนั้นพวกเจ้าจงยึดมั่นกับศาสนานั้นจนกว่าความตายนั้นจะมาหาพวกเจ้า ในสภาพที่พวกเจ้านั้นเป็นผู้ที่ยอมจำนนต่ออัลลอฮฺทั้งภายนอกและภายใน(ทั้งกายและใจ)
التفاسير العربية:
أَمۡ كُنتُمۡ شُهَدَآءَ إِذۡ حَضَرَ يَعۡقُوبَ ٱلۡمَوۡتُ إِذۡ قَالَ لِبَنِيهِ مَا تَعۡبُدُونَ مِنۢ بَعۡدِيۖ قَالُواْ نَعۡبُدُ إِلَٰهَكَ وَإِلَٰهَ ءَابَآئِكَ إِبۡرَٰهِـۧمَ وَإِسۡمَٰعِيلَ وَإِسۡحَٰقَ إِلَٰهٗا وَٰحِدٗا وَنَحۡنُ لَهُۥ مُسۡلِمُونَ
หรือว่าพวกเจ้าเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เรื่องราวของยะอฺกูบ ครั้นที่ความตายได้มายังเขา เป็นครั้นที่เขานั้นได้กล่าวแก่ลูกๆ ของเขาว่า พวกเจ้าจะเคารพอิบาดะฮฺอะไรหลังจากฉันเสียชีวิตไป? พวกเขาก็ได้กล่าวตอบว่า พวกเราจะเคารพอิบาดะฮฺต่อพระเจ้าของท่าน และพระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของท่าน คือ อิบรอฮีม อิสมาอีล และอิสฮาก แต่เพียงองค์เดียวโดยที่ไม่ตั้งภาคีใดๆเลยต่อพระองค์ และพวกเราก็จะมีเพียงแค่พระองค์เท่านั้นที่เราจะยอมจำนนและอ่อนน้อม
التفاسير العربية:
تِلۡكَ أُمَّةٞ قَدۡ خَلَتۡۖ لَهَا مَا كَسَبَتۡ وَلَكُم مَّا كَسَبۡتُمۡۖ وَلَا تُسۡـَٔلُونَ عَمَّا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ
พวกเขาคือประชาชาติหนึ่งจากบรรดาประชาชาติทั้งหลายที่ได้ล่วงลับไปก่อนหน้าพวกเจ้า และพวกเขาเหล่านั้นต่างก็ได้พบกับผลแห่งการกระทำของพวกเขา พวกเขาจะได้รับการตอบแทนทีเป็นผลจากการกระทำของพวกเขาไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลร้าย และสำหรับพวกเจ้าคือผลจากการกระทำของพวกเจ้า และพวกเจ้าจะไม่ถูกไต่สวนถึงการงานของพวกเขา และพวกเขาก็จะไม่ถูกไต่สวนถึงการงานของพวกเจ้า และไม่มีใครต้องถูกลงโทษเพราะความผิดของผู้อื่น แต่ทุกคนนั้นจะได้รับการตอบแทนตามสิ่งที่เขาได้กระทำมา ดังนั้นพวกเจ้าอย่าได้ทำให้การกระทำของคนในอดีตก่อนหน้าเจ้า ทำให้เจ้าลืมที่จะสนใจถึงการกระทำของพวกเจ้าเอง และแท้จริงคนๆ หนึ่งจะไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์ต่อเขาเลยหลังจากความเมตตาของอัลลอฮฺ นอกเสียจากการงานของเขาที่ดีเท่านั้น
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• المؤمن المتقي لا يغتر بأعماله الصالحة، بل يخاف أن ترد عليه، ولا تقبل منه، ولهذا يُكْثِرُ سؤالَ الله قَبولها.
ผู้ศรัทธาที่ยำเกรงเขาจะไม่หลงระเริงกับความดีต่างๆของเขาเลย แต่เขาจะกลัวว่ามันจะถูกตีกลับไปยังเขา และไม่ถูกตอบรับจากเขา และเพราะเหตุนี้แหละที่เขานั้นขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺมากๆ ให้ตอบรับมัน

• بركة دعوة أبي الأنبياء إبراهيم عليه السلام، حيث أجاب الله دعاءه وجعل خاتم أنبيائه وأفضل رسله من أهل مكة.
ความจำเริญของการขอพรของบิดาของบรรดานบี อิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม โดยที่อัลลอฮฺนั้นได้ทรงตอบรับคำวิงวอนของเขา และทรงทำให้นบีคนสุดท้ายและประเสริฐที่สุดในบรรดาเราะสูลของพระองค์เป็นผู้ที่มาจากชาวเมืองมักกะฮฺ

• دين إبراهيم عليه السلام هو الملة الحنيفية الموافقة للفطرة، لا يرغب عنها ولا يزهد فيها إلا الجاهل المخالف لفطرته.
ศาสนาของอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม นั้น คือ ศาสนาที่เที่ยงตรงสอดคล้องกับสัญชาตญาณของมนุษย์ ซึ่งไม่มีใครที่ไม่ต้องการมันหรือไม่ปรารถนาต่อมัน เว้นเสียแต่ผู้ที่โง่เขล่าที่ฝ่าฝืนต่อสัญชาตญาณของเขา

• مشروعية الوصية للذرية باتباع الهدى، وأخذ العهد عليهم بالتمسك بالحق والثبات عليه.
อนุญาตให้มีการสั่งเสียแก่ลูกหลานโดยให้พวกเขานั้นปฏิบัติตามทางนำ และทำสัญญากับพวกเขาโดยให้พวกเขายึดมั่นต่อสัจธรรมและยืนหยัดบนสัจธรรม

وَقَالُواْ كُونُواْ هُودًا أَوۡ نَصَٰرَىٰ تَهۡتَدُواْۗ قُلۡ بَلۡ مِلَّةَ إِبۡرَٰهِـۧمَ حَنِيفٗاۖ وَمَا كَانَ مِنَ ٱلۡمُشۡرِكِينَ
และชาวยิวก็ได้กล่าวแก่ประชาชาตินี้ว่า พวกท่านจงเป็นยิวเถิด แล้วพวกเจ้าก็จะได้เดินบนเส้นทางแห่งทางนำ และชาวคริสต์ก็กล่าว่า พวกท่านจงเป็นคริสต์เถิด แล้วพวกเจ้าก็จะได้เดินบนเส้นทางแห่งทางนำ จงกล่าวเถิด โอ้นะบีเอ๋ย เพื่อเป็นคำตอบแก่พวกเขาว่า แต่ทว่าเรานั้นเดินตามแนวทางของอิบรอฮีม ผู้ที่เบี่ยงเบนไปจากศาสนาเท็จไปสู่ศาสนาที่แท้จริง และเขาก็ไม่เคยเป็นผู้ที่ตั้งภาคีใดเลยต่ออัลลอฮฺ
التفاسير العربية:
قُولُوٓاْ ءَامَنَّا بِٱللَّهِ وَمَآ أُنزِلَ إِلَيۡنَا وَمَآ أُنزِلَ إِلَىٰٓ إِبۡرَٰهِـۧمَ وَإِسۡمَٰعِيلَ وَإِسۡحَٰقَ وَيَعۡقُوبَ وَٱلۡأَسۡبَاطِ وَمَآ أُوتِيَ مُوسَىٰ وَعِيسَىٰ وَمَآ أُوتِيَ ٱلنَّبِيُّونَ مِن رَّبِّهِمۡ لَا نُفَرِّقُ بَيۡنَ أَحَدٖ مِّنۡهُمۡ وَنَحۡنُ لَهُۥ مُسۡلِمُونَ
จงกล่าวเถิด -โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย- แก่ผู้ที่แอบอ้างอันมดเท็จเหล่านี้ที่มาจากชาวยิวและชาวคริสต์ว่า เราได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และต่ออัลกุรอานที่ถูกประทานลงมาแก่เรา และเราก็ได้ศรัทธาต่อสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่อิบรอฮีมและแก่บรรดาลูกหลานของเขาคือ อิสมาอีล อิสฮาก และยะอฺกูบ และเราได้ศรัทธาต่ออัตเตารอตฺที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่มูซา และอัลอินญีลที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่อีซา และเราได้ศรัทธาอีกเช่นกันต่อบรรดาคัมภีร์ที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานให้แก่บรรดานะบีทั้งหลาย พวกเรามิได้แบ่งแยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากพวกเขาเหล่านั้น ด้วยการที่เราศรัทธาแค่เพียงส่วนหนึ่งและปฏิเสธอีกส่วนหนึ่ง แต่ทว่าเรานั้นศรัทธาต่อพวกเขาทั้งหมดเลย และพวกเราจะเป็นผู้สวามิภักดิ์และอ่อนน้อมต่อพระองค์เท่านั้น
التفاسير العربية:
فَإِنۡ ءَامَنُواْ بِمِثۡلِ مَآ ءَامَنتُم بِهِۦ فَقَدِ ٱهۡتَدَواْۖ وَّإِن تَوَلَّوۡاْ فَإِنَّمَا هُمۡ فِي شِقَاقٖۖ فَسَيَكۡفِيكَهُمُ ٱللَّهُۚ وَهُوَ ٱلسَّمِيعُ ٱلۡعَلِيمُ
หากชาวยิว ชาวคริสต์ และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาได้ศรัทธาอย่างที่พวกเจ้าศรัทธากัน แน่นอนพวกเขาย่อมจะได้รับทางนำสู่แนวทางที่เที่ยงตรงที่อัลลอฮฺทรงพอพระทัย และหากพวกเขาผินหลังไม่ศรัทธาโดยการปฏิเสธบรรดานะบีทั้งหมดหรือปฏิเสธบางคนจากพวกเขา แน่นอนพวกเขาย่อมอยู่ในความขัดแย้งและเป็นศัตรูกัน(กับเจ้า) ดังนั้น (โอ้นะบีเอ๋ย) เจ้าอย่าได้เสียใจ เพราะแท้จริงอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเจ้าจากการทำร้ายของพวกเขา จะทรงคุ้มครองเจ้าจากความชั่วของพวกเขา และจะทรงช่วยเหลือเจ้าเหนือพวกเขา โดยที่พระองค์นั้นเป็นผู้ทรงได้ยินคำพูดของพวกเขา ผู้ทรงรอบรู้เจตนาและการกระทำของพวกเขา
التفاسير العربية:
صِبۡغَةَ ٱللَّهِ وَمَنۡ أَحۡسَنُ مِنَ ٱللَّهِ صِبۡغَةٗۖ وَنَحۡنُ لَهُۥ عَٰبِدُونَ
พวกเจ้าจงยึดมั่นในศาสนาของอัลลอฮฺทั้งภายนอกและภายใน ที่พระองค์นั้นทรงทำให้พวกเจ้าได้อยู่บนศาสนาของพระองค์ ดังนั้นจะไม่มีศาสนาใดที่ดีไปกว่าศาสนาของอัลลอฮฺอย่างแน่นอน ซึ่งศาสนาของพระองค์นั้นสอดคล้องกับสัญชาตญาณ โดยส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ ป้องกันจากความเสื่อมเสีย และพวกเจ้าจงกล่าวเถิดว่า พวกเราคือบรรดาผู้ที่เคารพอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น เราจะไม่ตั้งภาคีอื่นใดมาเทียบเท่าพระองค์
التفاسير العربية:
قُلۡ أَتُحَآجُّونَنَا فِي ٱللَّهِ وَهُوَ رَبُّنَا وَرَبُّكُمۡ وَلَنَآ أَعۡمَٰلُنَا وَلَكُمۡ أَعۡمَٰلُكُمۡ وَنَحۡنُ لَهُۥ مُخۡلِصُونَ
จงกล่าวเถิด (โอ้นะบีเอ๋ย) พวกท่านจะโต้แย้งกับเรา (โอ้ชาวคัมภีร์เอ๋ย) ในเรื่องที่ว่าพวกเจ้านั้นมีความสำคัญต่ออัลลอฮฺและศาสนาของพระองค์มากกว่าเรากระนั้นหรือ? เนื่องเพราะว่าศาสนาของพวกท่านนั้นเก่าแก่กว่า และะคัมภีร์ของพวกเจ้านั้นมาก่อน แท้จริงสิ่งนั้นไม่ได้เป็นประโยชน์ใดๆ ต่อพวกเจ้าเลย อัลลอฮฺทรงเป็นพระเจ้าของพวกเราทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าได้ตั้งพระองค์เป็นการเฉพาะสำหรับพวกเจ้า และบรรดาการงานของเรานั้นมีไว้สำหรับเรา ซึ่งพวกเจ้าก็จะไม่ถูกถามถึงมัน และบรรดาการงานของพวกท่านก็มีไว้สำหรับพวกท่าน ซึ่งเราก็จะไม่ถูกถามถึงมัน และทุกคนต่างก็จะได้รับการตอบแทนตามการกระทำของเขา และพวกเรานั้นคือบรรดาผู้ที่บริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺในการเคารพอิบาดะฮฺและการเชื่อฟัง เราจะไม่ตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์อย่างแน่นอน
التفاسير العربية:
أَمۡ تَقُولُونَ إِنَّ إِبۡرَٰهِـۧمَ وَإِسۡمَٰعِيلَ وَإِسۡحَٰقَ وَيَعۡقُوبَ وَٱلۡأَسۡبَاطَ كَانُواْ هُودًا أَوۡ نَصَٰرَىٰۗ قُلۡ ءَأَنتُمۡ أَعۡلَمُ أَمِ ٱللَّهُۗ وَمَنۡ أَظۡلَمُ مِمَّن كَتَمَ شَهَٰدَةً عِندَهُۥ مِنَ ٱللَّهِۗ وَمَا ٱللَّهُ بِغَٰفِلٍ عَمَّا تَعۡمَلُونَ
หรือพวกท่าน (โอ้ชาวคัมภีร์เอ๋ย) จะกล่าวว่า แท้จริงอิบรอฮีม อิสมาอีล อิสฮาก ยะอฺกูบ และบรรดานบีที่มาจากลูกๆ ของยะอฺกูบนั้น พวกเขาเคยนับถือศาสนายิวหรือศาสนาคริสต์มาก่อนกระนั้นหรือ? จงกล่าวแก่พวกเขาเถิด (โอ้นะบีเอ๋ย) พวกท่านรู้ดียิ่งกว่า หรือว่าอัลลอฮฺ?! แล้วหากพวกเขาอ้างว่าพวกเขา(บรรดานะบีที่กล่าวมานั้น)เคยนับถือศาสนาของพวกเขา แน่นอนพวกเขาย่อมโกหก เพราะแท้จริงการบังเกิดและการตายของพวกเขานั้น มีมาก่อนการประทานคัมภีร์อัตเตารอตฺและอัลอินญีล! และเป็นที่รู้ๆ กันว่าสิ่งที่พวกเขาพูดถึงนั้นเป็นสิ่งที่โกหกใส่อัลลอฮฺและต่อบรรดาเราะสูลของพระองค์ และแท้จริงพวกเขานั้นปิดบังความจริงที่ได้ประทานลงมาให้แก่พวกเขา และไม่มีผู้ใดที่จะอธรรมยิ่งไปกว่าผู้ที่ปิดบังพยานหลักฐานอันน่าเชื่อถือที่มีอยู่ ณ ที่เขา ซึ่งเขาได้รู้มันมาจากอัลลอฮฺ ดั่งการกระทำของชาวคัมภีร์ และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงเฉยเมยต่อสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน และพระองค์ก็จะทรงตอบแทนพวกเจ้าอย่างครบถ้วนตามสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน
التفاسير العربية:
تِلۡكَ أُمَّةٞ قَدۡ خَلَتۡۖ لَهَا مَا كَسَبَتۡ وَلَكُم مَّا كَسَبۡتُمۡۖ وَلَا تُسۡـَٔلُونَ عَمَّا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ
นั่นคือประชาชาติหนึ่งที่ได้ล่วงลับไปก่อนหน้าพวกเจ้า และพวกเขาเหล่านั้นต่างก็ได้พบกับผลแห่งการกระทำของพวกเขา พวกเขาจะได้รับการตอบแทนทีเป็นผลจากการกระทำของพวกเขา และสำหรับพวกเจ้าคือผลจากการกระทำของพวกเจ้า และพวกเจ้าจะไม่ถูกไต่สวนถึงการงานของพวกเขา และพวกเขาก็จะไม่ถูกไต่สวนถึงการงานของพวกเจ้า และไม่มีใครต้องถูกลงโทษเพราะความผิดของผู้อื่น และจะไม่มีผู้ใดได้ประโยชน์จากการกระทำของผู้อื่น แต่ทุกคนนั้นจะได้รับการตอบแทนตามสิ่งที่เขาได้กระทำมา
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• أن دعوى أهل الكتاب أنهم على الحق لا تنفعهم وهم يكفرون بما أنزل الله على نبيه محمد صلى الله عليه وسلم.
แท้จริงการกล่าวอ้างของชาวคัมภีร์ที่ว่าพวกเขาได้ยืนอยู่บนสัจธรรมนั้น มันจะไม่เป็นประโยชน์อันใดต่อพวกเขาเลย ตลาบใดที่พวกเขาปฏิเสธศรัทธาต่อสิ่งที่อัลลอฮฺได้ประทานลงมายังนะบีของพระองค์ มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮฺวะสัลลัม

• سُمِّي الدين صبغة لظهور أعماله وسَمْته على المسلم كما يظهر أثر الصبغ في الثوب.
การที่ศาสนาได้ถูกเรียกว่า การย้อม ก็เพราะว่าการงานทั้งหลายและเอกลักษณ์ของมันได้เผยให้ปรากฎบนตัวของผู้ที่เป็นมุสลิม ดั่งที่ผลจากการย้อมได้ปรากฎบนเสื้อผ้าที่ถูกย้อม

• أن الله تعالى قد رَكَزَ في فطرةِ خلقه جميعًا الإقرارَ بربوبيته وألوهيته، وإنما يضلهم عنها الشيطان وأعوانه.
แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้นทรงได้ปลูกฝังซึ่งการยอมรับถึงความเป็นพระผู้อภิบาลและความเป็นพระเจ้าของพระองค์ไว้ในสัญชาตญาณของทุกสิ่งที่ถูกสร้าง แต่ชัยฏอนและพรรคพวกของมันได้ทำให้พวกเขาหลงผิดออกห่างไปจากสิ่งนั้น

۞ سَيَقُولُ ٱلسُّفَهَآءُ مِنَ ٱلنَّاسِ مَا وَلَّىٰهُمۡ عَن قِبۡلَتِهِمُ ٱلَّتِي كَانُواْ عَلَيۡهَاۚ قُل لِّلَّهِ ٱلۡمَشۡرِقُ وَٱلۡمَغۡرِبُۚ يَهۡدِي مَن يَشَآءُ إِلَىٰ صِرَٰطٖ مُّسۡتَقِيمٖ
บรรดาคนโง่ที่ขาดสามัญสำนึกมาจากพวกยิวและบรรดาผู้คนที่คล้ายคลึงกับพวกเขาอย่างบรรดามุนาฟิกีน ผู้กลับกลอกจะกล่าวว่า "อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้บรรดามุสลิมีน หันออกไปจากกิบลัต บัลตุล อัล-มักดิส ที่เคยเป็นกิบลัตของพวกเขาก่อนหน้านี้?! จงตอบแก่พวกเขาเถิด -โอ้ นบีเอ๋ย- "ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกหรือทิศไหนๆ ล้วนเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์เพียงองค์เดียวเท่านั้น พระองค์จะทรงให้ผู้ใดหันไปทิศทางใดก็เป็นสิทธิ์ของพระองค์ และมหาบริสุทธิ์ต่อพระองค์ที่จะนำทางผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ไปสู่ทางที่เที่ยงตรงไม่คดเคี้ยวและไม่เบี่ยงเบน
التفاسير العربية:
وَكَذَٰلِكَ جَعَلۡنَٰكُمۡ أُمَّةٗ وَسَطٗا لِّتَكُونُواْ شُهَدَآءَ عَلَى ٱلنَّاسِ وَيَكُونَ ٱلرَّسُولُ عَلَيۡكُمۡ شَهِيدٗاۗ وَمَا جَعَلۡنَا ٱلۡقِبۡلَةَ ٱلَّتِي كُنتَ عَلَيۡهَآ إِلَّا لِنَعۡلَمَ مَن يَتَّبِعُ ٱلرَّسُولَ مِمَّن يَنقَلِبُ عَلَىٰ عَقِبَيۡهِۚ وَإِن كَانَتۡ لَكَبِيرَةً إِلَّا عَلَى ٱلَّذِينَ هَدَى ٱللَّهُۗ وَمَا كَانَ ٱللَّهُ لِيُضِيعَ إِيمَٰنَكُمۡۚ إِنَّ ٱللَّهَ بِٱلنَّاسِ لَرَءُوفٞ رَّحِيمٞ
และในทำนองเดียวกัน เราได้มอบกิบลัตที่เราพอใจให้กับพวกเจ้า และทำให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่ประเสริฐ ยุติธรรม และเป็นประชาชาติสายกลางเมื่อเทียบระหว่างประชาชาติอื่นๆทั้งหมด ทั้งในเรื่องของความเชื่อ การทำอิบาดะฮ์ และการอยู่ร่วมกัน เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานแก่บรรดาเราะสูลุลลอฮ์ ในวันกิยามะฮ์ ว่าพวกเขานั้นได้เผยแพร่ในสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงสั่งไว้ให้เผยแพร่แก่ประชาชาติของพวกเขา และมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น ก็จะเป็นสักขีพยานแก่พวกเจ้าเช่นกันว่าท่านนั้นได้เผยแพร่สิ่งที่ได้ประทานลงมาแก่พวกเจ้า และเรามิได้เปลี่ยนแปลงซึ่งกิบลัตที่เจ้าเคยหันหน้าไป (คือบัยตุล อัล-มักดิส) นอกจากเพื่อเราจะได้รู้และให้ผลตอบแทนแก่ผู้ที่เห็นด้วยและยอมรับในสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงบัญญัติและปฏิบัติตามเราะสูล และใครที่ละทิ้งศาสนาของเขาและทำตามความปรารถนาของตนเอง ดังนั้นเขาจะไม่ยอมจำนนต่อบทบัญญัติของอัลลอฮ์ และแท้จริงการเปลี่ยนจากกิบลัตแรกนั้น เป็นเรื่องใหญ่ นอกจากแก่บรรดาผู้ที่อัลลอฮ์ได้ทรงให้ความง่ายดายเพื่อปฏิบัติตามเท่านั้น และสิ่งที่ได้บัญญัติแก่บ่าวของพระองค์นั้นได้บัญญัติเพื่อเป็นการตัดสินและอัลลอฮ์จะไม่ปล่อยให้การศรัทธาของพวกเจ้าสูญเปล่า เช่นการละหมาดของพวกเจ้าที่ได้ละหมาดไว้ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงกิบลัต แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงกรุณา ทรงเมตตาแก่มนุษย์เสมอ ไม่ได้เป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขา และผลบุญที่พวกเขาได้ปฏิบัติก็ไม่ได้สูญหายไป
التفاسير العربية:
قَدۡ نَرَىٰ تَقَلُّبَ وَجۡهِكَ فِي ٱلسَّمَآءِۖ فَلَنُوَلِّيَنَّكَ قِبۡلَةٗ تَرۡضَىٰهَاۚ فَوَلِّ وَجۡهَكَ شَطۡرَ ٱلۡمَسۡجِدِ ٱلۡحَرَامِۚ وَحَيۡثُ مَا كُنتُمۡ فَوَلُّواْ وُجُوهَكُمۡ شَطۡرَهُۥۗ وَإِنَّ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡكِتَٰبَ لَيَعۡلَمُونَ أَنَّهُ ٱلۡحَقُّ مِن رَّبِّهِمۡۗ وَمَا ٱللَّهُ بِغَٰفِلٍ عَمَّا يَعۡمَلُونَ
โอ้ นบีเอ๋ย แท้จริงเราเห็นใบหน้าของเจ้าแหงนขึ้นสู่ฟากฟ้า เพื่อติดตามและรอคอยการลงมาของวะห์ยูในเรื่องของการเปลี่ยนกิบลัตให้เป็นไปตามที่เจ้าต้องการ ดังนั้นแน่นอนเราจะอนุญาตให้เจ้าหันหน้าไปยังกิบลัตตามที่เจ้าพอใจและชื่นชอบ นั่นคือบัยตุลลอฮฺ อัล-ฮะรอม แทนจากกิบลัตเดิมบัยตุล อัล-มักดิสในตอนนี้เลย ดังนั้นจงหันหน้าของเจ้าไปทางบัยตุลลอฮฺ อัล-ฮะรอม ที่มักกะ อัล-มุกัรเราะมะฮฺเถิด และที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าปรากฏอยู่ -โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย- ก็จงหันหน้าไปทางบัยตุลลอฮฺ อัล-ฮะรอมในตอนที่พวกเจ้าจะทำการละหมาด และแท้จริงบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ ที่เป็นชาวยิวและคริสเตียนนั้นย่อมรู้ดีถึงการเปลี่ยนแปลงกิบลัตนี้ ว่ามันคือความจริงที่มาจากพระผู้ทรงสร้างผู้ทรงจัดการทุกการงานของพวกเขา เนื่องจากได้มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ของพวกเขา และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงเฉยเมยถึงการกระทำของผู้ปฏิเสธสัจธรรมที่ได้กระทำไว้ แต่พระองค์ผู้มหาบริสุทธิ์นั้นทรงรอบรู้ถึงสิ่งนั้น และจะตอบแทนการกระทำของพวกเขา
التفاسير العربية:
وَلَئِنۡ أَتَيۡتَ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡكِتَٰبَ بِكُلِّ ءَايَةٖ مَّا تَبِعُواْ قِبۡلَتَكَۚ وَمَآ أَنتَ بِتَابِعٖ قِبۡلَتَهُمۡۚ وَمَا بَعۡضُهُم بِتَابِعٖ قِبۡلَةَ بَعۡضٖۚ وَلَئِنِ ٱتَّبَعۡتَ أَهۡوَآءَهُم مِّنۢ بَعۡدِ مَا جَآءَكَ مِنَ ٱلۡعِلۡمِ إِنَّكَ إِذٗا لَّمِنَ ٱلظَّٰلِمِينَ
โอ้ นบีเอ๋ย ขอสาบานถ้าหากเจ้าได้นำหลักฐานทุกอย่างมาแสดงแก่บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ เช่นยิวและคริสต์ที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงกิบลัตนั้นเป็นความจริง พวกเขาก็จะไม่ตามกิบลัตของเจ้าเนื่องด้วยความดื้อรั้นต่อการที่จะรับสิ่งที่เจ้านำมาและยะโสเกินไปที่จะทำตามความจริง และเจ้าก็จะไม่เป็นผู้ที่หันไปตามกิบลัตของพวกเขาหลังจากที่อัลลอฮ์ได้เปลี่ยนทิศทางของกิบลัตแล้ว และบางกลุ่มในพวกเขาเองก็มิใช่จะเป็นผู้ตามกิบลัตของอีกบางกลุ่ม เพราะในกลุ่มพวกเขานั้นก็ปฏิเสธกลุ่มอื่นๆและถ้าหากเจ้าไปปฏิบัติตามความต้องการของพวกเขาในเรื่องของกิบลัตและเรื่องอื่นๆจากบทบัญญัติและหุก่มต่างๆหลังจากความรู้ที่สัจจริงและถูกต้องมายังเจ้าโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ แท้จริงแล้วเจ้า ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะอยู่ในหมู่ผู้อธรรมที่ละทิ้งทางที่ถูกต้อง และปฏิบัติตามความต้องการของตนเอง และคำดำรัสนี้เจาะจงสำหรับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ที่บอกถึงความน่ารังเกียจในการทำตามพวกเขา และถ้าไม่เช่นนั้น(เจ้าอาจทำแบบนั้น)ดังนั้นแท้จริงอัลลอฮ์ได้ทรงปกป้องนบีของพระองค์ให้ห่างไกลจากสิ่งนั้น และนบีก็ได้ห้ามประชาชาติของเขาที่มาหลังจากเขา
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• أن الاعتراض على أحكام الله وشرعه والتغافل عن مقاصدها دليل على السَّفَه وقلَّة العقل.
แท้จริงการคัดค้านบทบัญญัติของอัลลอฮ์และกฎหมายของพระองค์และละเลยต่อเจนตนารมณ์ของมัน เป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกถึงความโง่เขลาและความอ่อนด้อยทางปัญญา

• فضلُ هذه الأمة وشرفها، حيث أثنى عليها الله ووصفها بالوسطية بين سائر الأمم.
ประชาชาตินี้เป็นประชาชาติที่มีความประเสริฐและมีเกียรติ ซึ่งอัลลอฮ์ทรงยกย่องและได้ทรงชมเชยว่าเป็นประชาชาติสายกลางเมื่อเทียบกับประชาชาติอื่น

• التحذير من متابعة أهل الكتاب في أهوائهم؛ لأنهم أعرضوا عن الحق بعد معرفته.
ตักเตือนให้ห่างไกลจากการปฏิบัติตามผู้ได้รับคัมภีร์ต่อความปรารถนาของพวกเขาเพราะพวกเขาหันหลังต่อความจริงหลังจากที่ได้รู้ถึงมัน

• جواز نَسْخِ الأحكام الشرعية في الإسلام زمن نزول الوحي، حيث نُسِخَ التوجه إلى بيت المقدس، وصار إلى المسجد الحرام.
อนุญาตให้มีการยกเลิกบทบัญญัติต่างๆของอิสลามในช่วงเวลาที่วะห์ยูถูกประทานลงมา โดยยกเลิกจากที่หันไปทางบัยตุล อัล-มักดิส สู่มัสยิด อัล-ฮะรอม

ٱلَّذِينَ ءَاتَيۡنَٰهُمُ ٱلۡكِتَٰبَ يَعۡرِفُونَهُۥ كَمَا يَعۡرِفُونَ أَبۡنَآءَهُمۡۖ وَإِنَّ فَرِيقٗا مِّنۡهُمۡ لَيَكۡتُمُونَ ٱلۡحَقَّ وَهُمۡ يَعۡلَمُونَ
บรรดาผู้ที่เราได้ประทานคัมภีร์แก่พวกเขานั้น ที่เป็นผู้รู้ของชาวยิวและคริสต์ พวกเขาย่อมรู้ดีถึงเรื่องราวของการเปลี่ยนทิศทางของกิบลัตซึ่งเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งชี้ถึงการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอลัยฮิวะซัลลัม พวกเขารู้เหมือนกับที่พวกเขารู้จักลูกๆ ของเขาเองซึ่งพวกเขาสามารถแยกแยะระหว่างลูกๆออกจากคนอื่นๆ อย่างไรก็ตามแท้จริงกลุ่มหนึ่งจากพวกเขาได้ปิดบังความจริงที่นบีได้นำมา เพราะความอิจฉาที่มีอยู่ในตัวของพวกเขา พวกเขายอมปกปิดความจริง ทั้งๆ ที่พวกเขารู้ว่ามันคือความจริง
التفاسير العربية:
ٱلۡحَقُّ مِن رَّبِّكَ فَلَا تَكُونَنَّ مِنَ ٱلۡمُمۡتَرِينَ
โอ้ เราะสูลเอ๋ย ความจริงนั้นมาจากพระผู้อภิบาลของเจ้า ดังนั้นเจ้าอย่าได้อยู่ในหมู่ผู้สงสัยในความถูกต้องของมันเป็นอันขาด
التفاسير العربية:
وَلِكُلّٖ وِجۡهَةٌ هُوَ مُوَلِّيهَاۖ فَٱسۡتَبِقُواْ ٱلۡخَيۡرَٰتِۚ أَيۡنَ مَا تَكُونُواْ يَأۡتِ بِكُمُ ٱللَّهُ جَمِيعًاۚ إِنَّ ٱللَّهَ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٞ
และสำหรับแต่ละประชาชาตินั้น ต่างก็มีทิศทางที่เป็นกิบลัตที่เป็นของตัวเอง ซึ่งพวกเขาจะผินไปสู่กิบลัตนั้นทั้งทั้งในแบบรูปธรรมและนามธรรม และจากตรงนี้ ทำให้เกิดความแตกต่างของแต่ละประชาชาติในเรื่องกิบลัตและสิ่งต่างๆที่อัลลอฮ์ได้บัญญัติไว้ให้พวกเขา การมีทิศทางหรือมีกิบลัตที่แตกต่างกันไม่ได้เป็นปัญหาใดๆ หากทิศทางเหล่านั้นมาจากคำสั่งของอัลลอฮ์และเป็นบทบัญญัติจากพระองค์ ดังนั้น -โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลายเอ๋ย- พวกเจ้าจงแข่งขันกันในการทำความดีที่อัลลอฮ์สั่งให้พวกเจ้าทำเถิด และในวันกิยามะฮ์อัลลอฮ์ก็จะทรงนำพวกเจ้ามารวมตัวกันทั้งหมดในที่เดียวกัน ไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม เพื่อจะให้ผลตอบแทนในการงานของพวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง อัลลอฮ์จะไม่ไร้ซึ่งความสามารถที่จะรวบรวมและตอบแทนพวกเจ้า
التفاسير العربية:
وَمِنۡ حَيۡثُ خَرَجۡتَ فَوَلِّ وَجۡهَكَ شَطۡرَ ٱلۡمَسۡجِدِ ٱلۡحَرَامِۖ وَإِنَّهُۥ لَلۡحَقُّ مِن رَّبِّكَۗ وَمَا ٱللَّهُ بِغَٰفِلٍ عَمَّا تَعۡمَلُونَ
โอ้ นบีเอ๋ย ที่ใดก็ตามที่เจ้าได้ออกไป และที่ใดที่เจ้าปรากฏอยู่ เจ้าและผู้ที่ตามเจ้า เมื่อต้องการที่จะทำการละหมาด ก็จงผินหน้าของเจ้าไปทางอัล-มัสยิดิลฮะรอม และแท้จริงนั้น มันคือความจริงที่มาจากพระผู้อภิบาลของเจ้า และอัลลอฮ์นั้นไม่เป็นผู้ทรงเผลอในสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำกัน แต่พระองค์ทรงรอบรู้และจะตอบแทนพวกเจ้า
التفاسير العربية:
وَمِنۡ حَيۡثُ خَرَجۡتَ فَوَلِّ وَجۡهَكَ شَطۡرَ ٱلۡمَسۡجِدِ ٱلۡحَرَامِۚ وَحَيۡثُ مَا كُنتُمۡ فَوَلُّواْ وُجُوهَكُمۡ شَطۡرَهُۥ لِئَلَّا يَكُونَ لِلنَّاسِ عَلَيۡكُمۡ حُجَّةٌ إِلَّا ٱلَّذِينَ ظَلَمُواْ مِنۡهُمۡ فَلَا تَخۡشَوۡهُمۡ وَٱخۡشَوۡنِي وَلِأُتِمَّ نِعۡمَتِي عَلَيۡكُمۡ وَلَعَلَّكُمۡ تَهۡتَدُونَ
และไม่ว่าสถานที่ใดที่เจ้าได้ออกไป -โอ้ท่านนบีเอ๋ย- และเจ้าต้องการทำละหมาด ก็จงผินหน้าของเจ้าไปทาง มัสยิด อัล-ฮะรอม และที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าปรากฏอยู่ -โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลายเอ๋ย- ก็จงผินหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศนั้นเช่นกัน เมื่อพวกเจ้าต้องการทำการละหมาด เพื่อที่ว่าผู้คนจะได้ไม่มีข้อโต้แย้งอันใดต่อพวกเจ้า นอกจากบรรดาผู้อธรรมในหมู่ของพวกเขาเท่านั้น ซึ่งแท้จริงแล้วพวกเขานั้นจะคงอยู่ด้วยความดื้อรั้นของพวกเขา และพวกเขานั้นต้องการข้อโต้แย้งพวกเจ้าอย่างถึงที่สุด ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่ากลัวพวกเขา แต่จงกลัวพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า เพียงองค์เดียวเถิด ด้วยการทำตามคำสั่งของพระองค์และห่างไกลจากข้อห้ามของพระองค์ และแท้จริงแล้วอัลลอฮ์ได้บัญญัติให้ผินหน้าไปทาง อัล-กะอ์บะฮ์ เพื่อที่พระองค์จะได้ให้ความกรุณาของพระองค์แก่พวกเจ้าอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยการแยกพวกเจ้าออกจากประชาชาติอื่น และเพื่อชี้นำพวกเจ้าสู่กิบละฮ์ที่ประเสริฐที่สุดสำหรับมวลมนุษย์ทั้งหลาย
التفاسير العربية:
كَمَآ أَرۡسَلۡنَا فِيكُمۡ رَسُولٗا مِّنكُمۡ يَتۡلُواْ عَلَيۡكُمۡ ءَايَٰتِنَا وَيُزَكِّيكُمۡ وَيُعَلِّمُكُمُ ٱلۡكِتَٰبَ وَٱلۡحِكۡمَةَ وَيُعَلِّمُكُم مَّا لَمۡ تَكُونُواْ تَعۡلَمُونَ
ดังที่เราได้ประทานความโปรดปรานให้แก่พวกเจ้า ด้วยการส่งเราะสูลท่านหนึ่ง มายังพวกเจ้าที่มาจากพวกเจ้าเอง เขาจะอ่านบรรดาโองการของเราให้พวกเจ้าฟัง และจะทำการขัดเกลาพวกเจ้าให้บริสุทธิ์สะอาดด้วยการสั่งใช้พวกเจ้ากระทำในสิ่งที่เป็นคุณธรรมและความดี และด้วยการห้ามพวกเจ้าจากสิ่งที่เป็นความชั่วและสิ่งไม่ดีต่างๆ และสอนอัลกุรอานและซุนนะฮ์แก่พวกเจ้า และสอนพวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าไม่เคยรู้มาก่อน ทั้งในเรื่องศาสนาและทางโลกของพวกเจ้า
التفاسير العربية:
فَٱذۡكُرُونِيٓ أَذۡكُرۡكُمۡ وَٱشۡكُرُواْ لِي وَلَا تَكۡفُرُونِ
ดังนั้นพวกเจ้าจงรำลึกถึงข้าด้วยหัวใจและร่างกายของพวกเจ้าเถิด ข้าก็จะรำลึกถึงพวกเจ้าด้วยการยกย่องและปกป้องพวกเจ้า เพราะผลตอบแทนนั้นขึ้นอยู่กับการกระทำ และจงขอบคุณข้าในความกรุณาของข้าที่ได้มอบแก่พวกเจ้าเถิด และจงอย่าเนรคุณต่อข้าด้วยการปฏิเสธต่อสิ่งที่ข้าได้โปรดปรานให้แก่พวกเจ้า และใช้มันในสิ่งที่ข้าได้ห้ามต่อพวกเจ้า
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱسۡتَعِينُواْ بِٱلصَّبۡرِ وَٱلصَّلَوٰةِۚ إِنَّ ٱللَّهَ مَعَ ٱلصَّٰبِرِينَ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงอาศัยความอดทนและการละหมาดในการยืนหยัดเชื่อฟังข้าและการจำนนต่อคำสั่งของข้า แท้จริงอัลลอฮ์จะทรงอยู่ร่วมกับผู้อดทนทั้งหลาย ให้ความง่ายดายแก่พวกเขา และช่วยเหลือพวกเขา
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• إطالة الحديث في شأن تحويل القبلة؛ لما فيه من الدلالة على نبوة محمد صلى الله عليه وسلم.
การได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทิศทางของกิบลัตอย่างยืดยาว เพราะในเรื่องนั้นมีหลักฐานที่บ่งบอกถึงการเป็นศาสนทูตของมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอลัยฮิวะซัลลัม

• ترك الجدال والاشتغالُ بالطاعات والمسارعة إلى الله أنفع للمؤمن عند ربه يوم القيامة.
การละทิ้งการโต้เถียงและทุ่มเทในการปฏิบัติศาสนกิจและรีบเร่งไปยังอัลลอฮ์นั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่าสำหรับผู้ศรัทธา ณ พระผู้อภิบาลของเขาในวันกิยามะฮ์

• أن الأعمال الصالحة الموصلة إلى الله متنوعة ومتعددة، وينبغي للمؤمن أن يسابق إلى فعلها؛ طلبًا للأجر من الله تعالى.
แท้จริงการงานที่ดี ๆ ทั้งหลายที่นำไปสู่อัลลอฮ์นั้น มีมากมายหลายชนิดและสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ศรัทธาจะต้องแข่งขันกันทำมันเพื่อแสวงหาผลบุญจากอัลลอฮ์ ตะอาลา

• عظم شأن ذكر الله -جلّ وعلا- حيث يكون ثوابه ذكر العبد في الملأ الأعلى.
สถานะของการรำลึกถึงอัลลอฮ์นั้นยิ่งใหญ่มาก เพราะผลตอบแทนของมันนั้นคืออัลลอฮ์จะรำลึกถึงเขาต่อหน้าบรรดามลาอิกะฮ์

وَلَا تَقُولُواْ لِمَن يُقۡتَلُ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ أَمۡوَٰتُۢۚ بَلۡ أَحۡيَآءٞ وَلَٰكِن لَّا تَشۡعُرُونَ
โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่ากล่าวแก่บรรดาผู้ที่ถูกฆ่าในการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ว่า พวกเขานั้นตายเหมือนคนทั่วๆไปที่ตายกัน แต่ความจริงแล้วพวกเขายังมีชีวิตอยู่ต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขา แต่พวกเจ้าไม่รู้ถึงการมีชีวิตของพวกเขา เพราะเป็นการมีชีวิตเฉพาะ โดยไม่สามารถรับรู้ได้นอกจากด้วยวิวรณ์(วะห์ยู)จากอัลลอฮ์
التفاسير العربية:
وَلَنَبۡلُوَنَّكُم بِشَيۡءٖ مِّنَ ٱلۡخَوۡفِ وَٱلۡجُوعِ وَنَقۡصٖ مِّنَ ٱلۡأَمۡوَٰلِ وَٱلۡأَنفُسِ وَٱلثَّمَرَٰتِۗ وَبَشِّرِ ٱلصَّٰبِرِينَ
และแน่นอน เราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยความหลากหลายแห่งความทุกข์ยาก ด้วยบางสิ่งที่เป็นความกลัวจากศัตรูของพวกเจ้า และความหิวโหยเพราะการขาดแคลนอาหาร และด้วยความสูญเสียในทรัพย์สิน หรือความยากลำบากในการที่จะได้มัน และการสูญเสียชีวิตจากโรคร้ายที่สามารถคร่าชีวิตผู้คนได้ หรือการเสียชีวิตจากการออกรบในหนทางของอัลลอฮ์ และการสูญเสียพืชผลที่เติบโตจากพื้นดิน โอ้ นบีเอ๋ย จงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่อดทนจากความทุกข์ยากเหล่านั้น ด้วยสิ่งที่ทำให้พวกเขามีความสุขสบายทั้งในโลกนี้และในวันอาคิเราะฮ์
التفاسير العربية:
ٱلَّذِينَ إِذَآ أَصَٰبَتۡهُم مُّصِيبَةٞ قَالُوٓاْ إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّآ إِلَيۡهِ رَٰجِعُونَ
คือบรรดาผู้ที่เมื่อมีเคราะห์ร้ายมาประสบแก่พวกเขาจากภัยพิบัติต่างๆ พวกเขาจะกล่าวด้วยการยินยอมและยอมรับว่า แท้จริงเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ซึ่งเป็นเรื่องของพระองค์ที่จะกระทำต่อเราตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และแท้จริงเราจะกลับไปยังพระองค์ในวันกิยามะฮ์ และพระองค์คือผู้สร้างเราและได้ประทานความโปรดปรานต่างๆแก่เรา และแด่พระองค์ที่เราต้องกลับไปและเป็นที่สิ้นสุดของกิจการของเรา
التفاسير العربية:
أُوْلَٰٓئِكَ عَلَيۡهِمۡ صَلَوَٰتٞ مِّن رَّبِّهِمۡ وَرَحۡمَةٞۖ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُهۡتَدُونَ
กลุ่มชนที่มีคุณลักษณะแบบนี้ พวกเขาจะได้รับคำชมเชยจากอัลลอฮ์ต่อหน้าบรรดามลาอิกะฮ์ และความเมตตาจะประสบแด่พวกเขา และกลุ่มชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่ได้รับการชี้นำสู่แนวทางที่ถูกต้อง
التفاسير العربية:
۞ إِنَّ ٱلصَّفَا وَٱلۡمَرۡوَةَ مِن شَعَآئِرِ ٱللَّهِۖ فَمَنۡ حَجَّ ٱلۡبَيۡتَ أَوِ ٱعۡتَمَرَ فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡهِ أَن يَطَّوَّفَ بِهِمَاۚ وَمَن تَطَوَّعَ خَيۡرٗا فَإِنَّ ٱللَّهَ شَاكِرٌ عَلِيمٌ
แท้จริงแล้วภูเขาสองลูกที่เป็นที่รู้จักกันว่า ภูเขาเศาะฟา และภูเขามัรวะฮ์นั้นอยู่ใกล้กะอ์บะฮ์ เป็นหนึ่งในบรรดาสัญลักษณ์ต่างๆของอิสลามที่ชัดแจ้ง ดังนั้นผู้ใดประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ อุมเราะฮآ ณ บัยตุลลอฮ์ก็ไม่มีบาปใดๆแก่เขาทีจะเดินวนไปมาระหว่างเนินเขาทั้งสอง และความหมายของการปฏิเสธบาปในที่นี้ ก็เพื่อสร้างความมั่นใจแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่รู้สึกไม่สบายใจ โดยเชื่อว่าการเดินวนไปมาระหว่างสองเนินเขานั้นเป็นพิธีกรรมของพวกญาฮิลียะฮ์ และอัลลอฮ์ทรงชี้แจงว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของพิธีฮัจญ์ และผู้ใดประกอบความดีโดยสมัครใจด้วยความบริสุทธิ์ใจแล้ว แน่นอนอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงขอบคุณแก่เขา ตอบรับความดีจากเขา และตอบแทนในความดีของเขา และผู้ทรงรอบรู้ว่าใครที่ทำดีและสมควรที่จะได้รับผลตอบแทน
التفاسير العربية:
إِنَّ ٱلَّذِينَ يَكۡتُمُونَ مَآ أَنزَلۡنَا مِنَ ٱلۡبَيِّنَٰتِ وَٱلۡهُدَىٰ مِنۢ بَعۡدِ مَا بَيَّنَّٰهُ لِلنَّاسِ فِي ٱلۡكِتَٰبِ أُوْلَٰٓئِكَ يَلۡعَنُهُمُ ٱللَّهُ وَيَلۡعَنُهُمُ ٱللَّٰعِنُونَ
แท้จริงบรรดาชาวยิวและคริสต์ที่ปกปิดหลักฐานอันชัดเจนที่เราได้ประทานลงมาที่บ่งบอกถึงความสัจจริงของท่านนบีและสิ่งที่ท่านได้นำมา หลังจากที่เราได้ชี้แจงมันไว้แล้วในคัมภีร์ของพวกเขาแก่มนุษย์ ชนเหล่านี้ อัลลอฮ์จะทรงขับไล่พวกเขาให้พ้นจากความเมตตาของพระองค์ และบรรดามลาอิกะฮ์ บรรดานบี และมนุษย์ทั้งหมดจะสาปแช่งพวกเขาให้พ้นจากความเมตตาของพระองค์
التفاسير العربية:
إِلَّا ٱلَّذِينَ تَابُواْ وَأَصۡلَحُواْ وَبَيَّنُواْ فَأُوْلَٰٓئِكَ أَتُوبُ عَلَيۡهِمۡ وَأَنَا ٱلتَّوَّابُ ٱلرَّحِيمُ
นอกจากผู้ที่สำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัว ที่ปกปิดหลักฐานอันชัดเจนไว้ และปรับปรุงแก้ไขการกระทำของพวกเขาทั้งทางกายและใจ และชี้แจงสิ่งที่ปกปิดไว้ว่าเป็นความจริงและทางที่ถูกต้อง ชนเหล่านี้ข้าจะอภัยโทษให้แก่พวกเขา และข้าคือผู้อภัยโทษต่อบ่าวที่กลับเนื้อกลับตัว และเมตตาต่อพวกเขาเสมอ
التفاسير العربية:
إِنَّ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ وَمَاتُواْ وَهُمۡ كُفَّارٌ أُوْلَٰٓئِكَ عَلَيۡهِمۡ لَعۡنَةُ ٱللَّهِ وَٱلۡمَلَٰٓئِكَةِ وَٱلنَّاسِ أَجۡمَعِينَ
แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาและเมื่อพวกเขาได้เสียชีวิตลง ในสภาพที่พวกเขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา ก่อนที่พวกเขาจะกลับเนื้อกลับตัว พวกเขาเหล่านี้จะได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮ์ด้วยการขับไล่ให้พ้นจากความเมตตาของพระองค์ และจะได้รับการสาปแช่ง จากบรรดามลาอิกะฮ์ และมนุษย์ทั้งมวลให้พ้นและห่างไกลจากความเมตตาของอัลลอฮ์
التفاسير العربية:
خَٰلِدِينَ فِيهَا لَا يُخَفَّفُ عَنۡهُمُ ٱلۡعَذَابُ وَلَا هُمۡ يُنظَرُونَ
พวกเขาจะคงอยู่ในสภาพของการถูกสาปแช่งนั้นตลอดไป โดยที่การลงโทษนั้นจะไม่ถูกลดหย่อนแก่ตัวพวกเขา แม้จะวันเดียวก็ตาม และพวกเขาก็จะไม่ถูกรั้งรอ (ในการลงโทษ)ในวันกิยามะฮ์
التفاسير العربية:
وَإِلَٰهُكُمۡ إِلَٰهٞ وَٰحِدٞۖ لَّآ إِلَٰهَ إِلَّا هُوَ ٱلرَّحۡمَٰنُ ٱلرَّحِيمُ
และพระเจ้าที่พวกเจ้าควรเคารพสักการะอย่างแท้จริง -โอ้ มนุษย์เอ๋ย- มีเพียงองค์เดียวเท่านั้น มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งตัวตนและคุณลักษณะ ไม่มีพระเจ้าใดที่ควรแก่การเคารพสักการะ นอกจากพระองค์ ผู้ทรงกรุณาปรานีที่กว้างขวาง ผู้ทรงเมตตาบ่าวของพระองค์ โดยการให้ความโปรดปรานพวกเขาที่ไม่สามารถจะคำนวณได้
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• الابتلاء سُنَّة الله تعالى في عباده، وقد وعد الصابرين على ذلك بأعظم الجزاء وأكرم المنازل.
การทดสอบคือกฎเกณฑ์ของอัลลอฮ์ ตะอาลา ต่อบ่าวของพระองค์ และแท้จริงแล้วอัลลอฮ์ได้สัญญากับผู้ที่อดทนต่อการทดสอบนั้นด้วยผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่และที่มีเกียรติที่สุด

• مشروعية السعي بين الصفا والمروة لمن حج البيت أو اعتمر.
การเดินวนไปมาระหว่างภูเขาเศาะฟา และมัรวะฮฺนั้นเป็นบทบัญญัติที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์

• من أعظم الآثام وأشدها عقوبة كتمان الحق الذي أنزله الله، والتلبيس على الناس، وإضلالهم عن الهدى الذي جاءت به الرسل.
การปกปิดความจริงที่อัลลอฮ์ทรงประทานลงมาและการสร้างความครุมเครือแก่มนุษย์ และทำให้พวกเขาหลงจากทางที่ถูกต้องเที่ยงตรงที่บรรดาเราะสูลได้นำมานั้น ถือว่าเป็นบาปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและการลงโทษที่รุนแรงที่สุด

إِنَّ فِي خَلۡقِ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ وَٱخۡتِلَٰفِ ٱلَّيۡلِ وَٱلنَّهَارِ وَٱلۡفُلۡكِ ٱلَّتِي تَجۡرِي فِي ٱلۡبَحۡرِ بِمَا يَنفَعُ ٱلنَّاسَ وَمَآ أَنزَلَ ٱللَّهُ مِنَ ٱلسَّمَآءِ مِن مَّآءٖ فَأَحۡيَا بِهِ ٱلۡأَرۡضَ بَعۡدَ مَوۡتِهَا وَبَثَّ فِيهَا مِن كُلِّ دَآبَّةٖ وَتَصۡرِيفِ ٱلرِّيَٰحِ وَٱلسَّحَابِ ٱلۡمُسَخَّرِ بَيۡنَ ٱلسَّمَآءِ وَٱلۡأَرۡضِ لَأٓيَٰتٖ لِّقَوۡمٖ يَعۡقِلُونَ
แท้จริงในการสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินและสิ่งที่มีอยู่ในชั้นฟ้าและแผ่นดินที่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆแห่งการสร้าง และในการสับเปลี่ยนกลางคืนและกลางวัน และการแล่นของเรือในท้องทะเลที่บันทุกสิ่งอำนวยประโยชน์ต่างๆแก่มนุษย์ เช่นอาหาร เสื้อผ้าและการค้าขายและสิ่งอื่นที่จำเป็น และอัลลอฮ์ได้ทรงให้น้ำฝนได้หลั่งลงมาจากฟากฟ้า และพระองค์ได้ทรงทำให้พืชผลและดอกหญ้าต่างๆได้งอกเงยขึ้นมาหลังจากที่มันตายไปแล้ว และทรงแพร่ขยายสัตว์ทุกชนิดให้กระจายออกไปในแผ่นดิน และให้ลมได้เปลี่ยนจากทิศหนึ่งไปสู่อีกทิศหนึ่ง และให้เมฆได้ล่องลอยระหว่างฟากฟ้าและแผ่นดิน แน่นอนทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสัญญาณที่ชัดแจ้งในความเป็นเอกภาพของพระองค์แก่ผู้ที่ใช้สติปัญญาในการเข้าถึงข้อพิสูจน์ต่างๆและเข้าใจในหลักฐานและสัญญานต่างๆ
التفاسير العربية:
وَمِنَ ٱلنَّاسِ مَن يَتَّخِذُ مِن دُونِ ٱللَّهِ أَندَادٗا يُحِبُّونَهُمۡ كَحُبِّ ٱللَّهِۖ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ أَشَدُّ حُبّٗا لِّلَّهِۗ وَلَوۡ يَرَى ٱلَّذِينَ ظَلَمُوٓاْ إِذۡ يَرَوۡنَ ٱلۡعَذَابَ أَنَّ ٱلۡقُوَّةَ لِلَّهِ جَمِيعٗا وَأَنَّ ٱللَّهَ شَدِيدُ ٱلۡعَذَابِ
ถึงแม้จะมีสัญญาณอันชัดแจ้งมาแสดงถึงความเป็นหนึ่งของอัลลอฮฺแล้วก็ตาม ในหมู่มนุษย์ก็ยังมีผู้ยึดถือผู้อื่นเป็นพระเจ้านอกจากอัลลอฮฺ ทำให้พวกเขานั้นเทียบเคียงกับอัลลอฮฺ ตะลาอา ซึ่งพวกเขารักมัน เช่นเดียวกับรักอัลลอฮฺ แต่บรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นผู้ที่รักอัลลอฮฺมากยิ่งกว่าเขาเหล่านั้นที่มีต่อสิ่งที่พวกเขาเคารพสักการะ เพราะพวกเขาไม่ตั้งภาคีกับอัลลอฮฺแม้แต่ผู้เดียว และพวกเขารักอัลลอฮฺทั้งยามสุขและยามทุกข์ และส่วนชนเหล่านั้น พวกเขารักพระเจ้าของพวกเขาเฉพาะยามสุข ส่วนยามทุกข์พวกเขาก็จะไม่ขอผู้อื่นเว้นเสียจากอัลลอฮฺ ถ้าหากบรรดาผู้อธรรมด้วยการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ และทำชั่ว ได้เห็นสถานการณ์ของพวกเขาในวันอาคิเราะฮฺเมื่อพวกเขาเห็นการลงโทษต่อหน้าเขา แน่นอนพวกเขาจะต้องตระหนักดีว่า อัลลอฮฺองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงเดชานุภาพทั้งหมด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงลงโทษที่รุนแรงสำหรับใครที่ไม่ทำตามพระองค์ ถ้าหากพวกเขาได้เห็นสิ่งนั้นแล้วพวกเขาจะไม่ตั้งภาคีกับอัลลอฮฺเลย
التفاسير العربية:
إِذۡ تَبَرَّأَ ٱلَّذِينَ ٱتُّبِعُواْ مِنَ ٱلَّذِينَ ٱتَّبَعُواْ وَرَأَوُاْ ٱلۡعَذَابَ وَتَقَطَّعَتۡ بِهِمُ ٱلۡأَسۡبَابُ
และขณะที่บรรดาหัวหน้าได้ปลีกตัวออกจากบรรดาผู้ที่อ่อนแอที่เป็นผู้ตาม หลังจากที่พวกเขา(ทั้งสองฝ่าย)ได้เห็นถึงความน่าสะพรึงกลัวของวันกิยามะฮ์และความรุนแรงของมัน และแท้จริงแล้วความเกี่ยวข้องกันของพวกเขาจะถูกตัดขาดทั้งหมดที่เป็นสาเหตุและวิธีการแห่งการรอดปลอดภัย
التفاسير العربية:
وَقَالَ ٱلَّذِينَ ٱتَّبَعُواْ لَوۡ أَنَّ لَنَا كَرَّةٗ فَنَتَبَرَّأَ مِنۡهُمۡ كَمَا تَبَرَّءُواْ مِنَّاۗ كَذَٰلِكَ يُرِيهِمُ ٱللَّهُ أَعۡمَٰلَهُمۡ حَسَرَٰتٍ عَلَيۡهِمۡۖ وَمَا هُم بِخَٰرِجِينَ مِنَ ٱلنَّارِ
และบรรดาผู้ที่อ่อนแอและผู้ที่ตามได้กล่าวว่า "หากว่าเรามีโอกาสกลับไปดุนยาอีกครั้งหนึ่ง เราก็จะปลีกตัวออกจากหัวหน้าของเราบ้าง เช่นเดียวกับที่พวกเขาได้ปลีกตัวออกจากพวกเรา และเช่นเดียวกันอัลลอฮ์ให้พวกเขาได้เห็นบทลงโทษที่รุนแรงในวันอาคิเราะฮ์ ที่ทำให้พวกเขาต้องรู้สึกผิดและเศร้าโศกซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติตามต่อผู้นำของพวกเขาในสิ่งที่ผิดๆ และพวกเขาไม่สามารถที่จะออกจากไฟนรกได้
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ كُلُواْ مِمَّا فِي ٱلۡأَرۡضِ حَلَٰلٗا طَيِّبٗا وَلَا تَتَّبِعُواْ خُطُوَٰتِ ٱلشَّيۡطَٰنِۚ إِنَّهُۥ لَكُمۡ عَدُوّٞ مُّبِينٌ
โอ้ มนุษย์เอ๋ย! จงบริโภคสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน เช่น สัตว์ พืช และต้นไม้ที่เป็นที่อนุมัติและเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์และไม่เป็นโทษ และพวกเจ้าจงอย่าตามทุกย่างก้าวของชัยฏอนที่จะคอยดึงพวกเจ้าไว้ แท้จริงมันคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า จะไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับผู้มีสติที่จะตามศัตรูของเขาที่คอยจะทำร้ายเขาและให้เขาหลงผิด
التفاسير العربية:
إِنَّمَا يَأۡمُرُكُم بِٱلسُّوٓءِ وَٱلۡفَحۡشَآءِ وَأَن تَقُولُواْ عَلَى ٱللَّهِ مَا لَا تَعۡلَمُونَ
ที่จริงแล้วมันจะใช้พวกเจ้าให้ประกอบสิ่งชั่วที่เป็นบาปต่างๆและเป็นบาปใหญ่ และจะใช้พวกเจ้ากล่าวความเท็จให้แก่อัลลอฮ์ในเรื่องของหลักการศรัทธาและหลักปฏิบัติต่างๆโดยที่พวกเจ้าไม่รู้ที่มาจากอัลลอฮ์และเราะสูลของพระองค์
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• المؤمنون بالله حقًّا هم أعظم الخلق محبة لله؛ لأنهم يطيعونه على كل حال في السراء والضراء، ولا يشركون معه أحدًا.
ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ที่แท้จริงคือ ผู้ที่รักอัลลอฮ์มากที่สุดในเหล่าบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เพราะพวกเขาเชื่อฟังพระองค์ในทุกๆสถานการณ์ทั้งยามสุขและยามทุกข์ และไม่ตั้งภาคีกับพระองค์เลย

• في يوم القيامة تنقطع كل الروابط، ويَبْرَأُ كل خليل من خليله، ولا يبقى إلا ما كان خالصًا لله تعالى.
ในวันกิยามะฮ์ทุกความสัมพันธ์จะถูกตัดขาด และเพื่อนทั้งหมดก็จะปลีกตัวออกจากเพื่อนของเขาและไม่มีอะไรเหลืออยู่นนอกจากสิ่งที่ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮ์ ตะอาลาเท่านั้น

• التحذير من كيد الشيطان لتنوع أساليبه وخفائها وقربها من مشتهيات النفس.
ให้ระวังถึงกลลวงของชัยตอนเนื่องด้วยความหลากหลายในวิธีการของมันและความลึกลับของมันและเป็นกลลวงที่ง่ายต่อการตอบสนองต่อความอยากของอารมณ์

وَإِذَا قِيلَ لَهُمُ ٱتَّبِعُواْ مَآ أَنزَلَ ٱللَّهُ قَالُواْ بَلۡ نَتَّبِعُ مَآ أَلۡفَيۡنَا عَلَيۡهِ ءَابَآءَنَآۚ أَوَلَوۡ كَانَ ءَابَآؤُهُمۡ لَا يَعۡقِلُونَ شَيۡـٔٗا وَلَا يَهۡتَدُونَ
และเมื่อได้มีการกล่าวแก่บรรดาผู้ปฏิเสธเหล่านั้นว่า "จงปฏิบัติตามคำบัญชา ที่เป็นแนวทางอันถูกต้องและเป็นแสงสว่าง ที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาเถิด" พวกเขาก็ตอบด้วยความดื้อรั้นว่า "มิได้ เราจะปฏิบัติสิ่งที่เราพบว่าบรรดาบรรพบุรุษของเราเคยปฏิบัติมาเท่านั้นในเรื่องความเชื่อและประเพณี" พวกเขาจะปฏิบัติตามบรรพบุรุษของพวกเขาถึงแม้ว่าบรรพบุรุษของพากเขาไม่เข้าใจเลยว่าอะไรคือทางนำอะไรคือสัจธรรม และไม่ได้รับแนวทางอันถูกต้องที่อัลลอฮ์พึงพอใจกระนั้นหรือ?!
التفاسير العربية:
وَمَثَلُ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ كَمَثَلِ ٱلَّذِي يَنۡعِقُ بِمَا لَا يَسۡمَعُ إِلَّا دُعَآءٗ وَنِدَآءٗۚ صُمُّۢ بُكۡمٌ عُمۡيٞ فَهُمۡ لَا يَعۡقِلُونَ
และอุปมาบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ทำตามบรรพบุรุษของพวกเขานั้น ดั่งคนที่เลี้ยงสัตว์ที่ส่งเสียงตวาดแก่สัตว์ของเขา และมันได้ยินเสียงเขาร้องหรือตะโกนแต่มันไม่เข้าใจ พวกเขาหูหนวกที่จะฟังความจริงที่เกิดประโยชน์ เป็นใบ้ ลิ้นของพวกเขาไม่สามารถพูดสิ่งที่เป็นความจริง ตาบอดจากการมองเห็นสัจธรรม ดังนั้นพวกเขาจึงไม่เข้าใจถึงทางนำอันถูกต้องที่เจ้าได้แนะนำให้กับพวกเขา
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُلُواْ مِن طَيِّبَٰتِ مَا رَزَقۡنَٰكُمۡ وَٱشۡكُرُواْ لِلَّهِ إِن كُنتُمۡ إِيَّاهُ تَعۡبُدُونَ
โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และตามเราะสูลของพระองค์เอ๋ย จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า จากสิ่งดีๆ ทั้งหลายและเป็นที่อนุญาตเถิด และจงขอบคุณอัลลอฮ์ทั้งภายนอกและภายในที่ทรงโปรดปรานแก่พวกเจ้าเถิด และส่วนหนึ่งของการขอบคุณพระองค์คือ การเชื่อฟังพระองค์ การหลีกเลี่ยงทำสิ่งที่ฝ่าฝืนต่อพระองค์ หากเฉพาะพระองค์เท่านั้น ที่พวกเจ้าเคารพสักการะอย่างแท้จริง และไม่ตั้งภาคีใดๆต่อพระองค์
التفاسير العربية:
إِنَّمَا حَرَّمَ عَلَيۡكُمُ ٱلۡمَيۡتَةَ وَٱلدَّمَ وَلَحۡمَ ٱلۡخِنزِيرِ وَمَآ أُهِلَّ بِهِۦ لِغَيۡرِ ٱللَّهِۖ فَمَنِ ٱضۡطُرَّ غَيۡرَ بَاغٖ وَلَا عَادٖ فَلَآ إِثۡمَ عَلَيۡهِۚ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمٌ
แท้จริงแล้วอาหารที่อัลลอฮ์ได้ทรงห้ามพวกเจ้ากินนั้น คือเนื้อสัตว์จากสัตว์ตายเองโดยไม่ได้เชือดตามที่อิสลามได้บัญญัติไว้ และเลือดที่ไหลออกมา และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกกล่าวอุทิศให้นามอื่นไปจากอัลลอฮ์ในขณะเชือด แต่เมื่อมนุษย์ตกอยู่ในสภาวะคับขันที่จะจำเป็นต้องกิน โดยมิได้มีเจตนาที่จะรับประทานเว้นแต่ความจำเป็น และมิใช่เป็นผู้ที่ละเมิดเกินจำเป็น ดังนั้นสำหรับเขาก็ไม่มีบาปและบทลงโทษใดๆ แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอภัยโทษแก่บ่าวของพระองค์ที่กลับเนื้อกลับตัว ผู้ทรงเมตตาต่อพวกเขาเสมอ จากความเมตตาของพระองค์สามารถที่จะรับประทานสิ่งที่ต้องห้ามนี้ในยามคับขันได้
التفاسير العربية:
إِنَّ ٱلَّذِينَ يَكۡتُمُونَ مَآ أَنزَلَ ٱللَّهُ مِنَ ٱلۡكِتَٰبِ وَيَشۡتَرُونَ بِهِۦ ثَمَنٗا قَلِيلًا أُوْلَٰٓئِكَ مَا يَأۡكُلُونَ فِي بُطُونِهِمۡ إِلَّا ٱلنَّارَ وَلَا يُكَلِّمُهُمُ ٱللَّهُ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ وَلَا يُزَكِّيهِمۡ وَلَهُمۡ عَذَابٌ أَلِيمٌ
แท้จริงบรรดาผู้ที่ปกปิดสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ และปกปิดสิ่งที่เป็นหลักฐานที่บอกถึงสัจธรรมและการเป็นศาสนทูตของมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอลัยฮิวะซัลลัม เหมือนที่ชาวยิวและคริสต์ได้กระทำกันและได้นำการปกปิดนั้นเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่มีราคาอันเล็กน้อย เช่นการเป็นผู้นำ หรือชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ชนเหล่านั้นมิได้กินอะไรเข้าไปในท้องของพวกเขาเลย นอกจากเป็นสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาถูกลงโทษด้วยไฟนรก และในวันกิยามะฮ์ อัลลอฮ์จะไม่ทรงพูดกับพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาชอบ แต่ทรงพูดในสิ่งที่ทำให้พวกเขาทุกข์ และจะไม่ทรงทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ และจะไม่ทรงยกย่องพวกเขาและพวกเขาจะได้รับการลงโทษอันแสนทรมาน
التفاسير العربية:
أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ ٱشۡتَرَوُاْ ٱلضَّلَٰلَةَ بِٱلۡهُدَىٰ وَٱلۡعَذَابَ بِٱلۡمَغۡفِرَةِۚ فَمَآ أَصۡبَرَهُمۡ عَلَى ٱلنَّارِ
ชนเหล่านี้ที่ปกปิดความรู้ที่เป็นความต้องการของมนุษย์ พวกเขาคือผู้ที่นำเอาแนวทางที่ถูกต้องไปแลกกับแนวทางที่หลงผิดเมื่อพวกเขาได้ปกปิดความจริง และเอาการอภัยโทษของอัลลอฮ์ไปแลกกับการลงโทษของพระองค์ พวกเขาช่างทนต่อการกระทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุให้พวกเขานั้นตกนรก ราวกับว่าพวกเขาไม่สนใจความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นในนั้นเลยเพราะความอดทนเป็นพิเศษของพวกเขา
التفاسير العربية:
ذَٰلِكَ بِأَنَّ ٱللَّهَ نَزَّلَ ٱلۡكِتَٰبَ بِٱلۡحَقِّۗ وَإِنَّ ٱلَّذِينَ ٱخۡتَلَفُواْ فِي ٱلۡكِتَٰبِ لَفِي شِقَاقِۭ بَعِيدٖ
นั่นคือสิ่งตอบแทนสำหรับการปกปิดความรู้และทางนำที่ถูกต้อง เพราะอัลลอฮ์ได้ส่งคัมภีร์ลงมาด้วยความจริง และสิ่งนี้ควรให้เกิดความกระจ่างและไม่ปกปิดซ่อนเร้น อันที่จริงผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับพระคัมภีร์โดยเชื่อในบางส่วนและปกปิดอีกบางส่วน แน่นอนพวกเขาจะอยู่ในความขัดแย้งที่ห่างไกลจากความจริง
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• أكثر ضلال الخلق بسبب تعطيل العقل، ومتابعة من سبقهم في ضلالهم، وتقليدهم بغير وعي.
การหลงผิดของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะการไม่ใช้สติปัญญาและปฏิบัติตามบรรพบุรุษก่อนหน้าพวกเขาอย่างหลงผิดและเลียนแบบพวกเขาโดยไม่รู้ตัว

• عدم انتفاع المرء بما وهبه الله من نعمة العقل والسمع والبصر، يجعله مثل من فقد هذه النعم.
การที่มนุษย์ไม่ได้รับประโยชน์ใดๆจากสิ่งที่อัลลอฮ์ได้มอบให้ซึ่งสติปัญญา การได้ยิน การมองเห็น ทำให้เขาเหมือนกับคนที่สูญเสียสิ่งเหล่านี้ไป

• من أشد الناس عقوبة يوم القيامة من يكتم العلم الذي أنزله الله، والهدى الذي جاءت به رسله تعالى.
ผู้ที่จะได้รับการลงโทษที่แสนสาหัสที่สุดในวันกิยามะฮ์คือผู้ที่ปกปิดความรู้ที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมา และทางนำที่เราะสูลของพระองค์ได้นำมา

• من نعمة الله تعالى على عباده المؤمنين أن جعل المحرمات قليلة محدودة، وأما المباحات فكثيرة غير محدودة.
จากความกรุณาของอัลลอฮ์ต่อบรรดาบ่าวผู้ศรัทธาของพระองค์คือการทำให้สิ่งที่ต้องห้ามนั้นมีน้อยและจำกัด แต่สิ่งที่อนุญาตนั้นมีมากและไม่จำกัด

۞ لَّيۡسَ ٱلۡبِرَّ أَن تُوَلُّواْ وُجُوهَكُمۡ قِبَلَ ٱلۡمَشۡرِقِ وَٱلۡمَغۡرِبِ وَلَٰكِنَّ ٱلۡبِرَّ مَنۡ ءَامَنَ بِٱللَّهِ وَٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِ وَٱلۡمَلَٰٓئِكَةِ وَٱلۡكِتَٰبِ وَٱلنَّبِيِّـۧنَ وَءَاتَى ٱلۡمَالَ عَلَىٰ حُبِّهِۦ ذَوِي ٱلۡقُرۡبَىٰ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينَ وَٱبۡنَ ٱلسَّبِيلِ وَٱلسَّآئِلِينَ وَفِي ٱلرِّقَابِ وَأَقَامَ ٱلصَّلَوٰةَ وَءَاتَى ٱلزَّكَوٰةَ وَٱلۡمُوفُونَ بِعَهۡدِهِمۡ إِذَا عَٰهَدُواْۖ وَٱلصَّٰبِرِينَ فِي ٱلۡبَأۡسَآءِ وَٱلضَّرَّآءِ وَحِينَ ٱلۡبَأۡسِۗ أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ صَدَقُواْۖ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡمُتَّقُونَ
หาใช่คุณธรรมและความพึงพอใจของอัลลอฮ์ไม่ กับเพียงแค่การที่พวกเจ้าผินหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกหรือทิศอื่นๆ แต่ทว่าคุณธรรมที่แท้จริงนั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้าเพียงองค์เดียว และศรัทธาในวันปรโลก และศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮ์ และต่อบรรดาคัมภีร์ที่อัลลอฮ์ทรงประทานลงมา และนบีทั้งหลายโดยไม่แยกแยะ และบริจาคทรัพย์ทั้งๆ ที่มีความรักในทรัพย์นั้นและดูแลเป็นใยแก่บรรดาญาติที่สนิท และบรรดาเด็กกำพร้า(บิดาเสียชีวิตก่อนบรรลุศาสนภาวะ) และบรรดาผู้ยากจนและผู้ที่อยู่ในการเดินทางที่ห่างไกลจากครอบครัวและประเทศของเขา และบรรดาผู้ที่มีความจำเป็นที่ต้องขอจากผู้คน และบริจาคในการไถ่ทาส และเขาได้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาดตามคำบัญชาของอัลลอฮ์อย่างครบถ้วน และชำระซะกาตที่วาญิบ และบรรดาผู้ที่รักษาสัญญาของพวกเขาโดยครบถ้วน เมื่อพวกเขาได้สัญญาไว้ และบรรดาผู้ที่อดทนในความทุกข์ยาก และอดทนต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย และไม่หนีในขณะต่อสู้ในสมรภูมิ ชนเหล่านี้คือผู้ที่แน่วแน่ต่ออัลลอฮ์ในความศรัทธาและในสิ่งที่พวกเขาทำ และชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่มีความยำเกรงที่ปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาแก่พวกเขาและห่างไกลจากสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงห้ามพวกเขา
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلۡقِصَاصُ فِي ٱلۡقَتۡلَىۖ ٱلۡحُرُّ بِٱلۡحُرِّ وَٱلۡعَبۡدُ بِٱلۡعَبۡدِ وَٱلۡأُنثَىٰ بِٱلۡأُنثَىٰۚ فَمَنۡ عُفِيَ لَهُۥ مِنۡ أَخِيهِ شَيۡءٞ فَٱتِّبَاعُۢ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَأَدَآءٌ إِلَيۡهِ بِإِحۡسَٰنٖۗ ذَٰلِكَ تَخۡفِيفٞ مِّن رَّبِّكُمۡ وَرَحۡمَةٞۗ فَمَنِ ٱعۡتَدَىٰ بَعۡدَ ذَٰلِكَ فَلَهُۥ عَذَابٌ أَلِيمٞ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และตามเราะสูลของพระองค์เอ๋ย ได้มีการบัญญัติแก่พวกเจ้าในเรื่องของคนที่ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและอธรรม การลงโทษสำหรับฆาตกรจะเหมือนกับความผิดของพวกเขา คือผู้เป็นไทจะถูกฆ่าด้วยผู้เป็นไท และผู้เป็นทาสจะถูกฆ่าด้วยผู้เป็นทาส และผู้หญิงจะถูกฆ่าด้วยผู้หญิง ถ้าหากผู้ที่ถูกฆาตกรรมได้อภัยให้ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตหรือผู้ปกครองของผู้ถูกฆาตกรรมได้อภัยให้แก่เขาโดยแลกกับค่าสินไหมทดแทน คือทรัพย์สินที่ฆาตกรจ่ายไปเพื่อแลกกับการให้อภัยแก่เขา สำหรับผู้ที่ให้อภัยนั้นต้องติดตามเรื่องค่าสินไหมทดแทนจากฆาตกรอย่างเป็นธรรม และไม่ติดตามด้วยการดูถูกและก่อความเดือดร้อน และสำหรับฆาตกรต้องจ่ายโดยดีโดยไม่ล่าช้าและผลัดวันประกันพรุ่ง การให้อภัยและการรับค่าทำขวัญนี้เป็นข้อผ่อนปรนจากอัลลอฮ์แก่พวกเจ้า และเป็นความกรุณาต่อประชาชาตินี้ แล้วผู้ใดทำการละเมิดต่อฆาตกรหลังจากที่ได้ให้อภัยและรับค่าสินไหมทดแทนแล้วนั้น เขาก็จะได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบจากอัลลอฮ์ ตะอาลา
التفاسير العربية:
وَلَكُمۡ فِي ٱلۡقِصَاصِ حَيَوٰةٞ يَٰٓأُوْلِي ٱلۡأَلۡبَٰبِ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ
179-และการที่อัลลอฮ์ได้ทรงบัญญัติให้ประหารฆาตกรให้ตายตามนั้น เป็นการธำรงไว้ซึ่งชีวิตสำหรับพวกเจ้า เพราะมันสามารถป้องกันการนองเลือดและป้องกันความรุนแรงในหมู่พวกคุณ ซึ่งบรรดาผู้มีสติปัญญาที่ยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ตะอาลาจะรับรู้สิ่งนั้นดี ด้วยการจำนนต่อบทบัญญัติของพระองค์และปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์
التفاسير العربية:
كُتِبَ عَلَيۡكُمۡ إِذَا حَضَرَ أَحَدَكُمُ ٱلۡمَوۡتُ إِن تَرَكَ خَيۡرًا ٱلۡوَصِيَّةُ لِلۡوَٰلِدَيۡنِ وَٱلۡأَقۡرَبِينَ بِٱلۡمَعۡرُوفِۖ حَقًّا عَلَى ٱلۡمُتَّقِينَ
เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับพวกเจ้า(วาญิบ)เมื่อสัญญาณแห่งความตายและสาเหตุของมันได้มาสู่คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้า หากเขาได้ทิ้งทรัพย์สมบัติของเขาอย่างมากมาย เขาก็ควรที่จะยกให้แก่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง และบรรดาญาติที่ใกล้ชิดโดยชอบธรรมตามที่ศาสนาได้บัญญัติไว้คือจะได้รับไม่เกินเศษหนึ่งส่วนสามจากทรัพย์สมบัติทั้งหมด และการกระทำนี้เป็นหน้าที่ที่สำคัญสำหรับผู้เกรงกลัวอัลลอฮ์ ตะอาลา และการกำหนด(ส่วนแบ่งเรื่องมรดกดังกล่าวนั้น)เป็นการกำหนดก่อนที่โองการเกี่ยวกับการแบ่งมรดกจะถูกประทานลงมา ดังนั้นเมื่อโองการที่เกี่ยวกับการแบ่งมรดกได้ถูกประทานลงมา ก็ได้อธิบายถึงผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกจากผู้ตายและได้อธิบายถึงจำนวนที่เขานั้นจะได้รับ
التفاسير العربية:
فَمَنۢ بَدَّلَهُۥ بَعۡدَ مَا سَمِعَهُۥ فَإِنَّمَآ إِثۡمُهُۥ عَلَى ٱلَّذِينَ يُبَدِّلُونَهُۥٓۚ إِنَّ ٱللَّهَ سَمِيعٌ عَلِيمٞ
180 - ดังนั้นผู้ใดที่ทำการแก้ไขพินัยกรรมโดยการเพิ่มหรือลดหรือไม่ทำตาม หลังจากที่เขาได้รู้ถึงพินัยกรรมแล้ว แท้จริงบาปจากการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมจะตกอยู่กับ ผู้ที่ทำการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมนั้นเท่านั้นไม่ใช่แก่ผู้ทำพินัยกรรม แท้จริงแล้วอัลลอฮ์ทรงได้ยินคำพูดบ่าวของพระองค์ ทรงรอบรู้ในการปฏิบัติของพวกเขา จะไม่มีสิ่งใดพลาดไปจากพระองค์ในความเป็นอยู่ของพวกเขา
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• البِرُّ الذي يحبه الله يكون بتحقيق الإيمان والعمل الصالح، وأما التمسك بالمظاهر فقط فلا يكفي عنده تعالى.
ความดีที่อัลลอฮ์ทรงรักนั้นคือการบรรลุถึงการศรัทธาและการประกอบคุณงามความดีอย่างแท้จริง ส่วนการยึดเพียงรูปภายนอกอย่างเดียวนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอสำหรับพระองค์

• من أعظم ما يحفظ الأنفس، ويمنع من التعدي والظلم؛ تطبيق مبدأ القصاص الذي شرعه الله في النفس وما دونها.
วิธีการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการปกป้องชีวิต และป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดและความอยุติธรรมนั้น คือการใช้กฎหมายแห่งการลงโทษที่เท่าเทียมกันที่อัลลอฮ์ได้กำหนดไว้ท่เกี่ยวกับชีวิตและอื่นๆ

• عِظَمُ شأن الوصية، ولا سيما لمن كان عنده شيء يُوصي به، وإثمُ من غيَّر في وصية الميت وبدَّل ما فيها.
เรื่องพินัยกรรมนั้นเป็นเรื่องใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีทรัพย์สมบัติที่ทำเป็นพินัยกรรม และเป็นบาปสำหรับผู้ที่ทำการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมของผู้ตายและสับเปลี่ยนสิ่งที่มีอยู่ในพินัยกรรม

فَمَنۡ خَافَ مِن مُّوصٖ جَنَفًا أَوۡ إِثۡمٗا فَأَصۡلَحَ بَيۡنَهُمۡ فَلَآ إِثۡمَ عَلَيۡهِۚ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمٞ
ดังนั้นผู้ใดที่รู้ว่าผู้ที่ทำพินัยกรรมมีการเบี่ยงเบนไปจากความจริงหรือมีความไม่เป็นธรรมในพินัยกรรม ก็ให้แก้ไขในสิ่งที่ผู้ทำพินัยกรรมได้ทำผิดด้วยการให้คำแนะนำแก่เขา และปรับความเข้าใจด้วยการประนีประนอมระหว่างพวกเขา ดังนั้นเขาไม่มีความผิดใดๆ แต่เขาจะได้ผลบุญเป็นการตอบแทนที่ได้ทำการประนีประนอม แท้จริงอัลลอฮ์ เป็นผู้ทรงอภัยแก่บ่าวของพระองค์ที่กลับเนื้อกลับตัว ผู้ทรงเมตตาพวกเขาเสมอ
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และตามเราะสูลของพระองค์ทั้งหลาย! การถือศีลอด นั้นได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้าจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกบัญญัติแก่ประชาชาติก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ด้วยการสร้างกำแพงกั้นระหว่างพวกเจ้ากับการลงโทษของอัลลอฮ์ด้วยการประกอบคุณงามความดีต่างๆ และที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจากความดีต่างๆนั้นก็คือการถือศีลอด
التفاسير العربية:
أَيَّامٗا مَّعۡدُودَٰتٖۚ فَمَن كَانَ مِنكُم مَّرِيضًا أَوۡ عَلَىٰ سَفَرٖ فَعِدَّةٞ مِّنۡ أَيَّامٍ أُخَرَۚ وَعَلَى ٱلَّذِينَ يُطِيقُونَهُۥ فِدۡيَةٞ طَعَامُ مِسۡكِينٖۖ فَمَن تَطَوَّعَ خَيۡرٗا فَهُوَ خَيۡرٞ لَّهُۥۚ وَأَن تَصُومُواْ خَيۡرٞ لَّكُمۡ إِن كُنتُمۡ تَعۡلَمُونَ
การถือศีลอดได้กำหนดแก่พวกเจ้าโดยให้พวกเจ้าถือศีลอดไม่กี่วันเท่านั้นในหนึ่งปี (คือถูกกำหนดให้ถือในจำนวนวันที่ได้ถูกกำหนดไว้) ดังนั้นผู้ใดในพวกเจ้าป่วย ไม่สามารถที่จะถือศีลอดได้ หรืออยู่ในการเดินทาง สำหรับพวกเขานั้นสามารถละศีลอดได้ แล้วให้ถือศีลอดชดในวันอื่น ๆ ตามจำนวนวันที่ได้ละไว้ และสำหรับผู้ที่มีความสามารถในการถือศีลอด แต่เขาเลือกที่จะไม่ถือ เขาต้องจ่ายฟิดยะฮ์ คือเขาต้องให้อาหารแก่คนขัดสนหนึ่งคนเป็นการชดใช้สำหรับวันที่ขาดการถือศีลอด และผู้ใดสามารถให้อาหารแก่คนขัดสนได้มากกว่าหนึ่งคนหรือให้อาหารพร้อมกับถือศีลอดชดใช้ไปด้วย ก็ถือว่าเป็นการดีแก่เขา และการถือศีลอดของพวกเจ้านั้นย่อมดีกว่าการละศีลอดและดีกว่าการจ่ายฟิดยะฮ์ ถ้าหากพวกเจ้ารู้ถึงความประเสริฐของการถือศีลอด และการบัญญัติการถือศีลอดในลักษณะนี้นั้นเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ที่อัลลอฮ์ได้บัญญัติการถือศีลอด คือการเปิดอิสระ ผู้ใดที่ต้องการถือศีลอดก็จงถือ และผู้ใดที่ต้องการละศีลอดก็จงให้อาหารแก่ผู้ขัดสน หลังจากนั้นอัลลอฮ์ได้บัญญัติให้การถือศีลอดเป็นสิ่งวาญิบ และได้กำหนดให้ถือสำหรับผู้ที่บรรลุศาสนภาวะและมีความสามารถ
التفاسير العربية:
شَهۡرُ رَمَضَانَ ٱلَّذِيٓ أُنزِلَ فِيهِ ٱلۡقُرۡءَانُ هُدٗى لِّلنَّاسِ وَبَيِّنَٰتٖ مِّنَ ٱلۡهُدَىٰ وَٱلۡفُرۡقَانِۚ فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ ٱلشَّهۡرَ فَلۡيَصُمۡهُۖ وَمَن كَانَ مَرِيضًا أَوۡ عَلَىٰ سَفَرٖ فَعِدَّةٞ مِّنۡ أَيَّامٍ أُخَرَۗ يُرِيدُ ٱللَّهُ بِكُمُ ٱلۡيُسۡرَ وَلَا يُرِيدُ بِكُمُ ٱلۡعُسۡرَ وَلِتُكۡمِلُواْ ٱلۡعِدَّةَ وَلِتُكَبِّرُواْ ٱللَّهَ عَلَىٰ مَا هَدَىٰكُمۡ وَلَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ
เดือนรอมฏอนนั้น เป็นเดือนที่เริ่มประทานอัลกุรอ่านลงมาแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในค่ำคืนอัลก็อดร์ ได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้นและเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วยที่ไม่สามารถจะถือศีลอดได้ หรืออยู่ในการเดินทาง ก็สามารถที่ละศีลอดได้ และเมื่อละศีลอดแล้ว ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทนวันที่ขาด อัลลอฮฺทรงประสงค์ในสิ่งที่บัญญัติเพื่อให้พวกเจ้ามีความสะดวก และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า ทั้งนี้เพื่อที่พวกเจ้าจะได้ถือศีลอดให้ครบวัน(ของเดือนรอมฏอน) และทำการสดุดีความเกรียงไกรของอัลลอฮ์หลังจากเดือนรอมฏอนได้หมดไปและวันอีดที่พระองค์ได้ทรงให้พวกเจ้าได้ถือศีลอดในเดือนนั้น และเพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบคุณอัลลอฮ์ที่ได้ชี้แนะทางนำแก่พวกเจ้า สู่ศาสนาที่พระองค์พึงพอพระทัยสำหรับพวกเจ้า
التفاسير العربية:
وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌۖ أُجِيبُ دَعۡوَةَ ٱلدَّاعِ إِذَا دَعَانِۖ فَلۡيَسۡتَجِيبُواْ لِي وَلۡيُؤۡمِنُواْ بِي لَعَلَّهُمۡ يَرۡشُدُونَ
โอ้นบีเอ๋ย ถ้าบ่าวของข้าได้ถามเจ้าถึงข้าถึงความใกล้ชิดของข้าและการตอบรับดุอาอ์ของข้าที่มีต่อพวกเขา แท้จริงข้านั้นอยู่ใกล้พวกเขา ข้ารู้เรื่องราวของพวกเขา ข้าได้ยินเสียงดุอาอ์จากพวกเขา และไม่จำเป็นที่จะต้องมีสื่อกลาง หรือยกเสียงของพวกเจ้าดังขึ้น ข้าจะตอบรับคำวิงวอนของผู้ที่วิงวอนที่มีความบริสุทธิ์ใจ และจงมายังข้าและคำบัญชาของข้าเพื่อให้ความศรัทธาของพวกเขานั้นมั่นคง และสิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางที่ดีที่ข้าจะตอบรับ เผื่อว่าพวกเขาทั้งหลายจะเดินตามหนทางที่ถูกต้องทั้งในเรื่องศาสนาและดุนยาของพวกเขา
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• فَضَّلَ الله شهر رمضان بجعله شهر الصوم وبإنزال القرآن فيه، فهو شهر القرآن؛ ولهذا كان النبي صلى الله عليه وسلم يتدارس القرآن مع جبريل في رمضان، ويجتهد فيه ما لا يجتهد في غيره.
อัลลอฮ์ทรงโปรดปรานเดือนรอมฎอนโดยให้เป็นเดือนแห่งการถือศีลอดและประทานอัลกุรอานลงมาในเดือนนี้ และเป็นเดือนแห่งอัลกุรอาน ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอลัยฮิวะซัลลัม จึงได้อ่านอัลกุรอานสลับกันไปมากับญิบรีลในเดือนรอมฎอนและมีความมุ่งมั่นในการอ่านมันเป็นพิเศษมากกว่าเดือนอื่น ๆ

• شريعة الإسلام قامت في أصولها وفروعها على التيسير ورفع الحرج، فما جعل الله علينا في الدين من حرج.
ศาสนาอิสลามทั้งด้านหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติ ยึดอยู่บนหลักแห่งความสะดวก สลายความลำบาก ดังนั้นอัลลอฮ์จะไม่ทำให้เรื่องศาสนาเป็นเรื่องที่ยากลำบากแก่เรา

• قُرْب الله تعالى من عباده، وإحاطته بهم، وعلمه التام بأحوالهم؛ ولهذا فهو يسمع دعاءهم ويجيب سؤالهم.
อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงใกล้ชิดกับบ่าวของพระองค์และดูแลพวกเขาและรอบรู้ทุกเรื่องราวของพวกเขา ดังนั้นพระองค์จึงได้ยินดุอาอ์ของพวกเขาและตอบคำถามของพวกเขา

أُحِلَّ لَكُمۡ لَيۡلَةَ ٱلصِّيَامِ ٱلرَّفَثُ إِلَىٰ نِسَآئِكُمۡۚ هُنَّ لِبَاسٞ لَّكُمۡ وَأَنتُمۡ لِبَاسٞ لَّهُنَّۗ عَلِمَ ٱللَّهُ أَنَّكُمۡ كُنتُمۡ تَخۡتَانُونَ أَنفُسَكُمۡ فَتَابَ عَلَيۡكُمۡ وَعَفَا عَنكُمۡۖ فَٱلۡـَٰٔنَ بَٰشِرُوهُنَّ وَٱبۡتَغُواْ مَا كَتَبَ ٱللَّهُ لَكُمۡۚ وَكُلُواْ وَٱشۡرَبُواْ حَتَّىٰ يَتَبَيَّنَ لَكُمُ ٱلۡخَيۡطُ ٱلۡأَبۡيَضُ مِنَ ٱلۡخَيۡطِ ٱلۡأَسۡوَدِ مِنَ ٱلۡفَجۡرِۖ ثُمَّ أَتِمُّواْ ٱلصِّيَامَ إِلَى ٱلَّيۡلِۚ وَلَا تُبَٰشِرُوهُنَّ وَأَنتُمۡ عَٰكِفُونَ فِي ٱلۡمَسَٰجِدِۗ تِلۡكَ حُدُودُ ٱللَّهِ فَلَا تَقۡرَبُوهَاۗ كَذَٰلِكَ يُبَيِّنُ ٱللَّهُ ءَايَٰتِهِۦ لِلنَّاسِ لَعَلَّهُمۡ يَتَّقُونَ
ก่อนหน้านั้นได้มีการห้ามบุรุษเมื่อได้นอนในคืนที่ถือศีลอดแล้วตื่นขึ้นมาก่อนฟัจร์(ก่อนอาซานซุบฮ์)เพื่อต้องการรับประทานอาหารหรือเข้าใกล้ภรรยาของเขา ดังนั้นอัลลอฮ์จึงยกเลิกข้อห้ามนั้น และได้อนุญาตให้พวกเจ้า (โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย) ซึ่งการสมสู่กับบรรดาภรรยาของพวกเจ้า ในค่ำคืนของการถือศีลอด พวกนางนั้นคือเครื่องนุ่งห่มสำหรับพวกเจ้าและเป็นผู้ปกป้องเกียรติของพวกเจ้า และพวกเจ้าก็คือเครื่องนุ่งห่มและเป็นผู้ปกป้องเกียรติของพวกนาง อัลลอฮ์ทรงรู้ว่า พวกเจ้านั้นเคยอธรรมต่อตัวเองในการปฏิบัติสิ่งที่ได้ห้ามไว้แล้วพระองค์ก็ทรงปรานีและยกโทษให้แก่พวกเจ้าและได้ลดหย่อนให้แก่พวกเจ้าแล้ว บัดนี้พวกเจ้าจงสมสู่กับพวกนางเถิด และแสวงหาสิ่งทีอัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดให้แก่พวกเจ้าจากการมีทายาท และจงกินและดื่มระหว่างกลางคืนทั้งหมด จนกว่าแสงแห่งรุ่งอรุณได้ปรากฎออกจากความมืดแห่งกลางคืน แล้วพวกเจ้าจงถือศีลอดให้สมบูรณตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน และพวกเจ้าจงอย่าสมสู่กับพวกนาง ขณะที่พวกเจ้าเอียะติกาฟอยู่ในมัสยิด เพราะมันจะทำให้เสีย สิ่งที่ได้กล่าวมานั่นคือขอบเขตของอัลลอฮ์ระหว่างสิ่งที่อนุญาตและสิ่งต้องห้าม ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าเข้าใกล้ขอบเขตนั้น แท้จริงแล้วผู้ใดที่เข้าใกล้ขอบเขตของอัลลอฮ์เกรงว่าจะตกในสิ่งต้องห้าม และด้วยคำอธิบายที่ชัดเจนของบทบัญญัติเหล่านั้น อัลลอฮ์ทรงแจกแจงบรรดาโองการของพระองค์แก่มนุษย์ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ยำเกรงต่อพระองค์ด้วยการปฏิบัติในสิ่งที่พระทรงสั่งใช้และละทิ้งสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม
التفاسير العربية:
وَلَا تَأۡكُلُوٓاْ أَمۡوَٰلَكُم بَيۡنَكُم بِٱلۡبَٰطِلِ وَتُدۡلُواْ بِهَآ إِلَى ٱلۡحُكَّامِ لِتَأۡكُلُواْ فَرِيقٗا مِّنۡ أَمۡوَٰلِ ٱلنَّاسِ بِٱلۡإِثۡمِ وَأَنتُمۡ تَعۡلَمُونَ
และคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าจงอย่าได้เอาทรัพย์สมบัติของผู้อื่นในหมู่พวกเจ้าโดยมิชอบ เช่นการลักขโมย การปล้น และการโกง จงอย่าโต้แย้งมันให้แก่ผู้พิพากษา เพื่อที่เจ้าจะกินส่วนหนึ่งจากทรัพย์สมบัติของผู้อื่นด้วยการกระทำสิ่งที่เป็นบาปและพวกเจ้ารู้ว่าอัลลอฮ์นั้นทรงห้ามสิ่งนั้น และการทำบาปทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม เป็นที่น่ารังเกียจอย่างยิ่งและมีบทลงโทษที่สาหัส
التفاسير العربية:
۞ يَسۡـَٔلُونَكَ عَنِ ٱلۡأَهِلَّةِۖ قُلۡ هِيَ مَوَٰقِيتُ لِلنَّاسِ وَٱلۡحَجِّۗ وَلَيۡسَ ٱلۡبِرُّ بِأَن تَأۡتُواْ ٱلۡبُيُوتَ مِن ظُهُورِهَا وَلَٰكِنَّ ٱلۡبِرَّ مَنِ ٱتَّقَىٰۗ وَأۡتُواْ ٱلۡبُيُوتَ مِنۡ أَبۡوَٰبِهَاۚ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ لَعَلَّكُمۡ تُفۡلِحُونَ
พวกเขาเหล่านั้นจะถามเจ้า -โอ้เราะสูลเอ๋ย- เกี่ยวกับการสร้างและการเปลี่ยนแปลงต่างๆของดวงจันทร์ จงตอบคำถามเกี่ยวกับปัญญาที่อยู่เบื้องหลังการสร้างและการเปลี่ยนแปลงของจันทร์เสี้ยวเถิดว่า มันคือการกำหนดเวลาต่างๆ สำหรับมนุษย์ เพื่อรู้เวลาในการทำอิบาดะฮ์ เช่นเดือนแห่งการประกอบพิธีฮัจญ์ เดือนถือศีลอด และครบรอบการจ่ายซะกาต และเพื่อรู้เวลาการทำธุรกรรม เช่นการตั้งระยะเวลาของหนี้และการจ่ายหนี้ และหาใช่เป็นคุณธรรมไม่ ในการที่พวกเจ้าเข้าบ้านทางหลังบ้านในขณะที่พวกเจ้าครองอิห์รอมประกอบพิธีฮัจญ์หรือพิธีอุมเราะฮ์ เหมือนที่พวกเจ้าได้อ้างไว้ในญาฮิลิยะฮ์ แต่ทว่าคุณธรรมที่แท้จริงนั้นคือผู้ที่ยำเกรงทั้งภายนอกและภายในต่างหาก แต่การที่พวกเจ้าเข้าบ้านทางประตูบ้านนั้นเป็นการง่ายสำหรับพวกเจ้าและห่างไกลจากความยากลำบาก เพราะแท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ได้บังคับพวกเจ้าให้ทำในสิ่งที่ยุ่งยากและลำบากต่อพวกเจ้าเลย และจงทำเป็นเกราะป้องกันระหว่างพวกเจ้ากับการลงโทษของอัลลอฮ์ด้วยการประกอบคุณงามความดี เพื่อที่ว่าพวกเจ้าจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่พวกเจ้าต้องการและรอดพ้นจากสิ่งที่พวกเจ้ากลัว
التفاسير العربية:
وَقَٰتِلُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ ٱلَّذِينَ يُقَٰتِلُونَكُمۡ وَلَا تَعۡتَدُوٓاْۚ إِنَّ ٱللَّهَ لَا يُحِبُّ ٱلۡمُعۡتَدِينَ
และพวกเจ้าจงต่อสู้ -เพื่อยกบทบัญญัติของอัลลอฮ์อยู่เหนือสิ่งอื่นใด- กับบรรดาผู้ที่ต่อสู้พวกเจ้าจากผู้ปฏิเสธศรัทธา ที่กีดขวางพวกเจ้าจากศาสนาของอัลลอฮ์และจงอย่าละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ด้วยการฆ่าเด็กๆ ผู้หญิง และคนชราหรือด้วยการทำลายศพที่ตายและอื่นๆ แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงชอบบรรดาผู้ที่ละเมิดขอบเขตของพระองค์ในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติและตัดสินไว้
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• مشروعية الاعتكاف، وهو لزوم المسجد للعبادة؛ ولهذا يُنهى عن كل ما يعارض مقصود الاعتكاف، ومنه مباشرة المرأة.
อนุมัติให้มีการเอียะติกาฟ คือการอยู่มัสยิดเพื่อทำอิบาดะฮ์ ดังนั้นจึงห้ามทุกสิ่งที่ย้อนแย้งหรือทำให้เอียะติก๊าฟนั้นเสีย หนึ่งในนั้นคือการสมสู่กับภรรยา

• النهي عن أكل أموال الناس بالباطل، وتحريم كل الوسائل والأساليب التي تقود لذلك، ومنها الرشوة.
ห้ามละเมิดทรัพย์สมบัติของคนอื่นโดยมิชอบและห้ามใช้วิธีการที่จะนำไปสู่การกระทำดังกล่าวรวมถึงการให้สินบน

• تحريم الاعتداء والنهي عنه؛ لأن هذا الدين قائم على العدل والإحسان.
การละเมิดสิทธินั้นเป็นสิ่งต้องห้ามและไม่อนุญาตให้ปฏิบัติเพราะศาสนาอิสลามนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมและความดี

وَٱقۡتُلُوهُمۡ حَيۡثُ ثَقِفۡتُمُوهُمۡ وَأَخۡرِجُوهُم مِّنۡ حَيۡثُ أَخۡرَجُوكُمۡۚ وَٱلۡفِتۡنَةُ أَشَدُّ مِنَ ٱلۡقَتۡلِۚ وَلَا تُقَٰتِلُوهُمۡ عِندَ ٱلۡمَسۡجِدِ ٱلۡحَرَامِ حَتَّىٰ يُقَٰتِلُوكُمۡ فِيهِۖ فَإِن قَٰتَلُوكُمۡ فَٱقۡتُلُوهُمۡۗ كَذَٰلِكَ جَزَآءُ ٱلۡكَٰفِرِينَ
และจงฆ่าพวกเขาไม่ว่าพวกเจ้าจะเผชิญหน้าพวกเขา ณ ที่ใดก็ตาม และจงขับไล่พวกเขาออกจากที่ที่พวกเขาเคยขับไล่พวกเจ้าออก คือมักกะฮ์ และความวุ่นวายที่เกิดขึ้นด้วยการกีดขวางผู้ศรัทธาให้ออกห่างจากศาสนาของพวกเขาและการกลับไปสู่การปฏิเสธศรัทธานั้นร้ายแรงยิ่งกว่าการฆ่าเสียอีก และจงอย่าเป็นฝ่ายเริ่มทำการสู้รบกับพวกเขา ณ อัล-มัสยิดิล ฮะรอม เพื่อเป็นการปกป้องเกียรติของมัสยิด จนกว่าพวกเขาจะเป็นฝ่ายเริ่มต่อสู้กับพวกเจ้าในที่นั้นก่อน และหากพวกเขาเป็นฝ่ายเริ่มต่อสู้พวกเจ้าแล้ว ก็จงฆ่าพวกเขาเสีย และผลการตอบแทนในลักษณะนี้นั้น คือการฆ่าพวกเขาเมื่อพวกเขาได้ทำการละเมิดใน อัล-มัสยิดิล ฮะรอม มันคือการตอบแทนของผู้ปฏิเสธศรัทธา
التفاسير العربية:
فَإِنِ ٱنتَهَوۡاْ فَإِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمٞ
แล้วถ้าหากพวกเขายุติการต่อสู้กับพวกเจ้าและยุติการปฏิเสธศรัทธาของพวกเขา พวกเจ้าจงยุติการต่อสู้เช่นกัน แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษสำหรับคนที่กลับเนื้อกลับตัว และไม่ถือเป็นบาปแก่พวกเขาที่ผ่านมา ผู้ทรงเมตตาพวกเขาโดยที่ไม่ปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยการลงโทษ
التفاسير العربية:
وَقَٰتِلُوهُمۡ حَتَّىٰ لَا تَكُونَ فِتۡنَةٞ وَيَكُونَ ٱلدِّينُ لِلَّهِۖ فَإِنِ ٱنتَهَوۡاْ فَلَا عُدۡوَٰنَ إِلَّا عَلَى ٱلظَّٰلِمِينَ
และพวกเจ้าจงสู้รบกับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา จนกว่าการตั้งภาคีจากพวกเขา และการขัดขวางผู้อื่นให้ออกห่างจากหนทางของอัลลอฮ์ และการปฏิเสธศรัทธานั้นได้หมดไป และศาสนาที่ปรากฏนั้นคือศาสนาของอัลลอฮ์เท่านั้น ดังนั้นถ้าหากพวกเขายุติสิ่งเหล่านี้ พวกเจ้าก็จงล้มเลิกการต่อสู้กับพวกเขา เพราะแท้จริงจะไม่มีการเป็นปฏิปักษ์ใดๆ นอกจากแก่บรรดาผู้อธรรมที่ปฏิเสธศรัทธา และขัดขวางผู้อื่นให้ออกไปจากหนทางของอัลลอฮ์เท่านั้น
التفاسير العربية:
ٱلشَّهۡرُ ٱلۡحَرَامُ بِٱلشَّهۡرِ ٱلۡحَرَامِ وَٱلۡحُرُمَٰتُ قِصَاصٞۚ فَمَنِ ٱعۡتَدَىٰ عَلَيۡكُمۡ فَٱعۡتَدُواْ عَلَيۡهِ بِمِثۡلِ مَا ٱعۡتَدَىٰ عَلَيۡكُمۡۚ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ مَعَ ٱلۡمُتَّقِينَ
เดือนที่มีเกียรติที่อัลลอฮ์ทรงอนุญาตให้แก่พวกเจ้าเข้าฮะรอม(อัล-มัสยิดิล ฮะรอม)เพื่อประกอบพิธีอุมเราะฮ์ในปี่ที่เจ็ดนั้น คือการทดแทนเดือนที่มีเกียรติที่พวกเจ้าถูกบรรดามุชริกีน(ผู้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์)ขับไล่พวกเจ้าออกไปจากฮะรอมในปีที่หก และการละเมิดสิ่งที่มีเกียรติทั้งหลายนั้น เช่น แผ่นดินฮะรอม เดือนอัลฮะรอม และอยู่ในสภาวะที่มีระเบียบ (อิฮ์รอม) สำหรับการแสวงบุญไปยังมัสยิดอัลฮะรอมจะต้องได้รับการลงโทษด้วยกฎแห่งความเท่าเทียมกัน ดังนั้นเมื่อมีคนทำผิดต่อพวกเจ้าในเรื่องใดๆ เหล่านี้ จงปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนที่พวกเขาปฏิบัติต่อพวกเจ้า แต่อย่าทำเกินกว่าที่พวกเขาทำ อัลลอฮ์ไม่รักผู้ที่ทำเกินขอบเขตของพระองค์ จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์โดยอย่าทำเกินกว่าที่พระองค์ทรงอนุญาติให้ทำ พึงรู้เถิดว่าอัลลอฮ์ทรงอยู่กับบรรดาผู้ยำเกรงพระองค์เสมอ ประทานความสำเร็จแก่พวกเขาและสนับสนุนพวกเขา
التفاسير العربية:
وَأَنفِقُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَلَا تُلۡقُواْ بِأَيۡدِيكُمۡ إِلَى ٱلتَّهۡلُكَةِ وَأَحۡسِنُوٓاْۚ إِنَّ ٱللَّهَ يُحِبُّ ٱلۡمُحۡسِنِينَ
และพวกเจ้าจงบริจาคทรัพย์สินของพวกเจ้าในการเชื่อฟังอัลลอฮ์ ด้วยการญิฮาด(การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ)และอื่นๆและจงอย่าโยนตัวของพวกเจ้าสู่ความพินาศ โดยที่พวกเจ้าล้มเลิกการญิฮาดและใช้ในหนทางของพระองค์หรือโยนตัวของพวกเจ้าที่เป็นเหตุนำไปสู่ความพินาศและจงทำดีในอิบาดะฮ์ต่างๆ ธุรกรรมต่างๆและและศีลธรรมของพวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮ์นั้น ทรงชอบผู้กระทำดีทั้งหลายในทุกเรื่องของพระองค์ และให้ผลบุญที่ยิ่งใหญ่สำหรับพวกเขา และให้ความง่ายดายแก่พวกเขาไปในทางที่ถูกต้อง
التفاسير العربية:
وَأَتِمُّواْ ٱلۡحَجَّ وَٱلۡعُمۡرَةَ لِلَّهِۚ فَإِنۡ أُحۡصِرۡتُمۡ فَمَا ٱسۡتَيۡسَرَ مِنَ ٱلۡهَدۡيِۖ وَلَا تَحۡلِقُواْ رُءُوسَكُمۡ حَتَّىٰ يَبۡلُغَ ٱلۡهَدۡيُ مَحِلَّهُۥۚ فَمَن كَانَ مِنكُم مَّرِيضًا أَوۡ بِهِۦٓ أَذٗى مِّن رَّأۡسِهِۦ فَفِدۡيَةٞ مِّن صِيَامٍ أَوۡ صَدَقَةٍ أَوۡ نُسُكٖۚ فَإِذَآ أَمِنتُمۡ فَمَن تَمَتَّعَ بِٱلۡعُمۡرَةِ إِلَى ٱلۡحَجِّ فَمَا ٱسۡتَيۡسَرَ مِنَ ٱلۡهَدۡيِۚ فَمَن لَّمۡ يَجِدۡ فَصِيَامُ ثَلَٰثَةِ أَيَّامٖ فِي ٱلۡحَجِّ وَسَبۡعَةٍ إِذَا رَجَعۡتُمۡۗ تِلۡكَ عَشَرَةٞ كَامِلَةٞۗ ذَٰلِكَ لِمَن لَّمۡ يَكُنۡ أَهۡلُهُۥ حَاضِرِي ٱلۡمَسۡجِدِ ٱلۡحَرَامِۚ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ شَدِيدُ ٱلۡعِقَابِ
และจงทำพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์เพื่ออัลลอฮ์ ตะอาลา เถิด แล้วถ้าพวกเจ้าเจออุปสรรคด้วยการเจ็บป่วยหรือศัตรูซึ่งทำให้พวกเจ้านั้นไม่สามารถที่จะทำพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์อย่างครบถ้วนได้ ก็ให้พวกเจ้าเชือดสัตว์พลีที่หาได้ง่ายเช่น อูฐ วัวหรือแพะ เพื่อพวกเจ้าจะได้อิสระจากการครองอิห์รอมของพวกเจ้าและจงอย่าโกนศีรษะหรือตัดผมจนกว่าสัตว์พลีนั้นจะถึงที่ที่อนุญาตให้เชือดได้ หากเจ้าถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปในเขตอัลหะรอม ก็จงเชือดในทุกที่ที่เจ้าอยู่ แล้วถ้าหากเจ้าไม่ได้ถูกกีดกันก็จงเชือดสัตว์ในเขตอัลหะรอมในวันอีด (วันที่10ของเดือนซุลฮิญะฮ์) หรือวันตัชรีกหลังจากนั้น (วันที่ 11,12,13ของเดือนซุลฮิญะฮ์) แล้วผู้ใดในหมู่พวกเจ้าป่วยลง หรือมีปัญหากับผมหรือศีรษะของเขา เช่น เหาหรืออะไรทำนองนั้น แล้วเขาได้โกนศีรษะของเขาด้วยเหตุนั้นก็ไม่มีความผิดใด ๆ สำหรับเขาและเขาต้องชำระชดเชย ด้วยการถือศีลอดสามวันหรือการให้อาหารแก่ผู้ขัดสนที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินอัลหะรอมหกคนหรือเชือดแกะและแจกให้ผู้ขัดสนที่อาศัยในเขตอัลหะรอม ถ้าเจ้าไม่อยู่ในสภาวะหวาดกลัว ดังนั้นใครก็ตามที่ประกอบพิธีฮัจญ์ ตะมัตตุอ์ กล่าวคือ ทำอุมเราะฮ์ในเดือนฮัจญ์ และเพลิดเพลินกับสิ่งที่ถูกห้ามไว้ก่อนหน้านี้ระหว่างอิห์รอม จนกว่าเขาจะสวมอิห์รอมอีกครั้งเพื่อทำฮัจญ์ในปีนั้นด้วย เขาควรเชือดสัตว์ฮัดย์ที่เขาหามาได้ ไม่ว่าจะเป็นแพะ หรือรวมหุ้นกันเจ็ดคนแล้วเชือดอูฐ หรือวัว ถ้าเขาไม่สามารถเชือดสัตว์ฮัดย์ได้ เขาต้องถือศีลอดเป็นเวลาสามวันในวันฮัจญ์ และเจ็ดวันหลังจากกลับถึงบ้าน รวมเป็นสิบวัน นั้นคือการแสวงบุญแบบตะมัตตุอ์โดยมีข้อผูกมัดในการเชือดสัตย์ฮัดย์หรือการถือศีลอดสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเชือดได้จะใช้เฉพาะกับผู้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในดินแดนหะรอมและผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับดินแดนหะรอมเท่านั้น เพราะผู้ที่อยู่ในแผ่นดินหะรอมพวกเขาไม่จำเป็นต้องทำตะมัตตุอ์ เพราะการอาศัยอยู่ของพวกเขาในแผ่นดินหะรอมทำให้พวกเขาทำเพียงการตอวาฟแทนการตะมัตตุอ์ จงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด โดยปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระองค์และเคารพในขอบเขตของมัน และจงรู้ไว้เถิดว่าอัลลอฮ์นั้นทรงลงโทษผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์อย่างร้ายแรง
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• مقصود الجهاد وغايته جَعْل الحكم لله تعالى وإزالة ما يمنع الناس من سماع الحق والدخول فيه.
วัตถุประสงค์ของการญิฮาดและจุดมุ่งหมายของมันคือการทำให้อำนาจแห่งการบัญญัตินั้นเป็นของอัลลอฮ์ ตะอาลา และสลายทุกสิ่งที่กีดขวางผู้คนจากการรับฟังความจริงและสู่การยอมรับมัน

• ترك الجهاد والقعود عنه من أسباب هلاك الأمة؛ لأنه يؤدي إلى ضعفها وطمع العدو فيها.
การละทิ้งการญิฮาดและการละเลยนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชาติพินาศ เพราะจะนำไปสู่ความอ่อนแอและความโลภของศัตรูเพิ่มขึ้น

• وجوب إتمام الحج والعمرة لمن شرع فيهما، وجواز التحلل منهما بذبح هدي لمن مُنِع عن الحرم.
จำเป็นที่ต้องประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮฺให้สมบูรณ์ครบถ้วน สำหรับผู้ที่ได้ประกอบสองสิ่งนี้ และอนุญาตให้ออกจากการอิหรอมจากทั้งสองสิ่งนี้ด้วยการเชือดสัตว์พลีสำหรับผู้ที่ถูกกีดขวางไม่ให้เข้าสู่แผ่นดินฮะรอม

ٱلۡحَجُّ أَشۡهُرٞ مَّعۡلُومَٰتٞۚ فَمَن فَرَضَ فِيهِنَّ ٱلۡحَجَّ فَلَا رَفَثَ وَلَا فُسُوقَ وَلَا جِدَالَ فِي ٱلۡحَجِّۗ وَمَا تَفۡعَلُواْ مِنۡ خَيۡرٖ يَعۡلَمۡهُ ٱللَّهُۗ وَتَزَوَّدُواْ فَإِنَّ خَيۡرَ ٱلزَّادِ ٱلتَّقۡوَىٰۖ وَٱتَّقُونِ يَٰٓأُوْلِي ٱلۡأَلۡبَٰبِ
เวลาการทำฮัจญ์นั้นมีหลายเดือนอันเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว โดยเริ่มจากเดือนเซาวาล และหมดในวันที่10 ของเดือนซุลฮิญะฮ์ ใครก็ตามที่ตัดสินใจจะประกอบพิธีฮัจญ์ในเดือนเหล่านั้นและสวมอิหรอมเข้าพิธีฮัจญ์แล้ว ห้ามมีการสมสู่และจุดเริ่มต้นของการสมสู่ และต้องแน่ใจในสิทธิของเขาว่าห้ามออกนอกการเชื่อฟังอัลลอฮ์ด้วยการกระทำบาป เพราะความยิ่งใหญ่ของเวลาและสถานที่ และห้ามไม่ให้มีการถกเถียงกันซึ่งนำไปสู่ความโกรธและการเป็นศัตรูกัน และความดีใดๆ ที่พวกเจ้ากระทำนั้น อัลลอฮ์ทรงรู้ดีและพวกเจ้าจะได้รับผลตอบแทน และพวกเจ้าจงเตรียมเสบียงที่จำเป็นเถิด เช่นอาหารและเครื่องดื่ม และจงรู้ไว้ว่าแท้จริงเสบียงที่ดีที่สุดนั้นคือความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา และพวกเจ้าจงยำเกรงข้าเถิดด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งของข้าและหลีกเลี่ยงจากข้อห้ามของข้า โอ้ ผู้มีปัญญาที่สมบูรณ์ทั้งหลาย!
التفاسير العربية:
لَيۡسَ عَلَيۡكُمۡ جُنَاحٌ أَن تَبۡتَغُواْ فَضۡلٗا مِّن رَّبِّكُمۡۚ فَإِذَآ أَفَضۡتُم مِّنۡ عَرَفَٰتٖ فَٱذۡكُرُواْ ٱللَّهَ عِندَ ٱلۡمَشۡعَرِ ٱلۡحَرَامِۖ وَٱذۡكُرُوهُ كَمَا هَدَىٰكُمۡ وَإِن كُنتُم مِّن قَبۡلِهِۦ لَمِنَ ٱلضَّآلِّينَ
จะไม่เป็นการบาปใดๆ แก่พวกเจ้า การที่พวกเจ้าจะแสวงหาสิ่งเลี้ยงชีพที่ฮาลาล(สามารถกระทำได้)เช่นการค้าขายหรืออื่นๆในระหว่างการไปทำฮัจญ์ ครั้นเมื่อพวกเจ้าได้ออกจากอะเราะฟาตหลังจากที่พวกเจ้าได้พักอยู่ตรงนั้นในวันที่เก้าของเดือนซุลฮิญะฮ์ไปยังทุ่งมุซดะลิฟะฮ์ ในค่ำคืนที่สิบของเดือนซุลฮิจญะฮ์ ก็จงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮ์ ด้วยการตัสบีห์(การกล่าวซุบฮานัลลอฮ์)และการตะฮ์ลีล(การกล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์)และการขอดูอาอ์ ณ อัล-มัชอะริลฮะรอม ที่ทุ่งมุซดะลิฟะฮ์ และจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮ์ ดังที่พระองค์ได้ทรงแนะนำสัญญาณต่างๆทางศาสนาแก่พวกเจ้าไว้ และการประกอบพิธีฮัจญ์ที่บ้านของพระองค์(กะอฺบะฮฺ) และแท้จริงก่อนหน้านั้น พวกเจ้าอยู่ในหมู่ผู้ที่หลงทางในบทบัญญัติของพระองค์
التفاسير العربية:
ثُمَّ أَفِيضُواْ مِنۡ حَيۡثُ أَفَاضَ ٱلنَّاسُ وَٱسۡتَغۡفِرُواْ ٱللَّهَۚ إِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمٞ
หลังจากนั้นพวกเจ้าจงออกไปจากอะเราะฟาตที่ที่ผู้คนได้หลั่งไหลกันออกไปเป็นการปฏิบัติตามแบบฉบับของ นบีอิบรอฮีม อลัยฮิสลาม ไม่ใช่เช่นการกระทำของพวกญาฮิลียะฮ์(พวกยุคก่อนอิสลาม)ที่ไม่หยุดพักตรงนั้นและจงขออภัยต่ออัลลอฮ์เถิดในสิ่งที่บกพร่องจากการประกอบพิธีฮัจญ์ของพวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮ์นั้น เป็นผู้ทรงอภัยโทษจากบ่าวของพระองค์ที่กลับเนื้อกลับตัว ผู้ทรงเมตตาต่อพวกเขาเสมอ
التفاسير العربية:
فَإِذَا قَضَيۡتُم مَّنَٰسِكَكُمۡ فَٱذۡكُرُواْ ٱللَّهَ كَذِكۡرِكُمۡ ءَابَآءَكُمۡ أَوۡ أَشَدَّ ذِكۡرٗاۗ فَمِنَ ٱلنَّاسِ مَن يَقُولُ رَبَّنَآ ءَاتِنَا فِي ٱلدُّنۡيَا وَمَا لَهُۥ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ مِنۡ خَلَٰقٖ
ครั้นเมื่อพวกเจ้าประกอบพิธีฮัจญ์ของพวกเจ้าเสร็จสมบูรณ์แล้ว พวกเจ้าก็จงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮ์ และกล่าวสรรเสริญต่อพระองค์ให้มาก ดังที่พวกเจ้ากล่าวรำลึกถึงบรรพบุรุษของพวกเจ้าหรือยกย่องพวกเขา หรือกล่าวรำลึกให้มากยิ่งกว่าการรำลึกถึงบรรพบุรุษของพวกเจ้า เพราะทุกความโปรดปรานนั้นมาจากพระองค์ ซุบหานาฮุ วะตะอาลา และมนุษย์นั้นแตกต่างกันไป บางคนก็มีผู้ปฏิเสธศรัทธาและตั้งภาคีที่ไม่ศรัทธานอกเสียจากชีวิตบนโลกนี้เท่านั้น เขาจะไม่ขอหรือวิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของเขานอกจาก การวิงวอนขอความสุขสบาย ความหรูหรา ขอการมีสุขภาพดี มีทรัพย์สมบัติและลูกๆเท่านั้น และพวกเขาจะไม่ได้รับส่วนใดๆในสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงเตรียมไว้สำหรับบ่าวผู้ศรัทธาของพระองค์ในปรโลก เพราะความหลงไหลของพวกเขาต่อการมีชีวิตในโลกนี้ของพวกเขา และไม่สนใจต่อวันอาคิเราะฮ์
التفاسير العربية:
وَمِنۡهُم مَّن يَقُولُ رَبَّنَآ ءَاتِنَا فِي ٱلدُّنۡيَا حَسَنَةٗ وَفِي ٱلۡأٓخِرَةِ حَسَنَةٗ وَقِنَا عَذَابَ ٱلنَّارِ
และในหมู่ของมวลมนุษย์นั้นมีผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลก เขาได้ขอจากพระผู้อภิบาลของเขาถึงความสุขสบายบนโลกนี้และประกอบคุณงามความดี เช่นเดียวกับที่เขาได้ขอให้ได้รับชัยชนะเข้าสรวงสวรรค์ และรอดพ้นจากการลงโทษของไฟนรก
التفاسير العربية:
أُوْلَٰٓئِكَ لَهُمۡ نَصِيبٞ مِّمَّا كَسَبُواْۚ وَٱللَّهُ سَرِيعُ ٱلۡحِسَابِ
ชนเหล่านี้ที่ขอสิ่งที่ดีทั้งในโลกดุนยานี้และในปรโลก พวกเขาจะได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่จากสิ่งที่พวกเขาได้แสวงหาไว้ จากผลงานที่ดีในโลกดุนยานี้ และอัลลอฮ์นั้น เป็นผู้ทรงรวดเร็วในการคำนวณการงานของพวกเขา
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• يجب على المؤمن التزود في سفر الدنيا وسفر الآخرة، ولذلك ذكر الله أن خير الزاد هو التقوى.
จำเป็นสำหรับผู้ศรัทธาต้องเตรียมเสบียงสำหรับโลกดุนยานี้และปรโลก ดังนั้นอัลลอฮ์ตรัสไว้ว่าเสบียงที่ดีที่สุดคือความยำเกรง

• مشروعية الإكثار من ذكر الله تعالى عند إتمام نسك الحج.
อนุญาตให้มีการรำลึกถึงอัลลอฮ์ ตะอาลาให้มากๆ เมื่อเสร็จสิ้นการประกอบพิธีฮัจญ์แล้ว

• اختلاف مقاصد الناس؛ فمنهم من جعل همّه الدنيا، فلا يسأل ربه غيرها، ومنهم من يسأله خير الدنيا والآخرة، وهذا هو الموفَّق.
มนุษย์มีเจตนารมณ์แตกต่างกัน บางคนให้ความสำคัญกับโลกนี้ เขาจะไม่ขออะไรเลยจากพระอภิบาลของเขานอกจากเรื่องของโลกนี้เท่านั้น และมีบางคนที่ขอพระอภิบาลของเขาให้เขาในสิ่งที่ดีของโลกนี้และปรโลก และนี่คือผู้ที่ได้รับการชี้นำที่ดีที่สุด

۞ وَٱذۡكُرُواْ ٱللَّهَ فِيٓ أَيَّامٖ مَّعۡدُودَٰتٖۚ فَمَن تَعَجَّلَ فِي يَوۡمَيۡنِ فَلَآ إِثۡمَ عَلَيۡهِ وَمَن تَأَخَّرَ فَلَآ إِثۡمَ عَلَيۡهِۖ لِمَنِ ٱتَّقَىٰۗ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّكُمۡ إِلَيۡهِ تُحۡشَرُونَ
และพวกเจ้าจงรำลึกถึงอัลลอฮ์ด้วยการตักบีร(การกล่าวอัลลอฮุอักบัร)และการตะฮ์ลีล(การกล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์)ในไม่กี่วัน คือวันที่สิบเอ็ด วันที่สิบสอง และวันที่สิบสามของเดือนซุลฮิจญะฮ์ แล้วผู้ใดรีบเร่งจะกลับและออกจากทุ่งมินาหลังจากขว้างเสาหินของวันที่สิบสองเสร็จเรียบร้อยแล้ว เขาสามารถทำได้และไม่มีความผิดใดๆ แก่เขา เพราะอัลลอฮ์ได้ลดหย่อนแก่พวกเขา และผู้ใดรั้งรอไปอีกถึงวันที่สิบสามจนกระทั่งขว้างเสาหินเสร็จเรียบร้อย เขาสามารถทำได้ และไม่มีความผิดใดๆ แก่เขา แท้จริงเขาได้ทำสิ่งที่ดีกว่าสมบูรณ์กว่า และปฏิบัติตามแนวทางของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอลัยฮิวะซัลลัม ที่ได้ปฏิบัติไว้ ทั้งหมดนี้สำหรับผู้ที่มีความยำเกรงอัลลอฮ์ในการทำฮัจญ์ของเขาและเขาได้ทำตามที่อัลลอฮฺทรงบัญชา และจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิดด้วยการปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์และหลีกเลี่ยงข้อห้ามของพระองค์ และพึงรู้เถิดว่า พวกเจ้านั้นจะกลับไปหาพระองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้น และพระองค์จะตอบแทนการงานของพวกเจ้า
التفاسير العربية:
وَمِنَ ٱلنَّاسِ مَن يُعۡجِبُكَ قَوۡلُهُۥ فِي ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا وَيُشۡهِدُ ٱللَّهَ عَلَىٰ مَا فِي قَلۡبِهِۦ وَهُوَ أَلَدُّ ٱلۡخِصَامِ
204-โอ้นบีเอ๋ย และในหมู่มนุษย์นั้น มีคนมุนาฟิก คนที่คำพูดของเขา ทำให้เจ้าหลงใหลในชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกดุนยานี้ และเจ้าจะเห็นว่าเขานั้นพูดดี จนเจ้าเชื่อ คิดว่าเขานั้นมีความจริงใจและคำแนะนำของเขา แต่แท้จริงแล้วจุดประสงค์ของเขาเพื่อปกป้องตัวของเขาและทรัพย์สินของเขาเท่านั้น และเขาจะอ้างอัลลอฮ์เป็นพยาน ทั้งๆที่เขานั้นพูดโกหกในสิ่งที่อยู่ในหัวใจของเขาเช่นการศรัทธาและความดี และขณะเดียวกันเขาคือศัตรูและเป็นปฏิปักษ์ตัวฉกาจต่อชาวมุสลิม
التفاسير العربية:
وَإِذَا تَوَلَّىٰ سَعَىٰ فِي ٱلۡأَرۡضِ لِيُفۡسِدَ فِيهَا وَيُهۡلِكَ ٱلۡحَرۡثَ وَٱلنَّسۡلَۚ وَٱللَّهُ لَا يُحِبُّ ٱلۡفَسَادَ
205-และเมื่อเขาให้หลังจากเจ้าไปและแยกออกจากเจ้าแล้ว เขาก็เพียรพยายามบนหน้าแผ่นดินนี้ เพื่อก่อความเสียหายด้วยการทำบาปและทำลายพืชผล และฆ่าสัตว์ต่างๆ และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบการก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดินและไม่ทรงชอบผู้ก่อความเสียหาย
التفاسير العربية:
وَإِذَا قِيلَ لَهُ ٱتَّقِ ٱللَّهَ أَخَذَتۡهُ ٱلۡعِزَّةُ بِٱلۡإِثۡمِۚ فَحَسۡبُهُۥ جَهَنَّمُۖ وَلَبِئۡسَ ٱلۡمِهَادُ
206-และเมื่อได้มีการกล่าวแก่ผู้ก่อความหายนะนั้น เพื่อที่จะแนะนำเขาว่า "จงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด" ด้วยการให้ความสำคัญต่อขอบเขตของพระองค์ และหลีกเลี่ยงจากข้อห้ามของพระองค์" ความหยิ่งในเกียรติและความผยองก็จะห้ามเขาที่จะกลับไปหาสัจธรรม และจะกระทำบาปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นบทลงโทษที่เหมาะแก่เขานั้นก็คือนรกญะฮันนัม และมันเป็นที่พำนักและที่อยู่อาศัยที่แสนโหดร้ายสำหรับผู้อยู่อาศัยของมัน
التفاسير العربية:
وَمِنَ ٱلنَّاسِ مَن يَشۡرِي نَفۡسَهُ ٱبۡتِغَآءَ مَرۡضَاتِ ٱللَّهِۚ وَٱللَّهُ رَءُوفُۢ بِٱلۡعِبَادِ
และในหมู่มนุษย์นั้นมีผู้ศรัทธาที่อุทิศชีวิตของเขา โดยทุ่มเทเสียสละชีวิตเพื่อการเชื่อฟังพระผู้อภิบาลของเขา และต่อสู้ในหนทางของพระองค์เพื่อแสวงหาความพอพระทัยของพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเมตตาที่กว้างขวางแก่ปวงบ่าวของพระองค์และผู้ทรงเอ็นดูต่อพวกเขาเสมอ
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱدۡخُلُواْ فِي ٱلسِّلۡمِ كَآفَّةٗ وَلَا تَتَّبِعُواْ خُطُوَٰتِ ٱلشَّيۡطَٰنِۚ إِنَّهُۥ لَكُمۡ عَدُوّٞ مُّبِينٞ
208- โอ้บรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และปฏิบัติตามเราะสูลของพระองค์เอ๋ย "จงเข้าสู่อิสลลามโดยสมบูรณ์ และอย่าได้ละทิ้งสิ่งใดๆจากมัน เหมือนกับที่ชาวคัมภีร์(ยิวและคริสต์)ที่ศรัทธาต่อบางส่วนของคัมภีร์และปฏิเสธอีกบางส่วน และจงอย่าตามบรรดาก้าวเดินของชัยฏอน แท้จริงมันคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า
التفاسير العربية:
فَإِن زَلَلۡتُم مِّنۢ بَعۡدِ مَا جَآءَتۡكُمُ ٱلۡبَيِّنَٰتُ فَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٌ
209-หากพวกเจ้าพลาดพลั้งหรือหลงทางหลังจากหลักฐานที่ชัดเจนมาถึงพวกเจ้าแล้ว จงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮ์ทรงเดชานุภาพในความสามารถและอำนาจของพระองค์ ทรงปรีชาญาณในการวางแผนจัดการและการบัญญัติพระบัญญัติศาสนาของพระองค์ ดังนั้นจงยำเกรงและถวายเกียรติแด่พระองค์เถิด
التفاسير العربية:
هَلۡ يَنظُرُونَ إِلَّآ أَن يَأۡتِيَهُمُ ٱللَّهُ فِي ظُلَلٖ مِّنَ ٱلۡغَمَامِ وَٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ وَقُضِيَ ٱلۡأَمۡرُۚ وَإِلَى ٱللَّهِ تُرۡجَعُ ٱلۡأُمُورُ
210- และพวกเขาเหล่านั้นที่ตามย่างก้าวของชัยฏอนที่ออกไปจากทางแห่งสัจธรรมนั้น มิได้รอคอยอะไร นอกจากการเสด็จมาของอัลลอฮ์มายังพวกเขาในวันกิยามะฮ์ซึ่งเป็นการเสด็จมาที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ซุบฮานะฮุ วะตะอาลา ในร่มเงาจากเมฆเพื่อตัดสินระหว่างพวกเขา และมลาอิกะฮ์ได้มายังพวกเขา ล้อมรอบพวกเขาจากทุกด้าน และหลังจากนั้นการตัดสินของอัลลอฮ์ที่มีต่อพวกเขาได้เกิดขึ้น และเว้นว่างจากเขา และเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งถูกสร้างและกิจการของพวกเขาทั้งหมดนั้นจะถูกนำกลับไปยังอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮุ วะตะอาลาเพียงผู้เดียวเท่านั้น
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• التقوى حقيقة لا تكون بكثرة الأعمال فقط، وإنما بمتابعة هدي الشريعة والالتزام بها.
ความยำเกรงที่แท้จริงนั้นไม่ใช่ด้วยการปฏิบัติที่มากมายเท่านั้น แต่ด้วยการปฏิบัติตามหลักแห่งบทบัญญัติและยืนหยัดกับมันต่างหาก

• الحكم على الناس لا يكون بمجرد أشكالهم وأقوالهم، بل بحقيقة أفعالهم الدالة على ما أخفته صدورهم.
การตัดสินผู้อื่นนั้นจะไม่เกิดขึ้นเพียงแค่รูปภายนอกและคำพูดของพวกเขาเท่านั้น แต่ต้องดูที่ความจริงที่เกิดขึ้นจากการกระทำของพวกเขาที่ออกมาจากหัวใจของพวกเขา

• الإفساد في الأرض بكل صوره من صفات المتكبرين التي تلازمهم، والله تعالى لا يحب الفساد وأهله.
การสร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดินในทุกรูปแบบนั้น มันเป็นคุณลักษณะของผู้ที่ผยอง และแท้จริงแล้วอัลลอฮ์ไม่ทรงชอบความเสียหายและไม่ทรงชอบผู้ที่สร้างมัน

• لا يكون المرء مسلمًا حقيقة لله تعالى حتى يُسَلِّم لهذا الدين كله، ويقبله ظاهرًا وباطنًا.
บุคคลจะยังไม่เป็นมุสลิมที่จำนนต่ออัลลอฮ์ ตะอาลาอย่างแท้จริง จนกว่าเขาจะจำนนต่อศาสนานี้ทุกด้านและยอมรับมันทั้งภายนอกและภายใน

سَلۡ بَنِيٓ إِسۡرَٰٓءِيلَ كَمۡ ءَاتَيۡنَٰهُم مِّنۡ ءَايَةِۭ بَيِّنَةٖۗ وَمَن يُبَدِّلۡ نِعۡمَةَ ٱللَّهِ مِنۢ بَعۡدِ مَا جَآءَتۡهُ فَإِنَّ ٱللَّهَ شَدِيدُ ٱلۡعِقَابِ
211- โอ้นบีเอ๋ย เจ้าจงถามวงศ์วานของอิสรออีลเพื่อตำหนิพวกเขาดูเถิดว่า "เท่าไรแล้วที่อัลลอฮ์ได้อธิบายถึงสัญญาณที่บ่งบอกถึงความสัจธรรมของบรรดาเราะสูลแก่พวกเจ้า แล้วพวกเจ้าปฏิเสธและคัดค้านมัน และผู้ใดเปลี่ยนแปลงความกรุณาของอัลลอฮ์ด้วยการปฏิเสธศรัทธาและปฏิเสธหลังจากที่ได้รับรู้และหลังการปรากฎของมันแล้ว แน่นอนอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงลงโทษที่รุนแรงสำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา
التفاسير العربية:
زُيِّنَ لِلَّذِينَ كَفَرُواْ ٱلۡحَيَوٰةُ ٱلدُّنۡيَا وَيَسۡخَرُونَ مِنَ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْۘ وَٱلَّذِينَ ٱتَّقَوۡاْ فَوۡقَهُمۡ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِۗ وَٱللَّهُ يَرۡزُقُ مَن يَشَآءُ بِغَيۡرِ حِسَابٖ
212 - ชีวิตของโลก ความพอใจจอมปลอม และความเพลิดเพลินชั่วคราวที่มีอยู่ในโลกนี้นั้น ล้วนถูกทำให้ดีสวยงามในสายตาของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และพวกเขาได้เยาะเย้ยต่อบรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลก ในขณะที่บรรดาผู้ที่เกรงกลัวอัลลอฮ์โดยปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์และละทิ้งข้อห้ามของพระองค์จะอยู่เหนือบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในปรโลก โดยอัลลอฮ์จะทรงให้บรรดาผู้ยำเกรงได้พำนักในสวรรค์อัดน์ และอัลลอฮ์จะทรงประทานแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ด้วยของกำนัลมากมายนับไม่ถ้วน
التفاسير العربية:
كَانَ ٱلنَّاسُ أُمَّةٗ وَٰحِدَةٗ فَبَعَثَ ٱللَّهُ ٱلنَّبِيِّـۧنَ مُبَشِّرِينَ وَمُنذِرِينَ وَأَنزَلَ مَعَهُمُ ٱلۡكِتَٰبَ بِٱلۡحَقِّ لِيَحۡكُمَ بَيۡنَ ٱلنَّاسِ فِيمَا ٱخۡتَلَفُواْ فِيهِۚ وَمَا ٱخۡتَلَفَ فِيهِ إِلَّا ٱلَّذِينَ أُوتُوهُ مِنۢ بَعۡدِ مَا جَآءَتۡهُمُ ٱلۡبَيِّنَٰتُ بَغۡيَۢا بَيۡنَهُمۡۖ فَهَدَى ٱللَّهُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لِمَا ٱخۡتَلَفُواْ فِيهِ مِنَ ٱلۡحَقِّ بِإِذۡنِهِۦۗ وَٱللَّهُ يَهۡدِي مَن يَشَآءُ إِلَىٰ صِرَٰطٖ مُّسۡتَقِيمٍ
มนุษย์เคยเป็นประชาชาติเดียวกันที่ตกลงบนเส้นทางที่ถูกต้องเดียวกัน กล่าวคือ ศาสนาของบรรพบุรุษของพวกเขาคืออาดัม จนกระทั่งพวกเขาถูกชัยฏอนทำให้หลง ดังนั้นพวกเขาจึงขัดแย้งกัน บางคนเป็นผู้ศรัทธาและบางคนเป็นผู้ปฏิเสธ ด้วยเหตุนี้อัลลอฮ์จึงส่งบรรดาเราะสูลเพื่อแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่ศรัทธาและเชื่อฟังพระองค์ ด้วยความรักความเมตตาที่อัลลอฮ์สัญญาไว้สำหรับพวกเขา และเพื่อเตือนผู้ปฏิเสธศรัทธาด้วยการลงโทษอันเจ็บปวดสำหรับพวกเขา และพระองค์ได้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาพร้อมกับบรรดาเราะสูลของพระองค์ที่ประกอบด้วยความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เพื่อให้บรรดาเราะสูลได้ใช้ในการตัดสินในประเด็นที่พวกเขาขัดแย้งกัน และไม่มีใครขัดแย้งเกี่ยวกับคัมภีร์อัตเตารอตยกเว้นพวกยิวที่ได้รับความรู้จากเนื้อหาในคัมภีร์หลังจากที่ความจริงของอัลลอฮ์ได้กระจ่างชัดซึ่งพวกเขาไม่สามารถโต้แย้งได้ (แต่พวกเขายังขัดแย้งกัน) เนื่องจากความอธรรมที่เกิดขึ้นจากพวกเขา ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงแนะนำบรรดาผู้ศรัทธาให้แยกแยะระหว่างความจริงกับความเท็จ ด้วยการอนุมัติและความประสงค์ของพระองค์ และอัลลอฮ์ทรงชี้นำให้ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์สู่ทางอันเที่ยงตรงซึ่งไม่คดเคี้ยว นั้นคือทางแห่งศรัทธา
التفاسير العربية:
أَمۡ حَسِبۡتُمۡ أَن تَدۡخُلُواْ ٱلۡجَنَّةَ وَلَمَّا يَأۡتِكُم مَّثَلُ ٱلَّذِينَ خَلَوۡاْ مِن قَبۡلِكُمۖ مَّسَّتۡهُمُ ٱلۡبَأۡسَآءُ وَٱلضَّرَّآءُ وَزُلۡزِلُواْ حَتَّىٰ يَقُولَ ٱلرَّسُولُ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مَعَهُۥ مَتَىٰ نَصۡرُ ٱللَّهِۗ أَلَآ إِنَّ نَصۡرَ ٱللَّهِ قَرِيبٞ
214 -โอ้ผู้ศรัทธาเอ๋ย หรือพวกเจ้าคิดว่า พวกเจ้าจะได้เข้าสวรรค์ โดยที่ไม่ประสบกับความยากลำบากเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในอดีตก่อนหน้าพวกเจ้า ที่ประสบกับความยากจน ล้มป่วย และความหวาดกลัวต่างๆทำให้พวกเขาประสบกับความระส่ำระสาย จนกระทั่งความทุกข์ยากเหล่านั้นทำให้พวกเขาต้องรีบร้อนขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์ จนรอสูลและบรรดาผู้ศรัทธากับเขา ต่างก็กล่าวขึ้นว่า เมื่อไรเล่าการช่วยเหลือของอัลลอฮ์จะมา? พึงรู้เถิดว่าแท้จริงการช่วยเหลือจากอัลลอฮ์นั้นอยู่ใกล้กับบรรดาผู้ศรัทธาต่อพระองค์ และมอบหมายต่อพระองค์เสมอ
التفاسير العربية:
يَسۡـَٔلُونَكَ مَاذَا يُنفِقُونَۖ قُلۡ مَآ أَنفَقۡتُم مِّنۡ خَيۡرٖ فَلِلۡوَٰلِدَيۡنِ وَٱلۡأَقۡرَبِينَ وَٱلۡيَتَٰمَىٰ وَٱلۡمَسَٰكِينِ وَٱبۡنِ ٱلسَّبِيلِۗ وَمَا تَفۡعَلُواْ مِنۡ خَيۡرٖ فَإِنَّ ٱللَّهَ بِهِۦ عَلِيمٞ
215- โอ้นบีเอ๋ย บรรดาเศาะฮาบะฮ์ของเจ้าได้ถามเจ้าว่า อะไรที่พวกเขาจะใช้จ่ายในทรัพย์สินที่หลากหลายของพวกเขา? และจะไปไว้ที่ไหน? จงตอบพวกเขาไปเถิดว่า ทรัพย์สินใดๆ ก็ตามที่พวกเจ้าใช่จ่ายไป ในสิ่งที่อนุมัติและเป็นสิ่งที่ดี ก็จงให้แก่ผู้บังเกิดเกล้าทั้งสอง และแก่ผู้ที่ลำบากที่เป็นญาติใกล้ชิดกับเจ้าตามความเหมาะสม และแก่บรรดาผู้ที่มีความจำเป็นที่ต้องการในทรัพย์สินเช่นเด็กกำพร้า บรรดาคนยากจนที่ไม่มีทรัพย์สิน และผู้ที่อยู่ในการเดินทางที่ไกลจากครอบครัวและแผ่นดินของเขา โอ้ ผู้ศรัทธาเอ๋ย ที่พวกเจ้ากระทำอยู่นั้นจะมากหรือน้อย แท้จริงแล้วอัลลอฮ์ทรงรู้ดี จะไม่มีสิ่งใดถูกซ่อนไว้ ณ ที่พระองค์และพระองค์จะทรงตอบแทนพวกเจ้า
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• ترك شكر الله تعالى على نعمه وترك استعمالها في طاعته يعرضها للزوال ويحيلها بلاءً على صاحبها.
การไม่สำนึกในความกรุณาของอัลลอฮ์(ไม่ชุกูร)และไม่นำความโปรดปรานที่ได้จากความกรุณาของพระองค์มาใช้ในหนทางแห่งการเชื่อฟังพระองค์นั้น อาจทำให้ความโปรดปรานเหล่านั้นสลายไปและสิ่งนั้นอาจกลายเป็นภัยต่อเขา

• الأصل أن الله خلق عباده على فطرة التوحيد والإيمان به، وإبليس وأعوانه هم الذين صرفوهم عن هذه الفطرة إلى الشرك به.
หลักเดิมของมนุษย์ที่ถูกสร้างมานั้น คือ การเชื้อในเอกภาพของอัลลอฮ์ และศรัทธาต่อพระองค์ แต่อิบลีสและบรรดาบริวารของเขาคือผู้ที่ทำให้พวกเขาออกจากสัญชาตญาณเดิมนี้ไปสู่การตั้งภาคีต่อพระองค์

• أعظم الخذلان الذي يؤدي للفشل أن تختلف الأمة في كتابها وشريعتها، فيكفّر بعضُها بعضًا، ويلعن بعضُها بعضًا.
ความตกต่ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่นำไปสู่ความล้มเหลวนั้น คือความขัดแย้งของประชาชาติต่อคัมภีร์และบทบัญญัติของพวกเขา ซึ่งพวกเขาต่างก็จะกล่าวหาผู้อื่นเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาและต่างก็จะสาปแช่งกันไปมาระหว่างพวกเขา

• الهداية للحق الذي يختلف فيه الناس، ومعرفة وجه الصواب بيد الله، ويُطلب منه تعالى بالإيمان به والانقياد له.
การได้รับทางนำสู่สัจธรรมที่มนุษย์ได้ขัดแย้งกัน และการเข้าถึงด้านที่ถูกต้อง(เพื่อแยกออกจากด้านที่ผิดนั้น)อยู่ในพระหัตถ์ของอัลลอฮ์เท่านั้น และสามารถขอจากอัลลอฮ์ได้ผ่านการศรัทธาและการเชื่อฟังพระองค์

• الابتلاء سُنَّة الله تعالى في أوليائه، فيبتليهم بقدر ما في قلوبهم من الإيمان به والتوكل عليه.
การทดสอบคือ(ซุนนะตุลลอฮ์)เกณฑ์ของอัลลอฮ์ที่ใช้กับบรรดาผู้ที่อัลลอฮ์ทรงรัก ดังนั้นอัลลอฮ์จึงทรงทดสอบพวกเขาตามระดับของการศรัทธาที่มีในใจของพวกเขาและการยอมจำนนมอบหมายต่อพระองค์

• من أعظم ما يعين على الصبر عند نزول البلاء، الاقتداء بالصالحين وأخذ الأسوة منهم.
สิ่งที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้มีความอดทนในยามที่ประสบกับความทุกข์ยากและการทดสอบนั้น คือการยึดแนวทางของเหล่าผู้ทรงคุณธรรมและเลียนแบบทัศนคติของพวกเขา

كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلۡقِتَالُ وَهُوَ كُرۡهٞ لَّكُمۡۖ وَعَسَىٰٓ أَن تَكۡرَهُواْ شَيۡـٔٗا وَهُوَ خَيۡرٞ لَّكُمۡۖ وَعَسَىٰٓ أَن تُحِبُّواْ شَيۡـٔٗا وَهُوَ شَرّٞ لَّكُمۡۚ وَٱللَّهُ يَعۡلَمُ وَأَنتُمۡ لَا تَعۡلَمُونَ
216- โอ้ผู้ศรัทธาเอ๋ย การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์นั้นได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้าแล้ว และโดยสัญชาตญาณแล้วสิ่งนี้ไม่เป็นที่พอใจสำหรับจิตวิญญาณของมนุษย์ เพราะมันเรียกร้องสู่การเสียสละทั้งทรัพย์สินและชีวิต แต่บางทีอาจเป็นไปได้ว่า การที่พวกเจ้าเกลียดสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้วสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีและให้ประโยชน์แก่พวกเจ้า เช่นการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ ซึ่งสิ่งที่จะได้มาพร้อมกับผลบุญที่ยิ่งใหญ่นั้น คือการได้รับชัยชนะเหนือศัตรูและเป็นการทำให้กะลิมะฮ์ของอัลลอฮ์ (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ )ได้สูงส่งอีกด้วย และบางทีก็อาจเป็นไปได้ว่าการที่พวกเจ้าชอบสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งไม่ดีและเป็นภัยร้ายต่อพวกเจ้า เช่นการไม่ออกไปต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ เพราะการไม่ออกไปต่อสู้นั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความตกต่ำและตกอยู่ภายใต้ปกครองของศัตรู และอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้อย่างสมบูรณ์ถึงสิ่งใดดีและสิ่งใดไม่ดี และพวกเจ้าไม่รู้ถึงสิ่งนั้น ดังนั้นจงตอบรับในคำบัญชาของพระองค์เถิด เพราะมันจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพวกเจ้า
التفاسير العربية:
يَسۡـَٔلُونَكَ عَنِ ٱلشَّهۡرِ ٱلۡحَرَامِ قِتَالٖ فِيهِۖ قُلۡ قِتَالٞ فِيهِ كَبِيرٞۚ وَصَدٌّ عَن سَبِيلِ ٱللَّهِ وَكُفۡرُۢ بِهِۦ وَٱلۡمَسۡجِدِ ٱلۡحَرَامِ وَإِخۡرَاجُ أَهۡلِهِۦ مِنۡهُ أَكۡبَرُ عِندَ ٱللَّهِۚ وَٱلۡفِتۡنَةُ أَكۡبَرُ مِنَ ٱلۡقَتۡلِۗ وَلَا يَزَالُونَ يُقَٰتِلُونَكُمۡ حَتَّىٰ يَرُدُّوكُمۡ عَن دِينِكُمۡ إِنِ ٱسۡتَطَٰعُواْۚ وَمَن يَرۡتَدِدۡ مِنكُمۡ عَن دِينِهِۦ فَيَمُتۡ وَهُوَ كَافِرٞ فَأُوْلَٰٓئِكَ حَبِطَتۡ أَعۡمَٰلُهُمۡ فِي ٱلدُّنۡيَا وَٱلۡأٓخِرَةِۖ وَأُوْلَٰٓئِكَ أَصۡحَٰبُ ٱلنَّارِۖ هُمۡ فِيهَا خَٰلِدُونَ
217- โอ้นบีเอ๋ย พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับการทำสงครามในเดือนอันทรงเกียรติ คือเดือนซุลเกาะอ์ดะฮ์ ซุลฮิจญะฮ์ มุฮัรรอมและรอญับ จงตอบพวกเขาเถิดว่า "การทำสงครามในเดือนนั้นถือเป็นบาปมหันต์และเป็นความชั่วร้าย ณ ที่อัลลอฮ์ เช่นเดียวกันกับการที่บรรดาผู้ตั้งภาคีได้ขัดขวางผู้คนให้ออกจากทางของอัลลอฮ์ก็เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจเช่นกัน และการกีดกันบรรดาผู้ศรัทธาไม่ให้เข้าไกล้มัสยิดอัลฮะรอมตลอดจนการขับไล่ผู้อยู่อาศัยในมัสยิดอัลฮะรอมออกจากมัสยิดเป็นบาปที่ยิ่งใหญ่กว่า ณ ที่อัลลอฮ์ มากกว่าการสู้รบในเดือนอันทรงเกียรติ และการตั้งภาคีของพวกเขานั้นบาปยิ่งกว่าการฆาตกรรม และบรรดาผู้ตั้งภาคีซึ่งด้วยความอธรรมของพวกเขาก็ยังคงทำสงครามกับพวกเจ้าต่อไป -โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลายเอ๋ย- จนกว่าพวกเขาจะทำให้พวกเจ้าออกจากศาสนาแห่งสัจธรรมที่แท้จริงของพวกเจ้าไปยังศาสนาเท็จที่อุปโลกน์ขึ้นมาของพวกเขา หากพวกเขาสามารถทำได้ และผู้ใดในหมู่พวกเจ้าออกจากศาสนาของเขา แล้วตายในขณะที่เขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์ การงานที่ดีของพวกเขาจะไร้ผล และในปรโลกเขาจะตกนรกและอยู่ในนั้นตลอดกาล
التفاسير العربية:
إِنَّ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَٱلَّذِينَ هَاجَرُواْ وَجَٰهَدُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ أُوْلَٰٓئِكَ يَرۡجُونَ رَحۡمَتَ ٱللَّهِۚ وَٱللَّهُ غَفُورٞ رَّحِيمٞ
218-แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และเราะสูลของพระองค์ และบรรดาผู้ที่อพยพออกจากแผ่นดินของพวกเขาไปยังอัลลอฮ์และเราะสูลของพระองค์ และได้เสียสละทำการต่อสู้เพื่อให้กะลิมะฮ์ของอัลลอฮ์นั้นสูงส่ง พวกเขาคือผู้ที่หวังในความเมตตาของอัลลอฮ์ และการอภัยโทษจากพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษต่อบาปต่างๆของปวงบ่าวของพระองค์ ผู้ทรงเมตตาต่อพวกเขาเสมอ
التفاسير العربية:
۞ يَسۡـَٔلُونَكَ عَنِ ٱلۡخَمۡرِ وَٱلۡمَيۡسِرِۖ قُلۡ فِيهِمَآ إِثۡمٞ كَبِيرٞ وَمَنَٰفِعُ لِلنَّاسِ وَإِثۡمُهُمَآ أَكۡبَرُ مِن نَّفۡعِهِمَاۗ وَيَسۡـَٔلُونَكَ مَاذَا يُنفِقُونَۖ قُلِ ٱلۡعَفۡوَۗ كَذَٰلِكَ يُبَيِّنُ ٱللَّهُ لَكُمُ ٱلۡأٓيَٰتِ لَعَلَّكُمۡ تَتَفَكَّرُونَ
219-โอ้นบีเอ๋ย เศาะฮาบะฮ์ของเจ้าจะถามเจ้าเกี่ยวกับน้ำเมา(คือทุกอย่างที่ครอบสติปัญญาและที่ทำให้สติหายไป)ถึงหุก่ม(ของการดื่ม และการซื้อขายน้ำเมา และพวกเขาจะถามเจ้าถึงการพนัน(ทรัพย์สินสิ่งของที่ได้มาด้วยการแข่งขันซึ่งได้รับชดเชยโดยคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง)จงตอบพวกเขาเถิดว่า ในทั้งสองนั้นมีโทษซึ่งทำให้ศาสนาและทางโลกนั้นพินาศอย่างมาก ทั้งทำให้ขาดสติและให้ทรัพย์สินหมดไป และจะจมปักอยู่กับศัตรูและความเกลียดชัง และทั้งสองนั้นมีคุณอย่างน้อยนิด เช่นได้ผลกำไรทางการเงิน แต่โทษและบาปที่จะได้รับจากทั้งสองนั้นมากกว่าคุณของมัน เมื่อโทษของมันนั้นมากกว่าคุณของมันแล้ว คนที่มีความคิดเขาจะหลีกเลี่ยงจากมัน และคำกล่าวนี้มาจากอัลลอฮฺเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการห้ามน้ำเมา โอ้นบีเอ๋ย และเศาะหาบะฮฺจะถามเจ้าถึงปริมาณทรัพย์สินที่พวกเขาจะทำบุญและบริจาค จงตอบพวกเขาเถิดว่า พวกเจ้าจงจ่ายจากทรัพย์สินที่เหลือจากการใช้จ่ายของพวกเจ้า(และแท้จริงแล้วนี่เป็นคำสั่งแรก หลังจากนั้นอัลลอฮฺได้ทรงกำหนดจ่ายซะกาตของทรัพย์สินและด้วยปริมาณที่ถูกกำหนด)และคำกล่าวอันชัดเจนนี้ อัลลอฮฺจะทรงแจกแจงโองการทั้งหลายแก่พวกเจ้าเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ใคร่ครวญ
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• الجهل بعواقب الأمور قد يجعل المرء يكره ما ينفعه ويحب ما يضره، وعلى المرء أن يسأل الله الهداية للرشاد.
การไม่รู้ถึงผลลัพธ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจทำให้มนุษย์นั้นเกลียดสิ่งที่เป็นประโยชน์และชอบในสิ่งที่เป็นโทษ ดังนั้นจำเป็นสำหรับมนุษย์นั้นต้องขอจากอัลลอฮ์ถึงทางนำเพื่อสู่แนวทางที่ถูกต้อง

• جاء الإسلام بتعظيم الحرمات والنهي عن الاعتداء عليها، ومن أعظمها صد الناس عن سبيل الله تعالى.
อิสลามมาพร้อมกับคำสอนแห่งการเคารพเกียรติต่างๆ และห้ามไม่ให้ละเมิดเกียรติเหล่านั้น และหนึ่งในข้อห้ามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการกีดกันผู้คนจากเส้นทางของอัลลอฮ์ - ตาอาลา-

• لا يزال الكفار أبدًا حربًا على الإسلام وأهله حتَّى يخرجوهم من دينهم إن استطاعوا، والله موهن كيد الكافرين.
บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะยังคงทำสงครามกับอิสลามและประชาชาติของอิสลาม จนกว่าพวกเขาสามารถทำให้มุสลิมออกจากศาสนาของพวกเขาและอัลลอฮ์นั้นทรงทำให้แผนการของบรรดาผู้ปฏิเสธนั้นอ่อนแอ

• الإيمان بالله تعالى، والهجرة إليه، والجهاد في سبيله؛ أعظم الوسائل التي ينال بها المرء رحمة الله ومغفرته.
การศรัทธาต่ออัลลอฮ์ตะอาลา การอพยพไปยังพระองค์และการต่อสู้ในหนทางของพระองค์นั้น ถือว่าเป็นวิธีการที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาของอัลลอฮ์และการอภัยโทษจากพระองค์

• حرّمت الشريعة كل ما فيه ضرر غالب وإن كان فيه بعض المنافع؛ مراعاة لمصلحة العباد.
บทบัญัติของอิสลามได้ห้ามทุกสิ่งที่ส่วนใหญ่เป็นโทษ แม้จะมีบางส่วนที่เป็นประโยชน์ เพื่อคำนึงถึงผลประโยชน์ของบ่าวทั้งหลาย

فِي ٱلدُّنۡيَا وَٱلۡأٓخِرَةِۗ وَيَسۡـَٔلُونَكَ عَنِ ٱلۡيَتَٰمَىٰۖ قُلۡ إِصۡلَاحٞ لَّهُمۡ خَيۡرٞۖ وَإِن تُخَالِطُوهُمۡ فَإِخۡوَٰنُكُمۡۚ وَٱللَّهُ يَعۡلَمُ ٱلۡمُفۡسِدَ مِنَ ٱلۡمُصۡلِحِۚ وَلَوۡ شَآءَ ٱللَّهُ لَأَعۡنَتَكُمۡۚ إِنَّ ٱللَّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٞ
220-การที่ได้บัญญัติสิ่งเหล่านี้ก็เพื่อให้พวกเจ้าได้ไตร่ตรองถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเจ้าทั้งในโลกดุนยานี้และปรโลก โอ้นบีเอ๋ย และบรรดาเศาะฮาบะฮ์ของเจ้าจะถามเจ้าเกี่ยวกับหน้าที่ของพวกเขาในเป็นผู้ดูแลเด็กกำพร้า พวกเขาจะปฏิบัติตนและอยู่ร่วมกับเด็กกำพร้าเหล่านั้นอย่างไร?ต้องรวมทรัพย์สินของพวกเขาในการใช้จ่ายบริโภคและที่อยู่อาศัยหรือไม่? จงตอบพวกเขาไปเถิดว่า "ความเต็มใจของพวกเจ้าที่มีต่อพวกเขาด้วยการดูแลทรัพย์สินของพวกเขา โดยไม่มีข้อแลกเปลี่ยนใดๆ หรือ(นำทรัพย์สิน)ไปรวมกับทรัพย์สินของพวกเขาด้วยกันนั้นเป็นสิ่งดียิ่งสำหรับพวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮ์ และได้ผลบุญที่ใหญ่ยิ่ง และเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพวกเขาที่มีต่อทรัพย์สินของพวกเขา เพื่อเป็นการเก็บรักษาทรัพย์สินของพวกเขา และหากพวกเจ้าได้อยู่ร่วมกับพวกเขา แล้วเอาทรัพย์สินของพวกเขามารวมกับของพวกเจ้าในการใช้ชีวิต ที่อยู่อาศัยและสิ่งอื่นที่ใกล้เคียงก็ไม่ได้เป็นการผิดใดๆ พวกเขาก็คือพี่น้องร่วมศาสนากับพวกเจ้า และพี่น้องนั้นจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และบางคนจะช่วยในเรื่องของอีกคน และอัลลอฮ์นั้นทรงรู้ดีว่าผู้ใดมีเจตนาก่อความเสียหายในหมู่ผู้ดูแลเด็กกำพร้าเหล่านั้น ด้วยการนำทรัพย์สินไปรวมกับทรัพย์สินของเด็กกำพร้า หรือผู้ใดมีเจตนาเพื่อการดูแลจริงๆ และหากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้พวกเจ้าลำบากในเรื่องของเด็กกำพร้า แน่นอนความลำบากก็จะเกิดขึ้นกับพวกเจ้า แต่พระองค์ทรงให้ความง่ายดายในการอยู่ร่วมกันกับพวกเขา เพราะบทบัญญัติของพระองค์อยู่บนความง่ายดาย แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณในการสร้าง การบริหารจัดการและการการกำหนดบทบัญญัติ
التفاسير العربية:
وَلَا تَنكِحُواْ ٱلۡمُشۡرِكَٰتِ حَتَّىٰ يُؤۡمِنَّۚ وَلَأَمَةٞ مُّؤۡمِنَةٌ خَيۡرٞ مِّن مُّشۡرِكَةٖ وَلَوۡ أَعۡجَبَتۡكُمۡۗ وَلَا تُنكِحُواْ ٱلۡمُشۡرِكِينَ حَتَّىٰ يُؤۡمِنُواْۚ وَلَعَبۡدٞ مُّؤۡمِنٌ خَيۡرٞ مِّن مُّشۡرِكٖ وَلَوۡ أَعۡجَبَكُمۡۗ أُوْلَٰٓئِكَ يَدۡعُونَ إِلَى ٱلنَّارِۖ وَٱللَّهُ يَدۡعُوٓاْ إِلَى ٱلۡجَنَّةِ وَٱلۡمَغۡفِرَةِ بِإِذۡنِهِۦۖ وَيُبَيِّنُ ءَايَٰتِهِۦ لِلنَّاسِ لَعَلَّهُمۡ يَتَذَكَّرُونَ
221-โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายเอ๋ย พวกเจ้าจงอย่าแต่งงานกับหญิงที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ จนกว่านางจะศรัทธาต่ออัลลอฮ์เพียงองค์เดียว และนางได้เข้าสู่ศาสนาอิสลาม และแท้จริงแล้วทาสหญิงที่เป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และเราะสูลของพระองค์นั้น ย่อมดีกว่าหญิงอิสระที่กราบไหว้บูชารูปปั้น แม้ว่าความงามและความมั่งคั่งของนางจะเป็นที่ดึงดูดใจของเจ้าก็ตาม และพวกเจ้าจงอย่าได้แต่งงาน(ผู้หญิงมุสลิมะฮ์)กับบรรดาชายที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ และทาสชายที่เป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และเราะสูลของพระองค์นั้นย่อมดีกว่าชายอิสระที่ตั้งภาคี แม้ว่าเขาจะเป็นที่ดึงดูดใจของเจ้าก็ตาม ชนเหล่านี้ที่มีคุณลักษณะของการตั้งภาคี ทั้งหญิงและชาย พวกเขาจะชักชวนด้วยคำพูดและการกระทำของพวกเขาที่นำไปสู่ไฟนรก และอัลลอฮ์นั้นทรงเชิญชวนสู่การประกอบคุณงามความดีที่นำไปสู่สรวงสวรรค์ และสู่การอภัยโทษจากบาปต่างๆด้วยการอนุมัติและความกรุณาของพระองค์ และพระองค์ได้ทรงแจกแจงบรรดาโองการของพระองค์แก่มนุษย์ เพื่อว่าพวกเขาจะรับเป็นบทเรียนในสิ่งที่ชี้แนะไว้และปฏิบัติตามมัน
التفاسير العربية:
وَيَسۡـَٔلُونَكَ عَنِ ٱلۡمَحِيضِۖ قُلۡ هُوَ أَذٗى فَٱعۡتَزِلُواْ ٱلنِّسَآءَ فِي ٱلۡمَحِيضِ وَلَا تَقۡرَبُوهُنَّ حَتَّىٰ يَطۡهُرۡنَۖ فَإِذَا تَطَهَّرۡنَ فَأۡتُوهُنَّ مِنۡ حَيۡثُ أَمَرَكُمُ ٱللَّهُۚ إِنَّ ٱللَّهَ يُحِبُّ ٱلتَّوَّٰبِينَ وَيُحِبُّ ٱلۡمُتَطَهِّرِينَ
222-โอ้นบีเอ๋ย พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับประจำเดือน(คือเลือดปกติที่ไหลออกมาจากมดลูกของผู้หญิงในช่วงเวลาที่เฉพาะของมัน?) จงตอบพวกเขาเถิดว่า "มันเป็นสิ่งให้โทษสำหรับผู้ชายและผู้หญิง ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากการสมสู่กับพวกนางในเวลานั้น และจงอย่าเข้าใกล้พวกนางด้วยการร่วมเพศจนกว่าเลือดประจำเดือนของพวกนางจะหมดไป และพวกนางได้ทำความสะอาดด้วยการอาบน้ำวาญิบแล้ว ครั้นเมื่อประจำเดือนได้หมดไปและนางได้ชำระร่างกายสะอาดแล้ว ก็จงสมสู่กับพวกนางทางด้านหน้าของพวกนาง ตามที่ได้อนุญาตแก่พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺ์ทรงรักบรรดาผู้ที่มากในการสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวจากการทำบาป และทรงรักบรรดาผู้ที่ใส่ใจในความสะอาดจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย
التفاسير العربية:
نِسَآؤُكُمۡ حَرۡثٞ لَّكُمۡ فَأۡتُواْ حَرۡثَكُمۡ أَنَّىٰ شِئۡتُمۡۖ وَقَدِّمُواْ لِأَنفُسِكُمۡۚ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّكُم مُّلَٰقُوهُۗ وَبَشِّرِ ٱلۡمُؤۡمِنِينَ
223-บรรดาภรรยาของพวกเจ้านั้น คือแหล่งเพาะปลูกของพวกเจ้า พวกนางได้คลอดบุตรให้พวกเจ้า เหมือนกับพื้นดินที่ออกผล ดังนั้นพวกเจ้าจงมายังแหล่งเพาะปลูกของพวกเจ้าคือด้านหน้า(ช่องคลอด) แล้วแต่ด้านไหนและอย่างไรตามแต่พวกเจ้าประสงค์ ถ้าเป็นด้านหน้า และจงประกอบคุณงามความดีเพื่อตัวของพวกเจ้าเอง เช่น การที่ผู้ชายได้สมสู่กับภรรยาของเขาด้วยเจตนาเพื่ออิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ และหวังลูกหลานที่ดี และพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิดด้วยการปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์และหลีกเลี่ยงจากข้อห้ามของพระองค์ หนึ่งในนั้นคือสิ่งที่ถูกกำหนดสำหรับพวกเจ้าในเรื่องของผู้หญิง และพึงรู้ด้วยว่าแท้จริงพวกเจ้านั้นจะเป็นผู้พบกับพระองค์ในวันกิยามะฮ์ ซึ่งพวกเจ้าจะยืนอยู่ตรงหนัาของพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ตอบแทนในการงานของพวกเจ้า โอ้นบีเอ๋ย จงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายเถิดด้วยสิ่งที่ทำให้พวกเขามีความสุขเมื่อพวกเขาได้พบพระผู้อภิบาลของพวกเขา นั่นคือความเพลิดเพลินชั่วนิรันดร์และการได้มองพระพักตร์ของพระองค์
التفاسير العربية:
وَلَا تَجۡعَلُواْ ٱللَّهَ عُرۡضَةٗ لِّأَيۡمَٰنِكُمۡ أَن تَبَرُّواْ وَتَتَّقُواْ وَتُصۡلِحُواْ بَيۡنَ ٱلنَّاسِۚ وَٱللَّهُ سَمِيعٌ عَلِيمٞ
224-และพวกเจ้าจงอย่าให้คำสาบานต่ออัลลอฮ์นั้นเป็นอุปสรรคขัดขวางพวกเจ้าจากการกระทำความดี การยำเกรง และในการที่พวกเจ้าจะทำการประนีประนอมระหว่างผู้คน หากพวกเจ้าได้สาบานที่จะละทิ้งการทำความดีแล้ว พวกเจ้าจงทำความดีเถิด และจ่ายค่าชดเชย (กัฟฟาเราะฮ์) เนื่องจากการสาบานของพวกเจ้า และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงได้ยินในทุกคำพูดของพวกเจ้า ผู้ทรงรอบรู้ในทุกการกระทำของพวกเจ้า และพระองค์จะทรงตอบแทนพวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำ
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• تحريم النكاح بين المسلمين والمشركين، وذلك لبُعد ما بين الشرك والإيمان.
การแต่งงานระหว่างมุสลิมกับผู้ตั้งภาคีเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาต เนื่องจากความ(ต่าง)ที่ห่างไกลระหว่างการตั้งภาคีและการศรัทธา

• دلت الآية على اشتراط الولي عند عقد النكاح؛ لأن الله تعالى خاطب الأولياء لمّا نهى عن تزويج المشركين.
โองการนี้แสดงให้เห็นว่า วาลี(ผู้ปกครอง)เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสัญญาการแต่งงาน เพราะอัลลอฮ์ได้ตรัสกับวาลีเมื่อตอนที่พระองค์ได้ทรงห้ามมิให้สตรีมุสลิมแต่งงานกับชายที่ตั้งภาคี

• حث الشريعة على الطهارة الحسية من النجاسات والأقذار، والطهارة المعنوية من الشرك والمعاصي.
กฎหมายอิสลามได้ให้ความสำคัญกับความสะอาดทางรูปธรรมจากสิ่งที่เป็นนะญิสและสิ่งสกปรกต่างๆ และสะอาดทางนามธรรมจากการตั้งภาคีและการฝ่าฝืนต่างๆ

• ترغيب المؤمن في أن يكون نظره في أعماله - حتى ما يتعلق بالملذات - إلى الدار الآخرة، فيقدم لنفسه ما ينفعه فيها.
กำชับให้ผู้ศรัทธานั้นมองโลกหน้าเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติกิจต่างๆของเขา -แม้การกระทำนั้นจะเกี่ยวกับความสุขต่างๆก็ตาม- เพื่อเขาจะได้กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับตัวเขาเองในโลกหน้า

لَّا يُؤَاخِذُكُمُ ٱللَّهُ بِٱللَّغۡوِ فِيٓ أَيۡمَٰنِكُمۡ وَلَٰكِن يُؤَاخِذُكُم بِمَا كَسَبَتۡ قُلُوبُكُمۡۗ وَٱللَّهُ غَفُورٌ حَلِيمٞ
225-อัลลอฮฺจะไม่ทรงเอาโทษพวกเจ้าเนื่องด้วยคำพูดพล่อยๆที่ไม่มีเจตนาในการสาบานของพวกเจ้า อย่างที่บางคนในหมู่พวกเจ้ากล่าวออกมาว่า "ไม่ใช่ ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์" หรือกล่าวว่า "ใช่ ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์" ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย(กัฟฟาเราะฮ์)และไม่มีโทษใดๆ แต่ทว่าพระองค์จะทรงเอาโทษแก่พวกเจ้า ด้วยการสาบานที่หัวใจของพวกเจ้ามุ่งหมายด้วย และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษบาปของบ่าวของพระองค์ ผู้ทรขันติไม่ทรงรีบเร่งในการลงโทษพวกเขา
التفاسير العربية:
لِّلَّذِينَ يُؤۡلُونَ مِن نِّسَآئِهِمۡ تَرَبُّصُ أَرۡبَعَةِ أَشۡهُرٖۖ فَإِن فَآءُو فَإِنَّ ٱللَّهَ غَفُورٞ رَّحِيمٞ
226-สำหรับบรรดาผู้ที่สาบานว่า จะไม่สมสู่ภรรยาของเขานั้น ให้มีการรอคอยไว้ไม่เกินสี่เดือน เริ่มจากวันที่พวกเขาได้สาบาน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ (อัลอีลาอ์) แล้วถ้าหากพวกเขากลับสมสู่ภรรยาของพวกเขาหลังจากที่ได้สาบานว่าจะไม่สมสู่เป็นเวลาสี่เดือนหรือน้อยกว่านั้น แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอภัยเสมอ ทรงอภัยในสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจากพวกเขา และพระองค์เป็นผู้ทรงเมตตาพวกเขาเสมอโดยที่กำหนดให้จ่ายค่าชดเชย(กัฟฟาเราะฮ์)ซึ่งสิ่งนี้เป็นทางออกของคนที่ได้สาบานไว้
التفاسير العربية:
وَإِنۡ عَزَمُواْ ٱلطَّلَٰقَ فَإِنَّ ٱللَّهَ سَمِيعٌ عَلِيمٞ
227-และหากพวกเขาปรารถนาการหย่าร้าง ด้วยการละทิ้งการสมสู่กับภรรยาอย่างต่อเนื่องและไม่ต้องการที่จะกลับมาสมสู่อีก แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงได้ยินคำพูดของพวกเขา รวมถึงการกล่าวคำหย่า และผู้ทรงรอบรู้ถึงสภาพและความตั้งใจของพวกเขา และจะทรงตอบแทนพวกเขาตามนั้น
التفاسير العربية:
وَٱلۡمُطَلَّقَٰتُ يَتَرَبَّصۡنَ بِأَنفُسِهِنَّ ثَلَٰثَةَ قُرُوٓءٖۚ وَلَا يَحِلُّ لَهُنَّ أَن يَكۡتُمۡنَ مَا خَلَقَ ٱللَّهُ فِيٓ أَرۡحَامِهِنَّ إِن كُنَّ يُؤۡمِنَّ بِٱللَّهِ وَٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِۚ وَبُعُولَتُهُنَّ أَحَقُّ بِرَدِّهِنَّ فِي ذَٰلِكَ إِنۡ أَرَادُوٓاْ إِصۡلَٰحٗاۚ وَلَهُنَّ مِثۡلُ ٱلَّذِي عَلَيۡهِنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ وَلِلرِّجَالِ عَلَيۡهِنَّ دَرَجَةٞۗ وَٱللَّهُ عَزِيزٌ حَكِيمٌ
228-และบรรดาหญิงที่ถูกหย่าร้าง พวกนางจะต้องรอคอยตัวของพวกนาง ด้วยการมีประจำเดือนสามครั้ง และห้ามพวกนางแต่งงานในช่วงเวลานั้น และจะไม่เป็นการอนุญาตสำหรับพวกนาง ที่จะปกปิดสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงสร้างไว้ในครรภ์ของพวกนาง นั้นคือการตั้งครรภ์ หากพวกนางศรัทธาต่ออัลลอฮ์และต่อวันปรโลก และบรรดาสามีของพวกนางที่ได้หย่าพวกนางนั้นมีสิทธิที่จะนำพวกนางกลับคืนมา(คืนดีกัน)ในช่วงเวลาแห่งการรอคอยของพวกนาง หากพวกเขาปรารถนาที่จะคืนดีกันและลบล้างสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการหย่าร้างกัน และสำหรับบรรดาภรรยานั้นมีสิทธิและหน้าที่(ที่ตองรับผิดชอบต่อสามี)เช่นเดียวกับบรรดาสามีของพวกนาง(ที่มีสิทธิและหน้าที่รับผิดชอบพวกนาง) ตามความเหมาะสม และ(ในการนั้น)สำหรับผู้ชาย มีความไดเปรียบเหนือกว่าผู้หญิงหนึ่งขั้น นั่นคือการเป็นผู้นำในครอบครัวและการหย่าร้าง และอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ไม่มีสิ่งใดสามารถเอาชนะพระองค์ได้ และพระองค์เป็นผู้ทรงปรีชาญาณในการออกกฏหมายและบริหารจัดการ
التفاسير العربية:
ٱلطَّلَٰقُ مَرَّتَانِۖ فَإِمۡسَاكُۢ بِمَعۡرُوفٍ أَوۡ تَسۡرِيحُۢ بِإِحۡسَٰنٖۗ وَلَا يَحِلُّ لَكُمۡ أَن تَأۡخُذُواْ مِمَّآ ءَاتَيۡتُمُوهُنَّ شَيۡـًٔا إِلَّآ أَن يَخَافَآ أَلَّا يُقِيمَا حُدُودَ ٱللَّهِۖ فَإِنۡ خِفۡتُمۡ أَلَّا يُقِيمَا حُدُودَ ٱللَّهِ فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡهِمَا فِيمَا ٱفۡتَدَتۡ بِهِۦۗ تِلۡكَ حُدُودُ ٱللَّهِ فَلَا تَعۡتَدُوهَاۚ وَمَن يَتَعَدَّ حُدُودَ ٱللَّهِ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلظَّٰلِمُونَ
229-การหย่าที่สามีมีสิทธิที่จะกลับมาคืนดีได้นั้นมีสองครั้ง นั้นก็คือการที่เขานั้นได้หย่าครั้งหนึ่งแล้วก็กลับคืนดี หลังจากนั้นก็มีการหย่าอีกครั้งหนึ่งแล้วก็กลับคืนดีอีก หลังจากได้มีการหย่ากันสองครั้ง เขาอาจครองนางให้อยู่ในการดูแลของเขาพร้อมกับการใช้ชีวิตด้วยกันด้วยความชอบธรรม หรือหย่านางเป็นครั้งที่สาม พร้อมด้วยการปฏิบัติดีต่อนางและดูแลรับผิดชอบในด้านสิทธิต่างๆของนาง โอ้บรรดาสามีทั้งหลายเอ๋ย ไม่อนุญาตแก่พวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะเอาสิ่งใดๆ จากสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนาง(มะฮัร) นอกจากในกรณีที่ภรรยานั้นเกลียดสามีของนางจากสาเหตุด้านความประพฤติหรือรูปร่างหน้าตา และจากสาเหตุความเกลียดชังนี้ทำให้ทั้งคู่คิดว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ของตัวเองในฐานะคู่ครองได้แล้ว ดังนั้นทั้งสองจึงนำเรื่องที่เกิดขึ้นมาเสนอแก่ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับทั้งสองที่มีความสัมพันธ์เป็นญาตที่ไกล้ชิดหรือผู้อื่น ดังนั้นหากผู้ปกครองเกรงว่าพวกเขาทั้งสองไม่สามารถที่จะธำรงไว้ซึ่งสิทธิของแต่ละฝ่ายในฐานะคู่ครองแล้ว ก็ไม่เป็นการผิดอะไรสำหรับทั้งสองที่จะให้ฝ่ายหญิงทำการไถ่ตัวของนางด้วยการมอบทรัพย์สินให้สามีเพื่อแลกกับการหย่ากับนาง นี์คือกฎเกณฑ์ต่างๆทางศาสนาที่แยกระหว่างสิ่งที่ฮะลาล(สิ่งที่อนุมัติ)กับสิ่งที่หะรอม(สิ่งที่ห้าม)จงอย่าละเมิดกฎเกณฑ์นี้ และผู้ใดที่ละเมิดกฎเกณฑ์ของอัลลอฮ์ระหว่างฮะลาล(สิ่งที่อนุมัติ)และหะรอม(สิ่งที่ห้าม)แล้ว พวกเขาคือผู้ที่อธรรมต่อตัวของพวกเขาเองที่นำตัวเองสู่ความหายนะและนำตัวเองสู่ความโกรธกริ้วและการลงโทษของอัลลอฮ์
التفاسير العربية:
فَإِن طَلَّقَهَا فَلَا تَحِلُّ لَهُۥ مِنۢ بَعۡدُ حَتَّىٰ تَنكِحَ زَوۡجًا غَيۡرَهُۥۗ فَإِن طَلَّقَهَا فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡهِمَآ أَن يَتَرَاجَعَآ إِن ظَنَّآ أَن يُقِيمَا حُدُودَ ٱللَّهِۗ وَتِلۡكَ حُدُودُ ٱللَّهِ يُبَيِّنُهَا لِقَوۡمٖ يَعۡلَمُونَ
230-ถ้าหากสามีของนางได้ทำการหย่านางเป็นครั้งที่สาม ก็จะไม่เป็นที่อนุมัติแก่เขาที่จะแต่งงานกับนางอีก จนกว่านางจะแต่งงานกับชายอื่น ซึ่งเป็นการแต่งงานที่ถูกต้องบนพื้นฐานของความรักซึ่งกันและกัน มีการสมสู่กันจากการแต่งงานนั้นจริง ไม่ใช่แต่งเพื่อทำให้สองคนในอดีตได้เป็นที่อนุมัติแต่งงานกัน แล้วหากสามีคนที่สองนั้นหย่านางหรือเสียชีวิตไป ก็จะไม่เป็นบาปอะไรสำหรับนางและอดีตสามีของนาง ที่จะคืนดีกันใหม่ โดยทำการสัญญาการสมรสใหม่และสินสอดทองหมั้นใหม่ หากเขาทั้งสองมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถดำรงอยู่ภายในกฎเกณฑ์ของอัลลอฮ์ได้ และนั่นคือกฎเกณฑ์ของอัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์ได้ทรงให้มันเป็นที่แจ่มชัดเพื่อให้มวลมนุษย์รับรู้ถึงกฎเกณฑ์และขอบเขตของพระองค์ เพราะพวกเขานั้นเป็นคนที่ได้รับประโยชน์จากมัน
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• بيَّن الله تعالى أحكام النكاح والطلاق بيانًا شاملًا حتى يعرف الناس حدود الحلال والحرام فلا يتجاوزونها.
อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงแจกแจงบทบัญญัติเรื่องการแต่งงานและการหย่าร้างอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จนทำให้ผู้คนได้รู้ถึงขอบเขตที่หะลาล(ที่อนุมัติ)และหะรอม(ที่ต้องห้าม) เพื่อพวกเขาจะได้ไม่ละเมิดมัน

• عظَّم الله شأن النكاح وحرم التلاعب فيه بالألفاظ فجعلها ملزمة، وألغى التلاعب بكثرة الطلاق والرجعة فجعل لها حدًّا بطلقتين رجعيتين ثم تحرم عليه إلا أن تنكح زوجا غيره ثم يطلقها، أو يموت عنها.
อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงให้ความสำคัญในเรื่องการแต่งงานและไม่อนุญาตให้มีการหยอกล้อกันด้วยคำพูดต่าง ๆ ที่จะทำให้มันกลายเป็นจริง ดังนั้นจึงยกเลิกการหยอกล้อกันในเรื่องการหย่าและการคืนดีกันหลาย ๆ ครั้ง จึงกำหนดกฎเกณฑ์ในการหย่าที่สามารถคืนดีได้นั้นได้แค่สองครั้งเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะไม่เป็นที่อนุญาตแก่เขาอีก จนกว่านางจะแต่งงานกับชายอื่น แล้วสามีคนที่สองนั้นได้หย่านาง

• المعاشرة الزوجية تكون بالمعروف، فإن تعذر ذلك فلا بأس من الطلاق، ولا حرج على أحد الزوجين أن يطلبه.
การอยู่ร่วมกันสามีภรรยานั้นต้องอยู่ด้วยความชอบธรรม แต่ถ้าความชอบธรรมนั้นไม่เกิดขึ้น การหย่าร้างนั้นก็เป็นที่อนุญาตและไม่เป็นเรื่องบาปอะไร สำหรับคนใดคนหนึ่งที่เป็นสามีภรรยาที่จะขอหย่ากัน

وَإِذَا طَلَّقۡتُمُ ٱلنِّسَآءَ فَبَلَغۡنَ أَجَلَهُنَّ فَأَمۡسِكُوهُنَّ بِمَعۡرُوفٍ أَوۡ سَرِّحُوهُنَّ بِمَعۡرُوفٖۚ وَلَا تُمۡسِكُوهُنَّ ضِرَارٗا لِّتَعۡتَدُواْۚ وَمَن يَفۡعَلۡ ذَٰلِكَ فَقَدۡ ظَلَمَ نَفۡسَهُۥۚ وَلَا تَتَّخِذُوٓاْ ءَايَٰتِ ٱللَّهِ هُزُوٗاۚ وَٱذۡكُرُواْ نِعۡمَتَ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ وَمَآ أَنزَلَ عَلَيۡكُم مِّنَ ٱلۡكِتَٰبِ وَٱلۡحِكۡمَةِ يَعِظُكُم بِهِۦۚ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ بِكُلِّ شَيۡءٍ عَلِيمٞ
231-และเมื่อพวกเจ้าหย่ารางบรรดาสตรีของพวกเจ้า แล้วพวกนางใกล้จะหมดเวลาที่กำหนดแล้ว ดังนั้นพวกเจ้ามีสิทธิ์ที่จะรับพวกนางกลับหรือปล่อยพวกนางไปโดยชอบธรรมจนกว่าระยะเวลารอของพวกนางสิ้นสุดลง และจงอย่ากลับคืนดีกับพวกนางเพื่อมุ่งก่อความเดือดร้อนและทำร้ายพวกนางเหมือนที่คนญาฮิลียะฮ์(คนยุคก่อนอิสลาม)ได้ทำไว้ และผู้ใดกระทำเช่นนั้น แท้จริงแล้วเขาได้อธรรมต่อตัวของเขาเองด้วยการนำตัวเองสู่ความผิดและการลงโทษ และจงอย่าทำให้บรรดาโองการของอัลลอฮ์เป็นที่เยาะเย้ย และหยอกล้อกัน และพึงระลึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮ์ที่ได้ประทานให้แก่พวกเจ้า และความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่พระองค์ได้ทรงประทานลงมาแก่พวกเจ้า คือคัมภีร์อัลกรุอานและอัซ-ซุนนะฮ์ พระองค์ทรงตักเตือนพวกเจ้าด้วยสิ่งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริม(ในสิ่งที่ดี)และเป็นการตักเตือน(ให้ห่างไกลจากสิ่งที่ไม่ดี) และพวกเจ้าพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิดโดยการปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์และหลีกเลี่ยงจากข้อห้ามของพระองค์ และพวกเจ้าจงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นไม่มีสิ่งใดเป็นสิ่งซ่อนเร้นสำหรับพระองค์ และพระองค์จะทรงตอบแทนพวกเจ้าด้วยการงานของพวกเจ้า
التفاسير العربية:
وَإِذَا طَلَّقۡتُمُ ٱلنِّسَآءَ فَبَلَغۡنَ أَجَلَهُنَّ فَلَا تَعۡضُلُوهُنَّ أَن يَنكِحۡنَ أَزۡوَٰجَهُنَّ إِذَا تَرَٰضَوۡاْ بَيۡنَهُم بِٱلۡمَعۡرُوفِۗ ذَٰلِكَ يُوعَظُ بِهِۦ مَن كَانَ مِنكُمۡ يُؤۡمِنُ بِٱللَّهِ وَٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِۗ ذَٰلِكُمۡ أَزۡكَىٰ لَكُمۡ وَأَطۡهَرُۚ وَٱللَّهُ يَعۡلَمُ وَأَنتُمۡ لَا تَعۡلَمُونَ
232-และเมื่อพวกเจ้าหย่าบรรดาสตรีของพวกเจ้าที่ยังไม่ถึงสามครั้ง แล้วระยะเวลารอคอยของพวกนางได้หมดลง พวกเจ้า(โอ้บรรดาผู้ปกครองทั้งหลาย) อย่าขัดขวางพวกนาง ในการที่จะกลับคืนดีกับบรรดาสามีของพวกนางด้วยการทำสัญญาและแต่งงานใหม่ ถ้าหากพวกนางมีความปรารถนาเช่นนั้น และพวกนางก็พอใจกับบรรดาสามีของพวกนางในการนั้น(กลับคืนดีกันด้วยการแต่งงานใหม่) บทบัญญัติดังกล่าวที่ประกอบด้วยการห้ามมิให้ขัดขวางพวกนาง เพื่อเป็นการตักเตือนผู้คนในหมู่พวกเจ้าที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลก นั่นแหละคือสิ่งที่จะทำให้เกิดความดีที่เพิ่มพูนแก่พวกเจ้า และเป็นสิ่งที่ทำให้เกียรติและการกระทำของพวกเจ้า บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน และอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ถึงความจริงของแต่ละสิ่งและผลที่จะตามมา แต่พวกเจ้าไม่รู้
التفاسير العربية:
۞ وَٱلۡوَٰلِدَٰتُ يُرۡضِعۡنَ أَوۡلَٰدَهُنَّ حَوۡلَيۡنِ كَامِلَيۡنِۖ لِمَنۡ أَرَادَ أَن يُتِمَّ ٱلرَّضَاعَةَۚ وَعَلَى ٱلۡمَوۡلُودِ لَهُۥ رِزۡقُهُنَّ وَكِسۡوَتُهُنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ لَا تُكَلَّفُ نَفۡسٌ إِلَّا وُسۡعَهَاۚ لَا تُضَآرَّ وَٰلِدَةُۢ بِوَلَدِهَا وَلَا مَوۡلُودٞ لَّهُۥ بِوَلَدِهِۦۚ وَعَلَى ٱلۡوَارِثِ مِثۡلُ ذَٰلِكَۗ فَإِنۡ أَرَادَا فِصَالًا عَن تَرَاضٖ مِّنۡهُمَا وَتَشَاوُرٖ فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡهِمَاۗ وَإِنۡ أَرَدتُّمۡ أَن تَسۡتَرۡضِعُوٓاْ أَوۡلَٰدَكُمۡ فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡكُمۡ إِذَا سَلَّمۡتُم مَّآ ءَاتَيۡتُم بِٱلۡمَعۡرُوفِۗ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ بِمَا تَعۡمَلُونَ بَصِيرٞ
233-และมารดาทั้งหลายนั้น จะให้นมแก่ลูกๆของนางเป็นเวลาสองปีเต็ม สำหรับผู้ที่ต้องการจะให้ครบถ้วนในการให้นม และหน้าที่ของพ่อเด็กนั้น คือต้องรับผิดชอบปัจจัยยังชีพและเครื่องนุ่งห่มของพวกนาง ตามความเหมาะสมของแต่ละสังคมที่ไม่ผิดต่อหลักศาสนา อัลลอฮ์จะไม่ทรงให้ชีวิตใดต้องแบกรับในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มากกว่ากำลังความสามารถของชีวิตนั้น และไม่เป็นที่อนุญาตสำหรับคนหนึ่งคนใดที่เป็นบิดามารดาของลูกนั้นที่จะเอาลูกมาเป็นเครื่องมือที่จะก่อความเดือดร้อนให้แก่อีกคน และทายาทของเด็ก - หากบิดาของเขาเสียชีวิตและไม่ทิ้งมรดกไว้ - ก็มีภาระผูกพันเช่นเดียวกับบิดาของเขา และถ้าหากทั้งสองต้องการที่จะให้เด็กหย่านมก่อนกำหนดสองปี ก็จะไม่เป็นการบาปใดๆสำหรับเขาทั้งสองหลังจากที่ทั้งสองได้ตกลงกันและพอใจกันเพื่อประโยชน์ของเด็ก และหากพวกเจ้าประสงค์ที่จะให้มีแม่นมขึ้นแก่ลูกๆ ของพวกเจ้าแล้ว ก็ย่อมไม่มีบาปใดๆแก่พวกเจ้า เมื่อพวกเจ้าได้ตกลงกับแม่นมที่จะให้ค่าเลี้ยงดูแก่นางโดยชอบธรรม โดยไม่มีการตัดค่าจ้างหรือผัดวันประกันพรุ่ง และจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิดด้วยการปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์และหลีกเลี่ยงจากข้อห้ามของพระองค์ และพวกเจ้าพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ ไม่มีสิ่งใดซ่อนเร้นจากอัลลอฮ์พระองค์จะทรงตอบแทนพวกเจ้าในการงานที่พวกเจ้าได้ปฏิบัติมา
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• نهي الرجال عن ظلم النساء سواء كان بِعَضْلِ مَوْلِيَّتِه عن الزواج، أو إجبارها على ما لا تريد.
ห้ามไม่ให้ผู้ชายกดขี่สตรีไม่ว่าจะเป็นการห้ามในฐานะผู้ปกครองไม่ให้พวกนางแต่งงานหรือบังคับให้นางทำในสิ่งที่พวกนางไม่ปรารถนา

• حَفِظَ الشرع للأم حق الرضاع، وإن كانت مطلقة من زوجها، وعليه أن ينفق عليها ما دامت ترضع ولده.
กฎหมายอิสลามได้รักษาสิทธิของมารดาในการให้นมลูก แม้ว่าจะหย่าร้างจากสามีของนางไปแล้วก็ตาม โดยสามีนั้นต้องให้ปัจจัยยังชีพแก่นางตราบใดที่นางให้นมแก่ลูกของเขาอยู่

• نهى الله تعالى الزوجين عن اتخاذ الأولاد وسيلة يقصد بها أحدهما الإضرار بالآخر.
อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงห้ามทั้งสองสามีภรรยา ด้วยการเอาลูกๆเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อเจตนามุ่งร้ายต่ออีกฝ่ายหนึ่ง

• الحث على أن تكون كل الشؤون المتعلقة بالحياة الزوجية مبنية على التشاور والتراضي بين الزوجين.
ส่งเสริมให้ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตคู่นั้นอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือกันและบนฐานความพึงพอใจร่วมกันระหว่างสามีภรรยา

وَٱلَّذِينَ يُتَوَفَّوۡنَ مِنكُمۡ وَيَذَرُونَ أَزۡوَٰجٗا يَتَرَبَّصۡنَ بِأَنفُسِهِنَّ أَرۡبَعَةَ أَشۡهُرٖ وَعَشۡرٗاۖ فَإِذَا بَلَغۡنَ أَجَلَهُنَّ فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡكُمۡ فِيمَا فَعَلۡنَ فِيٓ أَنفُسِهِنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۗ وَٱللَّهُ بِمَا تَعۡمَلُونَ خَبِيرٞ
234-และบรรดาผู้ที่เสียชีวิตลงและทิ้งภรรยาที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ไว้นั้น พวกนางจำเป็นที่จะต้องรอคอยตัวของพวกนางเอง เป็นระยะเวลาสี่เดือนกับสิบวัน และห้ามพวกนางออกจากบ้านของสามีและห้ามการแต่งตัวและการแต่งงาน ครั้นเมื่อเวลาของพวกนางครบกำหนดแล้ว ก็จะไม่เป็นเรื่องที่ผิดอะไรสำหรับพวกเจ้า -โอ้ บรรดาผู้ปกครองเอ๋ย- ที่พวกนางจะกระทำเกี่ยวกับตัวของพวกนางซึ่งเป็นสิ่งที่พวกนางได้ถูกห้ามไว้ในช่วงนั้น บนฐานแห่งความเหมาะสมในด้านศาสนาและสังคม และอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ จะไม่มีสิ่งใดซ่อนเร้นจากพระองค์ทั้งภายนอกและภายในของพวกเจ้า และพระองค์จะทรงตอบแทนสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำ
التفاسير العربية:
وَلَا جُنَاحَ عَلَيۡكُمۡ فِيمَا عَرَّضۡتُم بِهِۦ مِنۡ خِطۡبَةِ ٱلنِّسَآءِ أَوۡ أَكۡنَنتُمۡ فِيٓ أَنفُسِكُمۡۚ عَلِمَ ٱللَّهُ أَنَّكُمۡ سَتَذۡكُرُونَهُنَّ وَلَٰكِن لَّا تُوَاعِدُوهُنَّ سِرًّا إِلَّآ أَن تَقُولُواْ قَوۡلٗا مَّعۡرُوفٗاۚ وَلَا تَعۡزِمُواْ عُقۡدَةَ ٱلنِّكَاحِ حَتَّىٰ يَبۡلُغَ ٱلۡكِتَٰبُ أَجَلَهُۥۚ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ يَعۡلَمُ مَا فِيٓ أَنفُسِكُمۡ فَٱحۡذَرُوهُۚ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ غَفُورٌ حَلِيمٞ
235-และไม่เป็นเรื่องที่ผิดอะไรสำหรับพวกเจ้า ในสิ่งที่พวกเจ้ากล่าวเป็นนัยในการขอแต่งงานหญิงที่อยู่ในระยะเวลารอคอยหลังจากที่สามีของนางได้สิ้นชีวิตลงหรือหย่าร้าง โดยไม่เปิดเผยความปรารถนานั้น เช่นการกล่าวว่า "เมื่อใดที่ระยะเวลาที่กำหนดได้สิ้นสุดลง เจ้าจงบอกฉันเถิด" และไม่เป็นเรื่องที่ผิดเช่นกัน ในสิ่งที่พวกเจ้าเก็บงำในใจของพวกเจ้าซึ่งความปรารถนาของพวกเจ้าที่จะแต่งงานกับหญิงที่อยู่ในระยะเวลารอคอยหลังจากที่ระยะเวลารอคอยนั้นได้สิ้นสุดลง อัลลอฮ์ทรงรู้ว่าพวกเจ้าจะคิดถึงนางเพราะความปรารถนาอย่างสูงของพวกเจ้าที่มีต่อนาง ดังนั้นจึงอนุญาตให้กล่าวเป็นนัยโดยไม่เปิดเผยชัดเจน และจงหลีกเลี่ยงการแอบสัญญาว่าจะแต่งงานกัน ในขณะที่นางยังอยู่ในระยะเวลารอคอย นอกจากเป็นคำพูดที่สุภาพที่เป็นที่ยอมรับกัน และจงอย่าปลงใจซึ่งการทำพิธีแต่งงานในช่วงเวลานี้ และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรู้สิ่งที่พวกเจ้าแอบซ่อนไว้ในหัวใจของพวกเจ้าทั้งสิ่งที่เป็นที่อนุญาตและที่ต้องห้ามสำหรับพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงหลีกเลี่ยงสิ่งต้องห้ามนั้นเถิด และจงอย่าละเมิดคำบัญชาของพระองค์ และพึงรู้ไว้เถิดว่า อัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษบ่าวของพระองค์ที่สำนึกผิด ผู้ทรงผ่อนปรนไม่รีบเร่งต่อการลงโทษ
التفاسير العربية:
لَّا جُنَاحَ عَلَيۡكُمۡ إِن طَلَّقۡتُمُ ٱلنِّسَآءَ مَا لَمۡ تَمَسُّوهُنَّ أَوۡ تَفۡرِضُواْ لَهُنَّ فَرِيضَةٗۚ وَمَتِّعُوهُنَّ عَلَى ٱلۡمُوسِعِ قَدَرُهُۥ وَعَلَى ٱلۡمُقۡتِرِ قَدَرُهُۥ مَتَٰعَۢا بِٱلۡمَعۡرُوفِۖ حَقًّا عَلَى ٱلۡمُحۡسِنِينَ
236-ไม่เป็นการผิดอะไรสำหรับพวกเจ้า ถ้าหากพวกเจ้าหย่าภรรยาของพวกเจ้าที่พวกเจ้าได้แต่งงาน โดยที่พวกเจ้ายังมิได้สมสู่กับนาง หรือยังมิได้กำหนดมะฮัร(สินสอดทองหมั้น)ใดๆแก่พวกนาง เมื่อพวกเจ้าหย่าพวกนางในลักษณะนี้ ก็ไม่จำเป็นสำหรับพวกเจ้าที่จะต้องจ่ายมะฮัรแก่พวกนาง แต่ที่จำเป็นคือการมอบให้แก่พวกนางซึ่งสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่พวกนาง ที่พวกเจ้าได้ทำลายจิตใจของพวกนาง ตามความเหมาะสมกับสถานะ อาจเป็นการให้มากสำหรับผู้ที่มั่งมี และให้น้อยสำหรับผู้ที่ยากจน และการมอบให้ซึ่งประโยชน์ในลักษณะนี้นั้น ถือว่าเป็นหน้าที่ที่ผู้กระทำดีทั้งหลายต้องตระหนักต่อการกระทำต่างๆและการคบค้าสมาคมของพวกเขา
التفاسير العربية:
وَإِن طَلَّقۡتُمُوهُنَّ مِن قَبۡلِ أَن تَمَسُّوهُنَّ وَقَدۡ فَرَضۡتُمۡ لَهُنَّ فَرِيضَةٗ فَنِصۡفُ مَا فَرَضۡتُمۡ إِلَّآ أَن يَعۡفُونَ أَوۡ يَعۡفُوَاْ ٱلَّذِي بِيَدِهِۦ عُقۡدَةُ ٱلنِّكَاحِۚ وَأَن تَعۡفُوٓاْ أَقۡرَبُ لِلتَّقۡوَىٰۚ وَلَا تَنسَوُاْ ٱلۡفَضۡلَ بَيۡنَكُمۡۚ إِنَّ ٱللَّهَ بِمَا تَعۡمَلُونَ بَصِيرٌ
237-และถ้าหากพวกเจ้าหย่าภรรยาของพวกเจ้าที่ได้ทำสัญญาแต่งงานแล้ว ก่อนที่พวกเจ้าจะสมสู่กับพวกนาง และพวกเจ้าได้กำหนดมะฮัร(สินสอดทองหมั้น)แล้ว ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องให้มะฮัร(สินสอดทองหมั้น)แก่พวกนางครึ่งหนึ่งจากมะฮัรที่พวกเจ้ากำหนดไว้ นอกจากว่าพวกนางจะยกให้พวกเจ้า -หากพวกนางบรรลุศาสนภาวะแล้ว- หรือบรรดาสามียอมที่จะยกมะฮัรทั้งหมดแก่พวกนาง และการที่พวกเจ้าอภัยซึ่งกันและกันในสิทธิระหว่างพวกเจ้านั้น เป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงและการเชื่อฟังอัลลอฮ์มากกว่า พวกเจ้า-โอ้มวลมนุษย์เอ๋ย- อย่าละทิ้งการทำคุณซึ่งกันและกันและให้อภัยในสิทธิต่างๆ แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ ดังนั้นจงมุ่งมั่นทำในสิ่งที่ดีที่ชอบธรรมเพื่อที่จะได้รับผลบุญจากอัลลอฮ์
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• مشروعية العِدة على من توفي عنها زوجها بأن تمتنع عن الزينة والزواج مدة أربعة أشهر وعشرة أيام.
ศาสนาได้กำหนดระยะเวลาในการเก็บตัวของผู้หญิงที่สามีได้เสียชีวิต ด้วยการไม่อนุญาตสำหรับนางที่จะแต่งตัวและไม่อนุญาตแต่งงานใหม่ เป็นเวลาสี่เดือนกับสิบวันหลังจากวันที่สามีของนางได้สิ้นชีวิตลง

• معرفة المؤمن باطلاع الله عليه تَحْمِلُه على الحذر منه تعالى والوقوف عند حدوده.
ผู้ศรัทธาที่รู้ถึงการติดตามของอัลลอฮ์ที่มีต่อเขานั้น แน่นอนจะทำให้เขาไม่ประมาท และอยู่ในกรอบแห่งกฎเกณฑ์ของพระองค์อยู่เสมอ

• الحث على المعاملة بالمعروف بين الأزواج والأقارب، وأن يكون العفو والمسامحة أساس تعاملهم فيما بينهم.
ส่งเสริมให้อยู่ร่วมกันโดยดีระหว่างคู่สมรสและญาติพี่น้อง และให้การให้อภัยและการยกโทษกันนั้น เป็นฐานของการอยู่ร่วมกันระหว่างพวกเขา

حَٰفِظُواْ عَلَى ٱلصَّلَوَٰتِ وَٱلصَّلَوٰةِ ٱلۡوُسۡطَىٰ وَقُومُواْ لِلَّهِ قَٰنِتِينَ
238-พวกเจ้าจงรักษาการละหมาดด้วยพิธีการที่ครบถ้วนสมบูรณ์ดังที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาไว้ และจงรักษาละหมาดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างละหมาดทั้งหลาย นั้นก็คือละหมาดอัสรี และจงยืนละหมาดเพื่ออัลลอฮ์ในละหมาดของพวกเจ้าด้วยการยืนที่นอบน้อมถ่อมตน
التفاسير العربية:
فَإِنۡ خِفۡتُمۡ فَرِجَالًا أَوۡ رُكۡبَانٗاۖ فَإِذَآ أَمِنتُمۡ فَٱذۡكُرُواْ ٱللَّهَ كَمَا عَلَّمَكُم مَّا لَمۡ تَكُونُواْ تَعۡلَمُونَ
ถ้าหากพวกเจ้ากลัวศัตรูหรืออื่น ๆ และไม่สามารถที่จะประกอบพิธีละหมาดอย่างครบถ้วนได้ พวกเจ้าก็จงละหมาดพลางเดินด้วยเท้าหรือขี่อูฐ ม้า และพาหนะอื่น ๆ หรือในลักษณะที่พวกเจ้าสามารถละหมาดได้ ครั้นเมื่อพวกเจ้าปลอดภัยแล้ว จงรำลึกถึงอัลลอฮ์ดังที่พระองค์ทรงสอนพวกเจ้า ระลึกถึงพระองค์อย่างครบถ้วนที่สุดในการละหมาด นอกจากนี้ จงระลึกถึงพระองค์ที่ได้ทรงสอนพวกเจ้าได้รู้จักทางนำและทางสว่างแก่พวกเจ้าซึ่งพวกเจ้าไม่เคยรู้มาก่อน
التفاسير العربية:
وَٱلَّذِينَ يُتَوَفَّوۡنَ مِنكُمۡ وَيَذَرُونَ أَزۡوَٰجٗا وَصِيَّةٗ لِّأَزۡوَٰجِهِم مَّتَٰعًا إِلَى ٱلۡحَوۡلِ غَيۡرَ إِخۡرَاجٖۚ فَإِنۡ خَرَجۡنَ فَلَا جُنَاحَ عَلَيۡكُمۡ فِي مَا فَعَلۡنَ فِيٓ أَنفُسِهِنَّ مِن مَّعۡرُوفٖۗ وَٱللَّهُ عَزِيزٌ حَكِيمٞ
240-และบรรดาผู้ที่จะถึงแก่ชีวิตลงในหมู่พวกเจ้า และละทิ้งคู่ครองไว้นั้น จงให้มีพินัยกรรมไว้แก่คู่ครองของพวกเขาซึ่งสิ่งอำนวยประโยชน์แก่นาง เช่นที่อยู่อาศัย และค่าครองชีพถึงหนึ่งปี อย่าทำให้พวกนางไม่ได้สืบทอดจากพวกเจ้า มันเป็นสิ่งที่พวกนางควรจะได้รับในสิ่งที่เกิดขึ้นต่อพวกนาง และเป็นความจงรักภักดีสำหรับผู้ตาย แต่ถ้าพวกนางออกไปเองก่อนที่ครบกำหนดหนึ่งปี ก็ไม่เป็นบาปใดๆแก่พวกเจ้าและพวกนาง ในสิ่งที่พวกนางได้กระทำในส่วนตัวของพวกนางด้วยการแต่งตัวประดับตัวให้สวยและใส่น้ำหอม และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพที่เหนือกว่าสิ่งใด ผู้ทรงปรีชาญาณในการบริหารจัดการ การกำหนดบัญญัติทางศาสนา และการกำหนดสภาวการณ์ และนักอัฐฐาธิบายอัลกุรอานส่วนใหญ่ได้เห็นว่าหุก่มของโองการนี้ได้ถูกยกเลิกด้วยโองการที่อัลลอฮฺตรัสไว้ใน ซุเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 234 ความว่า (และบรรดาผู้ที่ถึงแก่ชีวิตลงในหมู่พวกเจ้าและทิ้งคู่ครองไว้นั้น พวกนางจะต้องรอคอยตัวของพวกนางเอง สี่เดือนกับสิบวัน)
التفاسير العربية:
وَلِلۡمُطَلَّقَٰتِ مَتَٰعُۢ بِٱلۡمَعۡرُوفِۖ حَقًّا عَلَى ٱلۡمُتَّقِينَ
241-และสำหรับบรรดาหญิงที่ถูกหย่านั้นจะได้รับสิ่งอำนวยประโยชน์ เช่นเครื่องนุ่งห่มหรือทรัพย์สินเงินทองและอื่นๆ บังคับต้องให้แก่พวกนางจากการสูญเสียความรู้สึกของการหย่าร้าง ตามความชอบธรรมโดยการคำนึงถึงสภาพของสามีที่มีน้อยหรือมาก และหุก่มนี้เป็นสิทธิหน้าที่ที่มั่นคงสำหรับผู้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺทั้งหลาย ด้วยการปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์และหลีกเลี่ยงจากข้อห้ามของพระองค์
التفاسير العربية:
كَذَٰلِكَ يُبَيِّنُ ٱللَّهُ لَكُمۡ ءَايَٰتِهِۦ لَعَلَّكُمۡ تَعۡقِلُونَ
242-ตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น อัลลอฮ์จะอธิบายแก่พวกเจ้า -โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย- เกี่ยวกับโองการต่างๆของพระองค์ที่ประกอบด้วยขอบเขตและข้อกำหนดต่างๆของพระองค์ เพื่อที่พวกเจ้าจะได้เข้าใจและปฏิบัติตามนั้น แล้วพวกเจ้าจะได้พบความสุขในโลกนี้และในโลกหน้า
التفاسير العربية:
۞ أَلَمۡ تَرَ إِلَى ٱلَّذِينَ خَرَجُواْ مِن دِيَٰرِهِمۡ وَهُمۡ أُلُوفٌ حَذَرَ ٱلۡمَوۡتِ فَقَالَ لَهُمُ ٱللَّهُ مُوتُواْ ثُمَّ أَحۡيَٰهُمۡۚ إِنَّ ٱللَّهَ لَذُو فَضۡلٍ عَلَى ٱلنَّاسِ وَلَٰكِنَّ أَكۡثَرَ ٱلنَّاسِ لَا يَشۡكُرُونَ
234-โอ้นบีเอ๋ย เจ้ามิได้รับรู้บรรดาผู้ที่ออกจากบ้านของพวกเขาดอกหรือ ที่พวกเขานั้นได้กลัวความตายมากเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคหรืออื่นๆ พวกเขาคือกลุ่มหนึ่งจากวงศ์วานของอิสราอีล และอัลลอฮ์ได้ตรัสแก่พวกเขาว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงตายเสียเถิด แล้วพวกเขาก็ตาย หลังจากนั้นพระองค์ทำให้พวกเขากลับมามีชีวิตอีกครั้ง เพื่อต้องการแสดงให้พวกเขาได้เห็นว่า ทุกสิ่งอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ และพวกเขาไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและไม่มีอำนาจที่จะยับยั้งสิ่งที่เป็นโทษได้ อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงกรุณาปรานีและทรงโปรดปรานแก่มนุษย์เสมอ แต่มนุษย์ส่วนใหญ่เนรคุณต่อความโปรดปรานของพระองค์
التفاسير العربية:
وَقَٰتِلُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ سَمِيعٌ عَلِيمٞ
244-โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายเอ๋ย พวกเจ้าจงต่อสู้กับศัตรูของอัลลอฮ์เถิด เพื่อชัยชนะแก่ศาสนาของพระองค์และเพื่อยกกะลิมะฮฺ (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์) ของพระองค์ และพึงรู้ด้วยว่าแท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงได้ยินในคำพูดของพวกเจ้า ผู้ทรงรอบรู้เจตนาและการกระทำของพวกเจ้า และพระองค์จะทรงตอบแทนการกระทำของพวกเจ้า
التفاسير العربية:
مَّن ذَا ٱلَّذِي يُقۡرِضُ ٱللَّهَ قَرۡضًا حَسَنٗا فَيُضَٰعِفَهُۥ لَهُۥٓ أَضۡعَافٗا كَثِيرَةٗۚ وَٱللَّهُ يَقۡبِضُ وَيَبۡصُۜطُ وَإِلَيۡهِ تُرۡجَعُونَ
245-มีใครบ้างไหมที่ทำงานเป็นผู้ให้ยืม แล้วเขาได้ใช้จ่ายทรัพย์สินของเขาในหนทางของอัลลอฮ์ด้วยเจตนาที่ดีและจิตวิญญาณที่ดี เพื่อที่จะให้ทรัพย์สินได้กลับคืนแก่เขามากมายหลายเท่า และอัลลอฮ์ทรงทำให้ปัจจัยยังชีพและการมีสุขภาพที่ดีและอื่นๆนั้นคับแคบลง และทรงทำให้กว้างขวางเช่นกัน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นด้วยความปรีชาญานและความยุติธรรมของพระองค์ และยังพระองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้นที่พวกเจ้าจะถูกนำกลับไปในปรโลก และพระองค์จะทรงตอบแทนในการงานของพวกเจ้า
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• الحث على المحافظة على الصلاة وأدائها تامة الأركان والشروط، فإن شق عليه صلَّى على ما تيسر له من الحال.
ส่งเสริมให้รักษาการละหมาดและปฏิบัติตามองค์ประกอบและเงื่อนไขอย่างครบถ้วน ซึ่งถ้ามีความลำบากก็จงละหมาดเท่าที่จะเป็นไปได้

• رحمة الله تعالى بعباده ظاهرة، فقد بين لهم آياته أتم بيان للإفادة منها.
ความเมตตาของอัลลอฮฺ ตะอาลาต่อบ่าวของพระองค์เป็นที่ประจักษ์และพระองค์ทรงแจกแจงโองการต่างๆของพระองค์แก่พวกเขาอย่างครบถ้วนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพวกเขา

• أن الله تعالى قد يبتلي بعض عباده فيضيِّق عليهم الرزق، ويبتلي آخرين بسعة الرزق، وله في ذلك الحكمة البالغة.
อัลลอฮฺ ตะอาลาอาจทดสอบบ่าวของพระองค์บางคนให้ลำบากในเรื่องปัจจัยยังชีพ และทดสอบบ่าวคนอื่นๆให้ปัจจัยยังชีพที่กว้างขวางง่ายดาย และทั้งหมดนั้นคือความปรีชาญานที่สูงสงของพระองค์

أَلَمۡ تَرَ إِلَى ٱلۡمَلَإِ مِنۢ بَنِيٓ إِسۡرَٰٓءِيلَ مِنۢ بَعۡدِ مُوسَىٰٓ إِذۡ قَالُواْ لِنَبِيّٖ لَّهُمُ ٱبۡعَثۡ لَنَا مَلِكٗا نُّقَٰتِلۡ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِۖ قَالَ هَلۡ عَسَيۡتُمۡ إِن كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلۡقِتَالُ أَلَّا تُقَٰتِلُواْۖ قَالُواْ وَمَا لَنَآ أَلَّا نُقَٰتِلَ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ وَقَدۡ أُخۡرِجۡنَا مِن دِيَٰرِنَا وَأَبۡنَآئِنَاۖ فَلَمَّا كُتِبَ عَلَيۡهِمُ ٱلۡقِتَالُ تَوَلَّوۡاْ إِلَّا قَلِيلٗا مِّنۡهُمۡۚ وَٱللَّهُ عَلِيمُۢ بِٱلظَّٰلِمِينَ
246-โอ้นบีเอ๋ย เจ้ามิได้รับรู้ถึงเรื่องราวของเหล่าบรรดาผู้มีอำนาจในหมู่วงศ์วานอิสรออีลหลังจากยุคของมูซา อลัยฮิสะลามหรอกหรือ? ขณะที่พวกเขาได้กล่าวแก่นบีของพวกเขาว่า "โปรดแต่งตั้งกษัตริย์องค์หนึ่งให้แก่พวกเราเถิด พวกเราจะได้ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์" แล้วนบีของพวกเขาได้กล่าวแก่พวกเขาว่า "อาจเป็นไปได้ว่าพวกเจ้าจะไม่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ ถ้าหากการสู้รบได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้า"พวกเขาปฏิเสธข้อสันนิษฐานของนบีของพวกเขาโดยกล่าวว่า "อะไรคือเหตุผลที่ทำให้เราไม่ต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์เมื่อเรามีเหตุผลหนักแน่นที่จะต่อสู้ ศัตรูที่ได้ขับไล่พวกเราจากบ้านเกิดและจับลูกหลานของพวกเราเป็นเชลย ดังนั้นเราจะต่อสู้เพื่อเอาบ้านเกิดของเรากลับคืนมาและปลดปล่อยลูกๆ ของเราที่พวกเขาถูกจับไปเป็นเชลย” แล้วเมื่ออัลลอฮ์ได้กำหนดให้พวกเขาซึ่งการสู้รบ พวกเขาก็ผินหลังให้ เว้นแต่ส่วนน้อยเท่านั้นจากพวกเขา และอัลลอฮ์นั้นทรงรอบรู้ถึงบรรดาผู้อธรรมและผินหลังให้จากพระบัญชาของพระองค์ และทำผิดสัญญาของพระองค์ และจะทรงตอบแทนพวกเขาอย่างยุติธรรม
التفاسير العربية:
وَقَالَ لَهُمۡ نَبِيُّهُمۡ إِنَّ ٱللَّهَ قَدۡ بَعَثَ لَكُمۡ طَالُوتَ مَلِكٗاۚ قَالُوٓاْ أَنَّىٰ يَكُونُ لَهُ ٱلۡمُلۡكُ عَلَيۡنَا وَنَحۡنُ أَحَقُّ بِٱلۡمُلۡكِ مِنۡهُ وَلَمۡ يُؤۡتَ سَعَةٗ مِّنَ ٱلۡمَالِۚ قَالَ إِنَّ ٱللَّهَ ٱصۡطَفَىٰهُ عَلَيۡكُمۡ وَزَادَهُۥ بَسۡطَةٗ فِي ٱلۡعِلۡمِ وَٱلۡجِسۡمِۖ وَٱللَّهُ يُؤۡتِي مُلۡكَهُۥ مَن يَشَآءُۚ وَٱللَّهُ وَٰسِعٌ عَلِيمٞ
247-และนบีของพวกเขาได้กล่าวแก่พวกเขาว่า "แท้จริงอัลลอฮ์ได้ทรงแต่งตั้งฏอลูตมาเป็นกษัตริย์แก่พวกเจ้าแล้วเพื่อให้พวกเจ้าต่อสู้ภายใต้ร่มธงของเขา" บรรดาแกนนำของพวกเขาไม่เห็นด้วยและคัดค้านการคัดเลือกนี้โดยกล่าวว่า "เขาจะมีอำนาจเหนือพวกเราได้อย่างไร? ทั้งๆที่พวกเราเป็นผู้ที่เหมาะสมกับอำนาจนั้นยิ่งกว่าเขา เขาไม่ได้เป็นลูกหลานของกษัตริย์และเขาไม่ได้มีทรัพย์สินมากมายเพื่อเป็นทางสู่การเป็นกษัตริย์?!" นบีของพวกเขาได้กล่าวว่า "อัลลอฮ์ได้ทรงคัดเลือกเขาให้มีอำนาจเหนือพวกเจ้าแล้ว และได้ทรงเพิ่มให้แก่เขาอีกซึ่งความกว้างขวางในความรู้ และพลังของร่างกายอย่างมหาศาล และอัลลอฮ์นั้นจะทรงประทานอำนาจของพระองค์ให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ด้วยความปรีชาญานและความเมตตาของพระองค์ และอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงโปรดปรานที่กว้างขวางให้กับคนที่พระองค์ทรงประสงค์ ผู้ทรงรอบรู้คนที่สมควรที่จะได้รับ"
التفاسير العربية:
وَقَالَ لَهُمۡ نَبِيُّهُمۡ إِنَّ ءَايَةَ مُلۡكِهِۦٓ أَن يَأۡتِيَكُمُ ٱلتَّابُوتُ فِيهِ سَكِينَةٞ مِّن رَّبِّكُمۡ وَبَقِيَّةٞ مِّمَّا تَرَكَ ءَالُ مُوسَىٰ وَءَالُ هَٰرُونَ تَحۡمِلُهُ ٱلۡمَلَٰٓئِكَةُۚ إِنَّ فِي ذَٰلِكَ لَأٓيَةٗ لَّكُمۡ إِن كُنتُم مُّؤۡمِنِينَ
248-และนบีของพวกเขาได้กล่าวแก่พวกเขาว่า "แท้จริงสัญญาณแห่งความจริงของการเลือกเขาให้เป็นกษัตริย์ของพวกเจ้านั้น คืออัลลอฮ์จะทรงนำหีบกลับมาหาพวกเจ้า ซึ่งเป็นหีบที่วงค์วานของอิสรออีลได้ยกย่องและได้ถูกยึดไปจากพวกเขา ซึ่งในหีบนั้น มีความสงบที่มาพร้อมกับมัน และมีบางสิ่งที่มาจากวงศ์วานของมูซา และวงศ์วานของฮารูนได้ละทิ้งไว้ เช่นไม้เท้าและบางส่วนของแผ่นจารึก แท้จริงในเรื่องนั้นมีสัญญาณหนึ่งแน่นอนสำหรับพวกท่าน หากพวกท่านเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง"
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• التنبيه إلى أهم صفات القائد التي تؤهله لقيادة الناس؛ وهي العلم بما يكون قائدًا فيه، والقوة عليه.
คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของผู้นำที่ทำให้เขาสามารถทำการนำผู้อื่นได้นั้น คือ ความรู้ที่เหมาะกับการเป็นผู้นำและความแข็งแกร่งที่จะแบกรับมัน

• إرشاد من يتولى قيادة الناس إلى ألا يغتر بأقوالهم حتى يبلوهم، ويختبر أفعالهم بعد أقوالهم.
บทเรียนสำหรับผู้นำคืออย่าเชื่อคำพูดของคนของเขาอย่างง่ายดายก่อนที่จะทดสอบพวกเขา และให้เปรียบเทียบระหว่างคำพูดและการกระทำของพวกเขา

• أن الاعتبارات التي قد تشتهر بين الناس في وزن الآخرين والحكم عليهم قد لا تكون هي الموازين الصحيحة عند الله تعالى، بل هو سبحانه يصطفي من يشاء من خلقه بحكمته وعلمه.
การพิจารณาที่เป็นบรรทัดฐานของผู้คนในการให้น้ำหนักหรือตัดสินผู้อื่นนั้น มันอาจเป็นการให้น้ำหนักที่ไม่ถูกต้อง ณ ที่อัลลอฮ์ ตะอาลา แต่พระองค์ทรงเลือกบ่าวของพระองค์ที่พระองค์ทรงประสงค์ ด้วยความปรีชาญานและความรอบรู้ของพระองค์

فَلَمَّا فَصَلَ طَالُوتُ بِٱلۡجُنُودِ قَالَ إِنَّ ٱللَّهَ مُبۡتَلِيكُم بِنَهَرٖ فَمَن شَرِبَ مِنۡهُ فَلَيۡسَ مِنِّي وَمَن لَّمۡ يَطۡعَمۡهُ فَإِنَّهُۥ مِنِّيٓ إِلَّا مَنِ ٱغۡتَرَفَ غُرۡفَةَۢ بِيَدِهِۦۚ فَشَرِبُواْ مِنۡهُ إِلَّا قَلِيلٗا مِّنۡهُمۡۚ فَلَمَّا جَاوَزَهُۥ هُوَ وَٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ مَعَهُۥ قَالُواْ لَا طَاقَةَ لَنَا ٱلۡيَوۡمَ بِجَالُوتَ وَجُنُودِهِۦۚ قَالَ ٱلَّذِينَ يَظُنُّونَ أَنَّهُم مُّلَٰقُواْ ٱللَّهِ كَم مِّن فِئَةٖ قَلِيلَةٍ غَلَبَتۡ فِئَةٗ كَثِيرَةَۢ بِإِذۡنِ ٱللَّهِۗ وَٱللَّهُ مَعَ ٱلصَّٰبِرِينَ
249-ครั้นเมื่อฏอลูตได้นำกำลังทหารออกไปจากหมู่บ้าน เขาได้แก่พวกเขาว่า "แท้จริงอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทดสอบพวกเจ้า ด้วยแม่น้ำสายหนึ่ง ผู้ใดดื่มน้ำจากแม่น้ำนั้น เขาจะไม่ใช่พวกของฉัน และเขาจะต้องไม่ออกรบพร้อมกับฉัน และผู้ใดที่ไม่ดื่มน้ำจากแม่น้ำนั้นแท้จริงเขานั้นเป็นพวกของฉัน และจะออกรบพร้อมกับฉัน นอกจากคนที่จำเป็นที่ต้องดื่มก็จงดื่มเท่าที่มือของเขาวักน้ำขึ้นได้เท่านั้น ก็จะไม่เป็นการผิดใดๆต่อเขา" และแล้วบรรดาทหารของเขาเหล่านั้นก็ดื่มน้ำจากแม่น้ำนั้น นอกจากส่วนน้อยในหมู่พวกเขาเท่านั้นที่อดทนไม่ดื่มน้ำถึงแม้จะกระหายน้ำเป็นอย่างมากก็ตาม ครั้นเมื่อฏอลูตและบรรดาผู้ศรัทธาที่ร่วมอยู่กับเขาได้ข้ามแม่น้ำนั้นไป ทหารของเขาบางคนได้กล่าวว่า "วันนี้พวกเราไม่มีกำลังใดๆจะต่อสู้กับญาลูตและบรรดาไพร่พลของเขา" และในขณะนั้นบรรดาผู้ที่มีความเชื่อมั่นว่าพวกเขาจะต้องพบกับอัลลอฮ์ในวันปรโลกได้กล่าวว่า "กี่มากน้อยแล้วที่กลุ่มผู้ศรัทธาที่มีจำนวนน้อยกว่า เอาชนะกลุ่มผู้ปฏิเสธศรัทธาที่มีจำนวนมากกว่า ด้วยการอนุมัติของอัลลอฮ์และความช่วยเหลือของพระองค์ และบทเรียนที่จะได้รับชัยชนะนั้นอยู่ที่ความศรัทธาไม่ใช่ที่จำนวน และอัลลอฮ์นั้นทรงอยู่กับบ่าวของพระองค์ที่มีความอดทนทั้งหลาย พระองค์จะทรงสนับสนุนและช่วยเหลือพวกเขา"
التفاسير العربية:
وَلَمَّا بَرَزُواْ لِجَالُوتَ وَجُنُودِهِۦ قَالُواْ رَبَّنَآ أَفۡرِغۡ عَلَيۡنَا صَبۡرٗا وَثَبِّتۡ أَقۡدَامَنَا وَٱنصُرۡنَا عَلَى ٱلۡقَوۡمِ ٱلۡكَٰفِرِينَ
250-และเมื่อพวกเขาได้ออกไปประจัญหน้ากับญาลูต และบรรดาไพร่พลของเขาแล้ว พวกเขาก็ได้วิงวอนต่ออัลลอฮฺ ว่า "โอ้พระผู้อภิบาลของเรา โปรดทรงประทานความอดทนแก่หัวใจของเรา และโปรดให้เท้าของเราได้ยืนหยัดมั่นคง เราจะได้ไม่หนีและไม่พ่ายแพ้ต่อหน้าศัตรูของเรา และโปรดทรงช่วยพวกเราด้วยฤทธิ์เดชของพระองค์และการสนับสนุนของพระองค์ให้ชนะเหนือพวกปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย"
التفاسير العربية:
فَهَزَمُوهُم بِإِذۡنِ ٱللَّهِ وَقَتَلَ دَاوُۥدُ جَالُوتَ وَءَاتَىٰهُ ٱللَّهُ ٱلۡمُلۡكَ وَٱلۡحِكۡمَةَ وَعَلَّمَهُۥ مِمَّا يَشَآءُۗ وَلَوۡلَا دَفۡعُ ٱللَّهِ ٱلنَّاسَ بَعۡضَهُم بِبَعۡضٖ لَّفَسَدَتِ ٱلۡأَرۡضُ وَلَٰكِنَّ ٱللَّهَ ذُو فَضۡلٍ عَلَى ٱلۡعَٰلَمِينَ
251-ดังนั้นด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์พวกเขาก็สามารถปราบบรรดาผู้ปฏิเสธได้อย่างราบคาบ และดาวูดได้ฆ่าญาลูตซึ่งเป็นหัวหน้าของพวกเขา และอัลลอฮ์ได้ทรงประทานตำแหน่งการเป็นกษัตริย์และเป็นนบี และได้สอนวิชาความรู้ต่างๆแก่เขาที่พระองค์ทรงประสงค์ และได้มอบให้แก่เขาซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ในโลกนี้และในปรโลก และถ้าหากว่าไม่ใช่เพราะวิถีแห่งกฎเกณฑ์ของอัลลอฮ์ในการปกป้องมนุษย์บางกลุ่มจากจากความชั่วของอีกบางกลุ่ม แน่นอนแผ่นดินนี้ย่อมเสื่อมเสีย เพราะตกอยู่ภายใต้การจัดการของบรรดาคนชั่ว แต่อัลลอฮ์นั้นทรงเป็นผู้มีพระคุณแก่ทุกสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลาย
التفاسير العربية:
تِلۡكَ ءَايَٰتُ ٱللَّهِ نَتۡلُوهَا عَلَيۡكَ بِٱلۡحَقِّۚ وَإِنَّكَ لَمِنَ ٱلۡمُرۡسَلِينَ
252-โอ้นบีเอ๋ย นั้นแหละคือบรรดาโองการที่ชัดแจ้งของอัลลอฮฺซึ่งเราได้อ่านโองการเหล่านั้นให้เจ้าฟังที่ประกอบไปด้วยความจริงที่เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ และประกอบด้วยความยุติธรรมด้านการตัดสิน และแท้จริงเจ้านั้นเป็นผู้หนึ่งในบรรดาเราะสูลทั้งหลาย จากผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• من حكمة القائد أن يُعرِّض جيشه لأنواع الاختبارات التي يتميز بها جنوده ويعرف الثابت من غيره.
หนึ่งในความเฉลียวฉลาดของผู้นำคือการทดสอบทหารของเขาด้วยวิธีต่างๆ ที่สามารถแยกแยะทหารของเขาว่าผู้ใดเข็มแข็งและผู้ใดอ่อนแอ่

• العبرة في النصر ليست بمجرد كثرة العدد والعدة فقط، وإنما معونة الله وتوفيقه أعظم الأسباب للنصر والظَّفَر.
ความสำคัญของชัยชนะ ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยแค่การมีจำนวนคนที่มากมายและอาวุธที่ใช้ในการสู้รบเท่านั้น แต่เป็นความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์และความง่ายดายจากพระองค์เป็นเหตุผลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับความสำเร็จและชัยชนะ

• لا يثبت عند الفتن والشدائد إلا من عَمَرَ اليقينُ بالله قلوبَهم، فمثل أولئك يصبرون عند كل محنة، ويثبتون عند كل بلاء.
จะไม่เกืดการยืนหยัดเมื่อต้องเผชิญการทดสอบและความลำบากต่างๆเว้นเสียจากคนที่หัวใจของพวกเขานั้นมีความเชื่อมั่นต่ออัลลอฮ์ตลอดเวลา เหมือนกับชนเหล่านั้นที่อดทนต่อทุกความเจ็บปวดและยืนหยัดต่อทุกความทุกข์ยาก

• الضراعة إلى الله تعالى بقلب صادق متعلق به من أعظم أسباب إجابة الدعاء، ولا سيما في مواطن القتال.
ความอ่อนน้อมถ่อมตนและการยอมจำนนต่ออัลลอฮ์ -ตาอาลา- ด้วยหัวใจที่จริงใจและการพึ่งพาพระองค์เป็นสาเหตุที่สำคัญในการตอบรับคำวิงวอน โดยเฉพาะเมืออยู่ในสนามรบ

• من سُنَّة الله تعالى وحكمته أن يدفع شر بعض الخلق وفسادهم في الأرض ببعضهم.
หนึ่งในวิถีของอัลลอฮ์ ตะอาลา และความปรีชาญานของพระองค์นั้นคือการปกป้องบางคนจากความชั่วร้ายและการก่อความเสียหายบนพื้นดินของพวกเขาโดยบางคนในหมู่พวกเขา

۞ تِلۡكَ ٱلرُّسُلُ فَضَّلۡنَا بَعۡضَهُمۡ عَلَىٰ بَعۡضٖۘ مِّنۡهُم مَّن كَلَّمَ ٱللَّهُۖ وَرَفَعَ بَعۡضَهُمۡ دَرَجَٰتٖۚ وَءَاتَيۡنَا عِيسَى ٱبۡنَ مَرۡيَمَ ٱلۡبَيِّنَٰتِ وَأَيَّدۡنَٰهُ بِرُوحِ ٱلۡقُدُسِۗ وَلَوۡ شَآءَ ٱللَّهُ مَا ٱقۡتَتَلَ ٱلَّذِينَ مِنۢ بَعۡدِهِم مِّنۢ بَعۡدِ مَا جَآءَتۡهُمُ ٱلۡبَيِّنَٰتُ وَلَٰكِنِ ٱخۡتَلَفُواْ فَمِنۡهُم مَّنۡ ءَامَنَ وَمِنۡهُم مَّن كَفَرَۚ وَلَوۡ شَآءَ ٱللَّهُ مَا ٱقۡتَتَلُواْ وَلَٰكِنَّ ٱللَّهَ يَفۡعَلُ مَا يُرِيدُ
บรรดาเราะสูลเหล่านั้นที่เราได้บอกเล่าให้แก่เจ้านั้น บางคนจากพวกเขาเราได้ให้ความประเสริฐเหนือกว่าบางคน ในเรื่องของวะห์ยู บรรดาผู้ติดตาม และยศศักดิ์ บางคนเป็นผู้ที่อัลลอฮ์สนทนาด้วย เช่น ท่านนบีมูซา อลัยฮิสสลาม และบางคนเป็นผู้ที่พระองค์ได้ทรงเลื่อนยศศักดิ์ให้สูงขึ้นหลายขั้น เช่น ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม โดยท่านได้ถูกส่งมายังมนุษยชาติทั้งมวล และให้ท่านเป็นนบีท่านสุดท้าย และได้ให้ประชาชาติของท่านประเสริฐกว่าประชาชาติอื่น และเราได้ประทานหลักฐานอันชัดแจ้ง(ปาฏิหาริย์)แก่อีซาบุตรของมัรยัมที่แสดงถึงการเป็นนบีของท่าน เช่น การให้คนตายฟื้นคืนชีพขึ้นมา การรักษาคนตาบอด การรักษาคนเป็นโรคเรื้อน และเราได้เสริมกำลังแก่เขาโดยให้ญิบรีลเป็นผู้สนับสนุนในการดำรงคำสั่งของอัลลอฮ์ และหากอัลลอฮ์ทรงประสงค์แล้วไซร้ บรรดากลุ่มคนที่มาหลังจากบรรดาเราะสูลคงจะไม่ฆ่าฟันกัน หลังจากที่หลักฐานต่างๆ อันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้ว แต่ทว่าพวกเขาขัดแย้งกัน แล้วพวกเขาก็แตกแยกกัน บางคนก็ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และบางคนก็ปฏิเสธที่จะศรัทธาต่อพระองค์ และหากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ที่ไม่ให้พวกเขาจะฆ่าฟันกัน พวกเขาก็ไม่ฆ่าฟันกัน แต่ทว่าอัลลอฮฺทรงกระทำตามที่พระองค์ทรงประสงค์ พระองค์จะทรงนำทางแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์สู่การศรัทธา ด้วยความเมตตาและความโปรดปรานของพระองค์ และให้ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์หลงออกจากแนวทางที่ถูกต้อง ด้วยความยุติธรรมและความปรีชาญานของพระองค์
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ أَنفِقُواْ مِمَّا رَزَقۡنَٰكُم مِّن قَبۡلِ أَن يَأۡتِيَ يَوۡمٞ لَّا بَيۡعٞ فِيهِ وَلَا خُلَّةٞ وَلَا شَفَٰعَةٞۗ وَٱلۡكَٰفِرُونَ هُمُ ٱلظَّٰلِمُونَ
โอ้บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และปฏิบัติตามเราะสูลของพระองค์เอ๋ย พวกเจ้าจงบริจาคส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า จากทรัพย์สินต่างๆที่ฮะลาล ก่อนที่วันกิยามะฮ์จะมาถึง ซึ่งวันนั้นเป็นวันที่ไม่มีการซื้อขายที่มนุษย์จะได้รับประโยชน์จากมัน ไม่มีความเป็นมิตรที่จะยังประโยชน์ในเวลาที่คับขัน และไม่มีคนกลางที่จะคอยปกป้องจากอันตรายหรือให้ประโยชน์ใดๆ เว้นแต่หลังจากได้รับอนุญาตจากอัลลอฮ์แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์และพอพระทัยแล้วเท่านั้น และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น พวกเขาคือเหล่าผู้อธรรมที่แท้จริง เนื่องด้วยการปฏิเสธศรัทธาของพวกเขาต่ออัลลอฮ์ตะอาลา
التفاسير العربية:
ٱللَّهُ لَآ إِلَٰهَ إِلَّا هُوَ ٱلۡحَيُّ ٱلۡقَيُّومُۚ لَا تَأۡخُذُهُۥ سِنَةٞ وَلَا نَوۡمٞۚ لَّهُۥ مَا فِي ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَمَا فِي ٱلۡأَرۡضِۗ مَن ذَا ٱلَّذِي يَشۡفَعُ عِندَهُۥٓ إِلَّا بِإِذۡنِهِۦۚ يَعۡلَمُ مَا بَيۡنَ أَيۡدِيهِمۡ وَمَا خَلۡفَهُمۡۖ وَلَا يُحِيطُونَ بِشَيۡءٖ مِّنۡ عِلۡمِهِۦٓ إِلَّا بِمَا شَآءَۚ وَسِعَ كُرۡسِيُّهُ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضَۖ وَلَا يَـُٔودُهُۥ حِفۡظُهُمَاۚ وَهُوَ ٱلۡعَلِيُّ ٱلۡعَظِيمُ
อัลลอฮ์คือผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกเคารพสักการะอันเที่ยงแท้ นอกจากพระองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้น ผู้ทรงมีชีวิต ด้วยชีวิตที่สมบูรณ์ไม่มีการตายและไม่มีข้อบกพร่องใดๆ ผู้ทรงดำรงด้วยพระองค์เองไม่ต้องพึ่งพาเหล่าสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และสิ่งถูกสร้างทั้งหมดจะต้องพึ่งพาพระองค์ตลอดเวลาไม่สามารถขาดได้ การง่วงและการนอนไม่สามารถทำอะไรพระองค์ได้ เนื่องด้วยความสมบูรณ์ของการมีชีวิตและการยืนยงของพระองค์ อำนาจของสิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีผู้ใดที่จะมีอำนาจในการขอความช่วยเหลือ ณ ที่พระองค์แก่คนอื่นได้ เว้นแต่หลังจากการอนุมัติและพอพระทัยของพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่เป็นอดีตจากกิจการต่างๆของสิ่งถูกสร้างที่ได้เกิดขึ้นแล้ว และสิ่งที่เป็นอนาคตของพวกเขาที่ยังไม่เกิดขึ้น และพวกเขาจะไม่สามารถล่วงรู้สิ่งใดๆจากความรอบรู้ของพระองค์ เว้นแต่สิ่งทีพระองค์ทรงประสงค์ให้พวกเขารู้ กุรซีย์ของพระองค์นั้นกว้างขวาง ซึ่งกุรซีย์นั้นคือที่วางเท้าทั้งสองของพระองค์ ซึ่งมันแผ่กว้างเท่าความกว้างใหญ่และยิ่งใหญ่ของชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และการรักษามันทั้งสอง(ชั้นฟ้าและแผ่นดิน)ก็ไม่เป็นภาระหนักอึ้งแก่พระองค์ และพระองค์นั้นคือผู้ทรงสูงส่ง ในด้านตัวตนและลักษณะของพระองค์ สูงส๋งด้านการกำหนดการต่างๆของพระองค์และด้านเดชานุภาพของพระองค์ และผู้ทรงยิ่งใหญ่ ในอำนาจและการปกครองของพระองค์
التفاسير العربية:
لَآ إِكۡرَاهَ فِي ٱلدِّينِۖ قَد تَّبَيَّنَ ٱلرُّشۡدُ مِنَ ٱلۡغَيِّۚ فَمَن يَكۡفُرۡ بِٱلطَّٰغُوتِ وَيُؤۡمِنۢ بِٱللَّهِ فَقَدِ ٱسۡتَمۡسَكَ بِٱلۡعُرۡوَةِ ٱلۡوُثۡقَىٰ لَا ٱنفِصَامَ لَهَاۗ وَٱللَّهُ سَمِيعٌ عَلِيمٌ
ไม่มีการบังคับในการเข้ารับศาสนาอิสลามแก่ผู้ใด เพราะอิสลามคือศาสนาอันเที่ยงแท้และชัดเจน ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดๆในการบังคับใครเข้าศาสนา ความถูกต้องและความผิดได้ถูกแยกแยะออกจากกันแล้ว ดังนั้นผู้ใดที่ปฏิเสธสิ่งที่ถูกเคารพสักการะต่างๆ อื่นจากอัลลอฮ์และปลีกตัวออกห่างจากสิ่งเหล่านั้น และศรัทธาต่ออัลลอฮ์เพียงองค์เดียว แน่นอนเขาได้ยึดมั่นกับศาสนาด้วยการยึดมั่นต่อสิ่งที่แข็งแกร่งที่สุดที่เป็นสาเหตุที่ทำให้รอดปลอดภัยในวันกิยามะฮ์ และอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงได้ยินในทุกคำพูดของบ่าวของพระองค์ ผู้ทรงรอบรู้ในทุกการกระทำของพวกเขา และพระองค์จะทรงตอบแทนพวกเขาในสิ่งที่ได้กระทำไว้
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• أن الله تعالى قد فاضل بين رسله وأنبيائه، بعلمه وحكمته سبحانه.
อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงให้ความประเสริฐที่แตกต่างกันระหว่างบรรดาเราะสูลและบรรดานบีของพระองค์ ด้วยความรอบรู้ และความปรีชาญานของพระองค์

• إثبات صفة الكلام لله تعالى على ما يليق بجلاله، وأنه قد كلم بعض رسله كموسى ومحمد عليهما الصلاة والسلام.
ยืนยันถึงคุณลักษณะพูดของอัลลอฮ์ตะอาลา บนฐานที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และพระองค์นั้นได้พูดกับเราะสูลบางคนของพระองค์ เช่น ท่านนบีมูซา และท่านนบีมุฮัมมัด อะลัยฮิมัศศอลาตุวัสสลาม

• الإيمان والهدى والكفر والضلال كلها بمشيئة الله وتقديره، فله الحكمة البالغة، ولو شاء لهدى الخلق جميعًا.
การศรัทธา การได้รับทางนำ การปฏิเสธศรัทธา และการหลงทางนั้น ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความประสงค์ของอัลลอฮ์และการกำหนดของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงเปี่ยมด้วยวิทยะปัญญาอันสูงส่ง และหากพระองค์ทรงประสงค์ แน่นอนพระองค์ก็จะทรงให้ทางนำแก่มนุษย์ทั้งมวล

• آية الكرسي هي أعظم آية في كتاب الله، لما تضمنته من ربوبية الله وألوهيته وبيان أوصافه .
อายะฮ์อัลกุรซีย์ เป็นอายะฮ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ เพราะได้ครอบคลุมเนื้อหาการเป็นพระผู้อภิบาลของอัลลอฮ์ (รุบูบียะฮ์) การเป็นพระเจ้าผู้ถูกเคารพสักการะของพระองค์ (อุลูฮียะฮ์) และแจกแจงคุณลักษณะของพระองค์

• اتباع الإسلام والدخول فيه يجب أن يكون عن رضًا وقَبول، فلا إكراه في دين الله تعالى.
การปฏิบัติตามและการเข้ารับอิสลามนั้น จะต้องขึ้นอยู่บนความพอใจและการยินยอม ดังนั้นไม่มีการบังคับใดๆ ในศาสนาของอัลลอฮ์

• الاستمساك بكتاب الله وسُنَّة رسوله أعظم وسيلة للسعادة في الدنيا، والفوز في الآخرة.
การยึดมั่นในคัมภีร์ของอัลลอฮ์และซุนนะฮ์ของเราะสูลของพระองค์นั้น คือสาเหตุของความสุุขในดุนยา และชัยชนะในปรโลก

ٱللَّهُ وَلِيُّ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ يُخۡرِجُهُم مِّنَ ٱلظُّلُمَٰتِ إِلَى ٱلنُّورِۖ وَٱلَّذِينَ كَفَرُوٓاْ أَوۡلِيَآؤُهُمُ ٱلطَّٰغُوتُ يُخۡرِجُونَهُم مِّنَ ٱلنُّورِ إِلَى ٱلظُّلُمَٰتِۗ أُوْلَٰٓئِكَ أَصۡحَٰبُ ٱلنَّارِۖ هُمۡ فِيهَا خَٰلِدُونَ
อัลลอฮ์ทรงปกครองบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อพระองค์ ทรงทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ ทรงช่วยเหลือพวกเขา และนำพวกเขาออกจากบรรดาความมืดมิดของการปฏิเสธศรัทธาและความโง่เขลา สู่แสงสว่างของการศรัทธาและความรู้ ส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น ผู้ปกครองของพวกเขาคือบรรดาภาคีและเจว็ดทั้งหลาย ผู้ซึ่งทำให้การปฏิเสธนั้นเป็นสิ่งดีงามสำหรับพวกเขา แล้วมันก็นำพวกเขาออกจากแสงรัศมีของการศรัทธาไปสู่บรรดาความมืดมิดของการปฏิเสธและความโง่เขลา พวกเขาเหล่านั้นคือบรรดาชาวนรก และพวกเขาก็จะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล
التفاسير العربية:
أَلَمۡ تَرَ إِلَى ٱلَّذِي حَآجَّ إِبۡرَٰهِـۧمَ فِي رَبِّهِۦٓ أَنۡ ءَاتَىٰهُ ٱللَّهُ ٱلۡمُلۡكَ إِذۡ قَالَ إِبۡرَٰهِـۧمُ رَبِّيَ ٱلَّذِي يُحۡيِۦ وَيُمِيتُ قَالَ أَنَا۠ أُحۡيِۦ وَأُمِيتُۖ قَالَ إِبۡرَٰهِـۧمُ فَإِنَّ ٱللَّهَ يَأۡتِي بِٱلشَّمۡسِ مِنَ ٱلۡمَشۡرِقِ فَأۡتِ بِهَا مِنَ ٱلۡمَغۡرِبِ فَبُهِتَ ٱلَّذِي كَفَرَۗ وَٱللَّهُ لَا يَهۡدِي ٱلۡقَوۡمَ ٱلظَّٰلِمِينَ
โอ้นบีเอ๋ย เจ้าเห็นถึงความแปลกประหลาดที่เกิดจากความโอหังของผู้อธรรม ผู้ซึ่งโต้เถียงกับอิบรอฮีมในเรื่องการเป็นพระผู้ทรงอภิบาลของอัลลอฮ์และการเป็นพระเจ้าองค์เดียวของพระองค์หรือไม่ เรื่องมันเกิดขึ้นเพียงเพราะว่าอัลลอฮ์ได้ทรงประทานอำนาจให้แก่เขา จึงทำให้เขาดื้อดึงละเมิด ดังนั้นท่านนบีอิบรอฮีมจึงชี้แจงคุณลักษณะของพระผู้อภิบาลของเขา โดยกล่าวว่า "พระผู้อภิบาลของฉันคือผู้ทรงทำให้ทุกสิ่งมีชีวิต และให้ทุกสิ่งตาย" ผู้อธรรมคนนั้นตอบกลับอย่างดื้อดึงว่า "ฉันก็ทำให้เป็นและทำให้ตายได้" โดยการฆ่าผู้ที่ฉันต้องการ และปล่อย(ไม่ฆ่า) ผู้ที่ฉันต้องการ แล้วท่านนบีอิบรอฮีมก็ได้นำหลักฐานอื่นที่ยิ่งใหญ่กว่ามาแสดงให้เขาเห็น โดยกล่าวแก่เขาว่า "แท้จริงพระผู้อภิบาลของฉัน ผู้ซึ่งฉันเคารพสักการะนั้น พระองค์ทรงนำดวงอาทิตย์มาจากทิศตะวันออก ดังนั้นท่านจงนำดวงอาทิตย์มาจากทิศตะวันตกซิ" แล้วผู้อธรรมผู้นั้นก็ตกอยู่ในความงงงวยและอัปจนปัญญาที่จะต่อกรกับหลักฐานอันทรงพลังอันนี้ได้ และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงประทานแนวทางที่ถูกต้องแก่บรรดาผู้อธรรม เพื่อสู่แนวทางของพระองค์ อันเนื่องจากความอธรรมและความดื้อดึงละเมิดของพวกเขาเอง
التفاسير العربية:
أَوۡ كَٱلَّذِي مَرَّ عَلَىٰ قَرۡيَةٖ وَهِيَ خَاوِيَةٌ عَلَىٰ عُرُوشِهَا قَالَ أَنَّىٰ يُحۡيِۦ هَٰذِهِ ٱللَّهُ بَعۡدَ مَوۡتِهَاۖ فَأَمَاتَهُ ٱللَّهُ مِاْئَةَ عَامٖ ثُمَّ بَعَثَهُۥۖ قَالَ كَمۡ لَبِثۡتَۖ قَالَ لَبِثۡتُ يَوۡمًا أَوۡ بَعۡضَ يَوۡمٖۖ قَالَ بَل لَّبِثۡتَ مِاْئَةَ عَامٖ فَٱنظُرۡ إِلَىٰ طَعَامِكَ وَشَرَابِكَ لَمۡ يَتَسَنَّهۡۖ وَٱنظُرۡ إِلَىٰ حِمَارِكَ وَلِنَجۡعَلَكَ ءَايَةٗ لِّلنَّاسِۖ وَٱنظُرۡ إِلَى ٱلۡعِظَامِ كَيۡفَ نُنشِزُهَا ثُمَّ نَكۡسُوهَا لَحۡمٗاۚ فَلَمَّا تَبَيَّنَ لَهُۥ قَالَ أَعۡلَمُ أَنَّ ٱللَّهَ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٞ
หรือเจ้ารู้เรื่องราวที่ของผู้ที่ได้เดินผ่านมายังเมืองหนึ่ง ซึ่งหลังคาของเมืองนั้นได้ถล่มลงมา และพนังของมันได้พังทลาย และผู้อาศัยก็ได้ตายกันหมด แล้วเมืองนั้นก็กลายเป็นเมืองเปลี่ยวเมืองร้าง ชายคนนั้นก็ได้กล่าวอย่างประหลาดใจว่า "อัลลอฮ์จะทรงทำให้ชาวเมืองนี้มีชีวิตขึ้นมาอีกได้อย่างไร หลังจากที่มันได้ตายและพินาศไปแล้ว?!" แล้วอัลลอฮ์ก็ได้ทรงทำให้เขาตายไป เป็นเวลาหนึ่งร้อยปี แล้วได้ทรงทำให้เขาฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง และได้ถามเขาว่า "เจ้าได้พำนักเป็นเวลาเท่าใด? เขากล่าวตอบว่า "ฉันได้พำนักเป็นเวลาหนึ่งวันหรือบางส่วนของวันเท่านั้น" พระองค์ทรงกล่าวว่า "ไม่ใช่ แต่ว่าเจ้าได้พำนักเป็นเวลาหนึ่งร้อยปีเต็ม เจ้าจงมองดูอาหารและเครื่องดื่มของเจ้าที่เจ้านำติดตัวมา มันยังคงอยู่ในสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งที่อาหารและเครื่องดื่มนั้นมันจะเสียง่ายอย่างรวดเร็ว และจงมองดูลาของเจ้าที่มันตายไปแล้ว เพื่อเราจะได้ทำให้เจ้า เป็นหลักฐานอันชัดแจ้งแก่มนุษยชาติที่แสดงถึงเดชานุภาพของอัลลอฮ์ในการให้พวกเขาฟื้นคืนชีพ จงมองไปยังกระดูกของลาที่มันกระจัดกระจายไป เราได้ยกมันขึ้นมาและประกอบร่างของมัน แล้วก็ให้เนื้อมาหุ้มกระดูกไว้ และเราได้ทำให้มันมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อเขาได้เห็นอย่างนั้น ทำให้ความจริงได้เป็นที่ประจักษ์แก่เขา และทำให้เขาได้รู้ถึงเดชานุภาพของอัลลอฮ์ แล้วเขาก็ได้กล่าวอย่างยอมจำนนว่า "ฉันรู้แล้วว่าอัลลอฮ์นั้นทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง"
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• من أعظم ما يميز أهل الإيمان أنهم على هدى وبصيرة من الله تعالى في كل شؤونهم الدينية والدنيوية، بخلاف أهل الكفر.
จากคุณลักษณะพิเศษอันยิ่งใหญ่ของบรรดาผู้ศรัทธาคือ พวกเขานั้นจะอยู่บนทางนำ และมีวิจารณะญานจากอัลลอฮ์ในทุกๆเรื่องของชีวิตของพวกเขา ทั้งทางด้านศาสนาและทางโลก ซึ่งจะแตกต่างจากบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาอย่างสิ้นเชิง

• من أعظم أسباب الطغيان الغرور بالقوة والسلطان حتى يعمى المرء عن حقيقة حاله.
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ประการหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการละเมิดดื้อดึงนั่นก็คือ การหลงไหลในความแข็งแกร่งและอำนาจ จนทำให้บุคคลนั้นมองไม่เห็นถึงความจริงของตัวเอง

• مشروعية مناظرة أهل الباطل لبيان الحق، وكشف ضلالهم عن الهدى.
อนุญาตให้มีการอภิปรายกับบรรดาผู้หลงผิด เพื่อชึ้แจงถึงสัจธรรมและให้พวกเขาได้เห็นถึงการหลงทางของพวกเขาจากทางนำที่ถูกต้อง

• عظم قدرة الله تعالى؛ فلا يُعْجِزُهُ شيء، ومن ذلك إحياء الموتى.
ความยิ่งใหญ่ในพลังเดชานุภาพของอัลลอฮ์ ไม่มีสิ่งใดทำให้พระองค์ไร้ความสามารถได้ และส่วนหนึ่งจากความเดชานุภาพของพระองค์นั้นคือ การให้คนตายไปแล้วได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา

وَإِذۡ قَالَ إِبۡرَٰهِـۧمُ رَبِّ أَرِنِي كَيۡفَ تُحۡيِ ٱلۡمَوۡتَىٰۖ قَالَ أَوَلَمۡ تُؤۡمِنۖ قَالَ بَلَىٰ وَلَٰكِن لِّيَطۡمَئِنَّ قَلۡبِيۖ قَالَ فَخُذۡ أَرۡبَعَةٗ مِّنَ ٱلطَّيۡرِ فَصُرۡهُنَّ إِلَيۡكَ ثُمَّ ٱجۡعَلۡ عَلَىٰ كُلِّ جَبَلٖ مِّنۡهُنَّ جُزۡءٗا ثُمَّ ٱدۡعُهُنَّ يَأۡتِينَكَ سَعۡيٗاۚ وَٱعۡلَمۡ أَنَّ ٱللَّهَ عَزِيزٌ حَكِيمٞ
โอ้นบีเอ๋ย จงรำลึก ขณะที่อิบรอฮีม อลัยฮิสลาม กล่าวว่า "โอ้พระผู้อภิบาลของข้า โปรดให้ข้าได้เห็นด้วยตาของข้า ถึงวิธีการทำให้สิ่งที่ตายไปแล้วกลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้งได้อย่างไร อัลลอฮ์ทรงตรัสแก่เขาว่า "เจ้าไม่เชื่อต่อเรื่องนั้นใช่ไหม?" อิบรอฮีมตอบว่า "ไม่ใช่เช่นนั้น ข้าเชื่ออย่างแน่นอน แต่เพื่อเพิ่มความสงบนิ่งให้แกหัวใจของข้าเท่านั้น" แล้วอัลลอฮ์ก็ได้สั่งแก่เขาว่า "เจ้าจงนำนกมาสี่ตัว แล้วมารวมไว้ที่เจ้า แล้วทำการสับมันให้เป็นชิ้นๆ และจงนำชิ้นส่วนแต่ละชิ้นของมัน ไปวางไว้ตามภูเขาแต่ละลูก ที่อยู่รอบๆตัวเจ้า และจงเรียกพวกนกนั้นกลับมาหาเจ้า มันจะกลับมาหาเจ้าอย่างรีบเร่ง โดยมันได้กลับมามีชีวิตขึ้นมาใหม่อีกครั้ง อิบรอฮีมเอ๋ย เจ้าจงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพในอำนาจของพระองค์ และทรงปรีชาญาณในกิจการของพระองค์ ในด้านการบัญญัติ และการสร้าง
التفاسير العربية:
مَّثَلُ ٱلَّذِينَ يُنفِقُونَ أَمۡوَٰلَهُمۡ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ كَمَثَلِ حَبَّةٍ أَنۢبَتَتۡ سَبۡعَ سَنَابِلَ فِي كُلِّ سُنۢبُلَةٖ مِّاْئَةُ حَبَّةٖۗ وَٱللَّهُ يُضَٰعِفُ لِمَن يَشَآءُۚ وَٱللَّهُ وَٰسِعٌ عَلِيمٌ
อุปมาผลบุญของบรรดาผู้ศรัทธาที่บริจาคทรัพย์สินของพวกเขาในหนทางของอัลลอฮ์ อุปมัยดั่ง เมล็ดพันธุ์เมล็ดหนึ่งที่ชาวไร่ได้ปลูกไว้ในดินที่ดี แล้วมันก็งอกเงยขึ้นเป็นเจ็ดรวง ซึ่งในแต่ละรวงนั้นมีหนึ่งร้อยเมล็ด และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเพิ่มพูนผลบุญทวีคูณให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากปวงบ่าวของพระองค์ แล้วพระองค์จะทรงให้รางวัลพวกเขาอย่างไม่คิดคำนวณ และอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงกว้างขวางในความโปรดปรานและการให้ ผู้ทรงรอบรู้ว่าผู้ใดสมควรได้รับผลบุญทวีคูณ
التفاسير العربية:
ٱلَّذِينَ يُنفِقُونَ أَمۡوَٰلَهُمۡ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ ثُمَّ لَا يُتۡبِعُونَ مَآ أَنفَقُواْ مَنّٗا وَلَآ أَذٗى لَّهُمۡ أَجۡرُهُمۡ عِندَ رَبِّهِمۡ وَلَا خَوۡفٌ عَلَيۡهِمۡ وَلَا هُمۡ يَحۡزَنُونَ
บรรดาผู้ซึ่งบริจาคทรัพย์สินของพวกเขาในการเชื่อฟังอัลลอฮ์และเพื่อความพอพระทัยของพระองค์ เมื่อพวกเขาบริจาคไป แล้วพวกเขาก็ไม่ทำในสิ่งที่เป็นเหตุแห่งการลบล้างผลบุญของการบริจาคนั้น ไม่ว่าจะเป็นการล้ำเลิกต่อผู้อื่นด้วยการพูดและการกระทำ สำหรับพวกเขานั้นคือรางวัลของพวกเขา ณ ที่พระผู้อภิบาลของพวกเขา และพวกเขาจะไม่มีความกลัวใดๆต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า และไม่มีความโศกเศร้าใดๆกับสิ่งที่ได้ผ่านมาในอดีต เนื่องด้วยความสุขที่ล้นหลามของพวกเขา
التفاسير العربية:
۞ قَوۡلٞ مَّعۡرُوفٞ وَمَغۡفِرَةٌ خَيۡرٞ مِّن صَدَقَةٖ يَتۡبَعُهَآ أَذٗىۗ وَٱللَّهُ غَنِيٌّ حَلِيمٞ
คำพูดที่ดีที่สามารถส่งความสุขเข้าสู่หัวใจของผู้ศรัทธา และการให้อภัยแก่ผู้ที่ทำร้ายเจ้านั้น ย่อมประเสริฐกว่าการบริจาคทานที่ตามด้วยการก่อความเดือดร้อนด้วยการไปล้ำเลิกแก่ผู้ที่รับบริจาค และอัลลอฮ์คือผู้ทรงมั่งมี (ทรงอยู่เหนือการพึ่งพาใดๆจากปวงบ่าวของพระองค์) ผู้ทรงสุขุมหนักแน่น ไม่ทรงเร่งรีบลงโทษพวกเขา
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تُبۡطِلُواْ صَدَقَٰتِكُم بِٱلۡمَنِّ وَٱلۡأَذَىٰ كَٱلَّذِي يُنفِقُ مَالَهُۥ رِئَآءَ ٱلنَّاسِ وَلَا يُؤۡمِنُ بِٱللَّهِ وَٱلۡيَوۡمِ ٱلۡأٓخِرِۖ فَمَثَلُهُۥ كَمَثَلِ صَفۡوَانٍ عَلَيۡهِ تُرَابٞ فَأَصَابَهُۥ وَابِلٞ فَتَرَكَهُۥ صَلۡدٗاۖ لَّا يَقۡدِرُونَ عَلَىٰ شَيۡءٖ مِّمَّا كَسَبُواْۗ وَٱللَّهُ لَا يَهۡدِي ٱلۡقَوۡمَ ٱلۡكَٰفِرِينَ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และปฏิบัติตามเราะสูลของพระองค์เอ๋ย พวกเจ้าอย่าได้ลบล้างผลบุญของการบริจาคของพวกเจ้า ด้วยการล้ำเลิกบุญคุณหรือการก่อความเดือดร้อนแก่ผู้รับบริจาค ผู้ที่กระทำเช่นนั้น ก็เปรียบดั่งเช่นผู้ที่บริจาคทรัพย์สินของเขาโดยมีเจตนาเพื่ออวดผู้คน ให้ผู้คนชมเชยเขา และเขาก็คือผู้ปฏิเสธศรัทธา ที่ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ อีกและต่อวันกิยามะฮ์และต่อการตอบแทนและการลงโทษที่มีในวันกิยามะฮ์ อุปมาเขาคนนั้น เสมือนดั่งหินเกลี้ยงที่มีฝุ่นจับ แล้วหินนั้นก็ได้ประสบกับฝนที่ตกลงมาอย่างหนักแล้วฝนนั้นมันก็ได้ชะล้างฝุ่นออกจากหินนั้นจนเกลี้ยงเกลา ดังกล่าวนั้นแหละคือผู้ที่โอ้อวดการงาน ผลบุญของการงานและการบริจาคของพวกเขาได้อันตธานหายไปหมด ไม่หลงเหลือสิ่งใดเลย ณ ที่อัลลอฮ์ และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงนำทางแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไปสู่สิ่งที่พระองค์พอพระทัยและสิ่งที่จะยังประโยชน์แก่พวกเขาในการงานและการบริจาคของพวกเขา
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• مراتب الإيمان بالله ومنازل اليقين به متفاوتة لا حد لها، وكلما ازداد العبد نظرًا في آيات الله الشرعية والكونية زاد إيمانًا ويقينًا.
ระดับของการศรัทธาต่ออัลลอฮ์และสถานะของความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ มันแตกต่างกันอย่างไม่มีขอบเขต (มีลำดับขั้น) ทุกๆ ครั้งที่บ่าวเพิ่มการพินิจใคร่ครวญในสัญญาณต่างๆของอัลลอฮ์ทั้งสัญญาณเกี่ยวกับบทบัญญัติและสัญญาณแห่งความเป็นไปของจักรวาล ทำให้ระดับของการศรัทธาและความเชื่อมั่นเกิดการเพิ่มพูน

• بَعْثُ الله تعالى للخلق بعد موتهم دليل ظاهر على كمال قدرته وتمام عظمته سبحانه.
การที่อัลลอฮ์ให้สิ่งมีชีวิตฟื้นคืนชีพขึ้นมาหลังจากที่ได้ตายไปแล้วนั้น คือหลักฐานอันชัดเจนถึงความสมบูรณ์แห่งพลังเดชานุภาพและความยิ่งใหญ่ของพระองค์

• فضل الإنفاق في سبيل الله وعظم ثوابه، إذا صاحبته النية الصالحة، ولم يلحقه أذى ولا مِنّة محبطة للعمل.
ความประเสริฐของการบริจาคทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮฺและผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่ เมื่อผู้บริจาคมีเจตนาที่ดี โดยไม่ทำการก่อความเดือดร้อนหรือการล้ำเลิกบุญคุณ ซึ่งเป็นการลบล้างการงานที่ดีที่ได้ทำมา

• من أحسن ما يقدمه المرء للناس حُسن الخلق من قول وفعل حَسَن، وعفو عن مسيء.
สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์จะมอบให้กันก็คือ มารยาทอันดีงามทั้งจากคำพูดและการกระทำที่ดี และการให้อภัยต่อผู้ที่ทำร้าย

وَمَثَلُ ٱلَّذِينَ يُنفِقُونَ أَمۡوَٰلَهُمُ ٱبۡتِغَآءَ مَرۡضَاتِ ٱللَّهِ وَتَثۡبِيتٗا مِّنۡ أَنفُسِهِمۡ كَمَثَلِ جَنَّةِۭ بِرَبۡوَةٍ أَصَابَهَا وَابِلٞ فَـَٔاتَتۡ أُكُلَهَا ضِعۡفَيۡنِ فَإِن لَّمۡ يُصِبۡهَا وَابِلٞ فَطَلّٞۗ وَٱللَّهُ بِمَا تَعۡمَلُونَ بَصِيرٌ
และอุปมาบรรดาผู้ศรัทธาที่บริจาคทรัพย์สินของพวกเขา เพื่อปรารถนาความพอพระทัยของอัลลอฮ์ เพื่อความสงบมั่นต่อจิตใจของพวกเขาด่อความสัจจริงแห่งสัญญาของอัลลอฮ์ โดยไม่ได้ถูกบังคับใดๆ เปรียบเสมือนดั่งสวนหนึ่งซึ่งอยู่บนเนินสูงที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีฝนตกหนักลงมา แล้วมันก็ทำให้พืชผลงอกเงยออกมามากมายทวีคูณ และถึงแม้ว่าสวนนั้นจะไม่ได้ประสบกับฝนตกหนัก แต่ก็ประสบกับฝนที่โปรยปราย มันก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ดินนั้นสมบูรณ์ และเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับการบริจาคทรัพย์สินของผู้มีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮ์ อัลลอฮ์ทรงตอบรับมัน และเพิ่มพูนผลบุญให้ทวีคูณ แม้ว่าจะเพียงเล็กน้อย และอัลลอฮ์ทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ การกระทำของบรรดาผู้บริสุทธิ์ใจและบรรดาผู้โอ้อวดย่อมไม่อาจซ่อนเร้นจากพระองค์ได้ พระองค์ทรงตอบแทนทุกคนด้วยสิ่งที่คนนั้นสมควรได้รับ
التفاسير العربية:
أَيَوَدُّ أَحَدُكُمۡ أَن تَكُونَ لَهُۥ جَنَّةٞ مِّن نَّخِيلٖ وَأَعۡنَابٖ تَجۡرِي مِن تَحۡتِهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُ لَهُۥ فِيهَا مِن كُلِّ ٱلثَّمَرَٰتِ وَأَصَابَهُ ٱلۡكِبَرُ وَلَهُۥ ذُرِّيَّةٞ ضُعَفَآءُ فَأَصَابَهَآ إِعۡصَارٞ فِيهِ نَارٞ فَٱحۡتَرَقَتۡۗ كَذَٰلِكَ يُبَيِّنُ ٱللَّهُ لَكُمُ ٱلۡأٓيَٰتِ لَعَلَّكُمۡ تَتَفَكَّرُونَ
มีคนใดในหมู่พวกเจ้าที่ปรารถนาจะมีสวนผลไม้บ้าง ซึ่งในสวนนั้นมีต้นอินทผลัมและต้นองุ่น มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านในสวนนั้น และพืชผลที่ดีงามต่างๆหลากหลายชนิดทั้งหมดล้วนเป็นของเขา และแล้วเจ้าของสวนนั้นได้แก่ชราลง เขาก็ได้กลายเป็นคนที่ไม่สามารถทำงานและเก็บเกี่ยวได้ โดยเขานั้นมีลูกๆที่ยังเล็กๆ ยังไม่สามารถทำงานใดๆได้ แล้วสวนนั้นก็ได้ประสบกับพายุที่รุนแรง ซึ่งในพายุนั้นมีไฟที่ร้อนแรง แล้วไฟนั้นก็ได้เผาผลาญสวนจนหมดสิ้น โดยที่เขาไม่สามารถที่จะทำอะไรได้เลยเนื่องด้วยความชราภาพของเขาและความอ่อนแอของลูกๆ ดังนั้น สภาพของผู้ที่บริจาคทานเพื่อการโอ้อวดต่อเพื่อนมนุษย์ ก็เหมือนดั่งเช่นสภาพของชายผู้นี้ เขาจะกลับไปหาอัลลอฮ์ในวันกิยามะฮ์ด้วยสภาพที่ไม่มีความดีเลย ในเวลาที่เขาต้องการความดีมากที่สุด คำชี้แจงในลักษณะนี้ อัลลอฮ์ทรงชี้แจงแก่พวกเจ้าซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเจ้าทั้งในดุนยาและปรโลก เพื่อว่าพวกท่านจะได้คิดใคร่ครวญ
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ أَنفِقُواْ مِن طَيِّبَٰتِ مَا كَسَبۡتُمۡ وَمِمَّآ أَخۡرَجۡنَا لَكُم مِّنَ ٱلۡأَرۡضِۖ وَلَا تَيَمَّمُواْ ٱلۡخَبِيثَ مِنۡهُ تُنفِقُونَ وَلَسۡتُم بِـَٔاخِذِيهِ إِلَّآ أَن تُغۡمِضُواْ فِيهِۚ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ غَنِيٌّ حَمِيدٌ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และปฏิบัติตามเราะสูลของพระองค์แล้วทั้งหลาย พวกเจ้าจงบริจาคส่วนหนึ่งจากทรัพย์สินที่ฮะลาล(อนุมัติ)และดีงาม ซึ่งที่พวกเจ้าได้แสวงหามาได้ และจงบริจาคส่วนหนึ่งจากพืชผลที่เราได้ให้งอกเงยขึ้นมาบนดินแก่พวกเจ้า และจงอย่าตั้งใจที่จะนำแต่สิ่งไม่ดีของมันมาบริจาค ซึ่งหากว่ามีคนให้มันแก่พวกเจ้า พวกเจ้าก็จะไม่รับมันอย่างเด็ดขาด นอกจากว่าจะหลับตารับอย่างไม่เต็มใจ เนื่องด้วยความไม่ดีงามของมัน แล้วพวกเจ้าพอใจได้อยางไรที่จะให้สิ่งนั้นแด่อัลลอฮ์ทั้งที่พวกเจ้าเองไม่พอใจที่จะให้สิ่งนั้นแก่ตัวเอง พึงรู้เถิดว่า อัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงมั่งมี อยู่เหนือการพึ่งพาการบริจาคของพวกเจ้า เป็นผู้ทรงควรแก่การสรรเสริญยิ่ง ทั้งต่อตัวตนและการกระทำของพระองค์
التفاسير العربية:
ٱلشَّيۡطَٰنُ يَعِدُكُمُ ٱلۡفَقۡرَ وَيَأۡمُرُكُم بِٱلۡفَحۡشَآءِۖ وَٱللَّهُ يَعِدُكُم مَّغۡفِرَةٗ مِّنۡهُ وَفَضۡلٗاۗ وَٱللَّهُ وَٰسِعٌ عَلِيمٞ
ชัยฏอนจะทำให้พวกเจ้าหวาดกลัวต่อความยากจน และส่งเสริมให้พวกเจ้าตระหนี่ถี่เหนียว และเรียกร้องเชิญชวนพวกเจ้าให้กระทำความชั่วและกระทำสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนต่างๆ และอัลลอฮ์นั้นทรงสัญญาแก่พวกเจ้าถึงการอภัยโทษที่ยิ่งใหญ่สำหรับบาปของพวกเจ้า และสัญญาด้วยริซกี (ปัจจัยยังชีพ) ที่กว้างขวาง และอัลลอฮ์นั้นคือผู้ทรงกว้างขวางในความเมตตากรุณา และเป็นผู้ทรงรอบรู้ถึงสภาพต่างๆของปวงบ่าวของพระองค์
التفاسير العربية:
يُؤۡتِي ٱلۡحِكۡمَةَ مَن يَشَآءُۚ وَمَن يُؤۡتَ ٱلۡحِكۡمَةَ فَقَدۡ أُوتِيَ خَيۡرٗا كَثِيرٗاۗ وَمَا يَذَّكَّرُ إِلَّآ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ
ความถูกต้องด้านการพูดและถูกต้องด้านการกระทำนั้นอัลลอฮ์จะมอบให้แก่บ่าวของพระองค์ที่ทรงประสงค์เท่านั้น และผู้ใดที่ได้รับสิ่งดังกล่าวนั้น เขาผู้นั้นคือผู้ได้รับความดีงามอย่างมากมาย และจะไม่มีผู้ใดที่จะคิดและใคร่ครวญในสัญญาณต่างๆทั้งหลายของอัลลอฮ์ นอกจากบรรดาผู้มีสติปัญญาที่สมบูรณ์ ที่ได้รับแสงสว่างและการชี้นำจากพระองค์
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• المؤمنون بالله تعالى حقًّا واثقون من وعد الله وثوابه، فهم ينفقون أموالهم ويبذلون بلا خوف ولا حزن ولا التفات إلى وساوس الشيطان كالتخويف بالفقر والحاجة.
บรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์อย่างแท้จริง พวกเขาจะเชื่อมั่นในคำสัญญาของอัลลอฮ์และการตอบแทนของพระองค์ ดังนั้นพวกเขาจะบริจาคและสละทรัพย์สินของพวกเขา โดยไม่กลัว(กับอนาคตที่จะเกิดขึ้น)และไม่เสียใจ(กับอดีตที่ได้บริจาคไป) และไม่สนใจคำกระซิบกระซาบยุแหย่ของชัยฏอนที่มาทำให้รู้สึกกลัวต่อความยากจนและความไม่พอเพียง

• الإخلاص من أعظم ما يبارك الأعمال ويُنمِّيها.
การอิคลาศ (บริสุทธิ์ใจ) เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ทำให้การงานมีความจำเริญและทำให้เกิดความเจริญงอกเงย

• أعظم الناس خسارة من يرائي بعمله الناس؛ لأنه ليس له من ثواب على عمله إلا مدحهم وثناؤهم.
มนุษย์ที่ขาดทุนที่สุดคือผู้โอ้อวดการงานของเขาให้ผู้อื่นเห็น เพราะว่าเขานั้นจะไม่ได้รับผลตอบแทนจากการงานของเขาเลย นอกจากได้รับคำสรรเสริญเยินยอจากมนุษย์เท่านั้น

وَمَآ أَنفَقۡتُم مِّن نَّفَقَةٍ أَوۡ نَذَرۡتُم مِّن نَّذۡرٖ فَإِنَّ ٱللَّهَ يَعۡلَمُهُۥۗ وَمَا لِلظَّٰلِمِينَ مِنۡ أَنصَارٍ
และสิ่งใดที่พวกเจ้าได้บริจากไปเพื่อหวังในความพอพระทัยจากอัลลอฮ์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะน้อยนิดหรือมากมาย หรือการที่พวกเจ้าได้ยืนหยัดในการทำสิ่งที่เป็นการเชื่อฟังต่ออัลลอฮ์ ที่ไม่ใช่เป็นการบังคับตัวเองทำผ่านๆ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงรู้ดีถึงสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด และพระองค์จะไม่ทรงทำให้มันหายไปเลยสักนิด และจะทรงตอบแทนพวกเจ้าด้วยรางวัลที่ยิ่งใหญ่ และบรรดาผู้อธรรมผู้ที่ไม่ยอมจ่ายในสิ่งที่วาญิบเหนือพวกเขา ผู้ที่ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ พวกเขาเหล่านั้นจะไม่มีผู้ช่วยใดๆที่จะคอยปกป้องพวกเขาจากการลงโทษในวันกิยามะฮ์ได้
التفاسير العربية:
إِن تُبۡدُواْ ٱلصَّدَقَٰتِ فَنِعِمَّا هِيَۖ وَإِن تُخۡفُوهَا وَتُؤۡتُوهَا ٱلۡفُقَرَآءَ فَهُوَ خَيۡرٞ لَّكُمۡۚ وَيُكَفِّرُ عَنكُم مِّن سَيِّـَٔاتِكُمۡۗ وَٱللَّهُ بِمَا تَعۡمَلُونَ خَبِيرٞ
หากพวกเจ้าเปิดเผยสิ่งที่ได้บริจาคไปจากทรัพย์สินของพวกเจ้า ดังนั้นการบริจาคที่ดีคือการบริจาคของพวกเจ้า และหากพวกเจ้าปกปิดมันไว้และบริจาคให้แก่ผู้ยากไร้ มันจะเป็นการดีกว่าการที่พวกเจ้าจะเปิดเผยมัน เพราะมันใกล้ความอิคลาศ (บริสุทธ์ใจ) มากกว่า และการบริจาคทานของบรรดาผู้บริสุทธิ์ใจนั้น ก็คือการปกปิดความผิดของพวกเขาและการอภัยโทษในความผิดเหล่านั้น และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ ไม่มีสิ่งใดจากสภาพการณ์ของพวกเจ้าจะเล็ดลอดจากพระองค์ไปได้
التفاسير العربية:
۞ لَّيۡسَ عَلَيۡكَ هُدَىٰهُمۡ وَلَٰكِنَّ ٱللَّهَ يَهۡدِي مَن يَشَآءُۗ وَمَا تُنفِقُواْ مِنۡ خَيۡرٖ فَلِأَنفُسِكُمۡۚ وَمَا تُنفِقُونَ إِلَّا ٱبۡتِغَآءَ وَجۡهِ ٱللَّهِۚ وَمَا تُنفِقُواْ مِنۡ خَيۡرٖ يُوَفَّ إِلَيۡكُمۡ وَأَنتُمۡ لَا تُظۡلَمُونَ
โอ้นบีเอ๋ย ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าในการที่จะให้ทางนำพวกเขาให้ยอมรับ นอบน้อมยอมจำนนต่อความถูกต้องเที่ยงตรง หรือนำพวกเขาสู่การศรัทธา แท้จริงหน้าที่ของเจ้าคือการชี้แนะพวกเขาสู่ความถูกต้อง และการทำให้พวกเขารู้ถึงมัน และแท้จริงการทำให้เกิดการยอมรับในสัจธรรม และการให้ได้รับทางนำสู่สัจธรรมนั้น อยู่ในพระหัตถ์ของอัลลอฮ์เท่านั้น พระองค์คือผู้ทรงชี้นำสู่สัจธรรมแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรัพย์สินที่ชอบธรรมใดๆ ที่พวกเจ้าบริจาคไปนั้น ผลประโยชน์ของมันย่อมกลับคืนสู่ตัวของพวกเจ้าเอง เพราะแท้จริงอัลลอฮ์ทรงไม่ต้องการอะไรจากมันเลย ดังนั้นจงทำให้การบริจาคของพวกเจ้านั้น มีความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ์ เพราะแท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธาอย่างแท้จริงนั้นพวกเขาจะไม่บริจาคสิ่งใดนอกจากเพื่อหวังความพอพระทัยของอัลลอฮ์เท่านั้น และทรัพย์สินที่ชอบธรรมที่พวกเจ้าบริจาคไปนั้นถึงแม้ว่ามันจะน้อยนิดหรือมากมายเพียงใดก็ตาม แน่นอนพวกท่านก็จะได้รับผลบุญของมันอย่างสมบูรณ์ไม่มีขาดตกบกพร่องแต่อย่างใด เพราะแท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงอธรรมต่อผู้ใด
التفاسير العربية:
لِلۡفُقَرَآءِ ٱلَّذِينَ أُحۡصِرُواْ فِي سَبِيلِ ٱللَّهِ لَا يَسۡتَطِيعُونَ ضَرۡبٗا فِي ٱلۡأَرۡضِ يَحۡسَبُهُمُ ٱلۡجَاهِلُ أَغۡنِيَآءَ مِنَ ٱلتَّعَفُّفِ تَعۡرِفُهُم بِسِيمَٰهُمۡ لَا يَسۡـَٔلُونَ ٱلنَّاسَ إِلۡحَافٗاۗ وَمَا تُنفِقُواْ مِنۡ خَيۡرٖ فَإِنَّ ٱللَّهَ بِهِۦ عَلِيمٌ
จงทำให้ทรัพย์สินที่บริจาคนั้นให้แก่คนยากจนที่ถูกขัดขวางด้วยการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ไม่สามารถที่เดินทางหาปัจจัยเลี้ยงชีพ ซึ่งผู้ที่ไม่รู้ถึงสถานะของพวกเขาต่างก็คิดว่าพวกเขาเป็นคนรวย เนื่องจากพวกเขารักษาเกียรติของพวกเขาด้วยการห่างไกลจากการขอทาน และผู้ที่รู้จักพวกเขาก็คือผู้ที่สังเกตุการใช้ชีวิตของพวกเขาด้วยเครื่องหมายต่างๆของพวกเขาจากความต้องการพื้นฐานของชีวิต สังเกตุจากร่างกายหรือ เสื้อผ้าของพวกเขา ซึ่งชีวิตของพวกเขาจะไม่เหมือนกับคนจนทั่วไป ที่จะขอทานจากผู้คน และสิ่งที่พวกเจ้าได้บริจาคไปที่เป็นทรัพย์สินหรืออื่นๆนั้น แท้จริงอัลลอ์ทรงรู้ดีและพระองค์จะตอบแทนพวกเจ้าด้วยรางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
التفاسير العربية:
ٱلَّذِينَ يُنفِقُونَ أَمۡوَٰلَهُم بِٱلَّيۡلِ وَٱلنَّهَارِ سِرّٗا وَعَلَانِيَةٗ فَلَهُمۡ أَجۡرُهُمۡ عِندَ رَبِّهِمۡ وَلَا خَوۡفٌ عَلَيۡهِمۡ وَلَا هُمۡ يَحۡزَنُونَ
บรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์สินของพวกเขาเพื่อความโปรดปรานของอัลลอฮ์ทั้งในเวลากลางคืนและกลางวันทั้งโดยปกปิดและเปิดเผย โดยไม่โอ้อวดหรือชื่อเสียงใดๆ พวกเขาจะได้รับรางวัลของพวกเขา ณ ที่พระผู้อภิบาลของพวกเขาในวันกียามะฮ์และไม่มีความกลัวสำหรับพวกเขากับอนาคตที่ต้องเผชิญ และพวกเขาจะไม่เศร้าโศกเสียใจกับอดีตที่พวกเขาต้องเสียไปในเรื่องดุนยา เพราะหวังในความโปรดปรานและความสุขสบายจากอัลลอฮ์
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• إذا أخلص المؤمن في نفقاته وصدقاته فلا حرج عليه في إظهارها وإخفائها بحسب المصلحة، وإن كان الإخفاء أعظم أجرًا وثوابًا لأنها أقرب للإخلاص.
เมื่อผู้ศรัทธาได้บริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮ์ในการบริจาคและให้การกุศลแล้วก็ จะไม่เป็นการผิดอะไรสำหรับเขาในการที่จะเปิดเผยมันหรือปกปิดมัน ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่จะตามมา แม้ว่าการปกปิดนั้นจะได้รับผลบุญและการตอบแทนที่ยิ่งใหญ่และคุ้มค่ากว่า เพราะมันไกล้ความอิคลาศมากกว่า

• دعوة المؤمنين إلى الالتفات والعناية بالمحتاجين الذين تمنعهم العفة من إظهار حالهم وسؤال الناس.
เชิญชวนผู้ศรัทธาให้ใส่ใจและดูแลคนขัดสนซึ่งศักดิ์ศรีของพวกเขาขัดขวางพวกเขาจากการแสดงสถานะความยากจนและขัดขวางพวกเขาจากการขอทานจากผู้คน

• مشروعية الإنفاق في سبيل الله تعالى في كل وقت وحين، وعظم ثوابها، حيث وعد تعالى عليها بعظيم الأجر في الدنيا والآخرة.
ศาสนาอนุญาตให้มีการบริจาคในหนทางของอัลลอฮ์ทุกเวลาทุกสถานการณ์ และผลบุญของการบริจาคนั้นยิ่งใหญ่ โดยอัลลอฮ์ได้ทรงสัญญาไว้ถึงความยิ่งใหญ่ของการตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการบริจาค ทั้งในโลกนี้และปรโลก

ٱلَّذِينَ يَأۡكُلُونَ ٱلرِّبَوٰاْ لَا يَقُومُونَ إِلَّا كَمَا يَقُومُ ٱلَّذِي يَتَخَبَّطُهُ ٱلشَّيۡطَٰنُ مِنَ ٱلۡمَسِّۚ ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمۡ قَالُوٓاْ إِنَّمَا ٱلۡبَيۡعُ مِثۡلُ ٱلرِّبَوٰاْۗ وَأَحَلَّ ٱللَّهُ ٱلۡبَيۡعَ وَحَرَّمَ ٱلرِّبَوٰاْۚ فَمَن جَآءَهُۥ مَوۡعِظَةٞ مِّن رَّبِّهِۦ فَٱنتَهَىٰ فَلَهُۥ مَا سَلَفَ وَأَمۡرُهُۥٓ إِلَى ٱللَّهِۖ وَمَنۡ عَادَ فَأُوْلَٰٓئِكَ أَصۡحَٰبُ ٱلنَّارِۖ هُمۡ فِيهَا خَٰلِدُونَ
บรรดาผู้ที่ทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยและรับดอกเบี้ย ในวันกิยามะฮ์จะไม่สามารถยืนขึ้นจากหลุมศพของพวกเขาได้ เว้นแต่เหมือนกับการยืนขึ้นของบุคคลที่ถูกชัยฏอนครอบงำ เขาลุกขึ้นจากหลุมศพของเขาในสภาพที่เซเหมือนคนถูกชัยฏอนครอบงำ ในตอนที่ลุกขึ้นยืนและตอนที่ล้มลง นั้นเป็นเพราะพวกเขากินดอกเบี้ย และพวกเขาไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยกับสิ่งที่อัลลอฮ์อนุญาตที่มาจากการค้าขาย โดยพวกเขากล่าวว่า "ที่จริงการค้าขายนั้นก็เหมือนการเอาดอกเบี้ยในสถานะที่มันเป็นเรื่องฮะลาล ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ต่างก็นำไปสู่การเพิ่มขึ้นและการงอกเงยของเงิน ดังนั้นอัลลอฮ์ทรงโต้พวกเขาและได้ทำลายการเปรียบเทียบของพวกเขาและการโกหกของพวกเขาเป็นโมฆะ และพระองค์ได้อธิบายว่า "การที่อนุญาตการค้าขายนั้น เพราะในการค้าขายนั้น เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและส่วนตัว และการที่ห้ามไม่ให้กินดอกเบี้ยนั้นเพราะในนั้นประกอบด้วยความอยุติธรรมและเป็นการกินทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยความเท็จโดยไม่มีสิ่งแลกเปลี่ยน ดังนั้นผู้ใดที่การตักเตือนจากพระผู้อภิบาลของเขาได้มายังเขา ดังนั้นจงหยุดและกลับตัวไปหาอัลลอฮ์ สำหรับอดีตที่ผ่านมาจากการเอาดอกเบี้ยจะไม่เป็นการบาปใด ๆ และเรื่องอนาคตของเขานั้นขึ้นกับอัลลอฮ์ และผู้ใดที่กลับมาเอาดอกเบี้ยอีกหลังจากที่อัลลอฮ์ได้ตักเตือนไว้แล้วและความจริงได้เป็นที่ประจักษ์แล้ว ดังนั้นพวกเขาสมควรที่จะเข้าไฟนรกและอยู่ในนรกนั้นตลอดกาล หมายถึงอยู่ในนรกอย่างยาวนาน เพราะการอยู่อย่างชั่วนิรันดรอย่างถาวรนั้น มันจะไม่เกิดแก่ผู้ใดนอกจากเฉพาะผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น ส่วนผู้ที่ศรัทธาต่อพระองค์นั้นพวกเขาไม่ได้อยู่ถาวรในนั้น
التفاسير العربية:
يَمۡحَقُ ٱللَّهُ ٱلرِّبَوٰاْ وَيُرۡبِي ٱلصَّدَقَٰتِۗ وَٱللَّهُ لَا يُحِبُّ كُلَّ كَفَّارٍ أَثِيمٍ
อัลลอฮ์จะทรงทำลายทรัพย์สินที่ได้จากดอกเบี้ยและจะทำให้มันเกิดความหายนะไป ไม่ว่าจะเป็นด้านรูปธรรมด้วยการทำลายให้สูณเสียไป หรือในรูปแบบที่เป็นนามธรรมด้วยการสูญเสียความจำเริญจากทรัพย์สิน และอัลลอฮ์จะทรงเพิ่มและขยายทานโดยเพิ่มการตอบแทนเป็นสองเท่า เพราะทุกหนึ่งความดีจะได้รับการตอบแทนสิบเท่าถึง 700 เท่า จนนับไม่ถ้วน อัลลอฮ์จะทำให้เกิดความจำเริญแก่ทรัพย์สินของผู้ให้ทาน และอัลลอฮ์ไม่ทรงชอบบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาและดื้อดึง ทำสิ่งที่ต้องห้ามให้เป็นที่อนุญาต และหมกมุ่นอยู่กับความชั่วและบาป
التفاسير العربية:
إِنَّ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ وَأَقَامُواْ ٱلصَّلَوٰةَ وَءَاتَوُاْ ٱلزَّكَوٰةَ لَهُمۡ أَجۡرُهُمۡ عِندَ رَبِّهِمۡ وَلَا خَوۡفٌ عَلَيۡهِمۡ وَلَا هُمۡ يَحۡزَنُونَ
แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และปฏิบัติตามท่านเราะสูลของพระองค์ และประกอบสิ่งที่ดีงามทั้งหลาย และดำรงค์ไว้ซึ่งการละหมาดอย่างสมบูรณ์อย่างที่อัลลอ์ทรงบัญญัติไว้และจ่ายซะกาตทรัพย์สินของพวกเขาแก่ผู้ที่สมควรได้รับ พวกเขาจะได้รับรางวัลของพวกเขา ณ พระผู้อภิบ่ลของพวกเขา และไม่มีความกลัวใดๆสำหรับพวกเขาที่เกี่ยวกับอนาคตของพวกเขาที่จะตามมา และพวกเขาไม่เสียใจกับอดีตของพวกเขาที่พวกเขาได้พลาดไปในเรื่องดุนยาและความสุขมัน
التفاسير العربية:
يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَذَرُواْ مَا بَقِيَ مِنَ ٱلرِّبَوٰٓاْ إِن كُنتُم مُّؤۡمِنِينَ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และปฏิบัติตามท่านเราะสูลของพระองค์ทั้งหลาย จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์เถิดโดยการปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์และห่างไกลจากข้อห้ามของพระองค์ และจงอย่าขอสิ่งที่เป็นส่วนที่เหลือของทรัพย์สินที่เป็นดอกเบี้ยที่อยู่กับผู้อี่น หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์อย่างแท้จริงและในสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามพวกเจ้าจากดอกเบี้ย
التفاسير العربية:
فَإِن لَّمۡ تَفۡعَلُواْ فَأۡذَنُواْ بِحَرۡبٖ مِّنَ ٱللَّهِ وَرَسُولِهِۦۖ وَإِن تُبۡتُمۡ فَلَكُمۡ رُءُوسُ أَمۡوَٰلِكُمۡ لَا تَظۡلِمُونَ وَلَا تُظۡلَمُونَ
และถ้าพวกเจ้ามิได้ปฏิบัติตามในสิ่งที่พระองค์ได้สั่งพวกเจ้า ก็พึงรับรู้และเชื่อไว้ด้วยว่า ด้วยสงครามจากอัลลอฮ์ และเราะสูลของพระองค์ และหากพวกเจ้าสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวต่ออัลลอฮ์และละทิ้งดอกเบี้ยแล้ว ดังนั้นสำหรับพวกเจ้าก็คือต้นทุนแห่งทรัพย์สินของพวกเจ้า โดยที่พวกเจ้าจะไม่อธรรมผู้ใดโดยการเอาเพิ่มจากต้นทุนของพวกเจ้า และไม่ถูกอธรรมด้วยการถูกตัดให้น้อยลงจากต้นทุน
التفاسير العربية:
وَإِن كَانَ ذُو عُسۡرَةٖ فَنَظِرَةٌ إِلَىٰ مَيۡسَرَةٖۚ وَأَن تَصَدَّقُواْ خَيۡرٞ لَّكُمۡ إِن كُنتُمۡ تَعۡلَمُونَ
และหากว่าลูกหนี้นั้นเป็นผู้ยากไร้ไม่สามารถหาชำระหนี้ของเขาได้ ก็จงให้เวลาแก่พวกเขาไปจนกว่าเขาจะมีเงิน จนกระทั้งเขาสามารถใช้หนี้ของเขาได้ และการบริจาคให้แก่เขาด้วยการปลดหนี้หรือหักหนี้ไปบางส่วน ย่อมเป็นการดีสำหรับพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้ถึงความประเสริฐในสิ่งนี้ ณ ที่อัลลอฮ
التفاسير العربية:
وَٱتَّقُواْ يَوۡمٗا تُرۡجَعُونَ فِيهِ إِلَى ٱللَّهِۖ ثُمَّ تُوَفَّىٰ كُلُّ نَفۡسٖ مَّا كَسَبَتۡ وَهُمۡ لَا يُظۡلَمُونَ
และพวกเจ้าจงเกรงกลัวต่อบทลงโทษในวันที่พวกเจ้าทั้งหมดจะถูกนำกลับไปยังอัลลอฮ์ และพวกเจ้ายืนอยู่ต่อหน้าพระองค์ แล้วแต่ละชีวิตจะได้รับการตอบแทนโดยครบถ้วนในสิ่งที่พวกเขาได้แสวงหาไว้จากสิ่งที่ดีและชั่ว พวกเขาจะไม่ถูกอธรรมโดยการถูกตัดความดีต่างๆของพวกเขา และจะไม่เพิ่มการลงโทษเกินกว่าความชั่วที่พวกเขากระทำกัน
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• من أعظم الكبائر أكل الربا، ولهذا توعد الله تعالى آكله بالحرب وبالمحق في الدنيا والتخبط في الآخرة.
หนึ่งในบาปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการกินดอกเบี้ยและนั่นคือเหตุผลที่อัลลอฮ์ทรงสัญญาต่อผู้ที่กินดอกเบี้ยด้วยการทำสงคราม และด้วยการทำลายมันในโลกนี้และไม่สามารถที่จะทรงตัวได้ในวันปรโลก

• الالتزام بأحكام الشرع في المعاملات المالية ينزل البركة والنماء فيها.
การยืนหยัดกับบทบัญญัติของศาสนาในการทำธุรกรรมทางการเงินทำให้เกิดความจำเริญและเจริญในธุรกิจนั้น

• فضل الصبر على المعسر، والتخفيف عنه بالتصدق عليه ببعض الدَّين أو كله.
ความประเสริฐของการอดทนต่อลูกหนี้และการผ่อนเบาให้ด้วยการปลดหนี้บางส่วนหรือทั้งหมดของหนี้นั้น

يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِذَا تَدَايَنتُم بِدَيۡنٍ إِلَىٰٓ أَجَلٖ مُّسَمّٗى فَٱكۡتُبُوهُۚ وَلۡيَكۡتُب بَّيۡنَكُمۡ كَاتِبُۢ بِٱلۡعَدۡلِۚ وَلَا يَأۡبَ كَاتِبٌ أَن يَكۡتُبَ كَمَا عَلَّمَهُ ٱللَّهُۚ فَلۡيَكۡتُبۡ وَلۡيُمۡلِلِ ٱلَّذِي عَلَيۡهِ ٱلۡحَقُّ وَلۡيَتَّقِ ٱللَّهَ رَبَّهُۥ وَلَا يَبۡخَسۡ مِنۡهُ شَيۡـٔٗاۚ فَإِن كَانَ ٱلَّذِي عَلَيۡهِ ٱلۡحَقُّ سَفِيهًا أَوۡ ضَعِيفًا أَوۡ لَا يَسۡتَطِيعُ أَن يُمِلَّ هُوَ فَلۡيُمۡلِلۡ وَلِيُّهُۥ بِٱلۡعَدۡلِۚ وَٱسۡتَشۡهِدُواْ شَهِيدَيۡنِ مِن رِّجَالِكُمۡۖ فَإِن لَّمۡ يَكُونَا رَجُلَيۡنِ فَرَجُلٞ وَٱمۡرَأَتَانِ مِمَّن تَرۡضَوۡنَ مِنَ ٱلشُّهَدَآءِ أَن تَضِلَّ إِحۡدَىٰهُمَا فَتُذَكِّرَ إِحۡدَىٰهُمَا ٱلۡأُخۡرَىٰۚ وَلَا يَأۡبَ ٱلشُّهَدَآءُ إِذَا مَا دُعُواْۚ وَلَا تَسۡـَٔمُوٓاْ أَن تَكۡتُبُوهُ صَغِيرًا أَوۡ كَبِيرًا إِلَىٰٓ أَجَلِهِۦۚ ذَٰلِكُمۡ أَقۡسَطُ عِندَ ٱللَّهِ وَأَقۡوَمُ لِلشَّهَٰدَةِ وَأَدۡنَىٰٓ أَلَّا تَرۡتَابُوٓاْ إِلَّآ أَن تَكُونَ تِجَٰرَةً حَاضِرَةٗ تُدِيرُونَهَا بَيۡنَكُمۡ فَلَيۡسَ عَلَيۡكُمۡ جُنَاحٌ أَلَّا تَكۡتُبُوهَاۗ وَأَشۡهِدُوٓاْ إِذَا تَبَايَعۡتُمۡۚ وَلَا يُضَآرَّ كَاتِبٞ وَلَا شَهِيدٞۚ وَإِن تَفۡعَلُواْ فَإِنَّهُۥ فُسُوقُۢ بِكُمۡۗ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَۖ وَيُعَلِّمُكُمُ ٱللَّهُۗ وَٱللَّهُ بِكُلِّ شَيۡءٍ عَلِيمٞ
โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาในอัลลอฮ์และปฏิบัติตามรอสูลของพระองค์ เมื่อพวกเจ้าได้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหนี้สิน เช่น เมื่อคุณให้เงินกู้แก่กันและกันในระยะเวลาที่กำหนด ก็จงจดบันทึกไว้ และจงบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างพวกเจ้าโดยบุคคลหนึ่งอย่างเป็นธรรมและสอดคล้องกับหลักศาสนา และไม่ควรปฏิเสธที่จะจดหนี้ตามสิ่งที่อัลลอฮ์ได้สอนเขาเกี่ยวกับการเขียนอย่างยุติธรรม ดังนั้นเขาควรเขียนสิ่งที่กำหนดไว้ตามความจริงจนกว่าสิ่งนั้นเป็นที่ยอมรับจากเขา และจงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ และอย่าให้เขาตัดลดสิ่งใดๆจากจำนวนของวงเงินหรือประเภทของมันหรือรูปแบบของมัน แต่ถ้าลูกหนี้เป็นบุคคลที่มีความเข้าใจที่จำกัดไม่สมประกอบ อ่อนแอด้วยวัยที่ยังอ่อน วิกลจริต หรือไม่สามารถบอกได้เพราะเป็นคนใบ้หรือด้วยเหตุผลอื่น ผู้ปกครองที่มีอำนาจควรทำการแทนด้วยความเป็นธรรม และให้เรียกชายที่มีมีสติสมบูรณ์และเที่ยงธรรมสองคนเป็นพยานด้วย ถ้าไม่พบชายสองคน ให้เรียกชายหนึ่งคนกับหญิงสองคนที่คุณพอใจในศาสนาและความซื่อสัตย์ เพื่อว่าถ้าผู้หญิงคนหนึ่งลืม อีกคนหนึ่งจะเตือนเธอได้ พยานไม่ควรปฏิเสธที่จะเป็นพยานในหนี้และต้องให้การเป็นพยานหากจำเป็น อย่าเกียจคร้านที่จะจดบันทึกหนี้ ไม่ว่าจำนวนเงินจะน้อยนิดหรือมากมายเพียงใดจนถึงเวลาที่กำหนด เนื่องจากเป็นกฎหมายของอัลลอฮ์ที่ยุติธรรมมากกว่า มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นเพื่อเป็นหลักฐาน และขจัดข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับประเภท จำนวน หรือระยะเวลาของหนี้ อย่างไรก็ตาม หากการทำธุรกรรมเป็นรายการที่มีอยู่เพื่อแลกกับราคาสด การไม่จดบันทึกก็ไม่เสียหายอะไร เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องทำเช่นนั้น และอนุญาตให้พวกเจ้ามีการใช้พยานกันเพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาทขึ้น ไม่อนุญาตทำอันตรายแก่พยานหรือผู้ที่เขียน และไม่อนุญาตพวกเขาจะก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แก่ผู้ที่ขอให้พวกเขาเขียนหรือเป็นพยาน หากผู้ใดก่ออันตราย เขาก็จะเป็นผู้ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮ์ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของพระองค์ และหลีกเลี่ยงข้อห้ามของพระองค์ อัลลอฮ์จะสอนพวกเจ้าถึงสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพวกเจ้าในโลกนี้และชีวิตหลังความตาย อัลลอฮ์ทรงรู้ทุกสิ่งและไม่มีสิ่งใดเล็ดลอดจากพระองค์
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• وجوب تسمية الأجل في جميع المداينات وأنواع الإجارات.
ศาสนาได้บัญญัติเกี่ยวกับการสร้างความหน้าเชื่อถือในเรื่องทีเกี่ยวกับหนี้และธุรกรรมทางการเงินต่างๆ เพื่อป้องกันความขัดแย้งและการมีปัญหากัน

กำหนดให้ผู้ปกครองทำหน้าที่แทนผู้ที่ไม่สมประกอบเนื่องจากขาดความสามารถหรือความอ่อนแอด้านสติปัญญาหรืออยู่ในวัยที่ยังอ่อน

ศาสนาบัญญัติให้การมีตั้งพยานเพื่อรับรองเกี่ยวกัยเรื่องหนี้และสิทธิต่างๆ

จากความสมบูรณ์ของการเขียนและความถูกต้องของมันนั้น ผู้เขียนต้องเรียบเรียงสำนวนและใช้คำให้ดี ให้เหมาะกับทุกๆงาน (เพราะแต่ละรายการจะมีสำนวนและคำที่เฉพาะ)

ไม่อนุญาตสร้างผลกระทบกับผู้ใด ด้วยสาเหตุจากการบันทึกสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเจ้าของสิทธิ์หรือฝ่ายผู้บันทึก หรือ ฝ่ายที่เป็นพยาน

۞ وَإِن كُنتُمۡ عَلَىٰ سَفَرٖ وَلَمۡ تَجِدُواْ كَاتِبٗا فَرِهَٰنٞ مَّقۡبُوضَةٞۖ فَإِنۡ أَمِنَ بَعۡضُكُم بَعۡضٗا فَلۡيُؤَدِّ ٱلَّذِي ٱؤۡتُمِنَ أَمَٰنَتَهُۥ وَلۡيَتَّقِ ٱللَّهَ رَبَّهُۥۗ وَلَا تَكۡتُمُواْ ٱلشَّهَٰدَةَۚ وَمَن يَكۡتُمۡهَا فَإِنَّهُۥٓ ءَاثِمٞ قَلۡبُهُۥۗ وَٱللَّهُ بِمَا تَعۡمَلُونَ عَلِيمٞ
และถ้าพวกเจ้าอยู่ในระหว่างเดินทางและไม่มีผู้ทำการบันทึกหนี้สินให้ ก็เพียงพอที่จะให้มีสิ่งค้ำประกันให้เจ้าหนี้ได้ยึดถือไว้ เพื่อเป็นหลักประกัน จนกว่าลูกหนี้จะจ่ายหนี้ แต่ถ้าหากมีความไว้วางใจระหว่างกัน ก็ไม่จำเป็นต้องบันทึกไม่จำเป็นต้องมีพยานและไม่จำเป็นต้องมีของมาค้ำกัน เมื่อเป็นนั้น หนี้ก็อยู่ในความรับผิดชอบของลูกหนี้ จำเป็นต้องจ่ายให้เจ้าหนี้ และจำเป็นสำหรับลูกหนี้ต้องยำเกรงต่ออัลลอฮ์ในการรับผิดชอบหนี้ อย่าได้ปฏิเสธความรับผิดชอบเป็นอันขาด หากมีการปฏิเสธ ก็จำเป็นสำหรับผู้ที่เป็นพยานทำหน้าที่ของการเป็นพยาน และไม่อนุญาตสำหรับพวกเขาปกปิดการให้การ และผู้ใดปกปิดมัน แท้จริงหัวใจของเขาเป็นหัวใจที่ชั่ว และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ ไม่มีสิ่้งใดจะเล็ดลอดจากพระองค์ได้และพระองค์จะทรงตอบแทนพวกเขาในการงานของพวกเขา
التفاسير العربية:
لِّلَّهِ مَا فِي ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَمَا فِي ٱلۡأَرۡضِۗ وَإِن تُبۡدُواْ مَا فِيٓ أَنفُسِكُمۡ أَوۡ تُخۡفُوهُ يُحَاسِبۡكُم بِهِ ٱللَّهُۖ فَيَغۡفِرُ لِمَن يَشَآءُ وَيُعَذِّبُ مَن يَشَآءُۗ وَٱللَّهُ عَلَىٰ كُلِّ شَيۡءٖ قَدِيرٌ
ทุกสิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และทุกสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้น ล้วนเป็นสิทธิของอัลลอฮ์เพียงผู้เดียว ทั้งการสร้าง การเป็นเจ้าของ และบริหารจัดการ และถ้าหากพวกเจ้าเปิดเผยสิ่งที่อยู่ในใจของพวกเจ้า หรือปกปิดมันไว้ อัลลอฮ์ทรงรู้ถึงสิ่งนั้นดี และพระองค์จะทรงนำสิ่งนั้นมาสอบสวนพวกเจ้า แล้วหลังจากนั้นพระองค์จะทรงอภัยแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ด้วยความกรุณาและเมตตาของพระองค์ และจะทรงลงโทษผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์เนื่องด้วยความยุติธรรมและความปรีชาญาณของพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง
التفاسير العربية:
ءَامَنَ ٱلرَّسُولُ بِمَآ أُنزِلَ إِلَيۡهِ مِن رَّبِّهِۦ وَٱلۡمُؤۡمِنُونَۚ كُلٌّ ءَامَنَ بِٱللَّهِ وَمَلَٰٓئِكَتِهِۦ وَكُتُبِهِۦ وَرُسُلِهِۦ لَا نُفَرِّقُ بَيۡنَ أَحَدٖ مِّن رُّسُلِهِۦۚ وَقَالُواْ سَمِعۡنَا وَأَطَعۡنَاۖ غُفۡرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيۡكَ ٱلۡمَصِيرُ
เราะซูล นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้ศรัทธาทั้งหมดในสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมาแก่เขา จากพระผู้อภิบาลของเขา และมุมินทั้งหลายก็ศรัทธาด้วยเช่นกัน ทุกคนศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์ ต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ที่ประทานลงมายังบรรดานบี และต่อบรรดาเราะสูลที่พระองค์ได้ส่งมา ได้ศรัทธาต่อพวกเขาโดยกล่าวว่า "เราจะไม่แยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากบรรดาเราะสูลของพระองค์ และพวกเขาได้กล่าวว่า "พวกเราได้ยินสิ่งที่พระองค์ได้บัญชาใช้ให้พวกเราทำ และสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามพวกเราละทิ้ง และพวกเราได้ทำตามสิ่งที่พระองค์ได้สั่งใช้ และละทิ้งสิ่งที่พระองค์ได้ห้ามไว้ และพวกเราขอให้พระองค์โปรดอภัยต่อพวกเราโอ้พระผู้อภิบาลของเรา และยังพระองค์เท่านั้น ที่พวกเราต้องกลับไปหา ในทุกกิจการของเรา"
التفاسير العربية:
لَا يُكَلِّفُ ٱللَّهُ نَفۡسًا إِلَّا وُسۡعَهَاۚ لَهَا مَا كَسَبَتۡ وَعَلَيۡهَا مَا ٱكۡتَسَبَتۡۗ رَبَّنَا لَا تُؤَاخِذۡنَآ إِن نَّسِينَآ أَوۡ أَخۡطَأۡنَاۚ رَبَّنَا وَلَا تَحۡمِلۡ عَلَيۡنَآ إِصۡرٗا كَمَا حَمَلۡتَهُۥ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِنَاۚ رَبَّنَا وَلَا تُحَمِّلۡنَا مَا لَا طَاقَةَ لَنَا بِهِۦۖ وَٱعۡفُ عَنَّا وَٱغۡفِرۡ لَنَا وَٱرۡحَمۡنَآۚ أَنتَ مَوۡلَىٰنَا فَٱنصُرۡنَا عَلَى ٱلۡقَوۡمِ ٱلۡكَٰفِرِينَ
อัลลอฮจะไม่ทรงทำให้หลักปฏิบัติต่างๆเป็นภาระสำหรับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ชีวิตนั้นทำได้เท่านั้น เนื่องจากศาสนาของอัลลอฮนั้นเกิดขึ้นจากฐานของความง่ายดาย ดังนั้นไม่มีความยากลำบากใดๆในศาสนา ผู้ใดที่แสวงหาความดีสำหรับเขาก็จะได้รับผลบุญจากการงานของเขาโดยที่ไม่มีขาดเลยแม้แต่น้อย และผู้ใดที่แสวงหาความชั่ว เขาก็จะได้รับผลตอบแทนจากสิ่งที่เขากระทำจากบาปที่ไม่มีใครจะรับแบกแทนได้ และท่านเราะสูลกับบรรดาผู้ศรัทธากล่าวว่า "ข้าแต่ผู้อภิบาลของเรา ขออย่าทรงลงโทษเรา หากเราลืมหรือผิดพลาดในการทำหรือการพูดโดยไม่ได้เจตนา ข้าแต่พระผู้อภิบาลของเรา ขอทรงโปรดอย่าให้เป็นภาระแก่เราด้วยสิ่งที่ยากสำหรับเราและเราไม่สามารถทำได้ดังที่พระองค์ทรงทำให้คนก่อนหน้าเรา จากกลุ่มชนที่พระองค์ได้ลงโทษพวกเขา เนื่องด้วยความอธรรมของพวกเขา เช่นพวกยิว และขอพระองค์โปรดอย่าให้เราแบกสิ่งที่ลำบากและเกินความสามารถสำหรับเราที่เป็นข้อใช้และข้อห้ามต่างๆ ขอพระองค์มองข้ามบรรดาบาปของเรา โปรดยกโทษให้เราและเมตตาเรา ด้วยพระคุณของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์ของเราและเป็นผู้ช่วยเหลือเรา ดังนั้นโปรดช่วยเหลือเราให้ประสบกับชัยชนะเหนือผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย"
التفاسير العربية:
من فوائد الآيات في هذه الصفحة:
• جواز أخذ الرهن لضمان الحقوق في حال عدم القدرة على توثيق الحق، إلا إذا وَثِقَ المتعاملون بعضهم ببعض.
สามารถรับจำนำเพื่อเป็นสิ่งค้ำประกันในกรณีที่ไม่สามารถบันทึกความจริงของธุรกรรมได้ เว้นแต่เมื่อบุคคลที่ทำธุรกรรมนั้นมีความไว้วางใจต่อกัน

• حرمة كتمان الشهادة وإثم من يكتمها ولا يؤديها.
ห้ามมิให้ปกปิดพยานและบาปสำหรับผู้ที่ปกปิดมัน และไม่ยอมมอบให้

• كمال علم الله تعالى واطلاعه على خلقه، وقدرته التامة على حسابهم على ما اكتسبوا من أعمال.
ความรู้ที่สมบูรณ์แบบของอัลลอฮ์และการรอบรู้เกี่ยวกับสิ่งถูกสร้างของพระองค์ และความสามารถที่สมบูรณ์ของพระองค์ในการคิดบัญชีของพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้กระทำจากการงานของพวกเขา

• تقرير أركان الإيمان وبيان أصوله.
การกำหนดรุก่น (หลักสำคัญ) ของการศรัทธาและอธิบายรากฐานของมัน

• قام هذا الدين على اليسر ورفع الحرج والمشقة عن العباد، فلا يكلفهم الله إلا ما يطيقون، ولا يحاسبهم على ما لا يستطيعون.
ศาสนาอิสลามบังเกิดขึ้นบนรากฐานของความง่ายดายและสลายความลำบากแก่ปวงบ่าวของอัลลอฮ์ ไม่ทรงทำให้เป็นภาระเว้นแต่เป็นสิ่งที่พวกเขามีความสามารถเท่านั้นและจะไม่คิดบัญชีในสิ่งที่พวกเขาไม่มีความสามารถ

 
ترجمة معاني سورة: البقرة
فهرس السور رقم الصفحة
 
ترجمة معاني القرآن الكريم - الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم - فهرس التراجم

الترجمة التايلندية للمختصر في تفسير القرآن الكريم، صادر عن مركز تفسير للدراسات القرآنية.

إغلاق